พบผลลัพธ์ทั้งหมด 434 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3740/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้และเช็คเพื่อชำระหนี้: อำนาจฟ้องของผู้รับมอบอำนาจและความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
จำเลยที่ 1 ออกเช็คพิพาทให้แก่บริษัท บ. ซึ่งมี ฮ.เป็นกรรมการผู้จัดการ เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินบริษัท บ. โดย ฮ.ได้มอบอำนาจให้พ. ไปร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ในความผิดเกี่ยวกับพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ เช่นนี้บริษัท บ.จึงเป็นผู้เสียหาย ซึ่งได้มอบอำนาจให้ร้องทุกข์โดยชอบแล้วแม้ตามฟ้องโจทก์จะบรรยายฟ้องว่า ฮ. เป็นผู้เสียหายก็เป็นเพียงข้อผิดพลาดเล็กน้อย และข้อแตกต่างดังกล่าวมิใช่ สาระสำคัญ ทั้งจำเลยที่ 1 ก็มิได้หลงต่อสู้ หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดจริง ก็ชอบที่ศาลจะลงโทษจำเลยที่ 1 ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสองโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 เมื่อ ข. ไม่สามารถนำเพชรที่รับไปจากผู้เสียหายเพื่อนำไปขายมาคืนให้ผู้เสียหายได้ จำเลยที่ 3 จึงได้ทำบันทึก ข้อตกลงชำระหนี้ให้แก่ผู้เสียหายโดยจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาของจำเลยที่ 3 ได้นำเช็คพิพาทสั่งจ่ายเงิน 60,000 บาทพร้อมเงินสดอีก 46,000 บาท มาแลกเช็คฉบับแรกของจำเลยที่ 3 จากผู้เสียหายการที่ ข. เป็นหนี้ค่าเพชรแก่ผู้เสียหายแล้วจำเลยทั้งสามเข้ามารับผิดชำระหนี้แทนแก่ผู้เสียหาย ก็มุ่งประสงค์มิให้ ข. ต้องถูกดำเนินคดีอาญาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ฯดังนั้น ข้อตกลงดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3กับผู้เสียหาย จึงเป็นการตกลงทำสัญญาแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ เช็คพิพาทที่จำเลยที่ 1 ออกและมอบให้แก่ผู้เสียหายจึงเป็นเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อธนาคารตามเช็คที่จำเลยที่ 1 ออกให้ผู้เสียหายดังกล่าวปฏิเสธ การจ่ายเงิน จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2767/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเช็ค: จำเลยต้องพิสูจน์หนี้ระหว่างจำเลยกับผู้รับเช็คก่อน จึงจะถือว่าออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริง
องค์ประกอบความผิดตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 จะต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายเท่านั้น เมื่อ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่ ช.แล้วช.นำเช็คพิพาทมามอบให้แก่โจทก์อีกต่อหนึ่งเมื่อมิใช่เป็นกรณีที่จำเลยได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่โจทก์โดยตรงโจทก์จึงต้องมีหน้าที่นำสืบพิสูจน์ให้ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่ ช. เพื่อชำระหนี้อย่างใดอย่างหนึ่งที่จำเลยมีต่อช. อันเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายหากพยานหลักฐานของโจทก์ไม่มีน้ำหนักพอฟังว่าจำเลยได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่ช.เพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายการกระทำของจำเลยย่อมไม่เป็นความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2767/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิด พ.ร.บ.เช็ค: การพิสูจน์หนี้ที่แท้จริง
องค์ประกอบความผิดตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 จะต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายเท่านั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่ ช. แล้ว ช.นำเช็คพิพาทมามอบให้แก่โจทก์อีกต่อหนึ่งเมื่อมิใช่เป็นกรณีที่จำเลยได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่โจทก์โดยตรง โจทก์จึงต้องมีหน้าที่นำสืบพิสูจน์ให้ปรากฏข้อเท็จจริงว่า จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่ ช.เพื่อชำระหนี้อย่างใดอย่างหนึ่งที่จำเลยมีต่อ ช. อันเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายหากพยานหลักฐานของโจทก์ไม่มีน้ำหนักพอฟังว่าจำเลยได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่ ช.เพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยย่อมไม่เป็นความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2234/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของคำฟ้องเช็ค: การระบุวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกร่วมกันออกเช็ค 2 ฉบับ ลงวันที่ 15 มีนาคม 2539 และวันที่ 15 เมษายน 2539มอบให้แก่ผู้เสียหายเพื่อชำระหนี้ เมื่อถึงกำหนดสั่งจ่ายเงินตามเช็คทั้งสองฉบับดังกล่าว ผู้เสียหายนำไปเรียกเก็บเงินธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คทั้งสองฉบับนั้นย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่า ในวันที่เช็คแต่ละฉบับถึงกำหนดสั่งจ่ายคือวันที่ผู้เสียหายนำเช็คแต่ละฉบับไปเรียกเก็บเงินและธนาคารตามเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คแต่ละฉบับในวันที่ที่ถึงกำหนดสั่งจ่ายนั้น ถือได้ว่าโจทก์ระบุวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คไว้ในคำฟ้องแล้วคำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2234/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของคำฟ้องเช็ค: วันที่ปฏิเสธการจ่ายเงิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกร่วมกันออกเช็ค 2 ฉบับลงวันที่ 15 มีนาคม 2539 และวันที่ 15 เมษายน 2539 มอบให้แก่ผู้เสียหายเพื่อชำระหนี้ เมื่อถึงกำหนดสั่งจ่ายเงินตามเช็คทั้งสองฉบับดังกล่าว ผู้เสียหายนำไปเรียกเก็บเงิน ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คทั้งสองฉบับนั้น ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่า ในวันที่เช็คแต่ละฉบับถึงกำหนดสั่งจ่ายคือวันที่ผู้เสียหายนำเช็คแต่ละฉบับไปเรียกเก็บเงิน และธนาคารตามเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คแต่ละฉบับในวันที่ที่ถึงกำหนดสั่งจ่ายนั้น ถือได้ว่าโจทก์ระบุวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คไว้ในคำฟ้องแล้วคำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2042/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเช็คและการไม่หลงต่อสู้ในรายละเอียดฟ้องที่ไม่ใช่สาระสำคัญ
แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดระหว่างปลายเดือนสิงหาคม 2539 ถึงกลางเดือนกันยายน 2539โดยมิได้ระบุเวลาเกิดเหตุว่าเป็นเวลากลางวันหรือกลางคืนก็ตาม แต่การเรียกเก็บเงินตามเช็คพิพาทก็อยู่ภายในกำหนดเวลา ดังกล่าว และจำเลยนำสืบต่อสู้โดยมิได้หลงเข้าใจผิดเกี่ยวกับเวลาที่กระทำความผิด เมื่อวันเวลาที่อ้างว่า จำเลยกระทำผิดเป็นเพียงรายละเอียดของฟ้อง มิใช่ข้อสาระสำคัญตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)และจำเลยมิได้หลงต่อสู้จึงมิใช่เหตุอันจะพึงยกฟ้องโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2006/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาทุจริต: จำเป็นต้องระบุหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายในคำฟ้อง
พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 4 ที่บัญญัติว่า ผู้ใดออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายโดยมีลักษณะหรือมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น ฯลฯ เมื่อได้มีการยื่นเช็คเพื่อให้ใช้เงินโดยชอบด้วยกฎหมาย ถ้าธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คนั้นผู้ออกเช็คมีความผิด นั้นการออกเช็คที่จะเป็นความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวจะต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายและหนี้ตามเช็คที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายหรือไม่เป็นข้อเท็จจริงประการหนึ่งซึ่งเป็นองค์ประกอบของความผิดด้วย เมื่อคำฟ้องโจทก์บรรยายแต่เพียงว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้เงินกู้ โดยมิได้ระบุว่าเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ทั้งโจทก์มิได้แนบสำเนาสัญญากู้ยืมมาท้ายฟ้อง คำฟ้องของโจทก์จึงขาดข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 เป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) โจทก์จะมาขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องในภายหลังเพื่อให้ฟ้องโจทก์สมบูรณ์ขึ้นอันเป็นการกระทำให้เสียเปรียบจึงไม่อาจกระทำได้ ศาลจึงอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2006/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีเช็คต้องระบุหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ฟ้องไม่สมบูรณ์แก้ไขไม่ได้
พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 4 ที่บัญญัติว่า ผู้ใดออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายโดยมีลักษณะหรือมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น ฯลฯ เมื่อได้มีการยื่นเช็คเพื่อให้ใช้เงินโดยชอบด้วยกฎหมาย ถ้าธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คนั้นผู้ออกเช็คมีความผิด...นั้นการออกเช็คที่จะเป็นความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวจะต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย และหนี้ตามเช็คที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงประการหนึ่งซึ่งเป็นองค์ประกอบของความผิดด้วย เมื่อคำฟ้องโจทก์บรรยายแต่เพียงว่า จำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้เงินกู้ โดยมิได้ระบุว่าเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ทั้งโจทก์มิได้แนบสำเนาสัญญากู้ยืมมาท้ายฟ้อง คำฟ้องของโจทก์จึงขาดข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534 มาตรา 4 เป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158 (5)โจทก์จะมาขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องในภายหลังเพื่อให้ฟ้องโจทก์สมบูรณ์ขึ้นอันเป็นการกระทำให้เสียเปรียบ จึงไม่อาจกระทำได้ ศาลจึงอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 960/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาฉ้อโกง แม้ชำระเงินบางส่วน แต่ยังไม่ครบตามเช็คทั้งสองฉบับ ถือเป็นความผิด 2 กระทง
จำเลยออกเช็ค 2 ฉบับ สั่งจ่ายเงินเพื่อชำระค่าเช่าซื้อรถแทรกเตอร์ให้แก่ผู้เสียหาย แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินทั้งสองฉบับและจำเลยถูกฟ้องในความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ แม้ เงินที่ผู้เสียหายได้รับไปจากจำเลยในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นจะเป็นจำนวนมากกว่าจำนวนเงินในเช็คฉบับแรกก็ตาม แต่ก็ยังไม่พอเพียงต่อการชำระหนี้ค่าเช่าซื้อรถแทรกเตอร์ ทั้งหมดที่จำเลยออกเช็คทั้ง 2 ฉบับที่พิพาทเพื่อชำระหนี้แก่ ผู้เสียหาย เมื่อหนี้ดังกล่าวยังมีผลผูกพันจำเลย ทั้งตาม ข้อตกลงที่ผู้เสียหายกับจำเลยร่วมกันแถลงต่อศาลชั้นต้นระบุ ว่า จำเลยต้องชำระเงินให้ครบถ้วนตามเช็คทั้ง 2 ฉบับผู้เสียหายจึงจะถอนคำร้องทุกข์ให้ และไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายกับจำเลยได้เปลี่ยนแปลงข้อตกลงให้คดีตามเช็คฉบับหนึ่งฉบับใดเลิกกันไปก่อนได้ คดีตามเช็คฉบับแรกจึงยังไม่เลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 การออกเช็คของจำเลยจึงเป็นความผิด 2 กระทง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 960/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานออกเช็คโดยไม่มีเงินในบัญชี แม้ได้รับชำระบางส่วนก็ยังเป็นความผิดได้
จำเลยออกเช็ค 2 ฉบับ สั่งจ่ายเงินเพื่อชำระค่าเช่าซื้อรถแทรกเตอร์ให้แก่ผู้เสียหาย แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินทั้งสองฉบับและจำเลยถูกฟ้องในความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯแม้เงินที่ผู้เสียหายได้รับไปจากจำเลยในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นจะเป็นจำนวนมากกว่าจำนวนเงินในเช็คฉบับแรกก็ตาม แต่ก็ยังไม่พอเพียงต่อการชำระหนี้ค่าเช่าซื้อรถแทรกเตอร์ทั้งหมดที่จำเลยออกเช็คทั้ง 2 ฉบับที่พิพาทเพื่อชำระหนี้แก่ผู้เสียหาย เมื่อหนี้ดังกล่าวยังมีผลผูกพันจำเลย ทั้งตามข้อตกลงที่ผู้เสียหายกับจำเลยร่วมกันแถลงต่อศาลชั้นต้นระบุว่า จำเลยต้องชำระเงินให้ครบถ้วนตามเช็คทั้ง 2 ฉบับผู้เสียหายจึงจะถอนคำร้องทุกข์ให้ และไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายกับจำเลยได้เปลี่ยนแปลงข้อตกลงให้คดีตามเช็คฉบับหนึ่งฉบับใดเลิกกันไปก่อนได้ คดีตามเช็คฉบับแรกจึงยังไม่เลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 การออกเช็คของจำเลยจึงเป็นความผิด 2 กระทง