พบผลลัพธ์ทั้งหมด 434 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12007/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิรุธสัญญาเงินกู้และการออกเช็ค – พยานหลักฐานไม่เพียงพอรับฟังการกู้ยืมเงิน
จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสามฉบับเพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืม แต่ไม่มีเหตุผลใดที่จำเลยจะต้องนำเช็คพิพาทมามอบให้โจทก์เพื่อชำระหนี้ตั้งแต่ก่อนถึงกำหนดชำระหนี้เป็เวลานานโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้เรียกให้ทำเช่นนั้น ประกอบกับโจทก์เพิ่งรับซื้อฝากที่ดินจากจำเลยไปไม่นายจึงไม่นานเชื่อว่าโจทก์จะยินยอมให้จำเลยกู้ยืมเงินไปเป็นจำนวนมากอีกโดยมีเพียง ส. ซึ่งเป็นลูกหนี้อีกคนหนึ่งของโจทก์เป็นผู้ค้ำประกัน ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ชำระดอกเบี้ย และโจทก์ก็มิได้ทวงถามหรือติดใจเรียกเอาดอกเบี้ยเสียจึงเป็นเรื่องผิดปกติวิสัย ยิ่งกว่านั้นเมื่อเช็คพิพาทแต่ละฉบับถึงกำหนดโจทก์ก็มิได้นำไปเรียกเก็บเงินภายในเวลาอันสมควร เช่นนี้นับเป็นข้อพิรุธน่าสังสัยว่าจำเลยจะกู้ยืมเงินจากโจทก์ และออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้จริงหรือไม่ ในขณะที่จำเลยสามารถนำสืบถึงที่มาของการทำหนังสือสัญญากู้ยืมเงินและการออกเช็คพิพาทเพื่อเป็นประกันการชำระดอกเบี้ยตามสัญญาขายฝาก พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาไม่มีน้ำหนักมั่นคงเพียงพอจะรับฟังว่า จำเลยกู้ยืมเงินจากโจทก์ตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินแล้วออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11749/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คที่ออกโดยไม่มีบัญชีเงินฝากและทราบว่าใช้ไม่ได้ ถือเป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
การที่จำเลยนำเช็คของผู้อื่นซึ่งสูญหายไปแต่แจ้งอายัดแล้วมาลงลายมือชื่อ เมื่อเช็คพิพาทมีรายการครบถ้วนสมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 988 แล้วจึงถือว่าเป็นเช็คแล้ว เมื่อผู้ทรงนำไปเรียกเก็บเงินไม่ได้ ผู้ออกเช็คก็ย่อมต้องรับผิด การที่จำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระค่าไม้แปรรูปให้แก่ผู้เสียหาย ทั้ง ๆ ที่ทราบอยู่แล้วว่าจำเลยไม่มีบัญชีเงินฝากในธนาคาร ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4
ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า พยานหลักฐานโจทก์รับฟังไม่ได้ว่ามูลหนี้ตามเช็คเป็นหนี้ที่บังคับได้ตามกฎหมายนั้น ฎีกาของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 4 คดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้กักขังจำเลย 1 เดือน จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ตรี ประกอบ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้ในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยในข้อนี้จึงเป็นการไม่ชอบ
ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า พยานหลักฐานโจทก์รับฟังไม่ได้ว่ามูลหนี้ตามเช็คเป็นหนี้ที่บังคับได้ตามกฎหมายนั้น ฎีกาของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 4 คดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้กักขังจำเลย 1 เดือน จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ตรี ประกอบ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้ในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยในข้อนี้จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11742/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาจากการลงลายมือชื่อในเช็คเพื่อชำระหนี้ แม้ไม่ได้เป็นผู้สั่งซื้อโดยตรง
ตามรายงานกระบวนพิจารณา ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2546 ของศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 แถลงรับว่าในชั้นสอบสวนพันตำรวจตรี ธ. เป็นผู้แจ้งข้อกล่าวหาและเป็นผู้สอบคำให้การจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธและลงลายมือชื่อไว้จริงจึงถือได้ว่ามีการแจ้งข้อหาให้จำเลยที่ 2 ทราบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะเกิดเหตุแล้ว แม้จะมิได้มีการแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำที่จำเลยที่ 2 ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติขึ้นภายหลัง ก็ไม่ทำให้การสอบสวนเสียไป การสอบสวนจึงชอบแล้ว
เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายในเช็คพิพาททั้งสองฉบับ ชำระหนี้ค่าสินค้าให้แก่โจทก์ร่วม ทั้งยังให้ตัวอย่างลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 ว่า เป็นผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเช็คในนามจำเลยที่ 1 แก่ธนาคาร ดังนี้ แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ได้เป็นผู้สั่งซื้อสินค้าหรือมีหนี้สินใดกับโจทก์ร่วมโดยตรง เมื่อจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายในเช็คพิพาททั้งสองฉบับ จำเลยที่ 2 ก็ต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คให้แก่โจทก์ร่วมในฐานะผู้สั่งจ่าย จำเลยที่ 2 จะอ้างว่าเป็นการลงลายมือชื่อเพื่อเป็นการรับประกันหรือสร้างความน่าเชื่อถือในผลงานในฐานะเป็นวิศวกรโครงการไม่ได้ เมื่อเช็คทั้งสองฉบับเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย และธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คทั้งสองฉบับ การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4
เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายในเช็คพิพาททั้งสองฉบับ ชำระหนี้ค่าสินค้าให้แก่โจทก์ร่วม ทั้งยังให้ตัวอย่างลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 ว่า เป็นผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเช็คในนามจำเลยที่ 1 แก่ธนาคาร ดังนี้ แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ได้เป็นผู้สั่งซื้อสินค้าหรือมีหนี้สินใดกับโจทก์ร่วมโดยตรง เมื่อจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายในเช็คพิพาททั้งสองฉบับ จำเลยที่ 2 ก็ต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คให้แก่โจทก์ร่วมในฐานะผู้สั่งจ่าย จำเลยที่ 2 จะอ้างว่าเป็นการลงลายมือชื่อเพื่อเป็นการรับประกันหรือสร้างความน่าเชื่อถือในผลงานในฐานะเป็นวิศวกรโครงการไม่ได้ เมื่อเช็คทั้งสองฉบับเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย และธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คทั้งสองฉบับ การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9423-9424/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาของกรรมการผู้ลงลายมือชื่อเช็คที่ไม่สามารถใช้ได้ แม้เป็นการกระทำแทนบริษัท
จำเลยจะลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทในฐานะส่วนตัวหรือกระทำการแทนบริษัทจำเลยก็ต้องมีความรับผิดทางอาญาเช่นเดียวกัน เนื่องจากการดำเนินกิจการของบริษัทย่อมแสดงออกโดยทางผู้แทนทั้งหลายของบริษัท เมื่อจำเลยเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทและประทับตราสำคัญของบริษัทโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คอันเป็นความผิดตามฟ้อง ย่อมถือว่าจำเลยเป็นตัวการร่วมกับบริษัทออกเช็คพิพาท โจทก์จึงฟ้องจำเลยในฐานะส่วนตัวได้โดยไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่าจำเลยกับบริษัทร่วมกันกระทำผิด และกรณีเช่นนี้ถือไม่ได้ว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญเนื่องจากมิได้ส่งผลให้ผู้แทนหรือนิติบุคคลพ้นจากความรับผิดทางอาญา ทั้งจำเลยก็มิได้หลงต่อสู้ด้วย จึงไม่มีเหตุที่ศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5272/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิด พ.ร.บ.เช็ค: โจทก์ไม่ต้องบรรยายรายละเอียดหนี้ในฟ้อง เพียงแสดงว่ามีหนี้จริงและบังคับได้
พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 บัญญัติว่า "ผู้ใดออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายโดยมีลักษณะหรือมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น ฯลฯ เมื่อได้มีการยื่นเช็คเพื่อให้ใช้เงินโดยชอบด้วยกฎหมาย ถ้าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คนั้นผู้ออกเช็คมีความผิด" ตามบทบัญญัติดังกล่าวการออกเช็คที่จะเป็นความผิดนั้น จะต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายด้วยอันเป็นข้อเท็จจริงประการหนึ่งซึ่งเป็นองค์ประกอบของความผิด การที่โจทก์บรรยายฟ้องมีสาระสำคัญว่าจำเลยออกเช็คให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ซึ่งเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ครั้นเช็คถึงกำหนดโจทก์นำไปเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน การกระทำของจำเลยเป็นการออกเช็คโดยเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค จึงเป็นที่เห็นได้ว่าคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายข้อเท็จจริงแล้วว่าจำเลยออกเช็คเพียงชำระหนี้อันเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 และได้บรรยายข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำของจำเลยครบถ้วนเพียงพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาและต่อสู้คดีได้แล้ว ส่วนปัญหาที่ว่าจำเลยเป็นหนี้อะไรนั้นเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา โจทก์ไม่จำต้องบรรยายมาในฟ้อง ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3694/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการเข้าร่วมเป็นโจทก์: กรรมการบริษัทต้องกระทำการในนามบริษัท ไม่ใช่ส่วนตัว
ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยออกเช็คให้แก่บริษัท ส. โดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้นและในขณะที่ออกเช็คนั้นไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้ อันเป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 ผู้เสียหายในคดีนี้คือบริษัท ส. ไม่ใช่นาย ส. แม้นาย ส. จะเป็นกรรมการของบริษัท ส. แต่การกระทำการแทนบริษัทจะต้องลงลายมือชื่อและประทับตราของบริษัท จึงจะมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทได้ เมื่อปรากฏตามคำร้องของนาย ส. ว่าเป็นการยื่นคำร้องในฐานะส่วนตัว ดังนั้นนาย ส. จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้นาย ส. เข้าเป็นโจทก์ร่วมจึงเป็นการไม่ชอบ โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่คู่ความในคดี ไม่มีสิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาต่อมา ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1219/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทุจริตสั่งห้ามจ่ายเช็ค-อำนาจศาลแขวง-การรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ร่วม
จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ร่วมตามหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายเอกสารหมาย จ.1 โดยจำเลยออกเช็คตามเอกสารหมาย จ.3 เพื่อชำระหนี้ดังกล่าวบางส่วนให้แก่โจทก์ร่วม ทั้งนี้โจทก์ร่วมยินยอมให้จำเลยเข้าครอบครองใช้สอยประโยชน์ในทรัพย์สินที่ตกลงจะซื้อจะขายนับแต่วันทำสัญญา ซึ่งจำเลยได้ออกเช็คตามเอกสารหมาย จ.9 เพื่อชำระหนี้ค่าใช้สอยดังกล่าวให้แก่โจทก์ร่วม การที่โจทก์ร่วมปกปิดข้อเท็จจริงที่ว่า โจทก์ร่วมถูกธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ฟ้องและศาลพิพากษาให้ชำระหนี้ 115 ล้านบาทเศษเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2539 และสัญญาจะซื้อจะขายในคดีนี้ตามเอกสารหมาย จ.1 ทำกันเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2539 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากศาลแพ่งกรุงเทพใต้พิพากษาให้โจทก์ร่วมชำระหนี้เพียง 12 วัน น่าเชื่อได้ว่าขณะทำสัญญาดังกล่าวจำเลยไม่ทราบว่าโจทก์ร่วมถูกธนาคารฟ้องให้ชำระหนี้และยึดทรัพย์ซึ่งรวมถึงที่ดินที่จะขายให้แก่จำเลยด้วย อันเป็นเหตุที่ทำให้โจทก์ร่วมไม่สามารถโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่จะขายตามสัญญาให้แก่จำเลยได้ ทั้งในวันที่ตกลงจะจดทะเบียนโอนที่ดินตามสัญญานั้น โจทก์ร่วมและเจ้าของร่วมคนอื่นก็มิได้ไปทำการโอนให้จำเลย เมื่อจำเลยทราบเหตุที่โจทก์ร่วมถูกศาลพิพากษาให้โจทก์ร่วมชำระหนี้และโจทก์ร่วมไม่ไปจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่จำเลยตามกำหนด การที่จำเลยเห็นว่าการปฏิบัติตามสัญญาระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยตามสัญญาจะซื้อจะขายเอกสารหมาย จ.1 นั้น มีปัญหาที่อาจจะทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ ดังนั้น การที่จำเลยไปแจ้งให้ธนาคารระงับการจ่ายเงินตามเช็คเอกสารหมาย จ.9 ซึ่งเป็นการสั่งจ่ายในการที่จำเลยได้ครอบครองหรือใช้สอยทรัพย์สินที่จะซื้อขายกันจึงเป็นการระงับการสั่งจ่ายโดยสุจริต แม้ว่าตามสัญญาจะซื้อจะขายเอกสารหมาย จ.1 ข้อ 10 วรรคสองจะระบุว่าสำหรับเงินที่ผู้จะซื้อชำระให้แก่ผู้จะขายเป็นรายเดือนเดือนละ 300,000 บาท ตามความในข้อ 6 นั้นไม่อยู่ในข้อบังคับของวรรคแรกคงปล่อยให้ตกเป็นของผู้จะขายตลอดไป เพราะถือว่าเป็นค่าตอบแทนของการเข้าครอบครองและใช้สอยประโยชน์แล้ว ก็หาทำให้จำเลยมีความผิดเพราะแจ้งธนาคารระงับการจ่ายเงินโดยสุจริตไม่
อนึ่ง คดีความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 นั้น ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือทั้งจำทั้งปรับ จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17, 25 และต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเว้นแต่ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลแขวงพิเคราะห์เห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์และอนุญาตให้อุทธรณ์ หรืออธิบดีกรมอัยการหรือพนักอัยการซึ่งอธิบดีกรมอัยการได้มอบหมายลงลายมือชื่อรับรองในอุทธรณ์ว่ามีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยก็ให้รับอุทธรณ์นั้นไว้พิจารณาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 22, 22 ทวิ ซึ่งใช้บังคับแก่ศาลจังหวัดในท้องที่ซึ่งยังมิได้มีศาลแขวงเปิดทำการด้วยตาม พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดฯ มาตรา 3 คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่ากรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีคำสั่งห้ามธนาคารใช้เงินตามเช็คโดยเจตนาทุจริต โจทก์และโจทก์ร่วมอุทธรณ์ความว่า พยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมฟังได้ว่าจำเลยมีคำสั่งห้ามธนาคารใช้เงินตามเช็คโดยเจตนาทุจริตเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง โจทก์อุทธรณ์โดยอธิบดีอัยการเขต 2 รักษาการในตำแหน่งอัยการพิเศษประจำเขต 2 ซึ่งได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุดรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง จึงเป็นอุทธรณ์ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ชอบที่จะรับไว้พิจารณาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 22 ทวิ ส่วนอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมไม่มีผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งอนุญาตให้อุทธรณ์ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 22 แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วม ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ก็ชอบที่จะวินิจฉัยให้ยกเสีย การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมมาด้วยเป็นการไม่ถูกต้อง
อนึ่ง คดีความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 นั้น ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือทั้งจำทั้งปรับ จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17, 25 และต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเว้นแต่ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลแขวงพิเคราะห์เห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์และอนุญาตให้อุทธรณ์ หรืออธิบดีกรมอัยการหรือพนักอัยการซึ่งอธิบดีกรมอัยการได้มอบหมายลงลายมือชื่อรับรองในอุทธรณ์ว่ามีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยก็ให้รับอุทธรณ์นั้นไว้พิจารณาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 22, 22 ทวิ ซึ่งใช้บังคับแก่ศาลจังหวัดในท้องที่ซึ่งยังมิได้มีศาลแขวงเปิดทำการด้วยตาม พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดฯ มาตรา 3 คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่ากรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีคำสั่งห้ามธนาคารใช้เงินตามเช็คโดยเจตนาทุจริต โจทก์และโจทก์ร่วมอุทธรณ์ความว่า พยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมฟังได้ว่าจำเลยมีคำสั่งห้ามธนาคารใช้เงินตามเช็คโดยเจตนาทุจริตเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง โจทก์อุทธรณ์โดยอธิบดีอัยการเขต 2 รักษาการในตำแหน่งอัยการพิเศษประจำเขต 2 ซึ่งได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุดรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง จึงเป็นอุทธรณ์ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ชอบที่จะรับไว้พิจารณาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 22 ทวิ ส่วนอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมไม่มีผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งอนุญาตให้อุทธรณ์ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 22 แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วม ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ก็ชอบที่จะวินิจฉัยให้ยกเสีย การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมมาด้วยเป็นการไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 361/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ที่บังคับได้ตามกฎหมายต้องเป็นนิติกรรมที่ชอบด้วยกฎหมาย หากสินค้าเป็นของปลอม หนี้จึงไม่สมบูรณ์
จำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ค่าสินค้าแก่ผู้เสียหาย หนี้ค่าสินค้าดังกล่าวจะต้องเป็นหนี้ที่บังคับได้ตามกฎหมายจึงจะครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า สินค้าที่ผู้เสียหายขายให้จำเลยเป็นสินค้าที่ซื้อขายกันได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ที่จะมีผลทำให้การซื้อขายสินค้าอันเป็นมูลหนี้ตามฟ้องระหว่างผู้เสียหายกับจำเลยเป็นนิติกรรมที่มิได้ต้องห้ามตามกฎหมายและขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนอันจะถือได้ว่าเป็นนิติกรรมที่ไม่ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ซึ่งเป็นหนี้ที่บังคับได้ตามกฎหมาย ดังนี้จึงไม่อาจฟังได้ว่าหนี้ที่จำเลยออกเช็คให้แก่ผู้เสียหายเป็นหนี้ที่บังคับได้ตามกฎหมาย การออกเช็คของจำเลยจึงไม่ครบองค์ประกอบอันจะเป็นความผิดตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขวันที่เช็คที่ถูกปฏิเสธแล้ว ไม่ถือเป็นการออกเช็คฉบับใหม่ ความผิดฐานออกเช็คจึงไม่เกิดขึ้นซ้ำ
จำเลยนำเช็คที่ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้วมาแก้ไขวันที่และลงชื่อกำกับวันที่แก้ไขไว้ไปชำระหนี้ค่าเช่าซื้อแก่ผู้เสียหาย แม้จะเจตนาให้มีผลผูกพันเพื่อชำระหนี้ค่าเช่าซื้อ และเป็นการแก้ไขวันสั่งจ่ายซึ่งเป็นข้อสำคัญในเช็คตาม ป.พ.พ. มาตรา 1007 แต่เป็นเพียงการแก้วันที่ในเช็คเพียงอย่างเดียว เช็คยังคงเป็นเช็คฉบับเดิม เมื่อเช็คพิพาทถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินมาครั้งหนึ่งแล้ว ความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 ย่อมเกิดขึ้นนับแต่วันนั้นแล้ว การที่เสียหายนำเช็คพิพาทไปเรียกเก็บเงินอีกและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเป็นครั้งที่สอง จึงไม่ได้เกิดความผิดขึ้นใหม่อีก เพราะเป็นการกระทำอันเดียวกันนั้นเอง จะเป็นความผิดสองครั้งหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1517/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายวันเวลาในฟ้องอาญาเช็ค และการใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุก
ฟ้องโจทก์บรรยายเพียงวันที่ที่เขียนลงในเช็คหรือวันออกเช็คและวันที่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินว่า เป็นวันที่ 19 กันยายน 2548 แต่โจทก์มิได้บรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาว่าเป็นเวลากลางวันหรือกลางคืน ฟ้องโจทก์จึงขาดสาระสำคัญเกี่ยวกับเวลา แม้จำเลยจะไม่ได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์แต่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยยกขึ้นอ้างได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แต่เนื่องจากความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 เกิดขึ้นเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินวันที่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินจึงเป็นวันเกิดเหตุ เมื่อคำฟ้องของโจทก์ได้ระบุว่า ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2548 จะมิได้ระบุว่าเป็นเวลาใด ก็พอเข้าใจได้ว่าโจทก์นำเช็คตามฟ้องไปยื่นให้ธนาคารใช้เงินในเวลากลางวัน อันเป็นเวลาทำการงานตามปกติของธนาคารทั่วไป ถือได้ว่าฟ้องโจทก์ได้บรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับวันเวลาซึ่งเกิดการกระทำผิด ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)