คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พิศิฏฐ์ สุดลาภา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 136 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4713/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาแทนผู้เสียหาย: ผู้สืบสันดานและผู้แทนโดยชอบธรรม
โจทก์บรรยายฟ้องและนำสืบโดยชัดแจ้งว่า บ. อยู่กินฉันสามีภริยากับ ว. ผู้ตายโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน มีบุตรด้วยกัน คือ ค. ผู้เยาว์ ดังนั้น ค. บุตรของ ว. ผู้ที่ถูกทำร้ายถึงตายถือเป็นผู้สืบสันดาน เป็นโจทก์ฟ้องคดีแทนผู้ตายได้ ไม่ว่าบิดามารดาจะได้จดทะเบียนสมรสหรือไม่ก็ตาม และเห็นว่า คดีนี้ ค. ผู้เยาว์ เป็นผู้มีมารดาเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมตามกฎหมาย บ. มารดาผู้แทนโดยชอบธรรมจึงมีอำนาจจัดการแทน ค. ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 56 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ดังนั้น บ. ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของ ค. ผู้เยาว์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3597/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เปลี่ยนแปลงวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนเป็นจำคุกหลังอายุครบ 24 ปี จากเดิมคือควบคุมและอบรม
จำเลยทั้งสองอายุครบ 24 ปี ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้ใช้บังคับแก่จำเลยทั้งสองไว้จึงไม่เหมาะสม ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาในการกำหนดวิธีการสำหรับเด็กหรือเยาวชนซึ่งศาลคำนึงถึงพฤติการณ์เฉพาะเรื่องตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 119 ประกอบมาตรา 142 แม้โจทก์จะไม่อุทธรณ์ฎีกาในปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาก็มีอำนาจจะเปลี่ยนแปลงวิธีการให้เหมาะสมได้เพราะมิใช่การเปลี่ยนแปลงโทษ จึงไม่ใช่การเพิ่มเติมโทษ ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. 212 และมาตรา 225 เมื่อพิจารณาความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีแล้ว อาศัยอำนาจตามมาตรา 142 วรรคท้ายเปลี่ยนแปลงวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนใหม่เป็น หลังจากจำเลยทั้งสองอายุครบ 24 ปีแล้วให้ส่งตัวจำเลยทั้งสองไปจำคุกไว้ในเรือนจำมีกำหนด 2 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 762/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษตาม พ.ร.บ.สถานบริการและการกำหนดโทษที่เหมาะสมตามบทกฎหมายอื่น
ที่โจทก์ฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 8 กำหนดโทษปรับแก่จำเลยก่อนลดโทษเป็นเงิน 4,000 บาท เป็นการวางโทษต่ำกว่าอัตราโทษขั้นต่ำของความผิดตาม พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ.2509 มาตรา 28/2 วรรคสอง เห็นว่า แม้ศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ.2509 มาตรา 28/2 โดยไม่ระบุวรรคให้ชัดเจน แต่ที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลย 6 เดือน ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 อ้างว่าเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ย่อมแสดงว่าศาลชั้นต้นลงโทษตาม พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ.2509 มาตรา 28/2 วรรคหนึ่ง ซึ่งไม่ถูกต้อง เพราะอาวุธที่จำเลยพาติดตัวไปเป็นอาวุธปืน เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ แต่จำเลยอุทธรณ์ขอให้รอการลงโทษ ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ.2509 มาตรา 28/2 วรรคสอง ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด โดยให้ยกโทษจำคุกตาม ป.อ. มาตรา 55 และให้ปรับ 4,000 บาท ก่อนลดโทษนั้น เป็นเพียงการปรับบทลงโทษตามมาตรา 28/2 วรรคสอง ให้ถูกต้องเท่านั้น แต่มิได้แก้ไขโทษให้สูงขึ้นด้วย เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ดังนั้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ในส่วนที่พิพากษาให้ยกโทษจำคุก และให้ปรับ 2,000 บาท จึงเป็นการกำหนดโทษให้เหมาะสมสำหรับความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยว่ายังไม่สมควรลงโทษจำคุกจำเลยเท่านั้น หาใช่ว่าศาลอุทธรณ์ภาค 8 กำหนดโทษเช่นว่านั้นสำหรับความผิดตาม พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ.2509 มาตรา 28/2 วรรคสอง ไม่
of 14