คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 1 (7)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2864/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความและการรับหมายนัดแทนจำเลย รวมถึงการขอขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียม
จำเลยแต่งตั้งทนายความให้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนตน ทนายความย่อมมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ แทนจำเลยได้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 62 การที่ศาลชั้นต้นออกหมายนัดโจทก์จำเลยมาฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์เป็นกระบวนพิจารณาตามมาตรา 1(7) และเพื่อประโยชน์แห่งการดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าว ทนายจำเลยย่อมอยู่ในฐานะเป็นจำเลยตามมาตรา 1(11) ฉะนั้นเมื่อทนายจำเลยรับหมายนัดของศาลแล้วก็ถือเสมือนหนึ่งว่าจำเลยรับเช่นกันจำเลยจะอ้างว่าไม่ทราบวันนัดเพราะจำเลยกับทนายความมิใช่บุคคลคนเดียวกันหาได้ไม่
การขอขยายระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 23 นั้น กฎหมายให้กระทำได้ต่อเมื่อมี พฤติการณ์พิเศษ และมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลาตาม ที่ศาลกำหนด เว้นแต่ มีเหตุสุดวิสัย จำเลยมีคำขอเมื่อ ระยะเวลาตามที่ศาลกำหนด ได้ล่วงพ้นไปแล้ว และไม่ปรากฏ พฤติการณ์พิเศษและเหตุสุดวิสัย จึงขยายระยะเวลาให้จำเลยไม่ ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 695/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23: ศาลมีอำนาจขยายเวลาเองได้ แม้ไม่ใช่ภัยธรรมชาติ
"เหตุสุดวิสัย" ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 หมายถึงเหตุที่ทำให้ศาลไม่สามารถมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาหรือคู่ความมีคำขอเช่นนั้นขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายให้ดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างใดอย่างหนึ่งได้ มิได้หมายถึงว่า "พฤติการณ์พิเศษที่ทำให้การดำเนินกระบวนพิจารณาไม่อาจกระทำได้ภายในกำหนดนั้นต้องเป็นเหตุสุดวิสัย เหตุสุดวิสัยตามมาตรา 23 จึงไม่จำต้องเป็นเหตุอันเกิดจากภัยธรรมชาติซึ่งไม่มีใครอาจป้องกันได้ตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 8 หากมีพฤติการณ์นอกเหนือที่ศาลไม่อาจมีคำสั่งขยายเวลาให้ก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ในการดำเนินกระบวนพิจารณา ย่อมนับได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย การสั่งขยายเวลาศาลมีอำนาจสั่งเองได้ โดยคู่ความไม่ต้องร้องขอ
ระยะเวลา 14 วันที่กำหนดให้ลูกหนี้ของบุคคลล้มละลายปฏิเสธหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 119 นั้น ศาลอาจสั่งขยายได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 23 และการที่เจ้าหนี้ปฏิเสธหนี้ส่งทางไปรษณีย์ถึงเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ช้าไป 1 วันนั้น ก็ถือเป็นเหตุสุดวิสัยที่ศาลจะสั่งขยายเมื่อพ้นกำหนดเวลาได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 695/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ศาลมีอำนาจขยายเวลาได้ แม้ไม่มีคำร้อง
'เหตุสุดวิสัย' ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา23 หมายถึงเหตุที่ทำให้ศาลไม่สามารถมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาหรือคู่ความมีคำขอเช่นนั้นขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายให้ดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างใดอย่างหนึ่งได้มิได้หมายถึงว่า'พฤติการณ์พิเศษที่ทำให้การดำเนินกระบวนพิจารณาไม่อาจกระทำได้ภายในกำหนดนั้นต้องเป็นเหตุสุดวิสัยเหตุสุดวิสัยตามมาตรา 23 จึงไม่จำต้องเป็นเหตุอันเกิดจากภัยธรรมชาติซึ่งไม่มีใครอาจป้องกันได้ตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 8 หากมีพฤติการณ์นอกเหนือที่ศาลไม่อาจมีคำสั่งขยายเวลาให้ก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ในการดำเนินกระบวนพิจารณาย่อมนับได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยการสั่งขยายเวลาศาลมีอำนาจสั่งเองได้ โดยคู่ความไม่ต้องร้องขอ
ระยะเวลา 14 วันที่กำหนดให้ลูกหนี้ของบุคคลผู้ล้มละลายปฏิเสธหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 119 นั้นศาลอาจสั่งขยายได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 และการที่เจ้าหนี้ปฏิเสธหนี้ส่งทางไปรษณีย์ถึงเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ช้าไป 1 วันนั้น ก็ถือเป็นเหตุสุดวิสัยที่ศาลจะสั่งขยายเมื่อพ้นกำหนดเวลาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 124/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไต่สวนมูลฟ้อง: จำเลยยังไม่เป็นคู่ความ จึงไม่ต้องยื่นบัญชีพยานล่วงหน้า
การไต่สวนมูลฟ้องเป็นเรื่องระหว่างศาลกับโจทก์ โจทก์ไม่จำเป็นต้องยื่นบัญชีระบุพยานล่วงหน้า 3 วัน ก่อนวันนัดไต่สวนมูลฟ้อง
ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ศาลชั้นต้นยกฟ้องอ้างเหตุว่า โจทก์ไม่ยื่นบัญชีพยานล่วงหน้า 3 วันก่อนวัดนัดไต่สวนมูลฟ้อง แต่ศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้น ทำการไต่สวนมูลฟ้องต่อไปเช่นนี้ จำเลยไม่มีสิทธิฎีกา เพราะจำเลยยังมิได้อยู่ในฐานะเป็นคู่ความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 124/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ไต่สวนมูลฟ้อง: โจทก์ไม่จำเป็นต้องยื่นบัญชีพยานล่วงหน้า 3 วัน จำเลยยังไม่เป็นคู่ความจึงไม่มีสิทธิฎีกา
การไต่สวนมูลฟ้องเป็นเรื่องระหว่างศาลกับโจทก์ โจทก์ไม่จำเป็นต้องยื่นบัญชีระบุพยานล่วงหน้า 3 วัน ก่อนวันนัดไต่สวนมูลฟ้อง
ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ศาลชั้นต้นยกฟ้องอ้างเหตุว่า โจทก์ไม่ยื่นบัญชีพยานล่วงหน้า 3 วันก่อนวันนัดไต่สวนมูลฟ้องแต่ศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้น ทำการไต่สวนมูลฟ้องต่อไปเช่นนี้ จำเลยไม่มีสิทธิฎีกา เพราะจำเลยยังมิได้อยู่ในฐานะเป็นคู่ความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 89/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 แม้ศาลไม่อนุญาตแก้ฟ้องหรือสืบพยาน
เมื่อฟ้องของโจทก์ในคดีนี้มีประเด็นว่า ทรัพย์พิพาทเป็นของใคร นิติกรรมซื้อขายเป็นนิติกรรมอำพรางหรือไม่ เป็นประเด็นเช่นเดียวกับที่ได้ฟ้องร้องกันมาแล้วในคดีก่อน และศาลได้วินิจฉัยประเด็นข้อโต้เถียงระหว่างโจทก์จำเลยแล้วทุกประเด็น จึงเป็นฟ้องซ้ำซึ่งต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
การที่ศาลสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องและคำให้การในคดีเรื่องก่อนก็ดี สั่งงดไม่ให้สืบพยานก็ดีล้วนแต่เป็นเรื่องดำเนินการพิจารณาในคดีทั้งสิ้น คำสั่งของศาลดังกล่าวจะเป็นการถูกต้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันให้ถึงที่สุดไปด้วยการอุทธรณ์ฎีกาคู่ความจะหาวิธีแก้ด้วยการยื่นคำฟ้องใหม่โดยหวังจะให้คำพิพากษาในคดีเรื่องใหม่นี้ลบล้างคำพิพากษาเรื่องก่อนซึ่งมีผลบังคับตามกฎหมายผูกพันคู่ความอยู่แล้วในประเด็นเดียวกันหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 427/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความลงชื่อในคำฟ้องแทนคู่ความ
ทนายความซึ่งคู่ความตั้งแต่งมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆ แทนคู่ความได้ฉะนั้นทนายโจทก์จึงมีอำนาจลงชื่อในคำฟ้องแทนตัวโจทก์ได้ เพราะตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 1(7)'กระบวนพิจารณา'หมายความถึงการฟ้องต่อศาลด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 427/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความลงชื่อในคำฟ้องแทนคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ทนายความซึ่งคู่ความตั้งแต่งมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ แทนคู่ความได้ ฉะนั้นทนายโจทก์จึงมีอำนาจลงชื่อในคำฟ้องแทนตัวโจทก์ได้ เพราะตาม ป.วิ.แพ่ง มาตร 1(7) "กระบวนพิจารณา" หมายความถึงการฟ้องต่อศาลด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 967/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นอุทธรณ์นอกสถานที่: การยื่นคำร้องขอต่อศาลภูมิลำเนาเมื่อมีเหตุสุดวิสัย
การยื่นฟ้องอุทธรณ์นั้นเป็นกระบวนพิจารณาที่ผู้อุทธรณ์จะต้องดำเนินต่อศาลอย่างหนึ่งตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(3) และ (7)ฉะนั้นจึงนำเอาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 10มาใช้บังคับได้
ผู้อุทธรณ์ไม่สามารถไปยื่นฟ้องอุทธรณ์ต่อศาลที่พิพากษาคดีได้โดยเหตุสุดวิสัย ย่อมยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องขอยื่นอุทธรณ์ ต่อศาลซึ่งตนมีภูมิลำเนาหรืออยู่ในเขตศาลในขณะนั้นได้ และในกรณีเช่นนี้ถือว่าได้ยื่นอุทธรณ์แล้วแต่วันนั้น ไม่ใช่นับแต่วันที่อุทธรณ์ส่งไปถึงศาลที่พิพากษาคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 481/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายความไม่อำนาจมอบหมายให้ผู้อื่นยื่นอุทธรณ์แทนอีกทอดหนึ่ง
ทนายความจะแต่งตั้งให้บุคคลอื่นยื่นคำฟ้องอุทธรณ์แทนทนายความ อีกทอดหนึ่งไม่ได้
of 4