คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พิศิฏฐ์ สุดลาภา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 136 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6444/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทดแทนกรณีภริยาถูกอีกฝ่ายมีภริยาอื่นและแสดงตนเป็นภริยาต่อสังคม ศาลยืนค่าทดแทน 300,000 บาท
เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนของโจทก์ไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1529 จำเลยที่ 1 ไม่ได้อุทธรณ์ในประเด็นนี้ ปัญหาดังกล่าวจึงมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 7 ทั้งไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบมาตรา 247 และที่จำเลยที่ 1 อ้างในฎีกาว่า โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตซึ่งแม้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่จำเลยมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 เป็นเหตุให้ไม่มีข้อเท็จจริงในสำนวนที่จะนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6444/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าทดแทนและการยกเหตุข้อกฎหมายใหม่ในชั้นฎีกา ศาลไม่รับวินิจฉัยหากมิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลล่าง
เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนของโจทก์ไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1529 จำเลยที่ 1 ไม่ได้อุทธรณ์ในประเด็นนี้ ปัญหาดังกล่าวจึงมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 7 ทั้งไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบมาตรา 247 ส่วนที่จำเลยที่ 1 อ้างในฎีกาว่า โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ซึ่งแม้จะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่จำเลยก็มิได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 เป็นเหตุให้ไม่มีข้อเท็จจริงในสำนวนที่จะนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรจะยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5952/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ และการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินพิพาท แม้เกิน 10 ปี ก็ยังบังคับคดีได้
ข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมกำหนดว่า หากจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาประนีประนอมยอมความจำเลยตกลงให้โจทก์บังคับคดีได้ทันทีโดยขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่ดินพิพาทของโจทก์ เมื่อบ้านเลขที่ 20/1 หรือ 236 และเลขที่ 20/10 หรือ 242 เป็นทรัพย์สินของจำเลยที่ปลูกอยู่บนที่ดินพิพาทที่จำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความมิได้ซื้อคืนจากโจทก์ภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาดังกล่าว โจทก์ย่อมมีสิทธิบังคับให้จำเลยขนย้ายรวมทั้งรื้อถอนออกไปจากที่ดินพิพาทของโจทก์ ทั้งจำเลยเคยยื่นคำร้อง ขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยรื้อถอนบ้านดังกล่าวอ้างว่ามิใช่ทรัพย์สินตามสัญญาขายฝากและมิใช่ส่วนควบของที่ดินพิพาท แต่โจทก์ไม่ยินยอมให้จำเลยรื้อถอน เมื่อศาลชั้นต้นสอบถามโจทก์ โจทก์กลับแถลงว่าไม่เคยขัดขวางมิให้จำเลยรื้อถอนตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น ยิ่งกว่านั้นในวันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์ในคดีที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรื้อถอนบ้านดังกล่าวของจำเลยออกไปจากที่ดินพิพาทโดยเร็ว จำเลยกลับเป็นฝ่ายแถลงขอเวลาขนย้ายบ้านเลขที่ 20/1 หรือ 236 และเลขที่ 20/10 หรือ 242 ออกไปจากที่ดินพิพาท ซึ่งโจทก์ก็ยินดีให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปทั้งหมด แสดงว่าจำเลยทราบดีอยู่แล้วว่าหากจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยย่อมมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาโดยรื้อบ้านทั้งสองเลขที่ดังกล่าวออกไปจากที่ดินพิพาทของโจทก์ด้วย จำเลยจะมากล่าวอ้างภายหลังว่าเป็นการนอกเหนือไปจากคำฟ้องหรือเกินคำขอมิได้ พฤติการณ์ของจำเลยส่อให้เห็นชัดเจนว่าจำเลยมีเจตนาประวิงการบังคับคดีของโจทก์ให้ชักช้า
ฎีกาของจำเลยที่ว่า โจทก์บังคับคดีเกินกว่า 10 ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษา ตามยอมวันที่ 24 มีนาคม 2544 นั้น เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งจำเลยมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นนี้ได้
โจทก์ร้องขอให้บังคับคดีและเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีโดยปิดประกาศให้ขับไล่จำเลยและบริวารรวมทั้งให้ขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่ดินพิพาทตามประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีลงวันที่ 30 มกราคม 2546 อันอยู่ภายในกำหนดสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 เมื่อการบังคับคดีได้ดำเนินการต่อเนื่องเรื่อยมายังไม่เสร็จสิ้น โจทก์ย่อมมีสิทธิบังคับคดีต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จได้แม้จะพ้นกำหนดเวลาการบังคับคดีไปแล้วก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5657/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องและการบังคับคดีในคดีล้มละลาย: สิทธิของผู้รับโอนเมื่อเจ้าหนี้เดิมยื่นคำขอรับชำระหนี้
ผู้ร้องซึ่งเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ได้รับโอนสิทธิเรียกร้องที่โจทก์ซึ่งเป็นสถาบันการเงินมีต่อจำเลยทั้งสามมาจากโจทก์โดยชอบ และศาลมีคำพิพากษาบังคับคดีตามสิทธิเรียกร้องนั้นแล้ว แม้ พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 มาตรา 7 บัญญัติให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษานั้นได้ก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏตามคำแก้อุทธรณ์ของผู้ร้องว่า โจทก์ได้นำหนี้ตามคำพิพากษาที่ผู้ร้องได้รับโอนมาในคดีนี้ไปยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันจากกองทรัพย์สินของจำเลยทั้งสามในคดีล้มละลายที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสามเด็ดขาดแล้ว สิทธิของผู้ร้องที่จะได้รับชำระหนี้ในฐานะรับโอนหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนี้จากโจทก์จึงชอบที่จะไปว่ากล่าวตามสิทธิที่โจทก์มีอยู่ตามวิธีการที่กำหนดไว้ในกฎหมายล้มละลาย ไม่มีกรณีที่ผู้ร้องจะเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจำเลยทั้งสามในคดีนี้แทนโจทก์อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4765/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานหลักฐานที่ไม่หนักแน่นเพียงพอ และการรับฟังคำรับสารภาพที่ได้มาโดยไม่ชอบธรรม ศาลยกฟ้อง
บันทึกคำให้การของผู้ต้องหา เป็นพยานบอกเล่าอย่างหนึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/3 ซึ่งจำเลยให้การปฏิเสธต่อศาลและไม่มีข้อเท็จจริงแวดล้อมน่าเชื่อว่าจะพิสูจน์ความจริงได้ลำพังรับฟังลงโทษจำเลยไม่ได้ ยิ่งบันทึกคำให้การของผู้ให้ถ้อยคำ ซึ่งจำเลยให้การปรักปรำตนเองโดยเจ้าพนักงานตำรวจยังไม่ได้แจ้งข้อหา ทำให้จำเลยไม่มีโอกาสต่อสู้เพื่อความบริสุทธิ์ของตน จึงเป็นพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยเจ้าพนักงานตำรวจยังไม่ได้ปฏิบัติตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 นอกจากจะเป็นพยานบอกเล่าแล้วยังไม่ชอบธรรมที่จะรับฟังเป็นผลร้ายแก่จำเลย ย่อมไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3363/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบริษัทบริหารสินทรัพย์ในการสวมสิทธิเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา แม้พ้นกำหนดเวลาบังคับคดี
ผู้ร้องซึ่งเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ได้รับโอนสิทธิเรียกร้องตามคำพิพากษาในคดีนี้มาจากโจทก์ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน ตาม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 มาตรา 7 บัญญัติให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษานั้นได้ อันเป็นบทกฎหมายที่บัญญัติไว้พิเศษนอกเหนือไปจากบททั่วไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ที่บัญญัติให้สิทธิแก่คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ (เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา) เท่านั้นที่มีสิทธิร้องขอให้บังคับคดี เมื่อปรากฏว่าโจทก์ร้องขอให้บังคับคดีและเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดียึดที่ดินจำนองพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 2 เพื่อขายทอดตลาดชำระหนี้แก่โจทก์ เมื่อคดีอยู่ระหว่างการขายเช่นนี้ แสดงว่าการบังคับคดียังไม่เสร็จสิ้น ย่อมเป็นสิทธิของผู้ร้องตามกฎหมายที่จะร้องขอเข้าสวมสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อดำเนินการบังคับคดีสืบต่อจากโจทก์ได้แม้จะล่วงพ้นกำหนดเวลาการบังคับคดีไปแล้วก็ตาม เพราะตราบใดที่สิทธิในการบังคับคดีของโจทก์ยังไม่หมดสิ้น ผู้ร้องก็ชอบที่จะเข้าสวมสิทธิบังคับคดีแทนโจทก์ได้ตามสิทธิที่โจทก์มีอยู่ ทั้งมิใช่เรื่องการร้องสอดดังที่อ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3349-3350/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขาย, การให้สัตยาบัน, ตัวแทน, อนุญาโตตุลาการ: ศาลยืนคำพิพากษาตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า พฤติการณ์ที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ผู้ร้อง และผู้คัดค้านปฏิบัติต่อกันมีลักษณะเป็นการตกลงกันโดยปริยายระหว่างคู่สัญญาสามฝ่ายให้ผู้คัดค้านเข้ามาเป็นคู่สัญญาซื้อขายไอน้ำและไฟฟ้า เป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้โดยทำเป็นสัญญาระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านโดยชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 350 ที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์อ้างว่า น. กระทำในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. มิได้กระทำในฐานะกรรมการบริษัทผู้คัดค้าน เป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐานของศาล และไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นกรณีใดกรณีหนึ่งที่ให้อุทธรณ์ได้ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45 (1) ถึง (5) ผู้คัดค้านอุทธรณ์อ้างว่า ผู้คัดค้านมิได้รับโอนสิทธิเรียกร้องหรือความรับผิดมาจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. และหากมีการโอนสิทธิเรียกร้องแต่การโอนมิได้ทำเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 วรรคหนึ่ง จึงไม่ผูกพันผู้คัดค้านนั้น ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้คัดค้านมีสิทธิยกขึ้นอุทธรณ์ได้
สัญญาซื้อขายไอน้ำและไฟฟ้า ระหว่างห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. กับผู้ร้อง คู่สัญญาแต่ละฝ่ายต่างมีหนี้ที่จะต้องปฏิบัติต่อกันตามสัญญา ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. มิได้อยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ร้องปฏิบัติตามสัญญาได้แต่ฝ่ายเดียว การโอนหนี้ตามสัญญาดังกล่าวย่อมไม่อาจกระทำได้แต่โดยโอนสิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 วรรคหนึ่ง หากกระทำได้แต่ด้วยวิธีแปลงหนี้ใหม่ การแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้นั้น ป.พ.พ. มาตรา 350 บัญญัติเพียงจะทำเป็นสัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้คนใหม่ก็ได้ แต่จะทำโดยขืนใจลูกหนี้เดิมหาได้ไม่ ดังนี้ การแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้จากห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. มาเป็นผู้คัดค้าน แม้มิได้ทำสัญญาเป็นหนังสือระหว่างผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้กับผู้คัดค้านซึ่งเป็นลูกหนี้คนใหม่ แต่ก็มิได้เป็นการทำขึ้นโดยขืนใจห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ซึ่งเป็นลูกหนี้เดิมแล้ว จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้โดยชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว มีผลให้ข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการซึ่งเป็นข้อหนึ่งของสัญญาซื้อขายไอน้ำและไฟฟ้า ย่อมผูกพันผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้รับโอนตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 13 ที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า สัญญาซื้อขายไอน้ำและไฟฟ้าระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านยังไม่เกิด เป็นอุทธรณ์นอกเหนือไปจากที่ผู้คัดค้านยกขึ้นอ้างในคำคัดค้าน ทั้งไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นกรณีใดกรณีหนึ่งที่ให้อุทธรณ์ได้ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45 (1) ถึง (5)
อุทธรณ์ของผู้คัดค้านที่ว่า อ. กรรมการผู้ร้องลงลายมือชื่อในสัญญาซื้อขายไอน้ำและไฟฟ้า โดยไม่ประทับตราสำคัญของบริษัทผู้ร้อง จึงไม่มีผลผูกพันคู่สัญญา ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง อันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้คัดค้านมีสิทธิยกขึ้นอุทธรณ์ได้ แม้ อ. กรรมการผู้ร้องลงลายมือชื่อในสัญญาซื้อขายไอน้ำและไฟฟ้าโดยมิได้ประทับตราสำคัญของผู้ร้อง เป็นการไม่ถูกต้องตามข้อบังคับของบริษัทผู้ร้องอันได้จดทะเบียนไว้ก็ตาม แต่ ป.พ.พ. มาตรา 1167 บัญญัติให้ความเกี่ยวพันกันในระหว่างกรรมการและบริษัท และบุคคลภายนอกนั้น ให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยตัวแทน กรณีจึงเป็นเรื่อง อ.ในฐานะตัวแทนลงลายมือชื่อในสัญญาดังกล่าวแทนผู้ร้องซึ่งเป็นตัวการโดยปราศจากอำนาจหรือนอกเหนือขอบอำนาจ การที่ผู้ร้องได้ยอมรับและปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวมาโดยตลอด จึงเป็นข้อแสดงว่าผู้ร้องได้ให้สัตยาบันแก่การนั้นแล้ว สัญญาซื้อขายไอน้ำและไฟฟ้าย่อมมีผลผูกพันผู้ร้องซึ่งเป็นตัวการ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการตามข้อสัญญาดังกล่าวได้
อุทธรณ์ของผู้คัดค้านที่ว่า การตั้ง ส. เป็นอนุญาโตตุลาการเพื่อชี้ขาดข้อพิพาทไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 โดยผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า ในวันนัดสืบพยานนัดสุดท้าย เมื่อความปรากฏเหตุที่ผู้คัดค้านแถลงคัดค้าน ส. อนุญาโตตุลาการถึงเหตุอันควรสงสัยถึงความเป็นกลางหรือความเป็นอิสระ คณะอนุญาโตตุลาการจดบันทึกในรายงานการประชุมเป็นภาษาอังกฤษและแทรกข้อความไว้ในรายงานดังกล่าวว่าสอบถามคู่กรณีแล้วไม่คัดค้านถึงความเป็นกลางและความเป็นอิสระของอนุญาโตตุลาการ โดยผู้คัดค้านไม่ได้สังเกตเห็นข้อความดังกล่าว กรณีนับเป็นความบกพร่องของผู้คัดค้านเอง ทั้งไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นกรณีใดกรณีหนึ่งที่ให้อุทธรณ์ได้ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45 (1) ถึง (5)
อุทธรณ์ของผู้คัดค้านที่ว่า ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้บังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการให้ผู้คัดค้านชำระเงินในส่วนที่เป็นค่าซื้อกิจการของผู้ร้องในราคา 238,303,046 บาท ทั้ง ๆ ที่ตามสัญญาซื้อขายไอน้ำและไฟฟ้า ข้อ 10 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. มีสิทธิซื้อกิจการของผู้ร้องได้ในราคา 30,000,000 บาท จึงไม่ตรงตามสัญญานั้น อุทธรณ์ของผู้คัดค้านในข้อนี้ปรากฏว่า คณะอนุญาโตตุลาการกำหนดราคาประเมินกิจการของผู้ร้องตามสัญญาซื้อขายไอน้ำและไฟฟ้า โดยราคาค่าซื้อ/ซื้อกิจการประกอบด้วยองค์ประกอบ 2 ส่วน คือเงินที่ต้องชำระตามข้อ 10 และข้อ 14.3 เมื่อผู้คัดค้านมิได้กล่าวอ้างว่า การกำหนดราคาดังกล่าวของคณะอนุญาโตตุลาการไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องตรงไหน อย่างไร จึงเป็นอุทธรณ์ยกข้อเท็จจริงบางส่วนขึ้นกล่าวอ้างว่าการกำหนดค่าซื้อกิจการของคณะอนุญาโตตุลาการเกินขอบเขตของสัญญาอนุญาโตตุลาการ มีผลเท่ากับเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการในการกำหนดค่าสินไหมทดแทนจากการซื้อกิจการตามข้อ 14.3 ไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นกรณีใดกรณีหนึ่งที่ให้อุทธรณ์ได้ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 45 (1) ถึง (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2740/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำนองก่อนบังคับคดีล้มละลาย: ผู้รับจำนองมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น แม้มีการขายสิทธิเรียกร้อง
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีต่อจำเลยเป็นการรวบรวมทรัพย์สินของโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ที่ถูกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายตามอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 123 มิใช่การบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ในคดีนี้เมื่อยังไม่มีการขายทอดตลาดที่ดินที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ซึ่งติดจำนองอยู่แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องจึงชอบที่จะอาศัยอำนาจแห่งการจำนองที่อาจบังคับได้ยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองได้ก่อนเอาที่ดินนั้นออกขายทอดตลาดในคดีนี้ การจัดทำบัญชีรับ - จ่าย ในการบังคับคดีล้มละลายของโจทก์นั้นไม่เกี่ยวกับคดีนี้ กรณีไม่ใช่เรื่องที่จำเลยจะยกขึ้นอ้างเพื่อมิให้ผู้ร้องเข้ามาขอรับชำระหนี้หรือสวมสิทธิบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของจำเลยในคดีนี้แทนโจทก์ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2401/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์จำนอง: สายไฟฟ้าและถังน้ำในโรงงาน ไม่เป็นส่วนควบ/อุปกรณ์ของโรงงาน จึงไม่เป็นการยึดซ้ำ
สายไฟฟ้ามิใช่ส่วนซึ่งโดยสภาพแห่งทรัพย์หรือโดยจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเป็นสาระสำคัญในความเป็นอยู่ของอาคารโรงงานอันเป็นสิ่งปลูกสร้างบนที่ดิน ซึ่งจำเลยจำนองแก่ผู้ร้องและที่ผู้ร้องยึดไว้ในคดีที่ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลย ก่อนที่โจทก์ได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดในคดีนี้ ทั้งไม่อาจแยกจากกันได้นอกจากจะทำลาย ทำให้บุบสลาย หรือทำให้ทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงรูปทรงหรือสภาพไป สายไฟฟ้าพิพาทจึงไม่เป็นส่วนควบของโรงงานของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 144 ทั้งมิใช่เป็นของใช้ประจำอยู่กับโรงงานดังกล่าวที่เป็นทรัพย์ประธานเป็นอาจิณเพื่อประโยชน์แก่การจัดดูแล ใช้สอย หรือรักษาทรัพย์ที่เป็นประธาน จึงไม่ต้องด้วยลักษณะเป็นอุปกรณ์ของโรงงานนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 147 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษานำยึดสายไฟฟ้าพิพาทในคดีนี้ จึงไม่เป็นการยึดซ้ำอันจะต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290
ถังน้ำพิพาทเป็นชุดเตรียมสารเคมีซึ่งเป็นอุปกรณ์ส่วนหนึ่งของเครื่องจักรที่จำเลยจำนองแก่ผู้ร้อง การที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดอย่างไม่มีภาระจำนองนั้น จำนองเป็นทรัพยสิทธิซึ่งตกติดไปกับตัวทรัพย์ การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการยึดโดยไม่มีภาระจำนองตามคำขอของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ก็ไม่มีผลทำให้สิทธิจำนองที่ผู้ร้องมีอยู่เสื่อมเสียไป สิทธิจำนองของผู้ร้องมีอยู่อย่างไรก็คงมีอยู่อย่างนั้น แม้โจทก์จะมิได้แจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบซึ่งการจำนองที่มีอยู่ในทรัพย์สินนั้นก็ไม่ทำให้การยึดเสียไป และชอบที่ผู้ร้องจะใช้สิทธิขอรับชำระหนี้จำนองจากทรัพย์สินซึ่งจำนอง จะยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการยึดโดยอ้างเหตุว่าการยึดไม่ชอบตามคำร้องของผู้ร้องไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1634-1635/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน-กรรมสิทธิ์ที่ดิน: คำร้องสอดเป็นฟ้องซ้อนหากประเด็นพิพาทซ้ำกับคดีเดิม และการพิจารณาเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินต้องพิจารณาจากสัญญา
ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดว่า ผู้ร้องสอดเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งสองแปลงที่พิพาท และมีคำขอให้โจทก์โอนที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวคืนให้ผู้ร้องสอด เป็นการร้องสอดเข้ามาเพื่อเป็นคู่ความฝ่ายที่สาม ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) เพื่อต่อสู้คดีกับโจทก์ ในทำนองเดียวกับที่ผู้ร้องสอดได้ฟ้องโจทก์กับพวกไว้ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 48/2554 ของศาลชั้นต้น แม้ในคดีนี้เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสี่ แต่ก็มีประเด็นพิพาทเช่นเดียวกับที่ผู้ร้องสอดได้ฟ้องโจทก์กับพวกไว้ในคดีดังกล่าวว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินที่พิพาทหรือไม่ คำร้องสอดของผู้ร้องสอดถือเป็นคำฟ้อง จึงเป็นคำฟ้องในเรื่องเดียวกัน ผู้ร้องสอดจะยื่นคำร้องสอดเข้ามาในคดีนี้ไม่ได้ เป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
ในคดีที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ฟ้องขอให้บังคับโจทก์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งสองแปลงที่พิพาทคืนแก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 282/2545 ของศาลชั้นต้น คดีดังกล่าวศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโดยมิได้มีคำวินิจฉัยในเรื่องความเป็นเจ้าของของที่ดินที่พิพาท จำเลยทั้งสี่จึงสามารถสืบพยานตามคำให้การและฟ้องแย้งในคดีนี้ได้ ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
of 14