พบผลลัพธ์ทั้งหมด 434 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1596/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเพื่อประกันการคืนทองคำแท่งหรือค่าเสียหาย ไม่ใช่ชำระหนี้ซื้อขายทองคำ ทำให้ไม่เข้าข่ายความผิด พ.ร.บ.เช็ค
เช็คทั้งสามสิบสี่ฉบับซึ่งรวมทั้งเช็คพิพาทสิบเอ็ดฉบับตามฟ้อง จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายจำนวนเงินเท่ากันคือ 116,000 บาท และเป็นการลงวันที่ล่วงหน้าแล้วส่งมอบไว้ให้โจทก์ ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถคืนทองคำแท่งแก่โจทก์ในแต่ละสัปดาห์ได้ จำเลยที่ 1 ตกลงจะชำระเงินตามจำนวนเทียบเท่าราคาทองแท่ง ณ เวลาวันทำบันทึกข้อตกลงนี้ และเมื่อพิเคราะห์บันทึกข้อตกลงเพิ่มเติมแนบท้ายสัญญารับฝากทองคำแท่งในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดในการส่งมอบทองคำแท่งแก่โจทก์แล้วทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในส่วนที่เป็นดอกเบี้ยและค่าเสียหายอื่น ๆ อีก ดังนี้ถือได้ว่าเช็คทั้งสามสิบสี่ฉบับไม่ได้ออกเพื่อชำระหนี้เฉพาะค่าทองคำแท่งล้วน ๆ ตามราคาที่โจทก์ซื้อ แต่ยังรวมค่าเสียหายอื่น ๆ ไว้อีก จึงแสดงว่าถ้าจำเลยที่ 1 คืนทองคำแท่งแก่โจทก์ได้โดยไม่ผิดสัญญา โจทก์ย่อมไม่มีสิทธินำเช็คไปเรียกเก็บเงินโดยถือการส่งมอบทองคำแท่งคืนโจทก์เป็นสาระสำคัญของสัญญา เช็คพิพาททั้งสิบเอ็ดฉบับจึงเป็นการที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายไว้เป็นประกันการคืนทองคำแท่งหรือคืนราคาพร้อมค่าเสียหายแก่โจทก์เท่านั้น มิใช่เพื่อเป็นการชำระหนี้ค่าซื้อขายทองคำแท่งตามน้ำหนักราคาทองคำแท่งอันจะถือว่าเป็นหนี้ตามสัญญาซื้อขายที่มีอยู่จริง การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1237/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเพื่อชำระหนี้ที่ยังไม่เกิด ไม่ครบองค์ประกอบความผิด พ.ร.บ.เช็ค
ความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 จะต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย อันเป็นองค์ประกอบในการกระทำความผิด แต่จำเลยออกเช็คพิพาททั้งสองฉบับให้แก่ อ. ไว้ล่วงหน้า เพื่อให้ อ. ทำการก่อสร้างบ้านในเฟสที่ 2 แล้ว อ. นำเช็คสองฉบับดังกล่าวมอบให้แก่โจทก์เพื่อชำระค่าวัสดุก่อสร้างที่ อ. ซื้อไปจากโจทก์ โดยหนี้ค่าก่อสร้างยังไม่เกิดขึ้นขณะที่มีการออกเช็ค เมื่อต่อมาจำเลยได้เลิกสัญญาการก่อสร้างบ้านในเฟสที่ 2 โดยไม่มีการก่อสร้างบ้านในเฟสที่ 2 ย่อมไม่มีมูลหนี้ตามเช็คทั้งสองฉบับ จำเลยออกเช็คพิพาททั้งสองฉบับโดยมิใช่เป็นการชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย จึงไม่ครบองค์ประกอบความผิด จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1062/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องอาญาทางเช็ค: การยกข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นอุทธรณ์ และการแก้ไขโทษที่ศาลชั้นต้น
ปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้มิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง จำเลยอุทธรณ์ในทำนองว่าไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง เท่ากับว่าจำเลยยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ขัดกับคำให้การรับสารภาพของจำเลย เป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 ที่ศาลอุทธรณ์ยกอุทธรณ์มาชอบแล้ว ส่วนที่จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบาหรือรอการลงโทษมาด้วย แม้เป็นฎีกาซึ่งไม่ได้คัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกา และไม่อาจรับรองให้ฎีกาได้ แต่เมื่อคดีขึ้นสู่การวินิจฉัยของศาลฎีกา และศาลฎีกาเห็นว่าศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยหนักเกินไปก็ย่อมมีอำนาจแก้ไขให้เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง จำเลยอุทธรณ์ในทำนองว่าไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง เท่ากับว่าจำเลยยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ขัดกับคำให้การรับสารภาพของจำเลย เป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 ที่ศาลอุทธรณ์ยกอุทธรณ์มาชอบแล้ว ส่วนที่จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบาหรือรอการลงโทษมาด้วย แม้เป็นฎีกาซึ่งไม่ได้คัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกา และไม่อาจรับรองให้ฎีกาได้ แต่เมื่อคดีขึ้นสู่การวินิจฉัยของศาลฎีกา และศาลฎีกาเห็นว่าศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยหนักเกินไปก็ย่อมมีอำนาจแก้ไขให้เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3766/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกเช็คโดยไม่มีเงินในบัญชีและเจตนาทุจริต ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
เมื่อจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ตกลงซื้อสินค้าทั้งห้ารายการจากโจทก์ จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อของตนและประทับตราของจำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คพิพาท 5 ฉบับ ให้แก่โจทก์โดยมอบให้แก่พนักงานขายของโจทก์ แล้วพนักงานขายของโจทก์ออกใบรับเงินค่าสินค้าทั้งห้ารายการมอบให้แก่จำเลยทั้งสองย่อมก่อให้เกิดสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และมีผลบังคับโดยสมบูรณ์นับแต่เวลาดังกล่าว จำเลยที่ 1 มีหนี้ที่จะต้องชำระแก่โจทก์คือการชำระราคาค่าสินค้าที่ซื้อ และโจทก์มีหนี้ที่จะต้องชำระแก่จำเลยที่ 1 คือการส่งมอบสินค้าที่ซื้อขาย ส่วนจำเลยที่ 1 กับโจทก์จะตกลงให้ส่งมอบสินค้าที่ซื้อขายหรือจะชำระราคากันเมื่อใดนั้น ไม่เกี่ยวกับความสมบูรณ์และบังคับได้ของสัญญาซื้อขาย สัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์จึงเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายตั้งแต่เวลาที่จำเลยทั้งสองกับโจทก์ตกลงทำสัญญาซื้อขายกันดังกล่าว เมื่อความปรากฏว่า โจทก์มอบสินค้าที่ซื้อขายให้แก่จำเลยที่ 1 จำนวน 4 รายการ ในวันที่ 12 เมษายน 2561 อันเป็นวันเดียวกับวันที่โจทก์ออกใบเสร็จรับเงินให้แก่จำเลยที่ 1 และส่งมอบสินค้าแก่จำเลยที่ 1 อีก 1 รายการ ในวันที่ 25 เมษายน 2561 จำเลยทั้งสองจึงมีหน้าที่ต้องชำระราคาซื้อขายสินค้าทั้งห้ารายการให้แก่โจทก์ภายในวันที่ลงในเช็คแต่ละฉบับ เมื่อเช็คพิพาททั้งห้าฉบับถูกธนาคารปฏิเสธการใช้เงินเพราะจำเลยทั้งสองเปลี่ยนลายมือชื่อผู้มีสิทธิสั่งจ่ายเช็คของจำเลยที่ 1 ก่อนที่จะถึงวันที่ลงในเช็คฉบับที่ 1 เพียง 1 วัน และจำเลยทั้งสองมีคำสั่งห้ามมิให้ธนาคารใช้เงินตามเช็ค การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงครบองค์ประกอบความผิดฐานร่วมกันออกเช็คโดยมีเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น และออกเช็คโดยห้ามมิให้ธนาคารใช้เงินตามเช็คนั้นโดยเจตนาทุจริตตามฟ้องโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2618/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คหลังล้มละลาย: หนี้เกิดหลังคำสั่งศาล ไม่มีผลบังคับใช้ จำเลยไม่มีความผิด
จำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ภายหลังจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เป็นการมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นกับโจทก์ตามกฎหมายลักษณะตั๋วเงินประเภทเช็คซึ่งเป็นการกระทำเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลย โดยมิใช่กรณีกระทำตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้จัดการทรัพย์ หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ ตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 หนี้ตามเช็คพิพาทไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงขาดองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 จำเลยไม่มีความผิดตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8884/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาออกเช็คเพื่อชำระหนี้หรือเป็นประกัน หากมิได้มีเจตนาชำระหนี้ ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายข้อเท็จจริงแล้วว่าจำเลยทั้งสองออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้กู้ยืมเงินที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย แม้ตามสำเนาหนังสือสัญญากู้เงินท้ายฟ้องจะระบุว่า "เพื่อเป็นหลักฐานในเงินซึ่งข้าพเจ้ากู้ไปนี้ ข้าพเจ้าได้นำเช็คธนาคาร ก. ให้ท่านถือไว้เป็นประกัน" อันทำให้เข้าใจได้ว่าจำเลยทั้งสองไม่ได้ออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ขัดกับคำฟ้องก็ตาม แต่การค้นหาเจตนาที่แท้จริงจำต้องพิจารณาข้อเท็จจริงอื่น ๆ ประกอบเข้าด้วยหาใช่ต้องถือตามข้อความที่เป็นลายลักษณ์อักษรโดยฝ่ายเดียวและเป็นเรื่องที่คู่ความสามารถนำสืบข้อเท็จจริงได้ กรณีหาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์บรรยายฟ้องขัดกันอันจะทำให้จำเลยทั้งสองไม่อาจเข้าใจข้อหาที่โจทก์ฟ้อง ดังนี้ ฟ้องโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว
แม้จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพทำให้ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันออกเช็คพิพาทให้โจทก์ แต่การกระทำของจำเลยทั้งสองจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 ได้นั้น จำเลยทั้งสองต้องมีเจตนาออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ด้วย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏตามหนังสือสัญญากู้เงินว่า "เพื่อเป็นหลักฐานในเงินซึ่งข้าพเจ้ากู้ไปนี้ ข้าพเจ้าได้นำเช็คธนาคาร ก. ให้ท่านถือไว้เป็นประกัน" เมื่อโจทก์ไม่นำสืบถึงพฤติการณ์หรือข้อตกลงที่ทำให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้แตกต่างจากข้อความที่ระบุไว้ในหนังสือสัญญากู้เงินอย่างไร ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองออกเช็คพิพาทโดยมีเจตนามุ่งหมายให้เป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้ยืมเท่านั้น ส่วนข้อความในแบบพิมพ์ที่พิมพ์ออกจำหน่ายและใช้กันอยู่ทั่วไป โจทก์สามารถอ่านเข้าใจได้โดยง่าย หากไม่ตรงตามเจตนาที่โจทก์และจำเลยทั้งสองประสงค์ โจทก์สามารถตกเติมแก้ไขได้ แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์กระทำการดังกล่าว ดังนี้ จำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4
แม้จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพทำให้ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันออกเช็คพิพาทให้โจทก์ แต่การกระทำของจำเลยทั้งสองจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 ได้นั้น จำเลยทั้งสองต้องมีเจตนาออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ด้วย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏตามหนังสือสัญญากู้เงินว่า "เพื่อเป็นหลักฐานในเงินซึ่งข้าพเจ้ากู้ไปนี้ ข้าพเจ้าได้นำเช็คธนาคาร ก. ให้ท่านถือไว้เป็นประกัน" เมื่อโจทก์ไม่นำสืบถึงพฤติการณ์หรือข้อตกลงที่ทำให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้แตกต่างจากข้อความที่ระบุไว้ในหนังสือสัญญากู้เงินอย่างไร ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองออกเช็คพิพาทโดยมีเจตนามุ่งหมายให้เป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้ยืมเท่านั้น ส่วนข้อความในแบบพิมพ์ที่พิมพ์ออกจำหน่ายและใช้กันอยู่ทั่วไป โจทก์สามารถอ่านเข้าใจได้โดยง่าย หากไม่ตรงตามเจตนาที่โจทก์และจำเลยทั้งสองประสงค์ โจทก์สามารถตกเติมแก้ไขได้ แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์กระทำการดังกล่าว ดังนี้ จำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3427/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค การชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยเกินอัตรา อำนาจฟ้อง และเหตุบรรเทาโทษ
ความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 เกิดขึ้นเมื่อธนาคารปฏิเสธการใช้เงินตามเช็ค สถานที่ตั้งของธนาคารที่ปฏิเสธการจ่ายเงินจึงเป็นสถานที่ที่ความผิดเกิดขึ้น การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันออกเช็คธนาคาร ก. สาขาหาดกมลา ภูเก็ต ตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับให้แก่โจทก์ ต่อมาโจทก์นำเช็คพิพาททั้งสองฉบับเข้าบัญชีของโจทก์ที่ธนาคาร ก. สาขาบางรัก ซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร เพื่อเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคาร ก. สาขาหาดกมลา ภูเก็ต ปฏิเสธการจ่ายเงินนั้น ย่อมแสดงว่า ธนาคาร ก. สาขาบางรัก มิได้เป็นผู้จ่ายเงินตามเช็คให้แก่โจทก์คงเป็นแต่เพียงตัวแทนของโจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับให้เท่านั้น เมื่อธนาคาร ก. สาขาหาดกมลา ภูเก็ต ปฏิเสธการจ่ายเงิน ท้องที่จังหวัดภูเก็ตอันเป็นสถานที่ตั้งของธนาคาร ก. สาขาหาดกมลา ภูเก็ต ซึ่งเป็นธนาคารตามเช็คที่ปฏิเสธการจ่ายเงินจึงเป็นสถานที่ที่ความผิดเกิดขึ้น ความผิดคดีนี้จึงเกิดขึ้นในเขตศาลชั้นต้น ซึ่งมีอำนาจรับฟ้องไว้พิจารณาพิพากษา
ตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินระบุว่า ผู้กู้ตกลงกู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้ 5,000,000 บาท และตกลงชำระดอกเบี้ยให้แก่ผู้กู้ 150,000 บาท แม้การกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสามจะมีการตกลงดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี อันเป็นการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดก็ตาม แต่เมื่อได้ความในชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่า ในวันทำสัญญากู้ยืมเงินจำเลยที่ 2 ออกเช็คสั่งจ่ายให้แก่โจทก์ 5,450,000 บาท เมื่อเช็คดังกล่าวถึงกำหนดชำระเงิน ปรากฎว่าโจทก์ไม่สามารถนำเช็คไปขึ้นเงินได้ โจทก์จึงนำเช็คไปพบจำเลยที่ 2 จนจำเลยที่ 1 และที่ 2 ออกเช็คพิพาททั้งสองฉบับตามเอกสารหมาย จ.4 และ จ.5 ให้แก่โจทก์ การที่โจทก์นำเช็คพิพาททั้งสองฉบับตามเอกสารหมาย จ.4 และ จ.5 ไปเรียกเก็บเงิน แสดงว่าโจทก์เจตนาเข้าถือสิทธิตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับ เมื่อเช็คพิพาททั้งสองฉบับตามเอกสารหมาย จ.4 และ จ.5 สั่งจ่ายเงิน 5,000,000 บาท และ 450,000 บาท ตามลำดับ อันเป็นการแยกให้เห็นชัดว่าเช็คฉบับใดชำระเงินต้นและเช็คฉบับใดชำระดอกเบี้ยประกอบกับโจทก์ยังบรรยายฟ้องอีกด้วยว่า เป็นการสั่งจ่ายเช็คให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมและดอกเบี้ยพร้อมทั้งแนบสัญญากู้ยืมเงินมาท้ายคำฟ้องซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง กรณีจึงไม่อาจฟังว่าเช็คพิพาททั้งสองฉบับตามเอกสารหมาย จ.4 และ จ.5 เป็นเช็คที่ออกเพื่อชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยโดยไม่อาจแยกเงินต้นและดอกเบี้ยออกจากกันได้ เมื่อปรากฏว่าเช็คพิพาทเอกสารหมาย จ.4 สั่งจ่ายเงิน 5,000,000 บาท จึงเป็นเช็คที่ออกเพื่อชำระเงินต้น ส่วนเช็คพิพาทเอกสารหมาย จ.5 สั่งจ่ายเงิน 450,000 บาท จึงเป็นเช็คที่ออกเพื่อชำระดอกเบี้ยที่เรียกเกินอัตราตามที่กฎหมายกำหนด ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้กระทำผิดในส่วนของดอกเบี้ยที่โจทก์คิดเกินอัตราตามกฎหมาย ดังนั้น แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทเอกสารหมาย จ.5 ก็จะถือว่าโจทก์เป็นผู้ทรงโดยชอบและเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 สำหรับความผิดในส่วนของเช็คพิพาทเอกสารหมาย จ.5 แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะให้การรับสารภาพก็ไม่อาจฟังลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ ทั้งนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225 แต่ในส่วนของเช็คพิพาทเอกสารหมาย จ.4 นั้นเป็นเช็คที่ออกเพื่อชำระเงินต้นมิได้รวมดอกเบี้ยที่มิชอบเข้าไว้ด้วย จึงเป็นการออกเช็คชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย การที่จำเลยที่ 2 สั่งจ่ายเช็คพิพาทเอกสารหมาย จ.4 เพื่อชำระเงินต้นตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินของจำเลยที่ 1 จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทเอกสารหมาย จ.4 ในนามหรือแทนจำเลยที่ 1 อันเป็นการแสดงออกถึงความประสงค์ของนิติบุคคล เมื่อเช็คพิพาทเอกสารหมาย จ.4 ถึงกำหนดชำระแล้วปรากฎว่าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินด้วยเหตุผลว่า "เงินในบัญชีไม่พอจ่าย" จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4
ตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินระบุว่า ผู้กู้ตกลงกู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้ 5,000,000 บาท และตกลงชำระดอกเบี้ยให้แก่ผู้กู้ 150,000 บาท แม้การกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสามจะมีการตกลงดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี อันเป็นการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดก็ตาม แต่เมื่อได้ความในชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่า ในวันทำสัญญากู้ยืมเงินจำเลยที่ 2 ออกเช็คสั่งจ่ายให้แก่โจทก์ 5,450,000 บาท เมื่อเช็คดังกล่าวถึงกำหนดชำระเงิน ปรากฎว่าโจทก์ไม่สามารถนำเช็คไปขึ้นเงินได้ โจทก์จึงนำเช็คไปพบจำเลยที่ 2 จนจำเลยที่ 1 และที่ 2 ออกเช็คพิพาททั้งสองฉบับตามเอกสารหมาย จ.4 และ จ.5 ให้แก่โจทก์ การที่โจทก์นำเช็คพิพาททั้งสองฉบับตามเอกสารหมาย จ.4 และ จ.5 ไปเรียกเก็บเงิน แสดงว่าโจทก์เจตนาเข้าถือสิทธิตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับ เมื่อเช็คพิพาททั้งสองฉบับตามเอกสารหมาย จ.4 และ จ.5 สั่งจ่ายเงิน 5,000,000 บาท และ 450,000 บาท ตามลำดับ อันเป็นการแยกให้เห็นชัดว่าเช็คฉบับใดชำระเงินต้นและเช็คฉบับใดชำระดอกเบี้ยประกอบกับโจทก์ยังบรรยายฟ้องอีกด้วยว่า เป็นการสั่งจ่ายเช็คให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมและดอกเบี้ยพร้อมทั้งแนบสัญญากู้ยืมเงินมาท้ายคำฟ้องซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง กรณีจึงไม่อาจฟังว่าเช็คพิพาททั้งสองฉบับตามเอกสารหมาย จ.4 และ จ.5 เป็นเช็คที่ออกเพื่อชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยโดยไม่อาจแยกเงินต้นและดอกเบี้ยออกจากกันได้ เมื่อปรากฏว่าเช็คพิพาทเอกสารหมาย จ.4 สั่งจ่ายเงิน 5,000,000 บาท จึงเป็นเช็คที่ออกเพื่อชำระเงินต้น ส่วนเช็คพิพาทเอกสารหมาย จ.5 สั่งจ่ายเงิน 450,000 บาท จึงเป็นเช็คที่ออกเพื่อชำระดอกเบี้ยที่เรียกเกินอัตราตามที่กฎหมายกำหนด ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้กระทำผิดในส่วนของดอกเบี้ยที่โจทก์คิดเกินอัตราตามกฎหมาย ดังนั้น แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทเอกสารหมาย จ.5 ก็จะถือว่าโจทก์เป็นผู้ทรงโดยชอบและเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 สำหรับความผิดในส่วนของเช็คพิพาทเอกสารหมาย จ.5 แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะให้การรับสารภาพก็ไม่อาจฟังลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ ทั้งนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225 แต่ในส่วนของเช็คพิพาทเอกสารหมาย จ.4 นั้นเป็นเช็คที่ออกเพื่อชำระเงินต้นมิได้รวมดอกเบี้ยที่มิชอบเข้าไว้ด้วย จึงเป็นการออกเช็คชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย การที่จำเลยที่ 2 สั่งจ่ายเช็คพิพาทเอกสารหมาย จ.4 เพื่อชำระเงินต้นตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินของจำเลยที่ 1 จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทเอกสารหมาย จ.4 ในนามหรือแทนจำเลยที่ 1 อันเป็นการแสดงออกถึงความประสงค์ของนิติบุคคล เมื่อเช็คพิพาทเอกสารหมาย จ.4 ถึงกำหนดชำระแล้วปรากฎว่าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินด้วยเหตุผลว่า "เงินในบัญชีไม่พอจ่าย" จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1732/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: การแก้ไขข้อบกพร่องหนังสือมอบอำนาจและการมอบอำนาจช่วง
โจทก์จัดทำหนังสือมอบอำนาจในวันเดียวกันหลายฉบับ แต่โจทก์แนบสำเนาหนังสือมอบอำนาจมาท้ายฟ้องคดีนี้ผิดพลาดอันถือเป็นข้อบกพร่องเล็กน้อย ไม่ถึงกับทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์เสียไป เมื่อโจทก์ขอแก้ฟ้องก่อนลงมือสืบพยานและขอส่งสำเนาหนังสือมอบอำนาจฉบับใหม่ที่ถูกต้องแทน ศาลชั้นต้นอนุญาต ถือได้ว่าโจทก์แก้ไขข้อบกพร่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของผู้รับมอบอำนาจแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 820/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การในชั้นฎีกาและการสละปัญหาข้อกฎหมาย ผลกระทบต่อการพิจารณาคดีเช็ค
จำเลยยื่นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย ต่อมาจำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การจากที่ให้การปฏิเสธเป็นให้การรับสารภาพในชั้นฎีกา จึงเป็นอำนาจของศาลฎีกาที่จะพิจารณาสั่งคำร้องดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องเสียเองเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาให้ยกคำสั่งของศาลชั้นต้น และรับคำร้องดังกล่าวไว้พิจารณา และถือว่าจำเลยสละปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 814/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิด พ.ร.บ.เช็ค: การออกเช็คเพื่อชำระหนี้จริง & เจตนาออกเช็คเพื่อใช้หนี้
การออกเช็คที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 ต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายอันเป็นองค์ประกอบการกระทำความผิด การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้เงินกู้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ซึ่งเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย จึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ครบองค์ประกอบความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว คำฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
เช็คมีจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่าย ทั้งจำนวนเงินและวันที่ลงในเช็คตรงตามหนังสือรับสภาพหนี้ เมื่อโจทก์นำเช็คไปขึ้นเงินตามปกติแสดงว่าจำเลยออกเช็คไว้ล่วงหน้าให้เป็นการชำระหนี้ มิใช่เพียงเพื่อประกันหนี้ จำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คมอบให้โจทก์เป็นผู้กรอกวันเดือนปีในเช็คต่อหน้าจำเลยด้วยความยินยอมเห็นชอบของจำเลย ถือว่าจำเลยเป็นผู้ออกเช็คดังกล่าว
เช็คมีจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่าย ทั้งจำนวนเงินและวันที่ลงในเช็คตรงตามหนังสือรับสภาพหนี้ เมื่อโจทก์นำเช็คไปขึ้นเงินตามปกติแสดงว่าจำเลยออกเช็คไว้ล่วงหน้าให้เป็นการชำระหนี้ มิใช่เพียงเพื่อประกันหนี้ จำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คมอบให้โจทก์เป็นผู้กรอกวันเดือนปีในเช็คต่อหน้าจำเลยด้วยความยินยอมเห็นชอบของจำเลย ถือว่าจำเลยเป็นผู้ออกเช็คดังกล่าว