คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ม. 34

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 67 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 697/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินวัดและอายุความ: วัดมีสิทธิในที่ดินเสมอ แม้จำเลยครอบครองนานปี
โจทก์เป็นวัดในพระพุทธศาสนา ตราบใดที่ยังมิได้มีพระราชบัญญัติให้โอนที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ของโจทก์ แม้จำเลยจะครอบครองที่ดินพิพาทมานานเท่าใด จำเลยก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง ทั้งไม่อาจยกระยะเวลาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 ขึ้นเป็นข้อโต้แย้งกับโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5528/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินธรณีสงฆ์: การได้มาโดยการยกให้ และสิทธิครอบครองแม้มีการซื้อขายต่อ
พ.ยกที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมือเปล่าไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินให้แก่วัดจำเลยโดยให้นาง ข.ซึ่งเป็นภรรยามีสิทธิเก็บกินตลอดชีวิต และจำเลยก็ได้ครอบครองที่ดินพิพาทแล้วเช่นนี้ ที่ดินพิพาทได้ตกเป็นที่ธรณีสงฆ์ของวัดจำเลยตั้งแต่ พ.ยกให้ และจำเลยรับไว้แล้วเป็นต้นมานาง ข.เป็นเพียงผู้ครอบครองแทน แม้ต่อมานาง ข.จะได้ขายที่ดินพิพาทให้โจทก์ และโจทก์ได้ครอบครองที่ดินพิพาทสืบต่อมาก็ตาม วัดจำเลยก็ยังคงมีสิทธิครอบครองเช่นเดิม เพราะโจทก์ต้องห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นต่อสู้กับวัดในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นที่ธรณีสงฆ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์พ.ศ.2505 มาตรา 34
การที่จำเลยได้ที่ดินพิพาทมาและสละที่ดินพิพาทบางส่วนไปโดยไม่ได้ลงทะเบียนการได้มาและจำหน่ายออกไปจากทะเบียนตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2511) ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 นั้น หาได้เป็นเหตุให้จำเลยเสียสิทธิในที่ดินพิพาทที่ได้รับมาไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5528/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินธรณีสงฆ์: การได้มา การครอบครอง และผลกระทบต่อสิทธิของผู้อื่น
พ.ยกที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมือเปล่าไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินให้แก่วัดจำเลย โดยให้นางข.ซึ่งเป็นภรรยามีสิทธิเก็บกินตลอดชีวิต และจำเลยก็ได้ครอบครองที่ดินพิพาทแล้วเช่นนี้ที่ดินพิพาทได้ตกเป็นที่ธรณีสงฆ์ของวัดจำเลยตั้งแต่ พ.ยกให้และจำเลยรับไว้แล้วเป็นต้นมา นางข.เป็นเพียงผู้ครอบครองแทนแม้ต่อมานางข.จะได้ขายที่ดินพิพาทให้โจทก์ และโจทก์ได้ครอบครองที่ดินพิพาทสืบต่อมาก็ตาม วัดจำเลยก็ยังคงมีสิทธิครอบครองเช่นเดิมเพราะโจทก์ต้องห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นต่อสู้กับวัดในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นที่ธรณีสงฆ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505มาตรา 34 การที่จำเลยได้ที่ดินพิพาทมาและสละที่ดินพิพาทบางส่วนไปโดยไม่ได้ลงทะเบียนการได้มาและจำหน่ายออกไปจากทะเบียนตามกฎกระทรวงฉบับที่ 2(พ.ศ. 2511) ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505นั้น หาได้เป็นเหตุให้จำเลยเสียสิทธิในที่ดินพิพาทที่ได้รับมาไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4599/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินของวัด: แม้ซื้อโดยสุจริตก็ไม่เกิดกรรมสิทธิ์ หากเป็นที่ศาสนสมบัติ การฟ้องขับไล่จึงไม่ชอบ
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของวัดนก (ร้าง) อันเป็นที่ศาสนสมบัติแม้โจทก์จะซื้อมาโดยสุจริตก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ เพราะตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 34 ที่วัดจะโอนกรรมสิทธิ์ได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติเท่านั้น เมื่อโจทก์ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทจึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1769/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดของวัดต่อหนี้ที่เกิดจากการก่อสร้างโบสถ์ และการให้สัตยาบันโดยผู้แทนวัด
วัดจำเลยที่ 1 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาแล้วจึงเป็นนิติบุคคลตาม ป.พ.พ. มาตรา 72 เจ้าอาวาสเป็นผู้แทนผู้มีอำนาจกระทำการแทนวัด ขณะที่วัดจำเลยที่ 1 ยังไม่มีเจ้าอาวาส จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพระลูกวัดเป็นผู้ติดต่อให้โจทก์มาช่วยสร้างโบสถ์ บอกบุญให้ประชาชนมาร่วมบริจาคเงินสร้างโบสถ์และคิดบัญชีกับโจทก์ เมื่อคิดบัญชีปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ค่าวัสดุก่อสร้างที่โจทก์ออกเงินทดรองจ่ายไปก่อน จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้โดยจำเลยที่ 1 ระบุฐานะว่าเป็นตัวแทนคณะกรรมการจัดงานฝังลูกนิมิตวัดจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 ระบุว่าเป็นกรรมการของวัดจำเลยที่ 1 พฤติการณ์เหล่านี้ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เชิดตัวเองเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1
เจ้าคณะตำบลอาศัยอำนาจตามกฎหมายมหาเถระสมาคม ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2506) ข้อ 4 วรรคหนึ่ง แต่งตั้งให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ย่อมมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับเจ้าอาวาสตามมาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505
หลังจากจำเลยที่ 2 ดำรงตำแหน่งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสอันเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 ได้รู้ถึงพฤติการณ์ตามวรรคแรกของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ก็มิได้ทักท้วงหรือเพิกถอนการกระทำดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้สุจริตเสมือนว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 หาต้องร่วมรับผิดเป็นส่วนตัวไม่
โจทก์เข้าช่วยเหลือในการสร้างโบสถ์โดยมิได้หวังผลตอบแทนในทางการค้าจากจำเลยที่ 1 การกระทำของโจทก์จึงไม่เข้าลักษณะเป็นผู้ค้าในการดูแลกิจการของผู้อื่นหรือรับทำการงานต่าง ๆ การที่โจทก์เรียกเอาค่าที่ได้ดอกเงินทดรองไปในการก่อสร้างโบสถ์จึงไม่อยู่ในบังคับแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 165 (7) ซึ่งมีอายุความ 2 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์มีอายุความ 210 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2184-2195/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินของวัด: แม้มีโฉนด แต่สิทธิยังเป็นของวัด คดีอุทธรณ์ฎีกาได้
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและจำเลยร่วมออกจากที่ดิน จำเลยและจำเลยร่วมต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของตนจึงเป็นคดีเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ และจำเลยทุกสำนวนได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ คู่ความย่อมมีสิทธิ์อุทธรณ์ฎีกาในข้อเท็จจริงได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224, 248
ที่พิพาทแปลงใหญ่เป็นของวัดโจทก์ แม้ที่พิพาทบางแปลงจะมีโฉนดที่ดินมีชื่อจำเลยและจำเลยร่วมในโฉนด จำเลยและจำเลยร่วมก็หาได้กรรมสิทธิ์ในที่ของวัดโจทก์ไม่ เพราะที่วัดจะโอนกรรมสิทธิ์ได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติ และบุคคลใดจะยกอายุความขึ้นต่อสู้กับวัดในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นที่วัดหาได้ไม่ ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 34

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2184-2195/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินวัด: แม้มีโฉนด แต่กรรมสิทธิ์ยังเป็นของวัด, อุทธรณ์ฎีกาได้ในข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและจำเลยร่วมออกจากที่ดิน จำเลยและจำเลยร่วมต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของตนจึงเป็นคดีเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ และจำเลยทุกสำนวนได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ คู่ความย่อมมีสิทธิ์อุทธรณ์ฎีกาในข้อเท็จจริงได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224, 248
ที่พิพาทแปลงใหญ่เป็นของวัดโจทก์ แม้ที่พิพาทบางแปลงจะมีโฉนดที่ดินมีชื่อจำเลยและจำเลยร่วมในโฉนด จำเลยและจำเลยร่วมก็หาได้กรรมสิทธิ์ในที่ของวัดโจทก์ไม่ เพราะที่วัดจะโอนกรรมสิทธิ์ได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติ และบุคคลใดจะยกอายุความขึ้นต่อสู้กับวัดในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นที่วัดหาได้ไม่ ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์พ.ศ. 2505 มาตรา 34

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1029/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินวัดและภารจำยอม: วัดมิอาจเสียสิทธิในที่ดินโดยอายุความ แม้เป็นวัดร้าง
คดีก่อนโจทก์รับมรดกความจากมารดาซึ่งได้ฟ้องผู้เช่าที่ดินวัดร้างเป็นจำเลยมิได้ฟ้องกรมการศาสนาจำเลยที่ 1 ผู้ให้เช่าด้วย ศาลพิพากษายกฟ้องโดยยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงที่โจทก์ว่าเดินเข้าออกที่สะพานปลาไม่จำเป็นต้องรับอนุญาตจากใคร ดังนั้น ที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้ว่าโจทก์ใช้เป็นทางเดินออกสู่ถนนสาธารณะและท่าปลามาเป็นเวลา 60 ปีเศษได้ภารจำยอม บัดนี้จำเลยล้อมรั้วคอนกรีตเสริมเหล็กปิดกั้นทางผ่านของโจทก์ จึงเป็นเรื่องโจทก์ฟ้องว่าได้ภารจำยอม โดยทางอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 34 ครอบคลุมถึงอายุความได้ภารจำยอมด้วย ผู้ใดจะยกอายุความขึ้นอ้างกับวัดในเรื่องที่ดินของวัดหรือที่ธรณีสงฆ์ไม่ได้
แม้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มิได้บัญญัติไว้ถึงเรื่องวัดร้างวัดร้างก็หาได้เสียสภาพจากการเป็นวัดไปไม่ (อ้างฎีกาที่ 44/2464 และฎีกาที่ 966/2474)
จำเลยจะปลูกสร้างอาคารและรั้วผิดเทศบัญญัติหรือไม่ก็ตามเมื่อไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์แล้ว ก็เป็นหน้าที่ของทางฝ่ายพนักงานปกครองและเทศบาลที่จะจัดการกับจำเลย หาใช่หน้าที่ของโจทก์ไม่ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเกี่ยวกับการปลูกสร้างผิดเทศบัญญัติ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1029/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินวัดและที่ธรณีสงฆ์ห้ามยกอายุความขึ้นต่อสู้ และการได้ภารจำยอมโดยอายุความใช้ไม่ได้กับที่ดินวัด
คดีก่อนโจทก์รับมรดกความจากมารดาซึ่งได้ฟ้องผู้เช่าที่ดินวัดร้างเป็นจำเลยมิได้ฟ้องกรมการศาสนาจำเลยที่ 1 ผู้ให้เช่าด้วย ศาลพิพากษายกฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงที่โจทก์ว่าเดินเข้าออกที่สะพานปลาไม่จำเป็นต้องรับอนุญาตจากใครดังนั้น ที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้ว่าโจทก์ใช้เป็นทางเดินออกสู่ถนนสาธารณะและท่าปลามาเป็นเวลา 20 ปีเศษ ได้ภารจำยอม บัดนี้จำเลยล้อมรั้วคอนกรีตเสริมเหล็กปิดกั้นทางผ่านของโจทก์ จึงเป็นเรื่องโจทก์ฟ้องว่าได้ภารจำยอม โดยทางอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 จึงเป็นฟ้องซ้ำ
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 34 ครอบคลุมถึงอายุความได้ภารจำยอมด้วย ผู้ใดจะยกอายุความขึ้นอ้างกับวัดในเรื่องที่ดินของวัด หรือที่ธรณีสงฆ์ไม่ได้
แม้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2504 มิได้บัญญัติไว้ถึงเรื่องวัดร้าง วัดร้างก็หาได้เสียสภาพจากการเป็นวัดไปได้ (อ้างฎีกาที่ 44/2464 และฎีกาที่ 966/2474)
จำเลยจะปลูกสร้างอาคารและรั้วผิดเทศบัญญัติหรือไม่ก็ตาม เมื่อไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์แล้ว ก็เป็นหน้าที่ของทางฝ่ายพนักงานปกครองและเทศบาลที่จะจัดการกับจำเลย หาใช่หน้าที่ของโจทก์ไม่ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเกี่ยวกับการปลูกสร้างผิดเทศบัญญัติ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1288/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินวัด: แม้มีการครอบครองและรังวัดออกโฉนดแล้ว แต่กรรมสิทธิ์ยังคงเป็นของวัดและห้ามอ้างอายุความ
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่วัด แม้จำเลยจะได้นำรังวัดออกโฉนดเป็นของจำเลย และครอบครองทำประโยชน์มานานสักเท่าใดก็ตามจำเลยก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น ทั้งจะยกอายุความขึ้นต่อสู้กับวัดไม่ได้ เพราะตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.121 ก็ดีพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ. 2477 ก็ดีพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ก็ดี ได้มีข้อบัญญัติไว้ตลอดมาว่าที่วัดผู้ใดผู้หนึ่งจะโอนกรรมสิทธิ์ที่นั้นไปไม่ได้ จะโอนกรรมสิทธิ์ได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติ และห้ามมิให้บุคคลใดยกอายุความขึ้นต่อสู้กับวัดในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นที่วัด
of 7