คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 877

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 428 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2470/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลบังคับใช้กรมธรรม์ประกันภัยเริ่มต้นเมื่อบริษัทได้รับเงินเบี้ยประกันภัย
กรมธรรม์ระบุว่า กรมธรรม์มีผลในวันที่บริษัทได้รับเงินเบี้ยประกันภัยตามเช็ค ผู้เอาประกันภัยชำระเบี้ยประกันภัยด้วยเช็คเมื่อวันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ เวลาธนาคารปิดรับเช็คแล้ว จึงเข้าบัญชีเรียกเก็บได้ในวันจันทร์ที่ 1 มีนาคม เกิดอุบัติเหตุเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ บริษัทไม่ต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1603/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกันภัยอัคคีภัย: การตีราคาความเสียหาย, สิทธิผู้รับประกันภัยรายแรก, และข้อยกเว้น
อ. เอาประกันภัยอาคารโรงงานซึ่งระหว่างก่อสร้างและวัตถุดิบไว้กับจำเลย โดยยกประโยชน์ตามกรมธรรม์ให้โจทก์ มีเงื่อนไขตามกรมธรรม์ว่า ถ้าการค้าหรือการอุตสาหกรรมที่ผู้เอาประกันดำเนินอยู่มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เพิ่มการเสี่ยงวินาศภัย ผู้เอาประกันต้องได้รับอนุญาตจากจำเลยก่อนวินาศภัยเกิดขึ้น มิฉะนั้นสัญญาประกันภัยระงับทันที และมีข้อตกลงว่า อัตราดอกเบี้ยประกันจะเพิ่มเปอร์เซ็นต์ขึ้นเมื่อก่อสร้างโรงงานเสร็จ ดังนี้ การที่จำเลยได้เรียกให้อ. ชำระเบี้ยประกันเพิ่มขึ้นเมื่อก่อสร้างโรงงานเสร็จและเริ่มเดิมเครื่องจักรทำการผลิต เจตนาของจำเลยเป็นเพียงการใช้สิทธิเรียกร้องเอาเบี้ยประกันเพิ่มขึ้นตามที่ตกลงกันไว้เท่านั้น หาเกี่ยวกับปัญหาที่ว่าการเดินเครื่องจักรทำการผลิตเป็นเหตุให้เสี่ยงต่อวินาศภัยเพิ่มขึ้นโดยละเมิดเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ประกันภัยไม่
เมื่อจำเลยเรียกให้ อ. ชำระเบี้ยประกันเพิ่มขึ้นดังกล่าวข้างต้นอ.มีหนังสือตอบจำเลยมีใจความว่าขอส่งคืนกรมธรรม์เนื่องจากอ. ได้เอาประกันภัยวัตถุดิบไว้กับบริษัทอื่นแล้ว อ. ประสงค์จะเอาประกันเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต ซึ่งยังมิได้เอาประกันไว้ เงินเอาประกันเครื่องจักรขอให้เป็นไปตามเดิม ดังนี้ เจตนาของ อ. มีความหมายเป็นคำเสนอเพื่อเปลี่ยนแปลงกรมธรรม์เดิม โดยจะเอาประกันภัยเครื่องจักรแทนวัตถุดิบ ซึ่งได้ย้ายไปเอาประกันไว้กับบริษัทอื่น หาเป็นการบอกเลิกสัญญาไม่ และการที่ อ. แสดงเจตนาตามคำเสนอต่อจำเลยซึ่งอยู่ห่างกันโดยระยะทาง ย่อมตกเป็นอันไร้ผลเมื่อเกิดอุบัติเหตุอัคคีภัยเสียก่อนที่หนังสือ อ. จะไปถึงบริษัทจำเลย กรมธรรม์ประกันภัยฉบับเดิมจึงยังมีผลผูกพันจำเลย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 877 สันนิษฐานให้เป็นคุณแก่ผู้เอาประกันภัย ในกรณีที่ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยถูกวินาศภัยไปทั้งหมด ผู้เอาประกันภัยชอบที่จะเรียกร้องเอาชดใช้ค่าเสียหายได้เต็มจำนวนที่เอาประกัน เว้นแต่ผู้รับประกันภัยพิสูจน์หักล้างได้ว่าความเสียหายของทรัพย์สินต่ำกว่าจำนวนเงินที่เอาประกัน
อ. เอาประกันภัยวัตถุดิบไว้กับจำเลย แล้วนำวัตถุดิบนั้นไปประกันภัยไว้กับบริษัทอื่นอีก แม้เมื่อเกิดความเสียหายจากอัคคีภัยขึ้น อ.ได้ยอมรับค่าเสียหายจากบริษัทรับประกันภัยอื่นนั้นไปบางส่วนแล้วก็ไม่กระทบกระทั่งถึงสิทธิหน้าที่ของจำเลย ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 871 และจำเลยเป็นผู้รับประกันภัยคนแรกจะต้องรับผิดเมื่อความวินาศภัยก่อน ซึ่งต้องรับผิดมากกว่าผู้รับประกันภัยคนหนึ่ง ตามมาตรา 870 วรรคท้ายจำเลยจึงต้องรับผิดในจำนวนวินาศภัยจริงที่ส่วนที่ยังไม่ได้ใช้
เครื่องปรับอากาศทำความเย็นซึ่งติดตั้งอยู่ที่ผนังด้านนอกของอาคารที่เอาประกันภัย เป็นเพียงเครื่องอุปกรณ์ หาใช่ส่วนควบของอาคารไม่ เมื่อเกิดอัคคีภัยไหม้อาคารและเครื่องปรับอากาศก็ไป ผู้เอาประกันภัยจะเรียกเอาชดใช้ค่าเสียหายในส่วนเครื่องปรับอากาศไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1408/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตถนนตามกรมธรรม์ และความรับผิดของอู่ซ่อมรถต่อทรัพย์สินหาย
อาณาเขตบนถนนในราชอาณาจักรตามกรมธรรม์ประกันภัยหมายความถึง ถนนที่รถแล่นผ่านไปมาได้ แม้ยังไม่ได้เปิดให้ใช้เป็นทางการ
ผู้รับประกันภัยเอารถที่เกิดวินาศภัยไปไว้ที่อู่ซึ่งรับงานของผู้รับประกันภัยมาทำ ต้องรับผิดในการที่อุปกรณ์ในรถหายไปในระหว่างอยู่ที่อู่นี้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2982/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์: ข้อยกเว้นค่าขาดประโยชน์ vs. หน้าที่เร่งรัดซ่อมแซม & การประพฤติผิดสัญญา
โจทก์ได้ประกันภัยรถยนต์ไว้กับจำเลย ต่อมารถยนต์คันที่เอาประกันภัยเกิดอุบัติเหตุถูกชนเสียหายมากชำรุดใช้การไม่ได้ ปัญหาที่ว่าจำเลยจะต้องชดใช้ค่าที่โจทก์ขาดประโยชน์ในการให้เช่ารถระหว่างรถเข้าอู่ซ่อมเพียงไรหรือไม่นั้น เมื่อปรากฏตามสำเนากรมธรรม์ท้ายฟ้องตรงกับคู่ฉบับกรมธรรม์ที่จำเลยอ้างระบุข้อยกเว้นความรับผิดของจำเลยไว้ว่าไม่ต้องผูกพันรับผิดต่อสิทธิเรียกร้องใดๆอันเกี่ยวกับการขาดประโยชน์ ผลจึงเท่ากับโจทก์ผู้เอาประกันภัยยอมรับตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ สละสิทธิเรียกร้องในเหตุดังกล่าวแล้วโจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในค่าขาดประโยชน์ในการให้เช่ารถของโจทก์ได้ และปัญหาข้อนี้ไม่จำต้องวินิจฉัยจากการสืบพยานจำเลยเพราะอาจวินิจฉัยได้ตามความในเอกสารกรมธรรม์อยู่แล้ว
ตามกรมธรรม์ระบุไว้ว่า ในกรณียานยนต์เสียหาย จำเลยผูกพันรับผิดเพียงที่จะต้องซ่อมให้ ณ โรงซ่อมที่จำเลยเห็นสมควรจนอยู่ในสภาพใช้การได้ จำเลยได้จัดสรรอู่ซ่อมรถให้โจทก์แล้วตามใบสั่งซ่อมมีหมายเหตุว่า ใบสั่งซ่อมนี้กำหนดใช้ภายใน 60 วันนับแต่วันสั่งซ่อม จำเลยจึงมีหน้าที่เร่งรัดให้ซ่อมรถโจทก์ให้เสร็จเรียบร้อยภายใน 60 วันตามที่หมายเหตุไว้ เมื่อจำเลยเพิกเฉยเสียปล่อยให้อู่ทำการซ่อมชักช้า และไม่จัดการเลิกจ้างแล้วเปลี่ยนอู่ซ่อมให้ใหม่ทำให้โจทก์ต้องเสียประโยชน์ต้องถือว่าจำเลยประพฤติผิดสัญญาแล้ว ชอบที่โจทก์จะนำรถไปให้อู่แห่งอื่นซ่อมแล้วเรียกร้องให้จำเลยใช้ค่าซ่อมให้เพราะเงื่อนไขดังกล่าวไม่เป็นการตัดสิทธิโจทก์ที่จะป้องกันสิทธิของตน แต่โจทก์จะเรียกร้องเอาค่าขาดประโยชน์หาได้ไม่เพราะเป็นสิทธิเรียกร้องที่ไม่อาจบังคับเอาแก่จำเลยได้ตามกรมธรรม์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2982/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์: ข้อยกเว้นค่าขาดประโยชน์ vs. ความรับผิดสัญญาซ่อมแซมชำรุด
โจทก์ได้ประกันภัยรถยนต์ไว้กับจำเลย ต่อมารถยนต์คันที่เอาประกันภัยเกิดอุบัติเหตุถูกชนเสียหายมากชำรุดใช้การไม่ได้ ปัญหาที่ว่าจำเลยจะต้องชดใช้ค่าที่โจทก์ขาดประโยชน์ในการให้เช่ารถระหว่างรถเข้าอู่ซ่อมเพียงไรหรือไม่นั้น เมื่อปรากฏตามสำเนากรมธรรม์ท้ายฟ้องตรงกับคู่ฉบับกรมธรรม์ที่จำเลยอ้างระบุข้อยกเว้นความรับผิดของจำเลยไว้ว่าไม่ต้องผูกพันรับผิดต่อสิทธิเรียกร้องใดๆอันเกี่ยวกับการขาดประโยชน์ ผลจึงเท่ากับโจทก์ผู้เอาประกันภัยยอมรับตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ สละสิทธิเรียกร้องในเหตุดังกล่าวแล้ว โจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในค่าขาดประโยชน์ในการให้เช่ารถของโจทก์ได้ และปัญหาข้อนี้ไม่จำต้องวินิจฉัยจากการสืบพยานจำเลยเพราะอาจวินิจฉัยได้ตามความในเอกสารกรมธรรม์อยู่แล้ว
ตามกรมธรรม์ระบุไว้ว่า ในกรณียานยนต์เสียหาย จำเลยผูกพันรับผิดเพียงที่จะต้องซ่อมให้ ณ โรงซ่อมที่จำเลยเห็นสมควรจนอยู่ในสภาพใช้การได้ จำเลยได้จัดสรรอู่ซ่อมรถให้โจทก์แล้วตามใบสั่งซ่อมมีหมายเหตุว่า ใบสั่งซ่อมนี้กำหนดใช้ภายใน 60 วันนับแต่วันสั่งซ่อม จำเลยจึงมีหน้าที่เร่งรัดให้ซ่อมรถโจทก์ให้เสร็จเรียบร้อยภายใน 60 วันตามที่หมายเหตุไว้ เมื่อจำเลยเพิกเฉยเสียปล่อยให้อู่ทำการซ่อมชักช้า และไม่จัดการเลิกจ้างแล้วเปลี่ยนอู่ซ่อมให้ใหม่ทำให้โจทก์ต้องเสียประโยชน์ ต้องถือว่าจำเลยประพฤติผิดสัญญาแล้ว ชอบที่โจทก์จะนำรถไปให้อู่แห่งอื่นซ่อมแล้วเรียกร้องให้จำเลยใช้ค่าซ่อมให้ เพราะเงื่อนไขดังกล่าวไม่เป็นการตัดสิทธิโจทก์ที่จะป้องกันสิทธิของตน แต่โจทก์จะเรียกร้องเอาค่าขาดประโยชน์หาได้ไม่เพราะเป็นสิทธิเรียกร้องที่ไม่อาจบังคับเอาแก่จำเลยได้ตามกรมธรรม์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 35/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายค่าสินไหมทดแทนประกันวินาศภัยเมื่อทรัพย์สินเสียหายหมดสิ้น และสิทธิของบุคคลภายนอกผู้รับประโยชน์
แม้ตามกรมธรรม์ประกันภัยจะระบุไว้ว่า ในกรณีทรัพย์ที่เอาประกันภัยต้องวินาศภัย ถ้าเกิดความเห็นแตกต่างกันในจำนวนวินาศภัยหรือเสียหาย ให้ตั้งอนุญาโตตุลาการขี้ขาดเสียก่อน แต่เมื่อทรัพย์ที่เอาประกันภัยถูกเพลิงไหม้เสียหายหมดสิ้น ก็หาจำต้องมีการเสนอตั้งอนุญาโตตุลาการเพื่อชี้ขาดจำนวนวินาศภัยหรือเสียหายไม่
เมื่อทรัพย์ที่เอาประกันภัยถูกเพลิงไหม้และผู้รับประโยชน์มีหนังสือแจ้งให้ผู้รับประกันภัยทราบผู้รับประกันภัยกลับเพิกเฉย ไม่ยอมทำความตกลงหรือเสนอขอตั้งอนุญาโตตุลาการแต่อย่างใด ดังนี้ เท่ากับผู้รับประกันภัยปฏิเสธความรับผิดของตนโดยสิ้นเชิง ผู้รับประโยชน์ย่อมมีสิทธิฟ้องผู้รับประกันภัยได้โดยไม่จำต้องเสนอขอตั้งอนุญาโตตุลาการเสียก่อน
ในกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งผู้เอาประกันภัยทำไว้กับจำเลยผู้รับประกันภัย ระบุให้โจทก์เป็นผู้รับประโยชน์ เมื่อทรัพย์ที่เอาประกันภัยถูกเพลิงไหม้เสียหายหมดสิ้น และโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้แสดงเจตนาแก่จำเลย โดยมีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยทราบแล้วว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาตามกรมธรรม์นั้น สิทธิของโจทก์ย่อมเกิดมีขึ้นตั้งแต่เวลาที่แสดงเจตนาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 ผู้เอาประกันภัยและจำเลยหาอาจจะเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธินั้นในภายหลังได้ไม่ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 35/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประกันวินาศภัย: สิทธิผู้รับประโยชน์เกิดมีขึ้นเมื่อแสดงเจตนา แม้มีข้อตกลงเสนออนุญาโตตุลาการก่อนฟ้องก็ไม่เป็นอุปสรรค
แม้ตามกรมธรรม์ประกันภัยจะระบุไว้ว่า ในกรณีทรัพย์ที่เอาประกันภัยต้องวินาศภัย ถ้าเกิดความเห็นแตกต่างกันในจำนวนวินาศภัยหรือเสียหายให้ตั้งอนุญาโตตุลาการชี้ขาดเสียก่อน แต่เมื่อทรัพย์ที่เอาประกันภัยถูกเพลิงไหม้เสียหายหมดสิ้น ก็หาจำต้องมีการเสนอตั้งอนุญาโตตุลาการเพื่อชี้ขาดจำนวนวินาศภัยหรือเสียหายไม่
เมื่อทรัพย์ที่เอาประกันภัยถูกเพลิงไหม้และผู้รับประโยชน์มีหนังสือแจ้งให้ผู้รับประกันภัยทราบผู้รับประกันภัยกลับเพิกเฉย ไม่ยอมทำความตกลงหรือเสนอขอตั้งอนุญาโตตุลาการแต่อย่างใด ดังนี้ เท่ากับผู้รับประกันภัยปฏิเสธความรับผิดของตนโดยสิ้นเชิง ผู้รับประโยชน์ย่อมมีสิทธิฟ้องผู้รับประกันภัยได้โดยไม่จำต้องเสนอขอตั้งอนุญาโตตุลาการเสียก่อน
ในกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งผู้เอาประกันภัยทำไว้กับจำเลยผู้รับประกันภัยระบุให้โจทก์เป็นผู้รับประโยชน์ เมื่อทรัพย์ที่เอาประกันภัยถูกเพลิงไหม้เสียหายหมดสิ้น และโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้แสดงเจตนาแก่จำเลย โดยมีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยทราบแล้วว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาตามกรมธรรม์นั้น สิทธิของโจทก์ย่อมเกิดมีขึ้นตั้งแต่เวลาที่แสดงเจตนาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 ผู้เอาประกันภัยและจำเลยหาอาจจะเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธินั้นในภายหลังได้ไม่ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 375

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 616-629/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งเหตุเพลิงไหม้และการปฏิเสธความรับผิดของบริษัทประกันภัย ทำให้ผู้เอาประกันมีสิทธิฟ้องร้องได้ โดยไม่ต้องรอรายละเอียดทรัพย์สิน
แม้กรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความว่า เมื่อเกิดความวินาศหรือความเสียหายใด ๆ ผู้เอาประกันต้องยื่นคำเรียกร้องเป็นลายลักษณ์อักษรระบุรายละเอียดแห่งทรัพย์สินที่วินาศและจำนวนเงินแห่งความวินาศภายใน 15 วันก่อนก็ตาม เมื่อเกิดเพลิงไหม้แล้ว โจทก์ผู้เอาประกันได้แจ้งเหตุวินาศภัยให้จำเลยซึ่งเป็นบริษัทผู้รับประกันภัยได้ทราบ ขอให้ชดใช้ค่าเสียหายที่ได้เอาประกันภัยไว้ จำเลยกลับตอบปฏิเสธความรับผิด เช่นนี้ โจทก์ย่อมไม่มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวอีก เพราะถึงจะส่งคำเรียกร้องและรายละเอียดไป จำเลยก็ไม่พิจารณาชดใช้ให้ตามคำปฏิเสธความรับผิดอยู่นั่นเอง และการตอบปฏิเสธเช่นนั้น ถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับชดใช้ค่าเสียหายตามที่ตกลงกันแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิเสนอคดีของตนต่อศาลได้ แม้ในกรณีที่จำเลยเฉยเสียมิได้ตอบปฏิเสธความรับผิด แต่ได้ให้เลขานุการของจำเลยไปสำรวจความเสียหาย ซึ่งหากมีการเสียหายที่จะคิดชดใช้ให้บ้าง ก็ถือว่าข้อสัญญาให้ส่งบัญชีรายละเอียดนี้ จำเลยไม่ติดใจให้โจทก์ส่งแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยได้ตามนัยฎีกาที่ 1215/2502
คำฟ้องของบริษัทโจทก์ซึ่งมีอำนาจฟ้องอยู่แล้วนั้น ถึงแม้ชั้นยื่นฟ้องจะมีกรรมการบริษัทลงชื่อในคำฟ้องและใบแต่งทนายแต่ผู้เดียว อันเป็นการขัดต่อข้อบังคับของบริษัทโจทก์ก็ตาม เมื่อศาลได้สั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องโดยให้กรรมการบริษัทลงชื่อเสียให้ถูกต้อง ซึ่งโจทก์ก็ได้จัดจัดการแก้ไขโดยให้กรรมการบริษัทลงชื่อครบจำนวนตามข้อบังคับแล้วก่อนที่ศาลจะสั่งให้รับฟ้อง เช่นนี้ ก็ต้องถือว่าคำฟ้องนั้นเป็นคำฟ้องที่ถูกต้อง จำเลยจะเถียงว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 616-629/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัย: การแจ้งเหตุ, การปฏิเสธความรับผิด, และการมีอำนาจฟ้องของนิติบุคคล
แม้กรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความว่า เมื่อเกิดความวินาศหรือความเสียหายใด ๆ ผู้เอาประกันภัยต้องยื่นคำเรียกร้องเป็นลายลักษณ์อักษรระบุรายละเอียดแห่งทรัพย์สินที่วินาศและจำนวนเงินแห่งความวินาศภายใน 15 วันก่อนก็ตามเมื่อเกิดเพลิงไหม้แล้วโจทก์ผู้เอาประกันได้แจ้งเหตุวินาศภัยให้จำเลยซึ่งเป็นบริษัทผู้รับประกันภัยได้ทราบขอให้ชดใช้ค่าเสียหายที่ได้เอาประกันภัยไว้ จำเลยกลับตอบปฏิเสธความรับผิดเช่นนี้โจทก์ย่อมไม่มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวอีก เพราะถึงจะส่งค่าเรียกร้องและรายละเอียดไปจำเลยก็ไม่พิจารณาชดใช้ให้ตามคำปฏิเสธความรับผิดอยู่นั่นเอง และการตอบปฏิเสธเช่นนั้นถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับชดใช้ค่าเสียหายตามที่ตกลงกันแล้วโจทก์จึงมีสิทธิเสนอคดีของตนต่อศาลได้ แม้ในกรณีที่จำเลยเฉยเสียมิได้ตอบปฏิเสธความรับผิด แต่ได้ให้เลขานุการของจำเลยไปสำรวจความเสียหายซึ่งหากมีการเสียหายที่จะคิดชดใช้ให้บ้างก็ถือว่าข้อสัญญาให้ส่งบัญชีรายละเอียดนี้ จำเลยไม่ติดใจให้โจทก์ส่งแล้วโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยได้ตามนัยฎีกาที่ 1215/2502
คำฟ้องของบริษัทโจทก์ซึ่งมีอำนาจฟ้องอยู่แล้วนั้นถึงแม้ชั้นยื่นฟ้องจะมีกรรมการบริษัทลงชื่อในคำฟ้องและใบแต่งทนายแต่ผู้เดียวอันเป็นการขัดต่อข้อบังคับของบริษัทโจทก์ก็ตามเมื่อศาลได้สั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องโดยให้กรรมการบริษัทลงชื่อเสียให้ถูกต้องซึ่งโจทก์ก็ได้จัดการแก้ไขโดยให้กรรมการบริษัทลงชื่อครบจำนวนตามข้อบังคับแล้วก่อนที่ศาลจะสั่งให้รับฟ้องเช่นนี้ ก็ต้องถือว่าคำฟ้องนั้นเป็นคำฟ้องที่ถูกต้องจำเลยจะเถียงว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องไม่ได้
of 43