คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 ม. 4

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 434 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5008-5010/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายทำให้เช็คไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยไม่มีความผิด
โจทก์ให้จำเลยกู้ยืมเงินโดยคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน หรือเท่ากับร้อยละ 24 ต่อปี เกินกว่าอัตราตามกฎหมายย่อมเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 (ก) เมื่อไม่ปรากฏว่าการสั่งจ่ายเช็คแต่ละฉบับตามฟ้องแยกเป็นการชำระเงินต้นเท่าใด ชำระดอกเบี้ยเท่าใด จึงถือว่าเช็คตามฟ้องที่จำเลยสั่งจ่ายแก่โจทก์ได้รวมดอกเบี้ยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเอาไว้ด้วย แม้ธนาคารตามเช็คจะปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค จำเลยก็ไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 307/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบความผิด พ.ร.บ.เช็ค: ต้องมีหนี้ที่บังคับได้ การรับสภาพหนี้ไม่ก่อให้เกิดหนี้ใหม่
การกระทำที่จะเป็นความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 จะต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ซึ่งเป็นองค์ประกอบของการกระทำความผิด มิใช่เป็นเพียงรายละเอียดที่สามารถนำสืบในชั้นพิจารณา การที่โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ตามสัญญารับสภาพหนี้และแนบสำเนาสัญญารับสภาพหนี้มาท้ายฟ้อง จึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด เพราะการรับสภาพหนี้มิได้ก่อให้เกิดมูลหนี้ขึ้นใหม่ เพียงแต่เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงเท่านั้น คำฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 307/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบความผิดเช็ค: ต้องมีหนี้ที่บังคับได้ตามกฎหมาย การรับสภาพหนี้ไม่สร้างหนี้ใหม่
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 การออกเช็คที่จะเป็นความผิดนั้นจะต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายด้วย ข้อเท็จจริงที่ว่าการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย จึงเป็นองค์ประกอบการกระทำความผิดหาได้เป็นเพียงรายละเอียดที่สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาไม่ การที่โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ตามสัญญารับสภาพหนี้และแนบสำเนาสัญญารับสภาพหนี้มาท้ายฟ้อง จึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าว เพราะการรับสภาพหนี้มิได้ก่อให้เกิดมูลหนี้ขึ้นใหม่ เพียงแต่เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) เท่านั้น คำฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6318/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตราสารที่ปิดอากรแสตมป์ไม่ครบ ใช้เป็นหลักฐานในคดีอาญาได้
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับ คู่ฉีก หรือส่วนของตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานไม่ได้เฉพาะในคดีแพ่งเท่านั้น ส่วนในคดีอาญาไม่ต้องห้ามที่จะนำมารับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ ดังนั้น เมื่อจำเลยออกเช็คชำระหนี้เงินกู้ยืมโดยโจทก์มีสัญญากู้ยืมมาแสดง ถือได้ว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายแล้ว เมื่อเช็คดังกล่าวถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจึงครบองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5388/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษความผิดหลายกรรมจากเช็ค ศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษให้เหมาะสมกับจำนวนกรรมความผิด
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 (1) (3) ป.อ. มาตรา 83, 91 จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพศาลชั้นต้นพิพากษาด้วยวาจาว่าจำเลยที่ 2 มีความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 (1) (3) รับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 3 เดือน จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งเมื่ออ่านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าวโดยตลอดแล้ว ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 เพียงกรรมเดียวและไม่อาจที่จะเข้าใจหรือแปลความหมายเป็นอย่างอื่นไปได้ เพราะหากนำโทษจำคุก 3 เดือน มาเฉลี่ยเป็นโทษสำหรับความผิด 4 กระทงแล้ว ก็เป็นโทษจำคุกกระทงละ 22 วันครึ่ง ซึ่งผิดวิสัยไม่สอดคล้องกับระวางโทษที่กฎหมายบัญญัติ ศาลชั้นต้นจึงมิได้ลงโทษจำเลยที่ 2 ทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์เมื่อโจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามคำฟ้องที่จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพจึงเป็นการที่โจทก์อุทธรณ์ทำนองขอให้เพิ่มเติมโทษตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ทุกกรรมเป็นกระทงความผิด โดยลงโทษจำคุกกระทงละ 3 เดือน ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง จำคุกกระทงละ 1 เดือน 15 วัน รวมเป็นจำคุก 4 เดือน 60 วัน จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5291/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: ผู้ทรงเช็คมีอำนาจฟ้อง แม้บัญชีเรียกเก็บเงินเป็นของกรรมการ, เช็คลงวันที่แล้วสมบูรณ์
จำเลยออกเช็คพิพาทมอบแก่บริษัทโจทก์เพื่อชำระหนี้ โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาท เมื่อเช็คถึงกำหนดแม้โจทก์จะนำเข้าบัญชี ส.กรรมการผู้จัดการโจทก์ โดยโจทก์มิได้มอบหรือโอนสิทธิอันเกิดแต่เช็คพิพาทให้แก่ ส. โจทก์ก็ยังคงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทอยู่ในขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน กรณีเพียงการนำเช็คพิพาทเข้าเรียกเก็บเงินโดยอาศัยบัญชีของ ส. เท่านั้น โจทก์เป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องคดีได้ และไม่ว่าโจทก์จำนะเช็คพิพาทเข้าบัญชีโจทก์เองหรือเข้าบัญชีของ ส. เพื่อเรียกเก็บเงินแทนก็เป็นเพียงรายละเอียดในการนำเช็คเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินเท่านั้น ไม่ใช่ข้อแตกต่างในสาระสำคัญอันจะทำให้การเป็นผู้เสียหายของโจทก์ไม่สมบูรณ์
เดิมจำเลยออกเช็คพิพาทโดยยังไม่ลงวันที่เพื่อค้ำประกัน ในกรณีที่สะสางจำนวนเงินกับลูกค้าให้เรียบร้อยได้แล้วโจทก์จะไม่นำเช็คเข้าบัญชีเรียกเก็บเงิน แต่ต่อมาโจทก์ได้นำเช็คพิพาทไปให้จำเลยลงวันที่ อันเป็นการรับรองว่าจำนวนเงินที่ระบุในเช็คเป็นมูลหนี้จำนวนแน่นอนและเจตนาชำระหนี้นั้นด้วยเช็คพิพาทแล้ว จึงไม่ใช่เช็คค้ำประกัน แม้มีการชำระหนี้ไปแล้วบางส่วนก็ไม่ได้ทำให้เช็คพิพาทที่สมบูรณ์อยู่แล้วไม่สมบูรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4264/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเช็ค: ผู้ทรงเช็คมีอำนาจฟ้อง แม้ไม่ได้ระบุฐานะผู้จัดการมรดกในเช็ค
เช็ค เป็นเอกสารเปลี่ยนมือ เมื่อจำเลยสั่งจ่ายเช็คให้แก่โจทก์โดยมิได้ระบุว่าจ่ายให้โจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ บ. โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คตามกฎหมาย เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค โจทก์ในฐานะผู้ทรงเช็คโดยชอบจึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องในนามของโจทก์เองโดยไม่จำต้องระบุต่อท้ายชื่อโจทก์ว่าในฐานะผู้จัดการมรดกของ บ. อย่างไรก็ดี คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องอ้างว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 1 และ 2 ซึ่งถือว่าเอกสารท้ายฟ้องดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง เมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวระบุว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คตามฟ้องให้แก่โจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ บ. จึงถือว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่แนบมาท้ายฟ้องอีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4264/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเช็ค: ผู้ทรงเช็คมีสิทธิฟ้อง แม้ไม่ได้ระบุฐานะผู้จัดการมรดก
เช็คเป็นเอกสารเปลี่ยนมือ เมื่อจำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คให้แก่โจทก์โดยมิได้ระบุว่า จ่ายให้โจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ บ. โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คตามกฎหมาย เมื่อธนาคารตามเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คนั้นแล้ว โจทก์ในฐานะผู้ทรงเช็คโดยชอบจึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องในนามของโจทก์ โดยไม่ต้องระบุต่อท้ายชื่อโจทก์ว่าในฐานะผู้จัดการมรดกของ บ. ทั้งคดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องอ้างว่า จำเลยสั่งจ่ายเช็คให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 1 และ 2 ซึ่งถือว่าเอกสารท้ายฟ้องเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง แม้ในช่องระหว่างผู้ใดโจทก์ผู้ใดจำเลยจะระบุชื่อโจทก์ โดยมิได้ระบุว่าในฐานะผู้จัดการมรดกของ บ. แต่เมื่อโจทก์อ้างเช็คและสัญญาประนีประนอมเอกสารท้ายฟ้องมากับฟ้องด้วย และสัญญาประนีประนอมดังกล่าวระบุว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คตามฟ้องให้แก่โจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ บ. จึงถือว่าโจทก์ฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกตามสัญญาประนีประนอมที่แนบมาท้ายฟ้องนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3613/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมายหากเป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยศาลอุทธรณ์เดิม และการกระทำของหุ้นส่วนผู้จัดการถือเป็นความผิดของนิติบุคคล
ฎีกาของจำเลยที่ 2 ในข้อ 3 กล่าวอ้างในเบื้องต้นว่า จำเลยที่ 2 ขอฎีกาคัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา แต่ปรากฏว่าฎีกาของจำเลยที่ 2 กลับกล่าวระบุเพียงว่าจำเลยที่ 2 ไม่อาจพ้องกับคำพิพากษาของศาลชั้นต้น และโต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นโดยคัดลอกถ้อยคำต่างๆ ที่อุทธรณ์คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 ชนิดคำต่อคำมาไว้ในฎีกา ซึ่งข้ออุทธรณ์ดังกล่าวศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้วินิจฉัยไว้แล้วทั้งสิ้น กรณีจึงถือว่าฎีกาของจำเลยที่ 2 มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 216
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 มีอำนาจลงลายมือชื่อทำนิติกรรมใดๆ แทนจำเลยที่ 1 โดยไม่ต้องมีตราประทับและไม่มีข้อจำกัดอำนาจของจำเลยที่ 2 ทั้งจำเลยที่ 2 สั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ค่าสินค้าของจำเลยที่ 1 กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทเป็นการกระทำในนามหรือแทนจำเลยที่ 1 อันเป็นการแสดงออกถึงความประสงค์ของนิติบุคคลโดยผู้แทนโดยไม่จำต้องมีตราประทับของจำเลยที่ 1 ส่วนการที่มีตราประทับของจำเลยที่ 1 ในการแต่งตั้งทนายความก็เป็นเรื่องที่มิได้มีกำหนดเป็นข้อจำกัดไว้ในหนังสือรับรองการจดทะเบียนจึงไม่อาจลบล้างผลของการที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทในนามหรือแทนจำเลยที่ 1 ดังนั้น จำเลยที่ 1 จึงต้องมีความผิดทางอาญาร่วมกับจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3490/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีเลิกกันเนื่องจากประนีประนอมยอมความในหนี้เช็ค สิทธิฟ้องอาญาจึงระงับ
การที่ผู้เสียหายและจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในมูลหนี้ตามที่จำเลยออกเช็คพิพาท และศาลได้พิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแล้ว ผลของการประนีประนอมยอมความดังกล่าวย่อมทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไปและทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 เมื่อสิทธิเรียกร้องของผู้เสียหายในมูลหนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คพิพาทระงับสิ้นไป ไม่ว่าผู้เสียหายจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วนหรือไม่ กรณีถือได้ว่าหนี้ที่ผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 ได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดคดีจึงเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39
of 44