คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 274

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 77 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3377/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีทรัพย์สินทางปัญญาต้องแสดงรายละเอียดการกระทำผิดที่ชัดเจน มิฉะนั้นศาลอาจยกฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่าโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า ไซยาโนเทค ไบโอแอสติน (Bioastin) เมื่อประมาณต้นปี 2555 เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกันถึงวันฟ้อง จำเลยได้ลงโฆษณาสินค้าทางอินเทอร์เน็ท ชื่อเว็บไซต์ www.เจ้าแม่อาหารเสริม.com อ้างว่าจำเลยเป็นผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารเสริมประเภทสาหร่ายแดงไบโอแอสติน (Bioastin) ซึ่งเป็นความเท็จ รายละเอียดปรากฏตามคำโฆษณาของจำเลยในเว็บไซต์ แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยเอาชื่อ รูป และรอยประดิษฐ์ ไซยาโนเทค ไบโอแอสติน (Bioastin) ในการประกอบการค้าของบริษัทไซยาโนเทค จำกัด และโจทก์มาใช้หรือทำให้ปรากฏที่สินค้าหีบ ห่อ วัตถุที่ใช้หุ้มห่อ แจ้งความ รายการแสดงราคา จดหมายเกี่ยวกับการค้าหรือสิ่งอื่นทำนองเดียวกัน โดยมีเจตนาเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าไซยาโนเทค ไบโอแอสติน (Bioastin) หรือการค้าของบริษัทไซยาโนเทค จำกัด และโจทก์ และจำเลยไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความเท็จอย่างไรเพื่อให้เสียความเชื่อถือในสถานที่การค้า สินค้า อุตสาหกรรมหรือพาณิชย์การของบริษัทไซยาโนเทค จำกัด และโจทก์ โดยมุ่งประโยชน์แก่การค้าของจำเลยซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272 (1) (3) และ 275 และโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่า สินค้าที่จำเลยจำหน่ายหรือเสนอจำหน่ายนั้นเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้าของบริษัทไซยาโนเทค จำกัด และโจทก์ และจำเลยเป็นผู้ปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว ซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 108, 109 และ ป.อ. มาตรา 273, 274 หรือจำเลยเป็นผู้นำเข้ามาในราชอาณาจักร จำหน่าย เสนอจำหน่าย หรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมตามมาตรา 108 หรือที่เลียนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นตามมาตรา 109 อันจะเป็นความผิดตามมาตรา 110 (1) ประกอบมาตรา 108 หรือ 109 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ทั้งโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่า บริษัทไซยาโนเทค จำกัด เป็นเจ้าของสิทธิบัตรในผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธีใด และสินค้าที่จำเลยจำหน่ายหรือเสนอจำหน่ายนั้นเป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นหรือใช้กรรมวิธีตามสิทธิบัตรของบริษัทไซยาโนเทค จำกัด อย่างไรอันจะเป็นความผิดตามมาตรา 36, 38 และ 85 แห่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 ซึ่งโจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยมาอีกเช่นกัน ฟ้องโจทก์จึงมิได้แสดงข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับการกระทำนั้นๆ พอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาความผิดดังกล่าวได้ดีตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5340/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ชื่อทางการค้าเดิมหลังยกเลิกสิทธิตัวแทน ไม่เป็นความผิดอาญาฐานเลียนเครื่องหมายการค้าหรือใช้ชื่อผู้อื่น
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าซึ่งจดทะเบียนไว้สำหรับสินค้าจำพวก 9 รายการสินค้า คอมพิวเตอร์ซอฟแวร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ใช้กับคอมพิวเตอร์ เครื่องปลายทางคอมพิวเตอร์ จอภาพคอมพิวเตอร์ เครื่องเซ็นเซอร์บัตร จำเลยทั้งสองใช้ตราประทับของจำเลยที่ 1 อันมีเครื่องหมายอักษาโรมัน Q และคำว่า Q-MATIC ประกอบอยู่ด้วยเป็นหัวกระดาษจดหมายที่จำเลยทั้งสองมีถึงลูกค้าของจำเลยทั้งสอง กับเป็นหัวกระดาษใบสั่งงาน และใช้ลงโฆษณากิจการของจำเลยทั้งสองทางอินเทอร์เน็ตในเว็บไซต์ของจำเลยทั้งสอง แม้จะตรงกับเครื่องหมายการค้าพิพาทอยู่ด้วย แต่เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้ใช้เครื่องหมายต่อสินค้าตามรายการสินค้าที่โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ และไม่ใช่ลักษณะที่เป็นการใช้อย่างเครื่องหมายการค้า จึงไม่เป็นความผิดฐานเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นที่จดทะเบียนไว้แล้วในราชอาณาจักรตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 109
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 3 วรรคสอง ให้ใช้มาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวแทนบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับการเลียนเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนภายในราชอาณาจักรตาม ป.อ. มาตรา 274 แล้ว ศาลจึงไม่จำตัองวินิจฉัยความผิดตาม ป.อ. มาตรา 274 อีก
เดิมโจทก์อนุญาตให้บริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าและชื่อทางการค้าคำว่า Q-MATIC ของโจทก์การที่จำเลยทั้งสองใช้คำดังกล่าวในการประกอบการค้าของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการใช้ตามสิทธิที่จำเลยทั้งสองได้รับอนุญาตจากโจทก์ โดยเฉพาะยิ่งจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลโดยใช้ตราประทับซึ่งมีคำว่า Q-MATIC ประกอบอยู่ด้วยก่อนที่โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของตนในราชอาณาจักรหรืออนุญาตให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ในราชอาณาจักรแล้ว ย่อมแสดงว่า จำเลยที่ 1 ดำเนินกิจการโดยแสดงออกว่าเป็นสินค้าและการค้าของจำเลยที่ 1 เองมาโดยตลอด มิได้มีเจตนาเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของโจทก์ แม้ต่อมาโจทก์ได้ยกเลิกการอนุญาตให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ และไม่ประสงค์จะให้จำเลยที่ 1 ใช้คำว่า Q-MATIC ประกอบการค้าของจำเลยที่ 1 ต่อไป หากจำเลยทั้งสองยังคงใช้คำดังกล่าวต่อไปอีกก็ย่อมเป็นเพียงความรับผิดทางแพ่งหากมี ทั้งการที่จำเลยที่ 1 ใช้ตราประทับตามที่จดทะเบียนนิติบุคคลโดยใช้ชื่อและตราประทับที่ประกอบด้วยคำว่า Q-MATIC มาก่อนที่โจทก์จะอนุญาตให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ในราชอาณาจักรก็ยังมีข้อโต้แย้งอยู่ว่า โจทก์มีสิทธิห้ามจำเลยที่ 1 ใช้ในการประกอบการค้าของจำเลยที่ 1 หรือไม่ จำเลยทั้งสองยังไม่มีเจตนากระทำความผิดทางอาญาตาม ป.อ. มาตรา 272 (1) จึงไม่มีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5340/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เครื่องหมายการค้าโดยตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับอนุญาต ไม่ถือเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272 (1) หากไม่มีเจตนาทำให้ประชาชนหลงเชื่อ
การกระทำที่จะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272 (1) นั้น จะต้องได้ความว่า ผู้กระทำมีเจตนาพิเศษในการเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ หรือข้อความใด ๆ ในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้ หรือทำให้ปรากฏที่สินค้า หีบ ห่อ เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของผู้อื่น เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าและชื่อทางการค้าคำว่า Q-MATIC จึงเป็นการใช้ตามสิทธิที่จำเลยทั้งสองได้รับอนุญาตจากโจทก์ ไม่ใช่เป็นการกระทำอันมีลักษณะเป็นการเอาชื่อ รูป หรือรอยประดิษฐ์ในการประกอบการค้าคำว่า Q-MATIC ของโจทก์ไปใช้กับการประกอบการค้าของจำเลยที่ 1 โดยไม่มีสิทธิหรือโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ และมีเจตนาพิเศษเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของโจทก์แต่อย่างใด แม้ต่อมาโจทก์จะได้แจ้งยกเลิกการอนุญาตให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ และไม่ประสงค์จะให้จำเลยที่ 1 ใช้คำว่า Q-MATIC ประกอบการค้าของจำเลยที่ 1 ต่อไป หากจำเลยทั้งสองยังคงใช้คำดังกล่าวต่อไปอีกก็เป็นเพียงความรับผิดทางแพ่งของจำเลยทั้งสองเท่านั้น การกระทำของจำเลยทั้งสองยังไม่มีเจตนาอันเป็นองค์ประกอบของการกระทำความผิดทางอาญาตาม ป.อ. มาตรา 272 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1255/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำไม่ครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ.มาตรา 271, 272(1) และ 274 เนื่องจากไม่ได้ขายของ, ไม่ใช้ชื่อรูป รอยประดิษฐ์เดียวกัน และเครื่องหมายการค้าไม่ได้จดทะเบียน
การกระทำอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 271 ต้องมีองค์ประกอบความผิด คือ ผู้กระทำต้อง "ขายของ" โดยหลอกลวงด้วยประการใดๆ โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันเอาชื่อทางการค้าและเครื่องหมายการค้า PENTHOUSE ของโจทก์ไปใช้กับกิจการให้บริการโรงแรม และได้ใช้ชื่อทางการค้าและเครื่องหมายการค้า PENTHOUSE ของโจทก์ประกอบเป็นชื่อ Domain name www.penthouse@penthousehotel.com เพื่อโฆษณากิจการของโรงแรมดังกล่าว กับใช้ชื่อจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ว่า penthouse@penthousehotel.com เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตามคำบรรยายฟ้องดังกล่าวโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งสามให้ "บริการ" กิจการโรงแรม ไม่ได้กล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งสามขายของ ดังนี้ แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำฟ้องของโจทก์ การกระทำของจำเลยทั้งสามก็ไม่อาจเป็นความผิดตามมาตรา 271
การกระทำที่จะถือเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272 (1) นั้นจึงต้องเป็นการนำชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ หรือข้อความใดๆ ในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้ ซึ่งชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ หรือข้อความใดๆ ที่นำมาใช้นี้ต้องนำมาใช้ในชื่อหรือข้อความเดียวกันในลักษณะปลอม ไม่ใช่เพียงแต่เลียนแบบ เมื่อเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ได้ใช้ในการประกอบการค้านั้น คือ อักษรโรมันพิมพ์ใหญ่ว่า "PENTHOUSE" ส่วนรูปหรือรอยประดิษฐ์หรือข้อความที่จำเลยทั้งสามใช้ในการประกอบกิจการค้าตามที่โจทก์นำสืบคือ
ซึ่งมีลักษณะเป็นการประดิษฐ์รูปและคำประกอบกันมิได้มีลักษณะเป็นตัวอักษรโรมันพิมพ์ใหญ่เช่นของโจทก์ ส่วน Domain name ที่จำเลยทั้งสามใช้ในการสื่อสารเกี่ยวกับธุรกิจโรงแรมของจำเลยทั้งสามคือ www.penthousehotel.com และจดหมายอิเล็กทรอนิกส์คือ penthouse@penthousehotel.com ไม่ได้ใช้เพียงชื่อว่า PENTHOUSE การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่อาจมีมูลเป็นความผิดฐานเอาชื่อหรือข้อความใดๆ ในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้ หรือทำให้ปรากฏที่แจ้งความ จดหมายเกี่ยวกับการค้าหรือสิ่งอื่นทำนองเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นการค้าของผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 272 (1)
การกระทำอันจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 274 นี้ได้ เครื่องหมายการค้าของผู้อื่นที่ถูกเลียนจึงต้องเป็นเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วในหรือนอกราชอาณาจักร โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า PENTHOUSE ไว้ในประเทศสหรัฐอเมริกากับสินค้าจำพวก 38, 16 รายการสินค้า นิตยสาร ปฏิทิน และจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศไทยกับสินค้าจำพวก 16, 41 รายการสินค้า นิตยสาร กับจดทะเบียนเครื่องหมายดังกล่าวเป็นเครื่องหมายบริการกับรายการสินค้า ผลิตและแจกจ่ายรายการโทรทัศน์ บริการไนต์คลับและบ่อนกาสิโนเท่านั้นแต่ตามคำฟ้องโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งสามเลียนเครื่องหมายบริการของโจทก์เพื่อใช้กับกิจการโรงแรม อันเป็นเครื่องหมายบริการที่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้จดทะเบียนไว้แล้วทั้งในและนอกราชอาณาจักร ส่วนที่กล่าวอ้างว่า จำเลยเลียนเครื่องหมายบริการของโจทก์เพื่อใช้กับกิจการและบริการต่างๆ ของโรงแรมด้วย โจทก์ก็กล่าวถึงกิจการบริการต่างๆ ดังกล่าวไว้เฉพาะกิจการบริการสปา และสระว่ายน้ำภายในโรงแรมอันเป็นเครื่องหมายบริการที่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้จดทะเบียนไว้แล้วทั้งในและนอกราชอาณาจักร คดีโจทก์จึงไม่มีมูลในข้อหานี้เช่นกัน
??
??
??
??
1/1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 269/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนเครื่องหมายการค้าและการจำหน่ายสินค้าละเมิด ศาลแก้ไขโทษปรับให้เหมาะสมกับความเสียหาย
มาตรา 3 วรรคสอง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ ให้ใช้มาตรา 109 และ 110 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวแทนบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับการเลียนเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนภายในราชอาณาจักรตามมาตรา 274 และการปฏิบัติต่อสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวตามมาตรา 275 แห่ง ป.อ. แล้ว ในการปรับบทกฎหมายจึงไม่ต้องอ้างบทบัญญัติในมาตรา 274 และ 275 แห่ง ป.อ. อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 269/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนเครื่องหมายการค้า: ศาลแก้ไขบทลงโทษ โดยใช้เฉพาะ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า แทนการอ้างอิงประมวลกฎหมายอาญา
เมื่อจำเลยทั้งสองมีความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 109 และ 110 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 274 และ 275 แต่มาตรา 3 วรรคสอง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ให้ใช้มาตรา 109 และ 110 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวแทนบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับการเลียนเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนภายในราชอาณาจักรตามมาตรา 274 และการปฏิบัติต่อสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวตามมาตรา 275 แห่งประมวลกฎหมายอาญาแล้ว ในการปรับบทกฎหมายจึงไม่ต้องอ้างบทบัญญัติในมาตรา 274 และ 275 อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2205/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดลิขสิทธิ์และการใช้เครื่องหมายการค้าโดยมิชอบ การฟ้องร้องต้องระบุรายละเอียดการกระทำที่เข้าข่ายความผิดชัดเจน
การกระทำของจำเลยที่โจทก์บรรยายฟ้องอ้างว่าเป็นความผิดคือ การนำเอาเทปบันทึกภาพและเสียงภาพยนตร์ เรื่อง อุลตร้าแมนทิก้า ที่จำเลยจัดทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ไปเผยแพร่ต่อสาธารณชนผ่านทางสถานีโทรทัศน์ เป็นการให้บริการที่ใช้เครื่องหมายบริการที่เลียนเครื่องหมายบริการของโจทก์ซึ่งได้จดทะเบียนไว้แล้วนอกราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ แต่การกระทำที่จะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 110 (2) ต้องเป็นการให้บริการที่ใช้เครื่องหมายบริการที่เลียนเครื่องหมายบริการของผู้อื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรเท่านั้น การให้บริการที่ใช้เครื่องหมายบริการที่เลียนเครื่องหมายบริการของโจทก์ซึ่งได้จดทะเบียนไว้นอกราชอาณาจักรไม่อาจเป็นความผิดตามบทกฎหมายมาตรานี้ได้ ทั้งไม่ปรากฏจากฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเป็นการให้บริการใดและเครื่องหมายบริการของโจทก์เป็นอย่างไร ฟ้องที่โจทก์บรรยายดังกล่าวจึงไม่มีมูลที่จะเป็นความผิดตามมาตรา 110 (2)
การกระทำที่จะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272 (1) ต้องเป็นการเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ หรือข้อความใด ๆ ในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้หรือทำให้ปรากฏที่หีบ ห่อ วัตถุที่ใช้หุ้มห่อ แจ้งความ รายการแสดงราคา จดหมายเกี่ยวกับการค้า หรือสิ่งอื่นทำนองเดียวกันเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของผู้อื่นนั้น แต่จากที่โจทก์บรรยายฟ้องไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยนำเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ หรือข้อความใดในการประกอบการค้าของโจทก์ในภาพยนตร์ชุดอุลตร้าแมนมาทำให้ปรากฏที่สินค้าใดโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของโจทก์ ทั้งการที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยนำเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ และข้อความที่ใช้ในการประกอบการค้าของโจทก์ในภาพยนตร์ชุดอุลตร้าแมนมาทำให้ปรากฏอยู่ในเทปบันทึกภาพและเสียงภาพยนตร์เรื่อง อุลตร้าแมนทิก้า ที่จำเลยจัดทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์และนำไปเผยแพร่ต่อสาธารณชนผ่านทางสถานีโทรทัศน์นั้น ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการบรรยายฟ้องว่าจำเลยได้เอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ หรือข้อความมาใช้หรือทำให้ปรากฏที่สินค้า หีบ ห่อ วัตถุที่ใช้ห่อหุ้ม แจ้งความ รายการแสดงราคา จดหมายเกี่ยวกับการค้า หรือสิ่งอื่นทำนองเดียวกันแต่อย่างใด แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าจำเลยนำเทปบันทึกภาพและเสียงภาพยนตร์เรื่องอุลตร้าแมนทิก้าออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนผ่านทางสถานีโทรทัศน์ซึ่งเป็นการให้บริการโดยใช้เครื่องหมายบริการที่เลียนเครื่องหมายบริการของโจทก์ซึ่งได้จดทะเบียนไว้แล้ว นอกราชอาณาจักร โดยเป็นการนำเอาแคแรกเตอร์ตัวอุลตร้าแมนในลักษณะต่าง ๆ และสัตว์ประหลาดต่าง ๆ รวมทั้งชื่อ คำ และข้อความว่า อุลตร้าแมน และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์ชุดอุลตร้าแมน ซึ่งโจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์นำไปใช้ประโยชน์ในทางการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ด้วยก็ตาม แต่ก็เป็นการบรรยายอ้างว่าจำเลยนำเอาแคแรกเตอร์ตัวอุลตร้าแมน สัตว์ประหลาด ชื่อ คำ และข้อความว่า อุลตร้าแมนมาใช้ ถือว่าเป็นการให้บริการโดยใช้เครื่องหมายบริการที่เลียนเครื่องหมายบริการของโจทก์ซึ่งได้จดทะเบียนไว้แล้วนอกราชอาณาจักรโดยประสงค์จะขอให้ ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 110 (2) มิได้บรรยายให้เห็นว่าจำเลยนำเอาแคแรกเตอร์ตัวอุลตร้าแมน สัตว์ประหลาด ชื่อ คำ และข้อความว่า อุลตร้าแมน โดยอ้างว่าเป็นชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ หรือข้อความในการประกอบการค้าของโจทก์มาใช้หรือทำให้ปรากฏที่สินค้าใดเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของโจทก์อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272 (1) แต่อย่างใด ฟ้องที่โจทก์บรรยายดังกล่าวจึงไม่มีมูลที่จะเป็นความผิดตามมาตรา 272 (1) ได้
การกระทำที่จะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 274 ต้องเป็นการเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นที่ได้จดทะเบียนภายในหรือนอกราชอาณาจักรเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นนั้น แต่จากที่โจทก์บรรยายฟ้องไม่ปรากฏในข้อความส่วนใดที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยได้กระทำการเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนแล้วนอกราชอาณาจักร ทั้งไม่ปรากฏเครื่องหมายการค้าที่จำเลยได้กระทำเลียนว่าเป็นเครื่องหมายการค้าใด ฟ้องที่โจทก์บรรยายดังกล่าวจึงไม่มีมูลที่จะเป็นความผิดตามมาตรา 274

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2817/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายสินค้าหลังซื้อจากตัวแทนจำหน่าย ไม่ถือเป็นการละเมิดเครื่องหมายการค้า หากผู้ผลิตได้ประโยชน์จากการขายแล้ว
เมื่อผู้ผลิตสินค้าที่เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าได้จำหน่ายสินค้าของตนในครั้งแรก ซึ่งได้รับประโยชน์จากการใช้เครื่องหมายการค้านั้นจากราคาสินค้าที่จำหน่ายไปเสร็จสิ้นแล้ว จึงไม่มีสิทธิหวงกันไม่ให้ผู้ซื้อสินค้าซึ่งประกอบการค้าปกตินำสินค้านั้นออกจำหน่ายอีกต่อไป โจทก์ที่ 1 ผู้ผลิตสินค้าปัตตะเลี่ยน ไม่มีสิทธิหวงกันไม่ให้จำเลยนำเข้าซึ่งสินค้าปัตตะเลี่ยนที่มีเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงที่จำเลยซื้อจากตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ที่ 1 ในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ มาจำหน่ายในประเทศไทยได้
โจทก์ที่ 2 เป็นผู้นำเข้าซึ่งสินค้าปัตตะเลี่ยนที่มีเครื่องหมายการค้าคำว่า "WAHL" ของโจทก์ที่ 1 จากประเทศสหรัฐอเมริกามาจำหน่ายในประเทศไทย โจทก์ที่ 1 ไม่ได้ตั้งให้โจทก์ที่ 2 เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์ที่ 1 ในประเทศไทยแต่เพียงผู้เดียว โจทก์ที่ 2 จึงเป็นเพียงผู้นำเข้าซึ่งสินค้าปัตตะเลี่ยนที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจากโจทก์ที่ 1 มาจำหน่ายในประเทศไทยผู้หนึ่งเท่านั้น การที่จำเลยนำเข้าซึ่งสินค้าปัตตะเลี่ยนที่มีเครื่องหมายการค้าคำว่า "WAHL" เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยจึงไม่เป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ที่ 2 อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 421

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2817/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเข้าสินค้ามีเครื่องหมายการค้า การละเมิดสิทธิ และการคุ้มครองเครื่องหมายการค้า
โจทก์ที่ 1 ซึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นผู้ผลิตสินค้าปัตตะเลี่ยนโดยใช้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศไทย คำว่า "WAHL" โจทก์ที่ 1 ย่อมเป็นผู้มีสิทธิแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้เครื่องหมายการค้านั้นสำหรับสินค้าปัตตะเลี่ยน ทำให้โจทก์ที่ 1 มีสิทธิหวงกันไม่ให้ผู้อื่นนำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 ไปใช้โดยมิชอบ วัตถุประสงค์ของการใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าก็เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างสินค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นกับสินค้าของผู้อื่นและเพื่อระบุว่าสินค้านั้นเป็นของเจ้าของเครื่องหมายการค้าดังกล่าว ซึ่งเป็นประโยชน์ในการจำหน่ายสินค้าของตนการที่มีผู้ซื้อสินค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้าเพื่อนำไปจำหน่ายต่อไป ก็เป็นเรื่องปกติธรรมดาในการประกอบการค้า เมื่อผู้ผลิตสินค้าที่เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าได้จำหน่ายสินค้าของตนในครั้งแรก ซึ่งได้รับประโยชน์จากการใช้เครื่องหมายการค้านั้นจากราคาสินค้าที่จำหน่ายไปเสร็จสิ้นแล้ว จึงไม่มีสิทธิหวงกันไม่ให้ผู้ซื้อสินค้าซึ่งประกอบการค้าปกตินำสินค้านั้นออกจำหน่ายอีกต่อไป โจทก์ที่ 1 ไม่มีสิทธิหวงกันไม่ให้จำเลยนำเข้าซึ่งสินค้าปัตตะเลี่ยนที่มีเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงที่จำเลยซื้อจากตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ที่ 1 ในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์มาจำหน่ายในประเทศไทยได้
แม้กล่องบรรจุสินค้าปัตตะเลี่ยนซึ่งมีเครื่องหมายการค้าคำว่า "WAHL" จะมีซองกระดาษที่มีเครื่องหมายการค้าเดียวกันห่อหุ้มกล่องและมีใบรับประกันที่มีเครื่องหมายการค้าเดียวกันระบุชื่อที่อยู่ของจำเลยว่าเป็นศูนย์บริการ ก็เป็นเครื่องหมายการค้าที่แสดงว่าสินค้าปัตตะเลี่ยนในกล่องหรือหีบห่อนั้นเป็นสินค้าของโจทก์ที่ 1 จำเลยเพียงแต่เป็นผู้ให้บริการรับซ่อมปัตตะเลี่ยนให้เท่านั้น มิใช่แสดงว่าจำเลยเป็นเจ้าของหรือผู้มีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 การกระทำของจำเลยไม่เป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "WAHL"ของโจทก์ที่ 1
โจทก์ที่ 2 เป็นผู้นำเข้าซึ่งสินค้าปัตตะเลี่ยนที่มีเครื่องหมายการค้าคำว่า"WAHL" ของโจทก์ที่ 1 จากประเทศสหรัฐอเมริกามาจำหน่ายในประเทศไทยโจทก์ที่ 1 ไม่ได้ตั้งให้โจทก์ที่ 2 เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์ที่ 1 ในประเทศไทยแต่เพียงผู้เดียว โจทก์ที่ 2 จึงเป็นเพียงผู้นำเข้าซึ่งสินค้าปัตตะเลี่ยนที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจากโจทก์ที่ 1 มาจำหน่ายในประเทศไทยผู้หนึ่งเท่านั้น จึงฟังไม่ได้ว่า การที่จำเลยนำเข้าซึ่งสินค้าปัตตะเลี่ยนที่มีเครื่องหมายการค้าคำว่า "WAHL" เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ที่ 2 อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ที่ 2ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3616/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดหลายกรรมต่างกันจากการใช้เครื่องหมายการค้าเลียนแบบ: ศาลล่างพิพากษาถูกต้องตามเจตนาจำเลย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 109, 110, 114 และ 115 ป.อ.มาตรา 32, 33,83, 91, 272 และ 274 จำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพ เมื่อการกระทำของจำเลยทั้งสามแต่ละข้อหาตามฟ้องเป็นการกระทำโดยมีเจตนาในการกระทำผิดแยกต่างหากจากกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ประกอบกับจำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดทั้งสามข้อหาตามฟ้องโดยมีเจตนาต่างกัน จำเลยจะฎีกาโต้เถียงว่า การกระทำผิดของจำเลยตามคำฟ้องโจทก์เป็นการกระทำต่อเนื่องเชื่อมโยงอยู่ในวาระเดียว โดยจำเลยมีเจตนาเพียงต้องการผลิตสินค้าแล้วใช้เครื่องหมายการค้าที่เลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายเพื่อการจำหน่าย ซึ่งเป็นการกระทำผิดกรรมเดียวหาได้ไม่ ดังนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาเรียงกระทงลงโทษจำเลยจึงถูกต้องแล้ว
of 8