คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 274

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 77 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3616/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนเครื่องหมายการค้าเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน แม้มีเจตนาผลิตและจำหน่ายสินค้าเดียวกัน
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 109,110,114 และ 115 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32,33,83,91,273 และ 274 จำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพ เมื่อการกระทำของจำเลยทั้งสามแต่ละข้อหาตามฟ้องเป็นการกระทำโดยมีเจตนาในการกระทำผิดแยกต่างหากจากกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ประกอบกับจำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดทั้งสามข้อหาตามฟ้องโดยมีเจตนาต่างกัน จำเลยจะฎีกาโต้เถียงว่า การกระทำผิดของจำเลยตามคำฟ้องโจทก์เป็นการกระทำต่อเนื่องเชื่อมโยงอยู่ในวาระเดียว โดยจำเลยมีเจตนาเพียงต้องการผลิตสินค้าแล้วใช้เครื่องหมายการค้าที่เลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายเพื่อการจำหน่าย ซึ่งเป็นการกระทำผิดกรรมเดียวหาได้ไม่ ดังนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาเรียงกระทงลงโทษจำเลยจึงถูกต้องแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4150/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องทุกข์แจ้งความเท็จและละเมิดสิทธิทางทรัพย์สินทางปัญญา: การกระทำโดยสุจริตเพื่อรักษาสิทธิของตนเอง
จำเลยที่1ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่โจทก์ที่1ในข้อหาเอารูปและรอยประดิษฐ์ในการประกอบการค้าของจำเลยที่1มาใช้หรือทำให้ปรากฎที่สินค้าหีบห่อวัตถุที่ใช้ห่อหุ้มเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของจำเลยที่1อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา272(1)เท่านั้นจำเลยที่1ไม่ได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่โจทก์ที่1ในความผิดฐานปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรา273และมาตรา274อันเป็นความผิดเกี่ยวด้วยเครื่องหมายการค้าในอันที่จะต้องพิจารณาว่าจำเลยที่1ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามกฎหมายแล้วหรือไม่เมื่อจำเลยที่1มีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้ารูปและรอยประดิษฐ์ตราม้าดาวแล้วแม้จำเลยที่1จะไม่ใช่เจ้าของเครื่องหมายการค้ารูปและรอยประดิษฐ์ตราม้าดาวตามกฎหมายจำเลยที่1ก็ย่อมมีสิทธิ์ร้องทุกข์ให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ที่1ในข้อหาเอารูปและรอยประดิษฐ์ในการประกอบการค้าของจำเลยที่1มาใช้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายได้ รองเท้าฟ้องน้ำตราม้าดาวของจำเลยที่1และตราหมีสู้งูของโจทก์ที่1ต่างมีรูปดาวห้าแฉกอยู่ภายในวงกลมเล็กและวงกลมเล็กอยู่ภายในวงกลมใหญ่อีกชั้นหนึ่งระหว่างวงกลมทั้งสองมีอักษรโรมันอยู่ด้านบนและมีอักษรไทยอยู่ด้านล่างเหมือนกันตัวอักษรดังกล่าวและวงกลมเล็กกับวงกลมใหญ่มีขนาดเท่าๆกันการวางตำแหน่งรูปและรอยประดิษฐ์ดังกล่าวมีลักษณะเหมือนกันจะผิดกันก็แต่เฉพาะรูปสัตว์ที่อยู่ในดาวห้าแตกกับตัวอักษรโรมันและอักษรไทยเท่านั้นส่วนหูรองเท้านั้นนอกจากจะมีรูปและรอยประดิษฐ์ที่คล้ายคลึงกันแล้วหูรองเท้าที่โจทก์ที่1ผลิตยังมีรูปเกือกม้าเช่นเดียวกับของจำเลยซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับตัวม้าไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับตัวหมีและงูที่เป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์อีกทั้งถุงพลาสติกที่ใช้บรรจุรองเท้าของโจทก์ทั้งสี่ก็มีลายเส้นและลวดลายเหมือนกันและโค้งไปทางเดียวกันขนาดเส้นโค้งก็โตเท่ากันกับของจำเลยที่1สีของลายเส้นก็เหมือนกันยิ่งสนับสนุนถึงมูลเหตุที่มีน้ำหนักพอทำให้จำเลยที่2และที่3ในฐานะผู้มีอำนาจทำแทนจำเลยที่1เชื่อโดยสุจริตใจว่าโจทก์ทั้งสี่ได้นำรูปและรอยประดิษฐ์ในการประกอบการค้าของจำเลยที่1ไปใช้กับรองเท้าฟ้องน้ำที่โจทก์ทั้งสี่ผลิตขึ้นเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของจำเลยที่1การที่จำเลยที่1โดยจำเลยที่2และที่3ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่โจทก์ทั้งสี่จึงเป็นการกระทำเพื่อรักษาสิทธิและผลประโยชน์ในการประกอบกิจการค้าของตนโดยสุจริตมาได้มีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ทั้งสี่ส่วนขั้นตอนหลังจากที่จำเลยไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนแล้วเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนผู้รับการร้องทุกข์ที่จะใช้ดุลพินิจในการดำเนินคดีแก่โจทก์หรือไม่จำเลยไม่มีส่วนหรือไม่มีสิทธิเข้ามาเกี่ยวข้องกับการปฎิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวนการกระทำของจำเลยที่1ถึงที่3จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7878/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำและความชอบด้วยกฎหมายในการบวกโทษจำคุกคดีเก่ากับคดีใหม่ ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจเพิ่มเติมโทษหากโจทก์มิได้อุทธรณ์
การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีก่อนมีเจตนาเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น ส่วนการกระทำของจำเลยที่ 1และที่ 2 ในคดีนี้ มีเจตนาเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เมื่อเจตนาของการกระทำผิดทั้งสองข้อหาแตกต่างกันการกระทำผิดของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นการกระทำหลายกรรมต่างกัน โจทก์ย่อมฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1และที่ 2 ทุกกรรมเป็นกระทงความผิดได้ ฟ้องคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) หลังจากที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไม่นำโทษจำคุกของจำเลยที่ 2ที่รอไว้ในคดีก่อนบวกเข้ากับโทษจำคุกคดีนี้แล้ว โจทก์ไม่อุทธรณ์ ถือว่าโจทก์พอใจในคำพิพากษาศาลชั้นต้นส่วนการพิจารณาพิพากษาชั้นอุทธรณ์ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212 บัญญัติว่าคดีที่จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาที่ให้ลงโทษ ห้ามมิให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย เว้นแต่โจทก์จะได้อุทธรณ์ในทำนองนั้น ฉะนั้นเมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ปัญหาเรื่องการบวกโทษแล้ว บทบัญญัติมาตรานี้ห้ามศาลอุทธรณ์นำเรื่องการบวกโทษขึ้นมาวินิจฉัยอีก เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษแก่จำเลยการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาว่ามีอำนาจบวกโทษจำเลยที่ 2 ได้เองจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7878/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำและความเสียหายจากการบวกโทษ: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจจำกัดในการแก้ไขโทษจำคุก
การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีก่อน มีเจตนาเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น ส่วนการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีนี้ มีเจตนาเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เมื่อเจตนาของการกระทำผิดทั้งสองข้อหาแตกต่างกัน การกระทำผิดของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นการกระทำหลายกรรมต่างกัน โจทก์ย่อมฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทุกกรรมเป็นกระทงความผิดได้ ฟ้องคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4)
หลังจากที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไม่นำโทษจำคุกของจำเลยที่ 2ที่รอไว้ในคดีก่อนบวกเข้ากับโทษจำคุกคดีนี้แล้ว โจทก์ไม่อุทธรณ์ ถือว่าโจทก์พอใจในคำพิพากษาศาลชั้นต้น ส่วนการพิจารณาพิพากษาชั้นอุทธรณ์ ป.วิ.อ.มาตรา 212 บัญญัติว่า คดีที่จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาที่ให้ลงโทษ ห้ามมิให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย เว้นแต่โจทก์จะได้อุทธรณ์ในทำนองนั้น ฉะนั้นเมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ปัญหาเรื่องการบวกโทษแล้ว บทบัญญัติมาตรานี้ห้ามศาล-อุทธรณ์นำเรื่องการบวกโทษขึ้นมาวินิจฉัยอีก เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษแก่จำเลย การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาว่ามีอำนาจบวกโทษจำเลยที่ 2 ได้เองจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3620/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า แม้ผู้กระทำผิดไม่ใช่กรรมการบริษัท แต่เป็นผู้ดำเนินการกิจการก็ต้องรับผิดทางอาญา
แถบป้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมที่จดทะเบียนไว้แล้วใช้ผ้าพื้นสีกรมท่าตัวอักษรคำว่า KIKADA สีเหลือง แต่ที่จำเลยทำขึ้นใช้ผ้าพื้นสีขาว ตัวอักษรคำว่า KIKDA สีดำ ซึ่งต่างกันแต่เพียงสีของแถบป้ายกับสีของตัวอักษรและลีลาการเขียนอักษรเท่านั้นแต่ชื่อที่เรียกขานเป็นอย่างเดียวกัน เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม ซึ่งเมื่อนำมาใช้กับสินค้าประเภทเดียวกันแล้ว อาจทำให้ผู้ซื้อหลงผิดได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นซึ่งได้จดทะเบียนแล้ว เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นนั้น ในความรับผิดทางอาญานั้น หากนิติบุคคลกระทำความผิดนอกจากนิติบุคคลนั้นจะต้องรับผิดแล้ว ผู้ที่มีส่วนในการกระทำความผิดนั้นย่อมต้องรับผิดด้วย โดยไม่คำนึงถึงว่าผู้นั้นจะเป็นกรรมการของนิติบุคคลนั้นหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยเป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับกิจการของบริษัท ก. ที่กระทำความผิดฐานเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น จำเลยจึงมีความผิดด้วย แม้จำเลยจะมีหนังสือรับรองการจดทะเบียนมาแสดงว่าจำเลยมิใช่กรรมการของบริษัทก. ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3620/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าจนผู้ซื้อหลงเชื่อ แม้สีและลีลาการเขียนต่างกัน แต่ชื่อเหมือนกัน ถือเป็นความผิดทางอาญา
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมและที่จำเลยทำขึ้นใช้คำว่า"KIKADA" เช่นเดียวกัน โดยแถบป้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมใช้ผ้าพื้นสีกรมท่า ตัวอักษรคำว่า KIKADA สีเหลือง ส่วนที่จำเลยทำขึ้นใช้ผ้าพื้นสีขาว ตัวอักษรคำว่า KIKADA สีดำ ซึ่งต่างกันแต่เพียงสีของแถบป้ายกับสีของตัวอักษรและลีลาการเขียนตัวอักษรเท่านั้นแต่ชื่อที่เรียกขานเป็นชื่ออย่างเดียวกัน เครื่องหมายการค้าที่จำเลยทำขึ้นจึงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม เมื่อนำมาใช้กับสินค้าประเภทเดียวกันแล้วอาจทำให้ผู้ซื้อหลงผิดว่าเป็นสินค้าของโจทก์ร่วมได้ ในความรับผิดทางอาญา หากนิติบุคคลกระทำความผิดนอกจากนิติบุคคลจะต้องรับผิดแล้ว ผู้ที่มีส่วนในการกระทำความผิดย่อมต้องรับผิดด้วย โดยไม่คำนึงว่าผู้นั้นจะเป็นกรรมการของนิติบุคคลหรือไม่เมื่อจำเลยเป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับกิจการของบริษัทก. จำกัดที่ยึดได้เครื่องหมายการค้าที่เลียนแบบโจทก์ร่วมเป็นของกลางจำเลยย่อมมีความผิดทางอาญาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3620/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าคล้ายกันทำให้ผู้บริโภคสับสน และความรับผิดทางอาญาของผู้มีส่วนร่วม
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมและที่จำเลยทำขึ้นใช้คำว่า"KIKADA" เช่นเดียวกัน โดยแถบป้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมใช้ผ้าพื้นสีกรมท่า ตัวอักษรคำว่า KIKADA สีเหลือง ส่วนที่จำเลยทำขึ้นใช้ผ้าพื้นสีขาว ตัวอักษรคำว่า KIKADA สีดำ ซึ่งต่างกันแต่เพียงสีของแถบป้ายกับสีของตัวอักษรและลีลาการเขียนตัวอักษรเท่านั้น แต่ชื่อที่เรียกขานเป็นชื่ออย่างเดียวกัน เครื่องหมายการค้าที่จำเลยทำขึ้นจึงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม เมื่อนำมาใช้กับสินค้าประเภทเดียวกันแล้วอาจทำให้ผู้ซื้อหลงผิดว่าเป็นสินค้าของโจทก์ร่วมได้
ในความรับผิดทางอาญา หากนิติบุคคลกระทำความผิดนอกจากนิติบุคคลจะต้องรับผิดแล้ว ผู้ที่มีส่วนในการกระทำความผิดย่อมต้องรับผิดด้วย โดยไม่คำนึงว่าผู้นั้นจะเป็นกรรมการของนิติบุคคลหรือไม่ เมื่อจำเลยเป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับกิจการของบริษัท ก.จำกัด ที่ยึดได้เครื่องหมายการค้าที่เลียนแบบโจทก์ร่วมเป็นของกลาง จำเลยย่อมมีความผิดทางอาญาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1965/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียน: ผลกระทบต่อการฟ้องร้องและการพิสูจน์ความผิด
โจทก์และโจทก์ร่วมฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันเลียนเครื่องหมายการค้า คำว่า แจ๊คสัน JACKSON ของโจทก์ร่วมซึ่งได้จดทะเบียนแล้วและโจทก์ร่วมได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าของโจทก์ร่วมประเภทกางเกงยีนสำเร็จรูปนำออกจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไป โดยจำเลยทั้งสองใช้เครื่องหมายการค้า คำว่า JACKSONG(แจ๊คซอง) กับสินค้ากางเกงยีนของจำเลยทั้งสองเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม และร่วมกันจำหน่ายและเสนอจำหน่ายกางเกงยีนที่มีเครื่องหมายการค้าเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมแก่ประชาชนทั่วไป แต่ทางนำสืบของโจทก์และโจทก์ร่วมกลับปรากฏว่า โจทก์ร่วมหาได้นำเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนดังกล่าวที่ได้รับโอนมาไปใช้กับสินค้ากางเกงยีนของโจทก์ร่วมไม่ โจทก์ร่วมผลิตและจำหน่ายกางเกงยีนติดเครื่องหมายการค้าคำว่า JACKSON และข้างหน้ามีรูปกีตาร์1 ตัว วางตั้งเฉียง จำเลยทั้งสองได้เลียนเครื่องหมายการค้าJACKSON ซึ่งเขียนด้วยตัวพิมพ์ใหญ่มีรูปกีตาร์ ของ โจทก์ร่วมโดยเพิ่มอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ตัว G อีก 1 ตัว ท้ายคำว่า JACKSON เป็น JACKSONGและดัดแปลงรูปกีตาร์ ให้แตกต่างจากของโจทก์ร่วมเพียงเล็กน้อยดังนี้ เมื่อปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า JACKSON มีรูปกีตาร์ของโจทก์ร่วมยังมิได้รับการจดทะเบียน จึงมีผลเท่ากับโจทก์และโจทก์ร่วมอ้างว่าจำเลยทั้งสองเลียนเครื่องหมายการค้ายังมิได้จดทะเบียนของโจทก์ร่วมข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาดังกล่าวจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงดั่ง ที่กล่าวในฟ้องไม่อาจลงโทษจำเลยทั้งสองตามฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192วรรคสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3172/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนเครื่องหมายการค้าและการเสนอขายสินค้าปลอม ศาลมีอำนาจริบข้าวสารที่เป็นของกลางได้
จำเลยทั้งสองร่วมกันทำเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นแล้วนำไปติดประทับไว้ที่กระสอบซึ่งมีข้าวสารเจ้าบรรจุอยู่ และร่วมกันเสนอจำหน่ายและจำหน่ายข้าวสารเจ้านั้นแก่ผู้ซื้อข้าวสารเจ้าทั้งหมดจึงเป็นทรัพย์ส่วนหนึ่งที่จำเลยทั้งสองใช้ในการกระทำความผิดตามฟ้อง ศาลมีอำนาจสั่งริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3172/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนเครื่องหมายการค้าและจำหน่ายสินค้าปลอม ศาลมีอำนาจริบทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิด
จำเลยทั้งสองร่วมกันทำเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นแล้วนำไปติดประทับไว้ที่กระสอบซึ่งมีข้าวสารเจ้าบรรจุอยู่ และร่วมกันเสนอจำหน่ายและจำหน่ายข้าวสารเจ้านั้นแก่ผู้ซื้อข้าวสารเจ้าทั้งหมดจึงเป็นทรัพย์ส่วนหนึ่งที่จำเลยทั้งสองใช้ในการกระทำความผิดตามฟ้อง ศาลมีอำนาจสั่งริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33(1).
of 8