พบผลลัพธ์ทั้งหมด 136 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21553/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับค่าปรับ: ศาลมีอำนาจกักขังแทนค่าปรับได้ แม้มีการยึดทรัพย์สินไปก่อน และจำกัดระยะเวลาได้ 1 ปี
ป.อ. มาตรา 29 กำหนดวิธีการบังคับค่าปรับไว้ 2 วิธี เพื่อให้ศาลเลือกใช้ได้ตามสมควรแก่รูปคดี มิใช่ให้ศาลเลือกใช้วิธีการบังคับได้เพียงวิธีการใดวิธีการหนึ่งเท่านั้น ดังนี้ แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อยึดทรัพย์สินของจำเลยออกขายทอดตลาดชำระค่าปรับรายวันแล้วก็ตาม ศาลชั้นต้นย่อมมีคำสั่งกักขังจำเลยแทนค่าปรับได้
ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษปรับจำเลยโดยกำหนดว่า หากไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 29, 30 แต่มิได้ระบุว่าให้กักขังเกิน 1 ปี หรือไม่ มีกำหนดเท่าใด ถือเป็นกรณีที่ศาลล่างทั้งสองไม่ได้สั่งให้กักขังจำเลยไว้เป็นอย่างอื่น ดังนั้น หากจะกักขังจำเลยแทนค่าปรับก็กักขังได้เพียง 1 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 30 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้กักขังจำเลยแทนค่าปรับเกินกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปี จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษปรับจำเลยโดยกำหนดว่า หากไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 29, 30 แต่มิได้ระบุว่าให้กักขังเกิน 1 ปี หรือไม่ มีกำหนดเท่าใด ถือเป็นกรณีที่ศาลล่างทั้งสองไม่ได้สั่งให้กักขังจำเลยไว้เป็นอย่างอื่น ดังนั้น หากจะกักขังจำเลยแทนค่าปรับก็กักขังได้เพียง 1 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 30 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้กักขังจำเลยแทนค่าปรับเกินกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปี จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19376/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดการสมรสด้วยการตายของคู่สมรสระหว่างดำเนินคดีหย่า และผลกระทบต่อการแบ่งสินสมรส
โจทก์ฟ้องหย่าจำเลยและขอแบ่งสินสมรส ประเด็นทรัพย์พิพาทเป็นสินสมรสหรือไม่ คู่ความมิได้ฎีกา ประเด็นดังกล่าวจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า ทรัพย์พิพาทใดเป็นสินสมรสของโจทก์กับจำเลย คำพิพากษาย่อมผูกพันคู่ความ ประเด็นชั้นฎีกาจึงมีเพียงว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยหรือไม่ ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ถึงแก่ความตาย ผู้ร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้มรณะ ประเด็นฟ้องหย่าเป็นสิทธิเฉพาะตัว เมื่อโจทก์ถึงแก่ความตายจึงมีผลทำให้การสมรสย่อมสิ้นสุดลงก่อนที่คำพิพากษาให้หย่า จะถึงที่สุด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1501 คดีจึงไม่มีประโยชน์ต้องพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องหย่าต่อไปอีกหรือไม่ ทั้งโจทก์ซึ่งเป็นผู้ฟ้องหย่าและขอแบ่งสินสมรสถึงแก่ความตายระหว่างพิจารณาต้องแบ่งทรัพย์สินระหว่างผู้ตายกับคู่สมรสที่มีอยู่นับแต่เวลาที่การสมรสสิ้นสุดไปด้วยเหตุความตาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1625 จึงไม่อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16426/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ประกันร่วม กรณีผิดสัญญาประกันตัว และการบังคับคดีตามสัญญา
การที่ผู้ประกันทั้งสองร่วมกันยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราว และที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวก็เพราะเห็นว่าหากผู้ประกันทั้งสองผิดสัญญาประกันหลักทรัพย์ของผู้ประกันทั้งสองรวมกันแล้วเป็นเงินจำนวนเพียงพอที่จะบังคับเอาชำระหนี้ได้ตามสัญญา มิได้แยกให้ผู้ประกันทั้งสองแต่ละคนรับผิดภายในวงเงินที่ระบุราคาทรัพย์หรือราคาประกันเท่านั้น ทั้งสัญญาประกันดังกล่าวก็ระบุให้ศาลมีอำนาจบังคับผู้ประกันให้ใช้เบี้ยปรับเต็มตามจำนวนในสัญญา ดังนี้ ผู้ประกันที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดตามสัญญากับผู้ประกันที่ 2 อย่างลูกหนี้ร่วม เมื่อผู้ประกันทั้งสองยังชำระเบี้ยปรับไม่ครบถ้วน ผู้อำนวยการสำนักงานประจำศาลจังหวัดจันทบุรีในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119 วรรคสอง ก็มีอำนาจอายัดทรัพย์ของผู้ประกันที่ 1 เพื่อชำระหนี้ตามสัญญาให้ครบถ้วนได้ ข้อสัญญาที่ให้อำนาจศาลในการบังคับตามสัญญาประกัน จึงมิใช่ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใด
แม้มีการแก้ไข ป.วิ.อ. มาตรา 119 วรรคสอง ให้ถือเสมือนว่าผู้ประกันที่ 1 เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา ก็เป็นการแก้ไขเพื่อประโยชน์ในการบังคับคดีดังที่บัญญัติไว้ในตอนต้นของมาตราดังกล่าวเท่านั้น มิได้ทำให้ความรับผิดของผู้ประกันที่ 1 ตามสัญญาประกันในฐานะลูกหนี้ร่วมหมดสิ้นไปแต่อย่างใด
แม้มีการแก้ไข ป.วิ.อ. มาตรา 119 วรรคสอง ให้ถือเสมือนว่าผู้ประกันที่ 1 เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา ก็เป็นการแก้ไขเพื่อประโยชน์ในการบังคับคดีดังที่บัญญัติไว้ในตอนต้นของมาตราดังกล่าวเท่านั้น มิได้ทำให้ความรับผิดของผู้ประกันที่ 1 ตามสัญญาประกันในฐานะลูกหนี้ร่วมหมดสิ้นไปแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16243/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดตามเช็ค: การลงลายมือชื่อสั่งจ่ายโดยไม่ได้ระบุว่ากระทำการแทนผู้อื่น
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 900 วรรคหนึ่ง บุคคลผู้ลงลายมือชื่อในเช็คต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็ค และบุคคลผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายในเช็คจะปฏิเสธความรับผิดตามเนื้อความในเช็คได้ก็ต่อเมื่อกระทำแทนบุคคลอื่นและเขียนแถลงว่ากระทำการแทนบุคคลอื่นตาม ป.พ.พ. มาตรา 901
การที่เช็คพิพาทมีลายมือชื่อของจำเลยทั้งสามเป็นผู้สั่งจ่ายโดยมีชื่อกองทุนสวัสดิการฯ ไว้ แต่ไม่ได้เขียนข้อความให้เห็นว่าจำเลยทั้งสามกระทำการแทนกองทุนสวัสดิการฯ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามสั่งจ่ายเช็คพิพาทแทนกองทุนสวัสดิการฯ จำเลยทั้งสามจึงต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาท
การที่เช็คพิพาทมีลายมือชื่อของจำเลยทั้งสามเป็นผู้สั่งจ่ายโดยมีชื่อกองทุนสวัสดิการฯ ไว้ แต่ไม่ได้เขียนข้อความให้เห็นว่าจำเลยทั้งสามกระทำการแทนกองทุนสวัสดิการฯ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามสั่งจ่ายเช็คพิพาทแทนกองทุนสวัสดิการฯ จำเลยทั้งสามจึงต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15208/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สมาชิกภาพสิ้นสุดเพราะเลือกตั้งไม่ชอบด้วยกม. ต้องคืนเงินประจำตำแหน่งและค่าตอบแทนผู้เชี่ยวชาญ
การเสนอคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1) ให้เสนอต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลหรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดในเขตศาลไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่ คำว่า "มูลคดีเกิด" หมายถึง เหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้อง เมื่อโจทก์อนุมัติจ่ายเงินให้แก่จำเลย เนื่องจากการดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา ได้รับเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่น ณ ที่ทำการของโจทก์ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้น ต่อมาคณะกรรมการการเลือกตั้งได้มีมติให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาใหม่ในเขตการเลือกตั้งจังหวัดระนองแทนจำเลยเนื่องจากจำเลยได้รับการเลือกตั้งมาโดยไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 โจทก์ฟ้องจำเลยคืนเงินดังกล่าวแก่โจทก์ ดังนั้น เหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิที่ทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องซึ่งถือว่าเป็นมูลคดีได้เกิดขึ้น ณ ที่ทำการของโจทก์ ซึ่งตั้งอยู่ที่แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร อันอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นอีกแห่งหนึ่งด้วย โจทก์จึงมีอำนาจเสนอคำฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1) ประกอบมาตรา 5
วันที่ 13 มีนาคม 2544 คณะกรรมการการเลือกตั้งได้มีคำวินิจฉัยว่า ก่อนจำเลยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา จำเลยกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 มาตรา 44 (1) ประกอบมาตรา 90 เนื่องจากการเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมมีผลให้สมาชิกภาพของจำเลยสิ้นสุดลงนับแต่วันมีคำสั่ง ตามมาตรา 96 กรณีของจำเลยจึงเป็นการออกจากตำแหน่งเพราะเหตุที่จำเลยได้รับเลือกตั้งมาโดยไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 ที่มีผลบังคับใช้ในขณะนั้น จำเลยจึงต้องคืนเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่จำเลยได้รับมาเนื่องจากการดำรงตำแหน่งดังกล่าวตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 97 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวคืนได้ การที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนเงินและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่น เป็นกรณีที่เจ้าของทรัพย์สินติดตามเอาทรัพย์ของตนคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 มิใช่อายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
เมื่อจำเลยเป็นผู้ขอให้โจทก์แต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญและผู้ปฏิบัติงานประจำตัวจำเลย ซึ่งเป็นสิทธิของจำเลยที่ได้มาระหว่างที่จำเลยดำรงตำแหน่งและเป็นประโยชน์แก่จำเลยเอง เงินที่โจทก์ได้จ่ายให้แก่บุคคลที่จำเลยขอให้โจทก์แต่งตั้งจึงมีลักษณะเป็นประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่จำเลยได้รับมาเนื่องจากการดำรงตำแหน่ง จำเลยจึงต้องคืนให้แก่โจทก์ด้วย
วันที่ 13 มีนาคม 2544 คณะกรรมการการเลือกตั้งได้มีคำวินิจฉัยว่า ก่อนจำเลยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา จำเลยกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 มาตรา 44 (1) ประกอบมาตรา 90 เนื่องจากการเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมมีผลให้สมาชิกภาพของจำเลยสิ้นสุดลงนับแต่วันมีคำสั่ง ตามมาตรา 96 กรณีของจำเลยจึงเป็นการออกจากตำแหน่งเพราะเหตุที่จำเลยได้รับเลือกตั้งมาโดยไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 ที่มีผลบังคับใช้ในขณะนั้น จำเลยจึงต้องคืนเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่จำเลยได้รับมาเนื่องจากการดำรงตำแหน่งดังกล่าวตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 97 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวคืนได้ การที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนเงินและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่น เป็นกรณีที่เจ้าของทรัพย์สินติดตามเอาทรัพย์ของตนคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 มิใช่อายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
เมื่อจำเลยเป็นผู้ขอให้โจทก์แต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญและผู้ปฏิบัติงานประจำตัวจำเลย ซึ่งเป็นสิทธิของจำเลยที่ได้มาระหว่างที่จำเลยดำรงตำแหน่งและเป็นประโยชน์แก่จำเลยเอง เงินที่โจทก์ได้จ่ายให้แก่บุคคลที่จำเลยขอให้โจทก์แต่งตั้งจึงมีลักษณะเป็นประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่จำเลยได้รับมาเนื่องจากการดำรงตำแหน่ง จำเลยจึงต้องคืนให้แก่โจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13188/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพยายามฆ่าและอาวุธปืน: ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
ฎีกาของโจทก์ร่วมที่ขอให้กำหนดค่าสินไหมทดแทนไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้น เมื่อศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยกระทำความผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ศาลฎีกาจึงชอบที่จะกำหนดค่าสินไหมทดแทนที่จำเลยพึงต้องใช้แก่โจทก์ร่วมไปตามข้อเท็จจริงตามผลของคำพิพากษาคดีส่วนอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12449/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้าง กรณีการนำบัตรเครดิตของผู้อื่นไปใช้
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 และรับว่าเมื่อเกิดกรณีไปรษณีย์ภัณฑ์ที่โจทก์ฝากส่งสูญหาย จำเลยที่ 2 ได้ตั้งกรรมการสอบสวนและได้ความจากการสอบสวนว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าหน้าที่นำจ่ายไปรษณีย์ภัณฑ์ของโจทก์และนำบัตรเครดิตที่อยู่ในไปรษณีย์ภัณฑ์ดังกล่าวของโจทก์ไปใช้ตามที่โจทก์ฟ้องจริง โดยจำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพไว้ต่อคณะกรรมการของจำเลยที่ 2 กรณีจึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้างและจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดด้วยในฐานะนายจ้าง ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาอ้างว่า จำเลยที่ 2 มีไปรษณียนิเทศ พ.ศ.2544 ซึ่งออกตามพ.ร.บ ไปรษณีย์ พ.ศ.2477 กำหนดขอบเขตความรับผิดกรณีไปรษณีย์ภัณฑ์สูญหายไว้และไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามที่โจทก์ฟ้องนั้น เป็นกรณีการสูญหายตามปกติ มิใช่กรณีการกระทำละเมิดของลูกจ้าง จำเลยที่ 2 จึงไม่อาจยกข้ออ้างดังกล่าวขึ้นอ้าง เพื่อปฏิเสธความรับผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9592/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้มีประกันในการบังคับคดี แม้มีการพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดของลูกหนี้
เมื่อจำเลยที่ 1 ถูกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและพิพากษาให้ล้มละลายภายหลังจากที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 1 ตามคำขอให้บังคับคดีของโจทก์ในคดีนี้ และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้จากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งจำเลยที่ 1 จำนองไว้แก่ผู้ร้องก่อนโจทก์ผู้นำยึดแล้ว การที่โจทก์เจ้าหนี้สามัญผู้นำยึดมิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายมีผลเพียงทำให้โจทก์หมดสิทธิได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาคดีนี้ในคดีล้มละลายเท่านั้น มิได้ทำให้การบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ที่ดำเนินการมาโดยชอบสิ้นผลไป และการที่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันมิได้ใช้สิทธิขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ในคดีล้มละลาย แต่เลือกใช้สิทธิที่จะบังคับแก่หลักประกัน ซึ่งตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 110 วรรคสาม คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไม่กระทบถึงสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงมีอำนาจบังคับคดีแก่หลักประกันของผู้ร้องต่อไปในคดีนี้ได้ แม้ต่อมาภายหลังศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งปลดจำเลยที่ 1 จากล้มละลาย ก็มิได้ทำให้อำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะดำเนินการบังคับคดีหมดไปไม่ ส่วนเมื่อได้มีการบังคับคดีแก่ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นหลักประกันแล้วจะมีเงินเหลือเป็นประโยชน์แก่กองทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ในคดีล้มละลาย เนื่องจากเป็นทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 มีอยู่ก่อนปลดจากการล้มละลาย ก็เป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบที่จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีโอนเข้ามาในคดีล้มละลายได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 112 กรณีจึงไม่มีเหตุให้เพิกถอนการบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8819/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลคดีหย่า: กรณีอุทธรณ์เฉพาะเหตุหย่า (คดีมีทุนทรัพย์และไม่มีทุนทรัพย์)
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์และจำเลยหย่ากัน ให้บุตรทั้งสองอยู่ในอำนาจปกครองของโจทก์ ให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูและแบ่งสินสมรส จำเลยอุทธรณ์เฉพาะประเด็นเรื่องเหตุหย่าเพียงประการเดียว จึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6360/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาในคดีเยาวชน: หลักเกณฑ์การพิจารณาคำร้องขอให้ฎีกาเมื่อศาลล่างมีคำสั่งห้ามฎีกา
หลักเกณฑ์การฎีกาตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 180 (2) ประกอบมาตรา 183 ต้องแยกพิจารณาว่าเป็นการฎีกาเฉพาะส่วนเกี่ยวกับวิธีการสำหรับเด็กหรือฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานว่าไม่ได้กระทำผิด หากฎีกาเฉพาะส่วนเกี่ยวกับวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนต้องห้ามฎีกาเว้นแต่กำหนดเวลาฝึกอบรมเกินกว่าสามปี หรือกำหนดเวลาฝึกอบรมเป็นขั้นต่ำขั้นสูงและขั้นสูงเกินกว่าสามปี หากฎีกาว่าไม่ได้กระทำความผิด ต้องพิจารณาตาม ป.วิ.อ. ซึ่งในกรณีศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและยังคงกำหนดให้ส่งจำเลยไปฝึกอบรมซึ่งต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อขอให้ผู้พิพากษาที่พิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิเคราะห์ว่าข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกาได้ตามมาตรา 221 ซึ่งผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีหน้าที่พิจารณาเพียงว่าข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดหรือไม่เท่านั้น การที่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและยกคำร้อง จึงเป็นการสั่งคดีโดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ถือว่าไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยยกคำสั่งของศาลชั้นต้น และมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) และ 247 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และพ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6