พบผลลัพธ์ทั้งหมด 136 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4235/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยหลังศาลอุทธรณ์ตัดสินคดีคุมประพฤติแล้ว เหตุ พ.ร.บ.คุมประพฤติ 2559 มาตรา 34 วรรคสอง
จำเลยไม่ชำระหนี้ให้แก่ผู้เสียหายตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งศาลชั้นต้นกำหนดเป็นเงื่อนไขเพื่อควบคุมความประพฤติของจำเลยไว้ เป็นกรณีที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติที่ศาลกำหนดตาม ป.อ. มาตรา 56 เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกเลิกการคุมประพฤติและให้ลงโทษจำคุกที่รอการลงโทษแก่จำเลย และจำเลยอุทธรณ์คำสั่งนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 5 มีคำพิพากษาแล้ว คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ย่อมเป็นที่สุด ตาม พ.ร.บ.คุมประพฤติ พ.ศ. 2559 มาตรา 34 วรรคสอง จำเลยจะฎีกาไม่ได้ การที่จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้รับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและผู้พิพากษาที่พิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 มีคำสั่งอนุญาตให้ฎีกามาจึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2232/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งหลังจำเลยเสียชีวิต: ศาลมีอำนาจบังคับคดีจากทายาทได้
เมื่อจำเลยถึงแก่ความตายระหว่างขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ สิทธิในการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (1) จึงให้จำหน่ายคดีในคดีส่วนอาญาออกจากสารบบความ สำหรับคดีส่วนแพ่ง การดำเนินกระบวนพิจารณาต้องเป็นไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 47 วรรคหนึ่ง สิทธิในคดีส่วนแพ่งของโจทก์ร่วมที่พนักงานอัยการขอให้จำเลยชดใช้เงินแก่โจทก์ร่วมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 และสิทธิของโจทก์ร่วมที่ขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 ยังคงมีอยู่ ไม่ระงับไป
ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 เป็นบทบัญญัติที่มีเจตนารมณ์เพื่อช่วยให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายในทางแพ่งได้รับทรัพย์สินคืนหรือได้รับการชดใช้ราคาทรัพย์สินที่สูญเสียไปเนื่องจากการกระทำผิดของจำเลยได้โดยสะดวกรวดเร็ว และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีแพ่งเป็นอีกคดีหนึ่ง จึงให้อำนาจพนักงานอัยการใช้สิทธิเรียกร้องและดำเนินคดีแทนโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายและโจทก์ร่วมสามารถใช้สิทธิของตนเองต่อเนื่องไปในคดีอาญา เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีทั้งคดีส่วนแพ่งและคดีส่วนอาญาเสร็จสิ้นไปในคราวเดียวกัน
ดังนั้น การที่จำเลยแต่งตั้งทนายความให้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 60 จึงเป็นการแต่งตั้งตัวแทน เมื่อจำเลยซึ่งเป็นตัวการถึงแก่ความตาย ทนายจำเลยคงมีอำนาจและหน้าที่จัดการดำเนินคดีเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ของจำเลยต่อไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 828 จนกว่าทายาทหรือผู้แทนของจำเลยจะเข้ามาปกปักรักษาประโยชน์ของจำเลย อำนาจของทนายจำเลยหาได้หมดสิ้นไปทันทีเมื่อจำเลยถึงแก่ความตายไม่ เมื่อทนายจำเลยมิได้ดำเนินการในคดีส่วนแพ่งภายในกำหนด 1 ปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42 โจทก์จึงมีสิทธิที่จะบังคับคดีต่อไปได้ สิทธิในการบังคับคดีที่เป็นสิทธิในทรัพย์สินมิใช่สิทธิเฉพาะตัว ความรับผิดตามคำพิพากษาย่อมตกทอดแก่ทายาทของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 และมาตรา 1600
ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 เป็นบทบัญญัติที่มีเจตนารมณ์เพื่อช่วยให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายในทางแพ่งได้รับทรัพย์สินคืนหรือได้รับการชดใช้ราคาทรัพย์สินที่สูญเสียไปเนื่องจากการกระทำผิดของจำเลยได้โดยสะดวกรวดเร็ว และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีแพ่งเป็นอีกคดีหนึ่ง จึงให้อำนาจพนักงานอัยการใช้สิทธิเรียกร้องและดำเนินคดีแทนโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายและโจทก์ร่วมสามารถใช้สิทธิของตนเองต่อเนื่องไปในคดีอาญา เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีทั้งคดีส่วนแพ่งและคดีส่วนอาญาเสร็จสิ้นไปในคราวเดียวกัน
ดังนั้น การที่จำเลยแต่งตั้งทนายความให้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 60 จึงเป็นการแต่งตั้งตัวแทน เมื่อจำเลยซึ่งเป็นตัวการถึงแก่ความตาย ทนายจำเลยคงมีอำนาจและหน้าที่จัดการดำเนินคดีเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ของจำเลยต่อไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 828 จนกว่าทายาทหรือผู้แทนของจำเลยจะเข้ามาปกปักรักษาประโยชน์ของจำเลย อำนาจของทนายจำเลยหาได้หมดสิ้นไปทันทีเมื่อจำเลยถึงแก่ความตายไม่ เมื่อทนายจำเลยมิได้ดำเนินการในคดีส่วนแพ่งภายในกำหนด 1 ปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42 โจทก์จึงมีสิทธิที่จะบังคับคดีต่อไปได้ สิทธิในการบังคับคดีที่เป็นสิทธิในทรัพย์สินมิใช่สิทธิเฉพาะตัว ความรับผิดตามคำพิพากษาย่อมตกทอดแก่ทายาทของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 และมาตรา 1600
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1656/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายงานเยาวชนใช้ได้เฉพาะข้อมูลพื้นฐาน การวินิจฉัยความผิดต้องใช้พยานหลักฐาน การกระทำหลายกรรมต่างกันต้องลงโทษทุกกรรม
แม้รายงานข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเยาวชนของสถานพินิจจะมีความสำคัญแก่การพิพากษาคดี เนื่องจากพ.ร.บ. ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 131 บัญญัติไว้มีใจความว่า ศาลจะพิพากษาลงโทษหรือใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนได้ต่อเมื่อได้รับทราบรายงานดังกล่าวแล้ว แต่ก็มีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อให้ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ตลอดจนสิ่งแวดล้อมทั้งปวงเกี่ยวกับจำเลย บิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลซึ่งจำเลยอาศัยอยู่ด้วย หรือบุคคลซึ่งให้การศึกษา ให้ทำการงาน หรือ มีความเกี่ยวข้องตามมาตรา 115 เข้าสู่สำนวนคดี โดยมาตรา 118 บัญญัติไว้ชัดเจนว่า การพิจารณาคดีอาญา ที่เด็กหรือเยาวชนเป็นจำเลย ศาลจะรับฟังรายงานเกี่ยวกับข้อเท็จจริงตามมาตรา 115 ที่มิใช่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดที่ถูกฟ้องโดยไม่ต้องมีพยานบุคคลประกอบรายงานนั้นก็ได้ เพื่อเสนอรายงานและความเห็นต่อศาลเกี่ยวกับการลงโทษ หรือการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแก่จำเลยเท่านั้น หากศาลจะฟังข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดที่ถูกฟ้อง ศาลจะรับฟังรายงานดังกล่าวโดยไม่มีพยานบุคคลประกอบไม่ได้ เพราะข้อเท็จจริงตามรายงานมิใช่ข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการสืบพยานของคู่ความ จึงไม่สามารถนำมารับฟัง ในฐานะเป็นพยานหลักฐานที่จะนำมาวินิจฉัยเกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลยได้ การที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษรับฟังรายงานข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเยาวชนของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กรุงเทพมหานคร แล้วเชื่อว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดกรรมเดียวนั้น จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสหลังหย่า: ศาลพิพากษาให้โอนที่ดินพร้อมบ้านให้โจทก์ได้ แม้ข้อตกลงระบุเฉพาะบ้าน
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าระหว่างโจทก์และจำเลย และขอบังคับให้จำเลยแบ่งสินสมรสทุกรายการให้แก่โจทก์กึ่งหนึ่ง จำเลยให้การต่อสู้ว่า บันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าไม่เป็นโมฆะ การจัดแบ่งสินสมรสตามข้อ 3 เป็นสัญญาแบ่งทรัพย์สินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1532 เมื่อนายทะเบียนจดทะเบียนการหย่า ถือได้ว่ามีการแบ่งทรัพย์สินอันเป็นสินสมรส โดยยกให้จำเลยทั้งหมดแล้ว โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอแบ่งสินสมรสใหม่อีก เมื่อพิเคราะห์คำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์แล้ว ถือได้ว่าโจทก์มีเจตนาขอแบ่งสินสมรสทั้งปวงระหว่างโจทก์กับจำเลยกึ่งหนึ่งโดยขอให้ไม่ยึดถือตามบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่า เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัยว่า โจทก์และจำเลยทำบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่ากันด้วยความสมัครใจ บันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าจึงสมบูรณ์มีผลผูกพันโจทก์และจำเลยให้ต้องปฏิบัติตามข้อตกลงระหว่างกัน แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ในบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าดังกล่าวระบุสินสมรสที่ตกลงยกให้โจทก์เพียงบ้านเลขที่ 109/4 โดยไม่ได้กล่าวถึงที่ดินโฉนดเลขที่ 89706 อันเป็นที่ตั้งของบ้านดังกล่าวแต่อย่างใด และโจทก์มีคำขอให้แบ่งสินสมรสอีก 5 รายการ ที่โจทก์อ้างว่าจำเลยปกปิดไว้ซึ่งรวมถึงที่ดินโฉนดเลขที่ 89706 ที่พิพาทด้วย แม้โจทก์จะมีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยแบ่งที่ดังกล่าวอันเป็นสินสมรสให้แก่โจทก์เพียงกึ่งหนึ่ง แต่โจทก์ย่อมไม่อาจบรรยายฟ้องขอให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ทั้งแปลงได้ เพราะโจทก์ตั้งรูปเรื่องมาว่าบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่า ไม่ได้เกิดจากความสมัครใจของโจทก์และโจทก์ต้องการขอแบ่งสินสมรสรายการอื่น ๆ นอกจากที่ระบุไว้ในบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าด้วย เมื่อข้อเท็จจริงยุติในชั้นฎีกาว่าบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่ามีผลใช้บังคับได้ และจำเลยยังไม่ได้แบ่งสินสมรสรายการที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ และศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษก็ได้วินิจฉัยแล้วว่า บ้านเลขที่ 109/4 ซึ่งตั้งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 89706 เป็นส่วนควบตามกฎหมายของที่ดินโฉนดเลขที่ 89706 และเมื่อพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีในทางสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 368 แล้วเห็นได้ว่าโจทก์และจำเลยมีเจตนาแบ่งทรัพย์สินอันเป็นสินสมรสระหว่างกันโดยจำเลยตกลงยกที่ดินโฉนดเลขที่ 89706 พร้อมบ้านเลขที่ 109/4 ให้แก่โจทก์ทั้งหมด โดยนับตั้งแต่วันที่มีการทำบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่า เมื่อมูลค่าที่ดินพิพาทไม่ได้สูงเกินไปกว่าราคาประเมินกึ่งหนึ่งของสินสมรสในคดีนี้และยังอยู่ในประเด็นพิพาทว่า จำเลยต้องแบ่งสินสมรสรายการนี้ให้โจทก์หรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้จำเลยโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 89706 พร้อมบ้านเลขที่ 109/4 ให้โจทก์ทั้งหมด จึงไม่เป็นการพิพากษาที่เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฎในคำฟ้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 มาตรา 246 และมาตรา 252 ประกอบ พ.ร.บ. ศาลเยาวชนฯ มาตรา 182/1 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4884/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษกักขังแทนโทษจำคุก: ศาลอุทธรณ์พิพากษาสอดคล้องตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 รวม 4 คดี จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพ และรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยที่ 2 ในคดีดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ในวันเดียวกัน โดยเปลี่ยนโทษจำคุกจำเลยที่ 2 เป็นกักขังแทนทั้ง 4 คดี ตาม ป.อ. มาตรา 23 เมื่อโทษกักขังเป็นโทษที่ลงแทนโทษจำคุก จำเลยที่ 2 ยังคงต้องถูกบังคับโทษตามคำพิพากษา แม้คดียังไม่ถึงที่สุดและอยู่ระหว่างอุทธรณ์ ก็มิใช่เหตุที่จะนำโทษกักขังจำเลยที่ 2 มานับต่อจากโทษในคดีอื่นไม่ได้ ศาลจึงอาศัยอำนาจตาม ป.อ. มาตรา 22 ให้นับโทษกักขังติดต่อกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4017/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทำนิติกรรมแทนคนไร้ความสามารถ: ต้องรอคำสั่งศาลแต่งตั้งผู้อนุบาลก่อน
ที่ผู้ร้องอ้างว่าจะต้องใช้สิทธิทางศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 6 เพื่อจัดการทรัพย์สินของคนไร้ความสามารถนั้นที่จะยื่นคำร้องขอได้ เมื่อปรากฏว่าในขณะผู้ร้องยื่นคำร้องขอ ศาลยังไม่มีคำสั่งว่า ม. เป็นคนไร้ความสามารถ และมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาลของ ม. ผู้ร้องซึ่งยังไม่อยู่ในฐานะผู้อนุบาล จึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องทำนิติกรรมแทน ม. ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 448/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายงานการประชุมที่ไม่เป็นเอกสารปลอม แม้ไม่มีการประชุมจริง และจำเลยลงลายมือชื่อในฐานะประธานที่ไม่ถูกต้อง
จำเลยเป็นกรรมการบริษัทคนหนึ่งจึงมีอำนาจหน้าที่ต้องจัดให้จดบันทึกรายงานการประชุมและข้อมติทั้งหมดของที่ประชุมผู้ถือหุ้นลงไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1207 วรรคหนึ่ง แม้ไม่มีการประชุมผู้ถือหุ้นและวาระการประชุมและข้อมติจะเป็นความเท็จ รายงานการประชุมก็ไม่เป็นเอกสารปลอม คงเป็นรายงานการประชุมที่จำเลยทำขึ้นเป็นเท็จ ส่วนที่จำเลยลงลายมือชื่อในรายงานการประชุม 2 แห่งใต้ข้อความว่า รับรองรายงานการประชุมถูกต้อง ย่อมเป็นการลงลายมือชื่อในฐานะกรรมการบริษัทที่มีหน้าที่จัดทำรายงานการประชุม ส่วนอีกแห่งหนึ่งแม้น่าจะเป็นการลงลายมือชื่อในฐานะประธานที่ประชุม ซึ่งจำเลยไม่อาจเป็นประธานที่ประชุมผู้ถือหุ้นได้ แต่ก็ไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของประธานที่ประชุมที่ต้องจัดทำหรือรับรองรายงานการประชุม การที่จำเลยลงลายมือชื่อในฐานะประธานที่ประชุมแม้เป็นความเท็จ แต่เมื่อจำเลยลงลายมือชื่อของตนเอง จึงเป็นการลงลายมือชื่อจำเลยว่าเป็นประธานที่ประชุมอันเป็นความเท็จเท่านั้น ไม่เป็นการทำปลอมรายงานการประชุม จึงไม่เป็นการปลอมเอกสาร และไม่อาจเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิและฐานใช้เอกสารสิทธิปลอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 42/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาแบ่งสินสมรส: หนังสือแบ่งทรัพย์สินครอบคลุมที่ดินทั้งแปลง แม้ไม่ได้ระบุรายละเอียด
ตามหนังสือแบ่งทรัพย์สินมีข้อความว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 10653 และบ้านเลขที่ 335 ให้ตกเป็นของโจทก์ ส่วนบ้านเลขที่ 426/2 ตกเป็นของจำเลย โดยไม่ได้กล่าวถึงที่ดินเนื้อที่ 1 งาน ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 2226 ซึ่งเป็นสินสมรสและเป็นที่ตั้งของบ้านเลขที่ 426/2 ด้วย แต่เมื่อโจทก์และจำเลยมีบ้าน 2 หลัง เป็นสินสมรสเป็นที่อยู่อาศัย และจำเลยเป็นผู้เลี้ยงดูบุตรหลังจากจดทะเบียนหย่า ประกอบกับข้อความท้ายหนังสือแบ่งทรัพย์สินระบุว่าทั้งสองฝ่ายจะไม่มีการเรียกร้องสิทธิใด ๆ หลังจากนี้ไม่ว่าจะกรณีใด เชื่อว่าโจทก์และจำเลยทำหนังสือแบ่งทรัพย์สินโดยมีเจตนาเพื่อแบ่งทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันหรือสินสมรสให้แล้วเสร็จไปทั้งหมด โดยให้โจทก์และจำเลยต่างเป็นเจ้าของบ้านคนละหลังรวมถึงการเป็นเจ้าของที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของบ้านเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยอย่างสมบูรณ์มั่นคงต่อไปในอนาคตด้วย ทั้งที่ดินเนื้อที่ 1 งาน ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 2226 มีชื่อ จ. เป็นเจ้าของโดยยังไม่มีการแบ่งแยกเอกสารสิทธิ ทำให้มีเหตุผลน่าเชื่อว่าโจทก์และจำเลยไม่อาจระบุถึงรายละเอียดของที่ดินเนื้อที่ 1 งาน ซึ่งเป็นที่ตั้งของบ้านเลขที่ 426/2 ในหนังสือแบ่งทรัพย์สินได้ ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 171 บัญญัติว่า ในการตีความการแสดงเจตนานั้น ให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษร จึงไม่น่าเชื่อว่า ในการทำหนังสือแบ่งทรัพย์สินโจทก์และจำเลยจะมีเจตนาให้คงเหลือที่ดินเนื้อที่ 1 งาน ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 2226 ไว้โดยมิได้ตกลงแบ่งกันให้แล้วเสร็จไปในคราวเดียวโดยไม่มีเหตุผล เชื่อว่าโจทก์และจำเลยตกลงยกบ้านเลขที่ 426/2 รวมถึงที่ดินเนื้อที่ 1 งาน ซึ่งเป็นที่ตั้งของบ้านให้แก่จำเลยตามหนังสือแบ่งทรัพย์สินแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2676/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำหน่ายสินค้าโดยอ้างตราสัญลักษณ์โดยไม่ได้รับอนุญาต มีเจตนาหลอกลวงผู้ซื้อ ศาลฎีกาพิพากษากลับให้มีความผิด
ป.วิ.อ. มาตรา 158 บัญญัติว่า "ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือ และมี...(5) การกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริง และรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี" คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อระหว่างวันที่ 10 มิถุนายน 2549 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2550 เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยโดยเจตนาก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในแหล่งกำเนิด สภาพ และคุณภาพอันเกี่ยวกับสินค้า โฆษณา เสนอขาย และขายสินค้าชุดเทิดพระเกียรติเพื่อร่วมเผยแพร่แสดงความจงรักภักดี "โครงการมหามงคลครองราชย์ 60 ปี หนังสือดี "ชีวิตสมถะ" "พระจิตรลดา" "ซึ่งในชุดประกอบด้วย หนังสือดี "ชีวิตสมถะ" "พระจิตรลดา" สายข้อมือ (ริสต์แบนด์) วิดีโอซีดีพระราชกรณียกิจพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สติกเกอร์ "เรารักในหลวง" บัตรถวายพระพร บัตรคาถาเงินล้าน สติกเกอร์ตราสัญลักษณ์ทรงครองราชย์ 60 ปี และพระจิตรลดาหรือพระสมเด็จมหามงคล รุ่นทรงครองราชย์ 60 ปี (มวลสารจิตรลดา) รวม 9 รายการ บรรจุอยู่ในกล่องเดียวกัน โดยมีการพิมพ์ตราสัญลักษณ์ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ติดไว้บนสินค้าดังกล่าว โดยเสนอขายและขายแก่ผู้ซื้อและประชาชนทั่วไปในราคาชุดละ 299 บาท ทั้งนี้ เพื่อหลอกลวงให้ผู้ซื้อและประชาชนทั่วไปหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าที่มีแหล่งกำเนิดที่ได้รับอนุญาตให้ผลิตและจำหน่ายอย่างถูกต้องจากสำนักราชเลขาธิการ หรือเกี่ยวข้องกับสำนักราชเลขาธิการซึ่งเป็นผู้อนุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี อันเป็นความเท็จ ซึ่งความจริงสำนักราชเลขาธิการไม่เคยอนุญาตให้จำเลยใช้ตราสัญลักษณ์ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี กับสินค้าดังกล่าว ทั้งนี้ จำเลยแสวงหาผลกำไรและประโยชน์ให้แก่ตนเองโดยมิชอบ ซึ่งตาม ป.อ. มาตรา 271 บัญญัติว่า "ผู้ใดขายของโดยหลอกลวงด้วยประการใด ๆ ให้ผู้ซื้อหลงเชื่อในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพหรือปริมาณแห่งของนั้นอันเป็นเท็จ ถ้าการกระทำนั้นไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษ..." เมื่อพิจารณาจากคำฟ้องของโจทก์ประกอบมาตรา 271 ดังกล่าวแล้ว ในส่วนของการกระทำโดยการหลอกลวงซึ่งเป็นองค์ประกอบความผิดมาตรา 271 เมื่ออ่านคำฟ้องโดยตลอดแล้ว เห็นได้ว่าโจทก์ได้บรรยายระบุการกระทำหรือวิธีการหลอกลวงไว้แล้วว่า จำเลยโฆษณา เสนอขาย และขายสินค้าชุดเทิดพระเกียรติ โดยพิมพ์ตราสัญลักษณ์ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ติดไว้บนสินค้าดังกล่าว เพื่อหลอกลวงให้ผู้ซื้อและประชาชนทั่วไปหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าที่มีแหล่งกำเนิดที่ได้รับอนุญาตให้ผลิตและจำหน่ายอย่างถูกต้องจากสำนักราชเลขาธิการ อันเป็นความเท็จ ย่อมทำให้เข้าใจได้ว่าการหลอกลวงขายของของจำเลยคือการที่จำเลยพิมพ์ตราสัญลักษณ์ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ลงบนกล่องสินค้า โดยที่รู้อยู่แล้วว่าความจริงมิได้รับอนุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์ในการขาย แต่ทำไปเพื่อหลอกลวงให้ผู้ซื้อหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าที่ได้รับอนุญาตให้ขายโดยถูกต้องจากสำนักราชเลขาธิการ จึงถือได้ว่าโจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดตาม ป.อ. มาตรา 271 พอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว นอกจากนี้ข้อเท็จจริงได้ความตามคำให้การจำเลยฉบับลงวันที่ 25 เมษายน 2559 โดยขณะนั้นจำเลยยังไม่มีทนายความว่า จำเลยขอให้การปฏิเสธ เพราะไม่ได้กระทำความผิดตามข้อกล่าวหา และตามคำให้การของจำเลยฉบับลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2559 โดยจำเลยได้แต่งตั้งทนายความในวันดังกล่าวแล้วปรากฏว่า จำเลยขอให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ รายละเอียดจะได้นำสืบพิสูจน์ความบริสุทธิ์ในชั้นพิจารณาต่อไป ซึ่งแสดงว่าจำเลยทราบข้อเท็จจริงและข้อหาตามคำฟ้องแล้ว จึงให้การปฏิเสธ ประกอบกับตามรายงานกระบวนพิจารณา ลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2559 ปรากฏว่า จำเลยแถลงว่า วันนี้ได้แต่งตั้งทนายความเพื่อต่อสู้คดีแล้ว และได้พบปรึกษากับทนายความแล้ว ศาลจึงอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง จำเลยแถลงว่าเข้าใจข้อหาโดยตลอดแล้ว ยืนยันให้การปฏิเสธ ดังนี้ ฟ้องของโจทก์ได้มีการบรรยายเกี่ยวกับการกระทำของจำเลยที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดครบถ้วนพอสมควรที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว จึงเป็นฟ้องที่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1518/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษต่อเมื่อศาลฎีกาลงโทษประหารชีวิต และการฟ้องซ้ำในความผิดต่างกรรม
คดีนี้ศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย แต่เมื่อคดีก่อนศาลฎีกาลงโทษประหารชีวิตจำเลย จึงไม่มีโทษจำคุกที่จะให้นับต่อกันได้ตาม ป.อ. มาตรา 22 วรรคหนึ่ง และโดยสภาพของโทษประหารชีวิตกับโทษจำคุกนั้นก็ไม่อาจนับโทษต่อกันได้