คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พิศิฏฐ์ สุดลาภา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 136 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19775/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: การสะดุดหยุดของอายุความเมื่อมีการฟ้องคดีอาญา
คดีก่อน โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีอาญาต่อศาลชั้นต้น ฐานยักยอกทรัพย์มรดกของ น. จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ คดีเสร็จการพิจารณา ศาลสั่งให้พนักงานคุมประพฤติสืบเสาะและพินิจจำเลย นัดฟังคำพิพากษาวันที่ 23 พฤศจิกายน 2553 คดีนี้โจทก์มาฟ้องเป็นคดีแพ่งเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2552 ว่า โจทก์มีสิทธิรับมรดกของ น. แทนที่ ส. บิดาตนที่ถึงแก่ความตายไปก่อน แต่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทายาท น. อีกคนหนึ่งได้กระทำความผิดอาญาโดยแจ้งเท็จปิดบังทายาทของ น. คนอื่น จดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นของตนเองและไปจดทะเบียนขายแก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ชอบ ขอให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าว จึงเป็นคดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องทางแพ่งเนื่องจากอ้างว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 51 ซึ่งอายุความในการฟ้องทางแพ่งต้องบังคับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 51 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า การฟ้องคดีอาญาต่อศาลและได้ตัวผู้กระทำผิดมายังศาลด้วย โดยคดีอาญายังไม่เด็ดขาด อายุความซึ่งผู้เสียหายจะฟ้องคดีแพ่งย่อมสะดุดหยุดลง เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ในระหว่างการพิจารณาคดีอาญาดังกล่าว คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18368/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเพิกถนิติกรรมซื้อขายที่ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ แม้มีการฟ้องคดีปล่อยทรัพย์พิพาทมาก่อน
แม้ชั้นบังคับคดีในคดีก่อน จำเลยที่ 4 ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์พิพาทที่ยึด โจทก์ยื่นคำคัดค้านว่าผู้ร้อง (จำเลยที่ 4 คดีนี้) ไม่มีสิทธิยื่นคำร้อง โดยอ้างเหตุแห่งการนั้นเช่นเดียวกับคำฟ้องคดีนี้ก็ตาม ซึ่งศาลชั้นต้นในคดีก่อนวินิจฉัยในสาระสำคัญว่า ผู้ร้อง (จำเลยที่ 4 คดีนี้) ฟ้องจำเลยที่ 3 (จำเลยที่ 1 คดีนี้) ต่อศาลแขวงนครราชสีมาและศาลมีคำพิพากษาให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่ผู้ร้อง (จำเลยที่ 4 คดีนี้) แล้ว ถือว่าผู้ร้อง (จำเลยที่ 4 คดีนี้) เป็นผู้มีส่วนได้เสียตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 จึงอยู่ในฐานะที่จะจดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน การทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างผู้ร้อง (จำเลยที่ 4 คดีนี้) กับจำเลยที่ 3 (จำเลยที่ 1 คดีนี้) จะทำให้โจทก์เสียหายหรือไม่เพียงใดไม่มีประเด็นพิจารณาในคดีก่อน ดังนี้ คดีก่อนศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดว่าสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นโมฆะและการกระทำของจำเลยทั้งสี่เป็นการสมคบกันทำการฉ้อฉลโจทก์หรือไม่ การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยทั้งสี่คดีนี้จึงมิใช่เป็นเรื่องที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีในประเด็นที่ต้องวินิจฉัยเป็นอย่างเดียวกันอันจะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16906/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิด: เริ่มนับจากวันที่ทราบถึงการละเมิด ไม่ใช่จากวันที่ศาลฎีกามีคำสั่ง
โจทก์ทั้งห้าฟ้องว่าจำเลยทั้งแปดจงใจกลั่นแกล้งเป็นเหตุให้นายทะเบียนไม่ยอมรับการจดทะเบียนโจทก์ทั้งห้าเป็นกรรมการสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทยและเรียกค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากมูลละเมิด เมื่อโจทก์ที่ 1 ทราบคำสั่งของนายทะเบียนคืออธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานที่ไม่รับจดทะเบียนโจทก์ทั้งห้าเป็นกรรมการเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2547 ย่อมแสดงให้เห็นชัดเจนว่าโจทก์ทั้งห้าซึ่งเป็นผู้เสียหายได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ทั้งห้าตั้งแต่วันดังกล่าว แต่โจทก์ทั้งห้านำคดีมาฟ้องจำเลยทั้งแปดเพื่อเรียกค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากมูลละเมิดวันที่ 16 พฤศจิกายน 2549 เกินกำหนด 1 ปี นับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ คดีของโจทก์ทั้งห้าจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง ส่วนการที่โจทก์ทั้งห้าฟ้องคดีต่อศาลแรงงานกลางเพื่อขอเพิกถอนคำสั่งที่นายทะเบียนไม่รับจดทะเบียนโจทก์ทั้งห้าเป็นกรรมการนั้นเป็นการกระทำของโจทก์ทั้งห้าภายหลังอันเป็นเพียงผลที่เกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยทั้งแปดตามที่โจทก์ทั้งห้ากล่าวอ้าง มิใช่การกระทำละเมิดต่อเนื่องกันมาจนถึงวันที่ศาลฎีกามีคำสั่งถึงที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16430/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์มรดกและอายุความฟ้องคดีมรดกของผู้จัดการมรดก
อ. ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2524 แต่ยังไม่มีการจัดการมรดกและแบ่งทรัพย์มรดกแก่ทายาท อายุความการฟ้องคดีมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 และ มาตรา 1754 จึงยังไม่เริ่มนับและถือว่าจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ อ. ครอบครองทรัพย์มรดกไว้แทนทายาทโดยจำเลยไม่เคยบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือไปยังโจทก์ทั้งสี่และ พ. ว่าไม่เจตนาจะยึดถือแทนอีกต่อไป จำเลยจึงไม่อาจอ้างการครอบครองปรปักษ์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 และมาตรา 1384

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14700/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากความผิดฐานทำลายทรัพยากรธรรมชาติ: ใช้บทบัญญัติ พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อมฯ อายุความ 10 ปี
โจทก์บรรยายฟ้องมีใจความว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 และ ย. ซึ่งถึงแก่ความตายแล้ว และเป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 9 เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 10 และที่ 11 ได้บังอาจร่วมกันบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองทำประโยชน์ ก่นสร้าง แผ้วถางป่า โดยตัด ฟัน โค่น เลื่อย ชักลากไม้ในป่าภายในเขตอุทยานแห่งชาติ จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นของรัฐ อันเป็นการทำให้เป็นอันตราย และทำให้เสื่อมสภาพซึ่งไม้ภายในเขตอุทยานแห่งชาติโดยผิดกฎหมาย และร่วมกันยึดถือครอบครองพื้นที่ป่าดังกล่าว ตลอดทั้งได้ปลูกพืชไร่ในท้องที่ดังกล่าวคิดเป็นเนื้อที่รวมทั้งสิ้น 1,330 ไร่ ถือได้ว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้อง โดยเรียกร้องให้จำเลยกับพวกร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 มาตรา 97 ซึ่งบัญญัติว่า "ผู้ใดกระทำหรือละเว้นการกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการทำลาย หรือทำให้สูญหาย หรือความเสียหายแก่ทรัพยากรธรรมชาติซึ่งเป็นของรัฐหรือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายให้แก่รัฐตามมูลค่าทั้งหมดของทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกทำลายสูญหายหรือเสียหายไปนั้น" ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะ มิใช่การฟ้องขอให้จำเลยกับพวกร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อโจทก์ในมูลละเมิด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 จึงไม่อยู่ในบังคับอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ สิทธิเรียกร้องตามคำฟ้องของโจทก์จึงอยู่ในบังคับอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13320/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำหน่ายยาเสพติด: ศาลยกฟ้องข้อหาจำหน่ายต่อ แต่ลงโทษฐานมีไว้เพื่อจำหน่าย เนื่องจากมีหลักฐานการครอบครอง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยร่วมกับ ท. มีเมทแอมเฟตามีน 10 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน 9 เม็ด ให้แก่สายลับ แต่ได้ความจากทางนำสืบโจทก์ว่า จำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน 10 เม็ด ให้แก่ ท. โดยไม่ปรากฏว่า จำเลยทราบว่า ท. จะนำเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวไปจำหน่ายให้แก่สายลับ จึงเห็นได้ว่า การซื้อขายเมทแอมเฟตามีนระหว่าง ท. กับสายลับไม่เกี่ยวข้องกับจำเลย จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยร่วมกับ ท. จำหน่ายเมทแอมเฟตามีน 9 เม็ด ให้แก่สายลับ และแม้ได้ความว่าจำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน 10 เม็ด ให้แก่ ท. แต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาดังกล่าวแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในสาระสำคัญ ศาลไม่อาจลงโทษจำเลยฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่ ท. ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้น ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง อย่างไรก็ดีการที่จำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่ ท. แสดงว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนของกลาง 10 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยร่วมกับพวกมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่เมื่อได้ความว่าจำเลยกับ ท. ต่างคนต่างครอบครองเมทแอมเฟตามีนของกลางในช่วงเวลาต่างกันซึ่งเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง ประกอบกับโจทก์บรรยายฟ้องประสงค์ให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ ศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาตตามที่พิจารณาได้ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12798/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้จัดการสถานีบริการน้ำมันต่อความเสียหายจากทุจริตของพนักงาน
จำเลยที่ 2 ได้รับคำสั่งแต่งตั้งจากโจทก์ให้ดำรงตำแหน่งผู้จัดการสถานีบริการน้ำมันเพื่อสวัสดิการข้าราชการศูนย์กลางสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2537 เมื่อการปฏิบัติงานสวัสดิการภายในดังกล่าวตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ พ.ศ.2530 ข้อ 13 ให้ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการ แม้จะไม่ได้มีค่าตอบแทนพิเศษและไม่มีคำสั่ง ระเบียบ หรือข้อบังคับ กำหนดอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการไว้แต่หน้าที่ผู้จัดการโดยทั่วไปย่อมจะต้องดูแลรับผิดชอบการปฏิบัติงานของพนักงานหรือลูกจ้างในสถานีบริการน้ำมันนั้นให้เป็นไปโดยถูกต้องเรียบร้อย รวมทั้งเสนอมาตรการแก้ไขปัญหาในการบริหารจัดการตามสมควรแก่กรณี แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้เสนอรายงานที่ตนเองพบข้อสงสัยไปตามลำดับชั้นเพื่อให้มีการจัดการแก้ไขปัญหาโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับความไม่สุจริตของพนักงานขาย ทั้งได้ความจากจำเลยที่ 2 ว่า จำเลยที่ 2 มิได้ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานขายหรือเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีแต่อย่างใด พยานหลักฐานที่จำเลยที่ 2 นำสืบมาไม่มีน้ำหนักหักล้างพยานโจทก์ จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ จึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10330/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนและการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน องค์ประกอบความผิด การกระทำร่วมกัน และการบังคับคดีดอกเบี้ย
แม้พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบรับฟังได้เพียงว่าจำเลยพูดหลอกลวงชักชวน ป. ผู้เสียหายที่ 5 เพียงคนเดียวให้เข้าร่วมลงทุน ส่วนผู้เสียหายอื่นถูกผู้ร่วมกระทำความผิดคนอื่นพูดหลอกลวงชักชวนให้เข้าร่วมลงทุน แต่ความผิดฐานเป็นตัวการร่วมกันฉ้อโกงประชาชนองค์ประกอบสำคัญคือ มีผู้ร่วมกระทำความผิดตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมกันหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชน หรือด้วยการปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน และความผิดฐานเป็นตัวการร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนองค์ประกอบที่สำคัญคือ ผู้กระทำความผิดตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมกันโฆษณาหรือประกาศต่อประชาชนหรือกระทำการด้วยประการใด ๆ ให้ปรากฏแก่บุคคลตั้งแต่สิบคนขึ้นไปในการกู้ยืมเงิน ผู้ร่วมกระทำความผิดอาจกระทำการในลักษณะแบ่งงานกันทำ ไม่จำเป็นที่จำเลยจะต้องกระทำต่อผู้เสียหายแต่ละคนด้วยตนเอง เพียงจำเลยกระทำการดังกล่าวต่อผู้เสียหายที่ 5 โดยแนะนำตัวเองว่าเป็นผู้ช่วยผู้บริหารและเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน พาผู้เสียหายที่ 5 เดินชมสถานที่ซึ่งมีพนักงานมากกว่า 30 คน นั่งประจำเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องจนผู้เสียหายที่ 5 หลงเชื่อและมอบเงินให้แก่จำเลย ส่วนผู้เสียหายที่ 1 ถึง 4 และที่ 6 ถึงที่ 11 ก็ถูกพวกจำเลยหลอกลวงในทำนองเดียวกัน แสดงว่าจำเลยมีเจตนาร่วมกันหลอกลวงประชาชนและกระทำต่อบุคคลตั้งแต่สิบคนขึ้นไปโดยแบ่งงานกันทำกับพวกจำเลย เป็นผลให้ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดคนหลงเชื่อและมอบเงินให้แก่จำเลยกับพวกตามฟ้อง จำเลยจึงมีความผิดฐานร่วมกันเป็นตัวการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนและความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนทั้งสิบเอ็ดกระทงตามฟ้อง
อนึ่ง ศาลอุทธรณ์พิพากษากำหนดให้จำเลยต้องชดใช้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 10.5 ต่อปี ของต้นเงินที่จำเลยต้องคืนแก่ผู้เสียหายที่ 5 ด้วยนั้นชอบแล้ว เพราะเป็นผลประโยชน์ตอบแทนที่เป็นสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายและโจทก์ระบุไว้ในคำขอท้ายฟ้อง เมื่อจำเลยมีความผิดฐานร่วมกันเป็นตัวการกระทำความผิด จำเลยต้องชดใช้ดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวของต้นเงินแก่ผู้เสียหายทุกคนด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8932/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาเรื่องค่าเสียหายคดีข่มขืน: การยินยอมของผู้เสียหายไม่มีผลทางกฎหมาย และประเด็นการฎีกาที่ต้องห้าม
พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 183 บัญญัติว่า "คดีที่ศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวได้พิพากษาหรือมีคำสั่งให้ฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นไปยังศาลฎีกาได้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความเหมือนคดีธรรมดา เว้นแต่กรณีที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามมาตรา 180" นอกจากนี้ มาตรา 6 ยังบัญญัติให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับแก่การพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวกรณีไม่มีบทบัญญัติไว้โดยเฉพาะ ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาคดีส่วนแพ่ง ปัญหาว่าคดีของโจทก์ร่วมต้องห้ามฎีกาหรือไม่จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่า "ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทหรือไม่เกินจำนวนที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงเว้นแต่ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลอุทธรณ์ได้มีความเห็นแย้งหรือผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นก็ดี ศาลอุทธรณ์ก็ดีได้รับรองไว้หรือรับรองในเวลาตรวจฎีกาว่า มีเหตุสมควรที่จะฎีกาได้..." การที่โจทก์ร่วมฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายจึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริงและทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง แต่เมื่อผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงพอแปลได้ว่ารับรองให้โจทก์ร่วมฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้นนั่นเอง ฎีกาของโจทก์ร่วมจึงไม่ต้องห้ามฎีกา
ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก บัญญัติว่า "ผู้ใดกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาหรือสามีของตน โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ยินยอมเป็นความผิด" แสดงว่า กฎหมายมุ่งคุ้มครองเด็กอายุน้อยเป็นกรณีพิเศษโดยไม่ให้ความสำคัญแก่ความยินยอมของเด็ก ดังนั้น แม้ผู้เสียหายที่ 3 ยินยอมมีเพศสัมพันธ์กับจำเลย การกระทำของจำเลยก็ยังเป็นการกระทำที่ละเมิดต่อกฎหมาย จึงยังคงเป็นการละเมิดต่อผู้เสียหายที่ 3 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 โจทก์ร่วมในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เสียหายที่ 3 ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8620/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดสิทธิฎีกาในคดีเยาวชน และการบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่กำหนดระยะเวลาฝึกอบรมที่ไม่ชัดเจน
คดีนี้ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288, 80 ประกอบมาตรา 83, 358, 371 พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7, 8 ทวิ วรรคหนึ่ง, 72 วรรคสาม, 72 ทวิ วรรคสอง เรียงกระทงลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 91 รวมจำคุก 5 ปี 12 เดือน เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปควบคุมเพื่อฝึกอบรมที่ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 2 (จังหวัดราชบุรี) มีกำหนดขั้นต่ำ 3 ปี ขั้นสูง 4 ปี หากอายุเกิน 24 ปีบริบูรณ์ ให้ส่งไปจำคุกตามระยะเวลาที่เหลือ ซึ่งการเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปฝึกอบรมและจากนั้นส่งตัวไปจำคุกยังเรือนจำเช่นนี้เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนต้องถือว่าศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกิน 5 ปี ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืน จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 183
ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปควบคุมเพื่อฝึกอบรมมีกำหนดขั้นต่ำ 3 ปี ขั้นสูง 4 ปี หากอายุเกิน 24 ปีบริบูรณ์ ให้ส่งไปจำคุกตามระยะเวลาที่เหลือโดยไม่ได้ระบุว่า คือกำหนดระยะเวลาขั้นต่ำหรือขั้นสูงนั้น เป็นการไม่ชัดแจ้ง จึงกำหนดให้เป็นส่งตัวจำเลยไปจำคุกตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 142 วรรคท้าย จนครบกำหนดระยะเวลาขั้นต่ำที่เหลืออยู่
of 14