คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พิศิฏฐ์ สุดลาภา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 136 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 454/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้และการใช้สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้: การเปลี่ยนแปลงสถานะจากจำเลยเป็นโจทก์
คดีนี้โจทก์ฟ้องโดยใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยร่วมตาม ป.พ.พ. มาตรา 233 กับได้ขอหมายเรียกจำเลยร่วมมาในคดีนั้นด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 234 จำเลยร่วมให้การว่าฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้อน และจำเลยร่วมไม่ได้เพิกเฉยในการใช้สิทธิเรียกร้องต่อจำเลยทั้งสอง จึงเป็นคำให้การที่ไม่ได้แสดงถึงสิทธิเรียกร้องทำนองเดียวกับคำฟ้องของโจทก์ในการที่จะบังคับชำระหนี้เอาจากจำเลยทั้งสอง และเป็นคำให้การที่ไม่ยอมรับฐานะของโจทก์ในการใช้สิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 233 จำเลยร่วมจึงไม่อาจขอเปลี่ยนสถานะจากจำเลยเป็นโจทก์ได้ อีกทั้งไม่สามารถเข้ามาเป็นคู่ความได้ด้วยการร้องสอดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 วรรคหนึ่ง ที่ระบุเฉพาะแต่บุคคลภายนอกที่มิใช่คู่ความเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 52/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจตรวจสอบการจับกุมเด็กเยาวชนเป็นของศาลชั้นต้น คำสั่งศาลชั้นต้นถึงที่สุดแล้ว ไม่อุทธรณ์/ฎีกาได้
อำนาจในการตรวจสอบการจับกุมเป็นอำนาจเฉพาะของศาลชั้นต้นที่จะเป็นผู้ตรวจสอบว่าเด็กหรือเยาวชนที่พนักงานสอบสวนนำตัวมาอยู่ต่อหน้าศาลเพื่อให้ศาลตรวจสอบการจับกุมนั้น เป็นเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดหรือไม่ การจับและการปฏิบัติต่อเด็กหรือเยาวชนเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งแล้ว ผู้ต้องหาจะอุทธรณ์หรือฎีกาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15731/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพ.ร.บ.ปุ๋ย: การผลิตปุ๋ยเคมีและอินทรีย์โดยไม่ได้รับอนุญาตและความผิดกรรมเดียว
ตาม พ.ร.บ.ปุ๋ย พ.ศ.2518 ผู้ฝ่าฝืนมาตรา 30 (1) (5) ถ้าเป็นปุ๋ยเคมีจะมีบทลงโทษตามมาตรา 63 และ 71 เป็นปุ๋ยอินทรีย์จะมีบทลงโทษตามมาตรา 72/4 ซึ่งมีโทษแตกต่างกัน บทบัญญัติดังกล่าวแยกการกระทำความผิดเกี่ยวกับปุ๋ยทั้งสองชนิดออกจากกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน แต่ปุ๋ยเคมีที่จำเลยผลิต แม้จะเป็นคนละตรากันแต่จำเลยมีเจตนาเดียว ทั้งจากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบก็ไม่ได้ความชัดเจนว่า จำเลยผลิตปุ๋ยดังกล่าวต่างวาระกันอย่างไร การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15010/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคัดค้านอนุญาโตตุลาการต้องยื่นต่อคณะอนุญาโตตุลาการก่อน หากไม่ปฏิบัติตาม ไม่มีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอน
สัญญาประกันภัยต่อระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านมีข้อกำหนดการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการว่า หากคู่ความมีข้อพิพาทใด ๆ เกี่ยวข้องกับสัญญานี้ ให้เสนอข้อพิพาทนั้นต่อคณะอนุญาโตตุลาการ (an arbitration tribunal) ตามสำเนาข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการ ซึ่งมาตรา 20 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 บัญญัติว่า ในกรณีที่คู่พิพาทมิได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น คู่พิพาทฝ่ายที่ประสงค์จะคัดค้านอนุญาโตตุลาการจะต้องยื่นหนังสือแสดงเหตุแห่งการคัดค้านต่อคณะอนุญาโตตุลาการภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รู้ถึงการตั้งอนุญาโตตุลาการหรือรู้ข้อเท็จจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19 วรรคสาม ที่กำหนดเหตุแห่งการคัดค้านไว้ตามคำร้องและคำคัดค้าน เมื่อผู้คัดค้านแจ้งการแต่งตั้ง จ. เป็นอนุญาโตตุลาการฝ่ายผู้คัดค้าน ผู้ร้องแจ้งคัดค้านการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการฝ่ายผู้คัดค้าน ไม่ปรากฏว่าผู้ร้องได้แต่งตั้งอนุญาโตตุลาการฝ่ายผู้ร้องแล้วร่วมกันตั้งอนุญาโตตุลาการเพิ่มอีกหนึ่งคนเป็นประธานคณะอนุญาโตตุลาการตามมาตรา 17 วรรคหนึ่งและวรรคสอง เพื่อประกอบกันเป็นคณะอนุญาโตตุลาการ ทั้งไม่ปรากฏว่าผู้ร้องและผู้คัดค้านตกลงวิธีคัดค้านอนุญาโตตุลาการไว้เป็นอย่างอื่น จึงเป็นกรณีที่ผู้ร้องยังไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรา 20 วรรคหนึ่ง คือไม่ได้ยื่นหนังสือแสดงเหตุแห่งการคัดค้านต่อคณะอนุญาโตตุลาการ ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนการแต่งตั้ง จ. เป็นอนุญาโตตุลาการฝ่ายผู้คัดค้าน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15010/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคัดค้านอนุญาโตตุลาการต้องยื่นต่อคณะอนุญาโตตุลาการตามกฎหมาย หากไม่ปฏิบัติตามสิทธิในการขอให้ศาลเพิกถอนย่อมไม่มี
สัญญาประกันภัยระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านมีข้อกำหนดการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการว่า หากคู่ความมีข้อพิพาทใด ๆ เกี่ยวข้องกับสัญญานี้ ให้เสนอข้อพิพาทนั้นต่อคณะอนุญาโตตุลาการ (an arbitration tribunal) ซึ่งมาตรา 20 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 บัญญัติว่า ในกรณีที่คู่พิพาทมิได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น คู่พิพาทฝ่ายที่ประสงค์จะคัดค้านอนุญาโตตุลาการจะต้องยื่นหนังสือแสดงเหตุแห่งการคัดค้านต่อคณะอนุญาโตตุลาการภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รู้ถึงการตั้งอนุญาโตตุลาการหรือรู้ข้อเท็จจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19 วรรคสาม เมื่อผู้คัดค้านแจ้งการแต่งตั้ง จ. เป็นอนุญาโตตุลาการฝ่ายผู้คัดค้าน ผู้ร้องแจ้งคัดค้านการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการฝ่ายผู้คัดค้าน โดยไม่ปรากฏว่าผู้ร้องได้แต่งตั้งอนุญาโตตุลาการฝ่ายผู้ร้องแล้วร่วมกันตั้งอนุญาโตตุลาการเพิ่มอีกหนึ่งคนเป็นประธานคณะอนุญาโตตุลาการตามมาตรา 17 วรรคหนึ่งและวรรคสอง เพื่อประกอบกันเป็นคณะอนุญาโตตุลาการ ทั้งไม่ปรากฏว่าผู้ร้องและผู้คัดค้านตกลงวิธีคัดค้านอนุญาโตตุลาการไว้เป็นอย่างอื่น จึงเป็นกรณีที่ผู้ร้องยังไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรา 20 วรรคหนึ่ง คือไม่ได้ยื่นหนังสือแสดงเหตุแห่งการคัดค้านต่อคณะอนุญาโตตุลาการ ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนการแต่งตั้ง จ. เป็นอนุญาโตตุลาการฝ่ายผู้คัดค้าน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14601/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถือกรรมสิทธิ์แทนและการบังคับจำหน่ายที่ดินของคนต่างด้าวตามประมวลกฎหมายที่ดิน
จำเลยเป็นเพียงผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาทแทนโจทก์ และโจทก์เป็นคนต่างด้าว ฟ้องเรียกเอาทรัพย์สินคืนจากจำเลยที่ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาทแทนโจทก์ กรณีต้องบังคับตาม ป.ที่ดิน มาตรา 94 ที่บัญญัติให้คนต่างด้าวที่ได้ที่ดินมาโดยไม่ได้รับอนุญาตจัดการจำหน่ายที่ดินภายในเวลาที่อธิบดีกำหนด ซึ่งการบังคับให้จำหน่ายดังกล่าวหมายความเฉพาะที่ดินเท่านั้น ไม่รวมถึงสิ่งปลูกสร้างด้วยเพราะคนต่างด้าวไม่ต้องห้ามมิให้ถือกรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้าง
ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 94 ที่บัญญัติว่าบรรดาที่ดินที่คนต่างด้าวได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ได้รับอนุญาต ให้คนต่างด้าวนั้นจัดการจำหน่ายภายในเวลาที่อธิบดีกำหนดให้ ฯลฯ ถ้าไม่จำหน่ายที่ดินภายในเวลาที่กำหนดให้อธิบดีมีอำนาจจำหน่ายที่ดินนั้น และให้นำบทบัญญัติในเรื่องการบังคับจำหน่ายที่ดินตามความในหมวด 3 มาใช้บังคับโดยอนุโลม เป็นกรณีที่โจทก์ต้องทำนิติกรรมจำหน่ายที่ดินพิพาทถ้าไม่จำหน่ายที่ดินภายในเวลาที่กำหนด อธิบดีมีอำนาจจำหน่ายที่ดินพิพาท แต่จำเลยมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท ดังนั้นหากจำเลยไม่ไปจดทะเบียนโอนจำหน่ายให้ โจทก์ย่อมไม่อาจที่จะดำเนินการเพื่อจดทะเบียนจำหน่ายที่ดินพิพาทได้ ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 213 วรรคสอง บัญญัติว่า เมื่อสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับชำระหนี้ได้ถ้าวัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ศาลจะสั่งให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของลูกหนี้ก็ได้ โดยตามคำฟ้องโจทก์เป็นกรณีโจทก์ซึ่งเป็นตัวการฟ้องเรียกเอาทรัพย์สินคืนจากจำเลยซึ่งเป็นตัวแทน ถือได้ว่าวัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง จึงชอบที่จะมีคำสั่งให้จำเลยซึ่งมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนโอนจำหน่ายให้ หากไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาได้ ตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14005/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนสามัญ โจทก์ไม่สามารถฟ้องขอใส่ชื่อร่วมได้
ตามหนังสือสัญญาให้ที่ดินระบุว่า ผู้ให้ยอมยกที่ดินทั้งแปลงพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้รับโดยเด็ดขาดนับแต่วันทำสัญญานี้เป็นต้นไป เป็นการยกให้โดยเสน่หาไม่มีค่าตอบแทนเพราะเป็นสามีภริยา แม้หนังสือดังกล่าวจะไม่ได้ระบุไว้ชัดว่าให้เป็นสินส่วนตัว แต่การที่โจทก์ยกที่ดิน 8 แปลง ดังกล่าวให้จำเลยก็เพื่อตอบแทนการที่จำเลยยอมยุติปัญหาที่โจทก์ไปมีภริยาอีกคนหนึ่ง จึงแปลเจตนาจากข้อความในเอกสารตามพฤติการณ์แห่งกรณีได้ว่า โจทก์ได้ให้เป็นสินส่วนตัวของภริยาเด็ดขาดแล้ว ประกอบกับพฤติการณ์ที่ภายหลังจำเลยและครอบครัวจำเลยได้ใช้ประโยชน์โดยอาศัยอยู่บนที่ดินดังกล่าวเรื่อยมาและมีการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างอื่นเพิ่มเติมโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้มีการโต้แย้งแต่อย่างใด ที่ดิน 8 แปลง นี้ไม่ใช่สินสมรส โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้ใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมด้วย
การที่จำเลยและครอบครัวของจำเลยร่วมดำเนินกิจการของร้าน ม. เพื่อกระทำกิจการค้าขายวัสดุก่อสร้างร่วมกันก่อนที่จะมีการจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด ซึ่งมีความประสงค์จะแบ่งปันกำไรที่จะพึงได้จากกิจการที่ทำนั้น เข้าลักษณะเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ได้จดทะเบียน โดยมีสมาชิกในครอบครัวของจำเลยทุกคนเป็นหุ้นส่วน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1012 ประกอบมาตรา 1025 การที่โจทก์ผู้เป็นบุคคลภายนอกห้างหุ้นส่วนสามัญดังกล่าวจะขอใส่ชื่อร่วมในโฉนดที่ดิน 87 แปลง ซึ่งมีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แทนห้างหุ้นส่วนสามัญนั้น เท่ากับเป็นการเข้ามาเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้เป็นหุ้นส่วนหมดทุกคนซึ่งไม่อาจกระทำได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1040 เมื่อกรณีฟังได้ว่าที่ดินพิพาทดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนสามัญมิใช่ของจำเลย โจทก์จึงไม่อาจฟ้องขอใส่ชื่อร่วมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13439/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยความประมาทร่วมกันในคดีรถชน ศาลฎีกาไม่รับอุทธรณ์ เหตุไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย
ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่า ในวันเกิดเหตุ ก. ขับรถกระบะหมายเลขทะเบียน กล 1080 ชลบุรี ซึ่งประกันภัยไว้กับผู้คัดค้านทั้งสองแล่นไปตามถนนที่เกิดเหตุ ขณะเดียวกัน อ. ขับรถยนต์หมายเลขทะเบียน สย 3272 กรุงเทพมหานคร โดยมี ห. นั่งโดยสารมาด้วย เมื่อถึงที่เกิดเหตุ รถกระบะที่ ก. ขับเฉี่ยวชนกับรถยนต์ที่ อ. ขับ รถยนต์ทั้งสองคันเสียหลัก รถกระบะที่ ก. ขับพลิกคว่ำลงร่องกลางถนน และรถยนต์ที่ อ. ขับ แล่นข้ามร่องกลางถนนและข้ามถนนด้านตรงข้ามสำหรับรถแล่นสวนทางมาไปชนแท่งปูนขนาดใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนอย่างแรง เป็นเหตุให้ อ. ถึงแก่ความตาย และ ห. ได้รับอันตรายสาหัส ต่อมาผู้ร้องในฐานะมารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของ อ. เสนอข้อพิพาทในฐานะผู้เสนอข้อพิพาทที่ 2 ต่ออนุญาโตตุลาการของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยขอให้อนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดให้ผู้คัดค้านชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ร้อง ผู้คัดค้านทั้งสองยื่นคำร้องคัดค้านว่า เหตุไม่ได้เกิดจากความประมาทของ ก. ฝ่ายเดียว แต่เกิดจากความประมาทของ อ. ด้วย อนุญาโตตุลาการสืบพยานแล้วมีคำชี้ขาดเป็นข้อพิพาทหมายเลขแดงที่ 78/2556 ว่า เหตุเกิดจากความประมาทของ ก. และ อ. ทั้งสองฝ่าย ผู้คัดค้านจึงไม่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ผู้ร้อง ปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของผู้ร้องว่า คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน สมควรเพิกถอนหรือไม่ เห็นว่า ปรากฏข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาศาลจังหวัดระยองที่พิพากษาลงโทษ ก. ข้อหาขับรถประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายว่า ศาลจังหวัดระยองพิเคราะห์รายงานการสืบเสาะและพินิจของ ก. และรายงานการสอบสวนของพนักงานสอบสวนแล้ว เห็นว่าเหตุเกิดจากความประมาทของ ก. และ อ. ร่วมกัน ดังนั้น คำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการที่ว่าเหตุเกิดจากความประมาทของ ก. และ อ. ทั้งสองฝ่าย จึงเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานในสำนวนที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน นอกจากนั้นคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการที่ว่า เมื่อใคร่ครวญโดยอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณแล้วเห็นควรให้ค่าสินไหมทดแทนเป็นพับ ก็เป็นการใช้ดุลพินิจพิจารณาพยานหลักฐานในสำนวนกำหนดค่าสินไหมทดแทนที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนเช่นกัน กรณีไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลแพ่งต่อศาลฎีกาได้ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาจึงไม่รับอุทธรณ์ของผู้ร้องไว้วินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13105/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีซ้ำในประเด็นเขตที่ดินพระราชทาน ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ห้ามดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามิได้บัญญัติถึงการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำไว้โดยเฉพาะ และ ป.วิ.พ. มาตรา 144 ได้บัญญัติรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไว้ว่า เมื่อศาลใดมีคำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยชี้ขาดคดีหรือในประเด็นข้อใดแห่งคดีแล้ว ห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้นอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วนั้นอีก ซึ่งเป็นหลักการตรวจสอบทำนองเดียวกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จึงนำเรื่องห้ามดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 มาใช้บังคับในการดำเนินคดีอาญา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 15 ได้โดยอนุโลม
โจทก์ร่วมเคยฟ้องจำเลยเรื่องบุกรุกที่เกิดเหตุสถานที่เดียวกันกับคดีนี้ และศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า ที่เกิดเหตุอยู่ในเขตที่ดินพระราชทาน หากคดีนี้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาคดีไปตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่ว่า มีพยานหลักฐานใหม่มาพิสูจน์ได้ว่าที่เกิดเหตุคดีนี้อยู่นอกเขตที่ดินพระราชทาน ศาลก็ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันว่าที่เกิดเหตุอยู่ในเขตที่ดินพระราชทานหรือไม่ อันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ฉะนั้นที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าที่เกิดเหตุอยู่ในเขตที่ดินพระราชทานโดยอาศัย ป.วิ.พ. มาตรา 144 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13044/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินพิพาทในฐานะผู้จัดการมรดก ไม่เป็นคดีอุทลุมและไม่ขาดอายุความ
โจทก์ยื่นฟ้องในคดีนี้ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ย. ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ย. กลับคืนเข้าสู่กองมรดกจึงเป็นกรณีการฟ้องของโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไป หาใช่โจทก์ฟ้องในฐานะส่วนตัวหรือในฐานะเป็นบุตรของจำเลยที่ 3 ไม่ ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นคดีอุทลุมอันจะต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1562 เมื่อโจทก์ฟ้องคดีในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกเพื่อติดตามเอาที่ดินพิพาททั้งสองแปลงกลับคืนเข้าสู่กองมรดกอันเป็นสิทธิและหน้าที่ของผู้จัดการมรดกเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปจึงเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริต
การฟ้องคดีของโจทก์เป็นการขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่จำเลยที่ 3 ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยให้โอนกลับคืนมาเป็นชื่อของจำเลยที่ 3 และให้จำเลยทั้งสามส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาททั้งสองแปลงดำเนินการโอนใส่ชื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ย. เพื่อแบ่งปันแก่ทายาทตามกฎหมาย มิใช่เป็นการฟ้องขอแบ่งมรดกของเจ้ามรดกจากจำเลยทั้งสาม กรณีดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติเรื่องอายุความในการติดตามเอาคืนทรัพย์สิน จะนำอายุความมรดกมาใช้บังคับไม่ได้
of 14