พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2906/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องใหม่และไม่เคยมีใช้มาก่อน การเพิกถอนสิทธิบัตรเมื่อแบบไม่ใหม่
เมื่อโจทก์เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายช้อนส้อมเช่นเดียวกับที่จำเลยได้รับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์และต้องหยุดดำเนินการไป นับได้ว่าสิทธิของโจทก์ถูกกระทบหรือถูกโต้แย้งสิทธิแต่ผู้เดียวในสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยแล้ว โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการที่จะกล่าวอ้างว่าสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยได้ออกไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และฟ้องคดีเพื่อขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ มาตรา 64 วรรคสอง ได้ความว่าช้อนส้อมของโจทก์มีการผลิตและจำหน่ายในประเทศไทยมาก่อนที่จำเลยจะขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ ทั้งการตรวจคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ไม่ได้พิจารณาถึงแบบผลิตภัณฑ์ที่มีหรือใช้แพร่หลายอยู่แล้วในประเทศไทยก่อนวันขอรับสิทธิบัตรตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ มาตรา 57 (1) และเมื่อไม่ปรากฏว่าแบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรของจำเลยแตกต่างจากช้อนส้อมของโจทก์ เท่ากับว่าแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยมีหรือใช้กันแพร่หลายอยู่แล้วในประเทศไทยก่อนวันขอรับสิทธิบัตรและถือว่าไม่มีความใหม่ ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ มาตรา 57 (1)
การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรได้ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ มาตรา 56 ต้องประกอบด้วยลักษณะ 2 ประการ คือ เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่และเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่ออุตสาหกรรมหรือหัตถกรรม จะขาดข้อใดข้อหนึ่งไม่ได้
การที่การออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยไม่มีความใหม่ ย่อมจะไม่อาจขอรับสิทธิบัตรได้ สิทธิบัตรของจำเลยจึงได้ออกไปโดยไม่ชอบด้วยมาตรา 56 แห่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ ถือเป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์และเพิกถอนได้ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ มาตรา 64
การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรได้ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ มาตรา 56 ต้องประกอบด้วยลักษณะ 2 ประการ คือ เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่และเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่ออุตสาหกรรมหรือหัตถกรรม จะขาดข้อใดข้อหนึ่งไม่ได้
การที่การออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยไม่มีความใหม่ ย่อมจะไม่อาจขอรับสิทธิบัตรได้ สิทธิบัตรของจำเลยจึงได้ออกไปโดยไม่ชอบด้วยมาตรา 56 แห่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ ถือเป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์และเพิกถอนได้ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ มาตรา 64
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 974/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตรต้องไม่ซ้ำกับที่มีการเปิดเผยก่อนหน้า การเพิกถอนสิทธิบัตรและการชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยอุทธรณ์อ้างว่า ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ที่ว่าโจทก์ยังไม่ได้ผลิตรั้วตะแกรงเหล็กสำเร็จรูปตามรูปแบบใหม่ออกจำหน่าย และอีกตอนหนึ่งที่ว่าโจทก์ยังอยู่ขั้นทดลองกระบวนการผลิต โจทก์จึงยังมิได้รับความเสียหายไม่นับเป็นผู้มีส่วนได้เสียในสิทธิบัตร นั้น เห็นว่า ตามคำบรรยายฟ้องและทางนำสืบที่คู่ความรับกันได้ความว่า จำเลยนำเจ้าพนักงานตำรวจเข้าตรวจค้นและดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ โดยกล่าวหาว่าโจทก์ผลิตสินค้าเลียนสินค้าของจำเลยที่จดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลย เลขที่ 9914, 9915, 9922 และ 9923 กอปรกับคำบรรยายฟ้องของโจทก์ในอีกตอนหนึ่งและที่โจทก์นำสืบยังมีเนื้อหาเกี่ยวกับแบบผลิตภัณฑ์ที่จำเลยได้รับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวว่ามิใช่การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งหากเป็นจริงย่อมนับว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
แบบผลิตภัณฑ์รั้วสำเร็จรูปตามสิทธิบัตรที่พิพาททั้ง 4 ฉบับของจำเลยเป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่เหมือนหรือคล้ายกับที่มีการตีพิมพ์อันเป็นการเปิดเผยและแพร่หลายอยู่ก่อนวันขอรับสิทธิบัตรของจำเลยตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ มาตรา 57 (2) การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จดทะเบียนทั้ง 4 ฉบับ จึงไม่ใช่การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ตามความหมายของ พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ มาตรา 56 สิทธิบัตรทั้ง 4 ฉบับ ของจำเลยย่อมไม่สมบูรณ์ซึ่งโจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนได้ตามมาตรา 64 แพ่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ
แบบผลิตภัณฑ์รั้วสำเร็จรูปตามสิทธิบัตรที่พิพาททั้ง 4 ฉบับของจำเลยเป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่เหมือนหรือคล้ายกับที่มีการตีพิมพ์อันเป็นการเปิดเผยและแพร่หลายอยู่ก่อนวันขอรับสิทธิบัตรของจำเลยตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ มาตรา 57 (2) การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จดทะเบียนทั้ง 4 ฉบับ จึงไม่ใช่การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ตามความหมายของ พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ มาตรา 56 สิทธิบัตรทั้ง 4 ฉบับ ของจำเลยย่อมไม่สมบูรณ์ซึ่งโจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนได้ตามมาตรา 64 แพ่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5939/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์: ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยผิดหมวดกฎหมาย
ตามคำฟ้องโจทก์มีประเด็นที่จะต้องพิจารณาว่า การออกแบบผลิตภัณฑ์โครงสำหรับยึดหลอดนีออนที่จำเลยนำไปขอรับสิทธิบัตรต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522มาตรา 56 หรือไม่ หากฟังได้ว่าไม่ใช่เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ สิทธิบัตรพิพาทที่จำเลยได้รับมาก็ออกโดยไม่ชอบด้วยมาตรา 56 ศาลย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนสิทธิบัตรพิพาทได้ตามมาตรา 64 แต่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่า ผลิตภัณฑ์ที่จำเลยขอรับสิทธิบัตรไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่หรือเป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นประดิษฐ์สูงขึ้นและไม่เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม การได้รับสิทธิบัตรพิพาทของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนได้ตามมาตรา 54 ดังนี้ ศาลอุทธรณ์ไปวินิจฉัยเรื่องการเพิกถอนสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ซึ่งเป็นการวินิจฉัยโดยอาศัยบทบัญญัติในหมวด 2 แห่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 แต่สิทธิบัตรพิพาทที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนเป็นสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติเรื่องการเพิกถอนสิทธิบัตรที่ออกไปโดยไม่ชอบไว้ในหมวด 3 เป็นบทกฎหมายต่างหมวดกันหลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่าจะเพิกถอนสิทธิบัตรการประดิษฐ์กับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้หรือไม่ได้ มีข้อบัญญัติแตกต่างกันหลายประการ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ยังคลาดเคลื่อนไม่ตรงกับประเด็นตามที่โจทก์ฟ้อง ปัญหาดังกล่าวนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่าย-ใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นกล่าวได้เอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246และ 247 คดีนี้แม้คู่ความจะสืบพยานมาเสร็จสิ้นแล้ว แต่เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีเป็นไปตามลำดับชั้นศาล เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควร ก็ชอบที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีใหม่ทั้งหมดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5939/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์: ศาลฎีกายกประเด็นข้อกฎหมายความสงบเรียบร้อย ย้อนสำนวนเพื่อพิจารณาใหม่
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเรื่องการเพิกถอนสิทธิบัตรการประดิษฐ์โดยอาศัยบทบัญญัติในหมวด2แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตรพ.ศ.2522แต่สิทธิบัตรพิพาทที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนเป็นสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติเรื่องการเพิกถอนสิทธิบัตรที่ออกไปโดยไม่ชอบไว้ในหมวด3เป็นบทกฎหมายต่างหมวดกันหลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่าจะเพิกถอนสิทธิบัตรการประดิษฐ์กับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้หรือไม่ได้มีข้อบัญญัติแตกต่างกันหลายประการคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ยังคลาดเคลื่อนไม่ตรงกับประเด็นตามที่โจทก์ฟ้องปัญหาดังกล่าวนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นกล่าวได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5),246และมาตรา247วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5939/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์: ศาลฎีกายกประเด็นข้อกฎหมายความต่างหมวดสิทธิบัตรการประดิษฐ์และออกแบบ
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเรื่องการเพิกถอนสิทธิบัตรการประดิษฐ์โดยอาศัยบทบัญญัติในหมวด2แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตรพ.ศ.2522แต่สิทธิบัตรพิพาทที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนเป็นสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติเรื่องการเพิกถอนสิทธิบัตรที่ออกไปโดยไม่ชอบไว้ในหมวด3เป็นบทกฎหมายต่างหมวดกันหลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่าจะเพิกถอนสิทธิบัตรการประดิษฐ์กับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้หรือไม่ได้มีข้อบัญญัติแตกต่างกันหลายประการคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ยังคลาดเคลื่อนไม่ตรงกับประเด็นตามที่โจทก์ฟ้องปัญหาดังกล่าวนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นกล่าวได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5),246และมาตรา247วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5939/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์: ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เนื่องจากวินิจฉัยผิดหมวดกฎหมาย
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเรื่องการเพิกถอนสิทธิบัตรการประดิษฐ์โดยอาศัยบทบัญญัติในหมวด 2 แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522แต่สิทธิบัตรพิพาทที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนเป็นสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติเรื่องการเพิกถอนสิทธิบัตรที่ออกไปโดยไม่ชอบไว้ในหมวด 3 เป็นบทกฎหมายต่างหมวดกันหลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่าจะเพิกถอนสิทธิบัตรการประดิษฐ์กับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้หรือไม่ได้ มีข้อบัญญัติแตกต่างกันหลายประการ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ยังคลาดเคลื่อนไม่ตรงกับประเด็นตามที่โจทก์ฟ้อง ปัญหาดังกล่าวนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นกล่าวได้เอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5),246 และมาตรา 247 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 475/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตรไม่สมบูรณ์: แบบผลิตภัณฑ์ไม่ใช่ของใหม่ เปิดเผยต่อสาธารณะแล้ว จำเลยมีสิทธิขอเพิกถอนได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสี่กระทำละเมิดต่อสิทธิบัตรของโจทก์จำเลยทั้งสี่ให้การปฏิเสธต่อสู้ว่าสิทธิบัตรของโจทก์ไม่สมบูรณ์พร้อมกับฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรของโจทก์ จึงเป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสี่ยกความไม่สมบูรณ์ในสิทธิบัตรของโจทก์ขึ้นอ้าง ตามมาตรา 64 วรรคสอง แห่ง พระราชบัญญัติสิทธิบัตรฯ ภาระการพิสูจน์ว่าสิทธิบัตรของโจทก์สมบูรณ์หรือไม่ย่อมตกอยู่แก่จำเลยทั้งสี่ จำเลยทั้งสี่บรรยายฟ้องแย้งว่าผลิตภัณฑ์ที่จะได้รับสิทธิบัตรจะต้องเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ แต่ผลิตภัณฑ์ที่โจทก์ได้รับสิทธิบัตรมีการใช้กันแพร่หลายในหรือนอกราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ของโจทก์ ผลิตภัณฑ์ของโจทก์จึงไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ใหม่ไม่สามารถขอรับสิทธิบัตรได้ สิทธิบัตรของโจทก์จึงไม่สมบูรณ์ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสี่บรรยายแจ้งชัดแล้วว่าสิทธิบัตรของโจทก์ไม่สมบูรณ์เพราะเหตุใด ไม่เคลือบคลุม การฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรเพราะเป็นสิทธิบัตรไม่สมบูรณ์เป็นการฟ้องโดยอาศัยอำนาจตาม พระราชบัญญัติสิทธิบัตรฯมาตรา 64 วรรคสอง ไม่ใช่การฟ้องเนื่องจากมูลละเมิด ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ซึ่งมีกำหนดไว้ 10 ปี แบบผลิตภัณฑ์เครื่องตัดกระแสไฟฟ้าของโจทก์ไม่ใช่เป็นแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ที่จะนำไปยื่นรับคำขอสิทธิบัตรจากพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตามมาตรา 56,57 แห่ง พระราชบัญญัติสิทธิบัตรฯ สิทธิบัตรของโจทก์ที่กรมทะเบียนการค้ากระทรวงพาณิชย์รับจดทะเบียนไว้จึงไม่สมบูรณ์จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เช่นเดียวกับโจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียมีอำนาจฟ้องและขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 475/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตรไม่สมบูรณ์จากการเผยแพร่ก่อนขอรับสิทธิบัตร และอายุความฟ้องแย้งตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ละเมิดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องตัดกระแสไฟฟ้าของโจทก์ จำเลยให้การปฏิเสธว่าสิทธิบัตรโจทก์ไม่สมบูรณ์และฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรดังกล่าว ภาระการพิสูจน์และหน้าที่นำสืบในประเด็นว่า สิทธิบัตรโจทก์สมบูรณ์หรือไม่ย่อมตกแก่จำเลยทั้งสี่ แต่เมื่อโจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อนหลายประเด็นประกอบกับโจทก์และจำเลยทั้งสี่ต่างนำพยานหลักฐานเข้าสืบด้วยกันทั้งสองฝ่ายแล้ว แม้โจทก์จะเป็นฝ่ายนำสืบก่อนก็ไม่ทำให้โจทก์เสียเปรียบศาลฎีกาไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาใหม่ การที่จำเลยทั้งสี่ฟ้องแย้งขอให้ศาลเพิกถอนสิทธิบัตรโจทก์เพราะเป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์นั้น เป็นการฟ้องตามมาตรา 64 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522ไม่ใช่การฟ้องเนื่องจากมูลละเมิด เมื่ออายุความเกี่ยวกับอำนาจฟ้องดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงต้องถืออายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ลงโฆษณาเผยแพร่และผลิตภัณฑ์เครื่องตัดกระแสไฟฟ้ามาก่อนเป็นเวลาหลายปีแล้วต่อมาจึงนำผลิตภัณฑ์ของโจทก์ดังกล่าวไปขอรับสิทธิบัตรรูปแบบผลิตภัณฑ์ ถือไม่ได้ว่าแบบผลิตภัณฑ์เครื่องตัดกระแสไฟฟ้าดังกล่าวเป็นแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ที่จะนำไปยื่นรับคำขอสิทธิบัตรได้ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 56และ 57 สิทธิบัตรโจทก์จึงไม่สมบูรณ์จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องตัดกระแสไฟฟ้าเช่นเดียวกับโจทก์ จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสีย และมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 475/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสิทธิบัตร: การพิสูจน์ความสมบูรณ์, อายุความ, และการเผยแพร่ก่อนขอรับสิทธิบัตร
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ละเมิดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องตัดกระแสไฟฟ้าของโจทก์ จำเลยให้การปฏิเสธว่าสิทธิบัตรโจทก์ไม่สมบูรณ์และฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรดังกล่าว ภาระการพิสูจน์และหน้าที่นำสืบในประเด็นว่า สิทธิบัตรโจทก์สมบูรณ์หรือไม่ย่อมตกแก่จำเลยทั้งสี่ แต่เมื่อโจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อนหลายประเด็นประกอบกับโจทก์และจำเลยทั้งสี่ต่างนำพยานหลักฐานเข้าสืบด้วยกันทั้งสองฝ่ายแล้ว แม้โจทก์จะเป็นฝ่ายนำสืบก่อนก็ไม่ทำให้โจทก์เสียเปรียบศาลฎีกาไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาใหม่
การที่จำเลยทั้งสี่ฟ้องแย้งขอให้ศาลเพิกถอนสิทธิบัตรโจทก์เพราะเป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์นั้น เป็นการฟ้องตามมาตรา 64 วรรคสอง แห่งพ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ไม่ใช่การฟ้องเนื่องจากมูลละเมิด เมื่ออายุความเกี่ยวกับอำนาจฟ้องดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องถืออายุความ10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ลงโฆษณาเผยแพร่และผลิตภัณฑ์เครื่องตัดกระแสไฟฟ้ามาก่อนเป็นเวลาหลายปี แล้วต่อมาจึงนำผลิตภัณฑ์ของโจทก์ดังกล่าวไปขอรับสิทธิบัตรรูปแบบผลิตภัณฑ์ ถือไม่ได้ว่าแบบผลิตภัณฑ์เครื่องตัดกระแสไฟฟ้าดังกล่าวเป็นแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ที่จะนำไปยื่นรับคำขอสิทธิบัตรได้ตามพ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 56 และ 57 สิทธิบัตรโจทก์จึงไม่สมบูรณ์จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องตัดกระแสไฟฟ้าเช่นเดียวกับโจทก์ จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสีย และมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรโจทก์ได้
การที่จำเลยทั้งสี่ฟ้องแย้งขอให้ศาลเพิกถอนสิทธิบัตรโจทก์เพราะเป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์นั้น เป็นการฟ้องตามมาตรา 64 วรรคสอง แห่งพ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ไม่ใช่การฟ้องเนื่องจากมูลละเมิด เมื่ออายุความเกี่ยวกับอำนาจฟ้องดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องถืออายุความ10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ลงโฆษณาเผยแพร่และผลิตภัณฑ์เครื่องตัดกระแสไฟฟ้ามาก่อนเป็นเวลาหลายปี แล้วต่อมาจึงนำผลิตภัณฑ์ของโจทก์ดังกล่าวไปขอรับสิทธิบัตรรูปแบบผลิตภัณฑ์ ถือไม่ได้ว่าแบบผลิตภัณฑ์เครื่องตัดกระแสไฟฟ้าดังกล่าวเป็นแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ที่จะนำไปยื่นรับคำขอสิทธิบัตรได้ตามพ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 56 และ 57 สิทธิบัตรโจทก์จึงไม่สมบูรณ์จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องตัดกระแสไฟฟ้าเช่นเดียวกับโจทก์ จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสีย และมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2670/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเพิกถอนสิทธิบัตร: ผู้มีส่วนได้เสียต้องเสียหายจริงจากการออกสิทธิบัตร
ผู้มีส่วนได้เสียตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 6วรรคสอง หมายถึงผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการออกสิทธิบัตรนั้น โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า การที่จำเลยได้รับสิทธิบัตรมาโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายทำให้โจทก์ไม่สามารถที่จะผลิต จำหน่าย หรือมีไว้ซึ่งสินค้าที่มีรูปลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับแบบผลิตภัณฑ์ที่จำเลยได้ยื่นคำขอไว้ ซึ่งเป็นการกระทำที่โจทก์จะกระทำในภายหน้าและยังไม่แน่นอน โดยโจทก์มิได้กล่าวอ้างมาในคำฟ้องเลยว่าโจทก์ได้ผลิต จำหน่าย หรือมีไว้ซึ่งสินค้าดังกล่าว กรณียังถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากการออกสิทธิบัตรพิพาทดังกล่าว โจทก์จึงมิใช่บุคคลผู้มีส่วนได้เสียและไม่มีอำนาจฟ้อง มาตรา 64 วรรคสอง บัญญัติว่า "ความไม่สมบูรณ์ตามวรรคหนึ่งบุคคลใดจะกล่าวอ้างขึ้นก็ได้ หรือบุคคลผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการจะฟ้องต่อศาลขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรนั้นก็ได้" นั้นการกล่าวอ้าง หมายถึงการกล่าวอ้างในที่ทั่ว ๆ ไป รวมทั้งยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาล แต่การที่จะฟ้องขอให้ศาลสั่งว่าสิทธิบัตรไม่สมบูรณ์และให้เพิกถอนสิทธิบัตรนั้น บุคคลที่จะฟ้องต้องเป็นบุคคลผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการเท่านั้น แม้โจทก์จะเป็น"บุคคลใด" ตามมาตรา 64 วรรคสอง ก็ไม่อาจฟ้องคดีได้ การที่ศาลจะรับฟังพยานหลักฐานใดย่อมจะต้องพิจารณาว่าพยานหลักฐานนั้นเกี่ยวกับประเด็นในคดีหรือไม่ หากพยานหลักฐานใดไม่เกี่ยวกับประเด็นหรือนอกประเด็น แม้คู่ความจะนำสืบกล่าวอ้างพยานหลักฐานนั้นต่อศาล ศาลย่อมมีอำนาจที่จะไม่รับฟังพยานหลักฐานนั้นโจทก์บรรยายฟ้องว่า การที่จำเลยได้รับสิทธิบัตรพิพาทโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายทำให้โจทก์เสียหายเพราะไม่สามารถที่จะผลิต จำหน่ายหรือมีไว้ซึ่งสินค้าที่มีรูปลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับแบบผลิตภัณฑ์ที่จำเลยยื่นคำขอไว้ การที่โจทก์ส่งเอกสารเพื่อจะให้ศาลรับฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ได้ผลิตสินค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับแบบผลิตภัณฑ์ที่จำเลยได้รับสิทธิบัตรมานานแล้ว โดยผลิตมาก่อนฟ้องและก่อนที่จำเลยจะได้รับสิทธิบัตรนั้น เป็นการสืบนอกฟ้องนอกประเด็นศาลหาจำต้องรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์นั้นไม่.