พบผลลัพธ์ทั้งหมด 428 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3787/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงลายมือชื่อหลังใบตราส่งถือเป็นการตกลงยกเว้น/จำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง
การที่ผู้ส่งสินค้าลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญไว้ในใบตราส่งด้านหลังซึ่งได้กำหนดเงื่อนไขและความรับผิดไว้ นอกจากจะเป็นการโอนสิทธิตราสารให้แก่ผู้รับตราส่งแล้ว ยังถือว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดแล้วหากเกิดความเสียหายขึ้นแก่สินค้า ผู้รับขนย่อมต้องรับผิดตามเงื่อนไขที่จำกัดความรับผิดไว้เท่านั้น โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยจึงไม่อาจฟ้องจำเลยผู้รับขนให้รับผิดตามมูลค่าของความเสียหายที่เกิดแก่สินค้าได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3446/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัย: การตกลงรับประกันภัยมีผลผูกพันตั้งแต่ตกลง แม้จะยังมิได้ออกกรมธรรม์
จำเลยเป็นนิติบุคคลอ้างตัวเองเป็นพยาน โดยไม่ระบุชัดเจนว่าผู้ใดจะมาเบิกความแทนจำเลย เมื่อจำเลยนำพยานบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัยของจำเลยเข้าเบิกความไปแล้ว จำเลยจะย้อนไปนำส. กรรมการคนหนึ่งของจำเลยเข้าเบิกความอีกโดยไม่แสดงเหตุผลและความจำเป็น ที่จำเลยต้องนำ ส. เข้าเบิกความหลังพยานอื่นหาได้ไม่ การที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีเพื่อนำ ส.เข้าเบิกความ จึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบแล้ว จำเลยขอเลื่อนคดีเพื่อจะนำ ว. เจ้าหน้าที่สำนักงานประกันภัยเข้าเบิกความแต่จากการที่ศาลสอบโจทก์ปรากฏว่าโจทก์เคยร้องเรียนไปยังสำนักงานประกันภัยให้สั่งจำเลยใช้เงินตามกรมธรรม์ประกันภัยแก่โจทก์ แต่สำนักงานประกันภัยแจ้งว่าสินค้าสูญหายก่อนที่จะออกกรมธรรม์ประกันภัย ไม่อาจสั่งให้จำเลยจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ได้ การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้งดสืบ ว. พยานจำเลยจึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบแล้วเช่นเดียวกัน การที่ศาลจะให้สืบพยานหลักฐานต่อไปหรือเห็นว่าเพียงพอแล้วจะให้งดเสียหรือไม่เป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาสั่งได้ตามควรแก่กรณีแห่งเรื่อง เพื่อให้คดี ดำเนิน ไปโดยรวดเร็วและยุติธรรม โจทก์กับจำเลยเคยติดต่อทำสัญญาประกันภัยกันหลายครั้งโดยผ่านส.ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยโดยส. จะไปรับสำเนาหนังสือเลตเตอร์ออฟเครดิตจากโจทก์เพื่อกรอกข้อความในกรมธรรม์ประกันภัยสำหรับการประกันภัยสินค้ารายพิพาทโจทก์ก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับที่เคยปฏิบัติมา โดยในวันที่ 22 สิงหาคม 2528 โจทก์แจ้งให้ ส.ไปรับสำเนาเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อทำประกันภัยสินค้ารายพิพาทเมื่อ ส. ได้รับมาแล้วได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ของจำเลยทราบว่ามีประกันภัยทางทะเลของโจทก์ 3 ราย พร้อมทั้งแจ้งรายละเอียดให้ทราบด้วย เจ้าหน้าที่ของจำเลยจะส่งคนไปรับสำเนาเลตเตอร์ออฟเครดิตแต่ในวันนั้นไม่มีผู้ใดไปรับจนกระทั่งวันที่ 26 สิงหาคม 2528เจ้าหน้าที่ของจำเลยจึงไปรับและนำกรมธรรม์ประกันภัยรายพิพาทมามอบให้ ส.ส. มอบให้โจทก์ในวันที่ 28 สิงหาคม 2528แต่ปรากฏว่าเรือบรรทุกสินค้าได้อัปปาง ลงเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม2528 พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่า โจทก์จำเลยได้ตกลงทำสัญญาประกันภัยตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2528 โดยฝ่าย ส. ตัวแทนของจำเลย แม้จำเลยจะออกกรมธรรม์ประกันภัยในภายหลัง ความรับผิดของจำเลยย่อมเริ่มตั้งแต่เมื่อได้เริ่มตกลงรับประกันภัยไว้เป็นต้นไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3243/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกันภัยวินาศภัย: การชดใช้ค่าเสียหายเต็มจำนวนเมื่อทรัพย์สินเสียหายทั้งหมด และหลักการสันนิษฐานมูลค่าความเสียหาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 877 วรรคสองบัญญัติให้เป็นคุณแก่ผู้เอาประกันภัยในกรณีที่ทรัพย์ที่เอาประกันภัยถูกวินาศภัยไปทั้งหมด ผู้เอาประกันภัยชอบที่จะเรียกร้องชดใช้ค่าเสียหายได้เต็มจำนวนที่เอาประกันภัย เว้นแต่ผู้รับประกันภัยพิสูจน์หักล้างได้ว่าความเสียหายของทรัพย์นั้นต่ำกว่าจำนวนเงินที่เอาประกันภัย จึงจะถือเอาความเสียหายที่เป็นจริงซึ่งต่ำกว่าได้จำเลยทั้งหกรับประกันภัยโกดังและสินค้าของโจทก์โดยรับประกันภัยโกดังในวงเงิน 1,000,000 และรับประกันภัยสินค้าในวงเงิน6,000,000 บาท เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าทรัพย์สินของโจทก์ที่เอาประกันภัยมีมูลค่ารวมไม่ต่ำกว่า 7,000,000 บาท จึงต้องถือว่าโจทก์ได้รับความเสียหายตามที่ได้เอาประกันภัยไว้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับรถ ชนแล้วเลี้ยวกลับรถ กรมธรรม์ประกันภัยไม่คุ้มครองหากผู้เอาประกันภัยประมาท
ถนนที่เกิดเหตุมีเกาะกลางแบ่งครึ่งถนน แต่ละด้านมีช่องทางจราจร 2 ช่อง ก่อนเกิดเหตุชนกันรถยนต์บรรทุกฝ่ายจำเลยวิ่งมาทางช่องด้านซ้าย แล้วเลี้ยวขวาเข้าสู่ช่องกลับรถที่เกาะกึ่งกลางถนนส่วนรถยนต์ฝ่ายโจทก์วิ่งมาในทิศทางเดียวกันแต่วิ่งในช่องทางด้านขวา หัวรถฝ่ายโจทก์ชนที่ยางล้อหลังด้านขวาของรถฝ่ายจำเลยในขณะที่รถฝ่ายจำเลยขวางถนนอยู่ หากรถฝ่ายจำเลยจอดขวางถนนรอเลี้ยวกลับรถอยู่ก่อนแล้วจริง คนขับรถฝ่ายโจทก์ก็ไม่น่าจะขับรถเข้าชนรถฝ่ายจำเลยอย่างแรง การชนกันในลักษณะเช่นนี้น่าจะเกิดจากรถฝ่ายจำเลยเลี้ยวกลับรถโดยกะทันหันโดยไม่ดู ความปลอดภัยเสียก่อนว่ามีรถแล่นตามมาในช่องทางเดินรถช่องที่สองหรือไม่ และการที่จำเลยที่ 1ให้การรับสารภาพต่อพนักงานสอบสวนว่าขับรถยนต์ประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินผู้อื่นเสียหายและยอมให้เปรียบเทียบปรับ แสดงว่าจำเลยที่ 1รู้ดีอยู่แล้วว่าตนเป็นฝ่ายผิด ดังนี้เหตุรถชนกันเกิดเพราะความประมาทของจำเลยที่ 1 ตามรายงานเกี่ยวกับคดีที่บันทึกว่า จำเลยที่ 2 ช่วย ค่ารักษาพยาบาลแก่ ส. คนขับรถยนต์ฝ่ายโจทก์ ส่วนค่าเสียหายรถยนต์ของฝ่ายโจทก์นั้นจะดำเนินการฟ้องร้องในทางแพ่งเองหาใช่เป็นการตกลงใช้ค่าเสียหายเกี่ยวกับการซ่อมรถของฝ่ายโจทก์ดัง ที่ข้อสัญญาตามกรมธรรม์ประกันภัยห้ามไว้ไม่ เมื่อรถของฝ่ายจำเลยที่ 2 เป็นฝ่ายผิดแม้จำเลยที่ 2 จะตกลงใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์จำเลยที่ 3 ก็หาอาจอ้างข้อสัญญาตามกรมธรรม์ประกันภัยมาบอกปัดความรับผิดได้ไม่ ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้เงินแก่โจทก์ โดยให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดในเงินส่วนหนึ่งพร้อมดอกเบี้ยนั้น หาใช่เป็นการให้ดอกเบี้ยซ้ำซ้อน ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4940/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดของผู้รับประกันภัยตามกรมธรรม์ กรณีอุบัติเหตุเดียวกัน และการชำระหนี้โดยสุจริต
จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ด้วยความประมาท เป็นเหตุให้เกิดชนกันขึ้น จำเลยที่ 4 ในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์ของจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ด้วย ตามสัญญากรมธรรม์ประกันภัยระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 4ระบุวงเงินค่าเสียหายเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคลภายนอกไว้ว่าไม่เกิน 100,000 บาท ต่อหนึ่งครั้ง จึงหมายความว่า จำเลยที่ 4จำกัดความรับผิดในค่าเสียหายต่อบุคคลภายนอกไม่ว่าคนเดียวหรือหลายคนในอุบัติเหตุครั้งเดียวกันไว้ไม่เกิน 100,000 บาทเท่านั้นและหากจำเลยที่ 4 ได้ชำระค่าเสียหายให้โจทก์ในอีกคดีซึ่งได้ฟ้องในอุบัติเหตุครั้งเดียวกันกับคดีนี้เต็มจำนวน 100,000 บาทตามสัญญากรมธรรม์ประกันภัยแล้ว จำเลยที่ 4 ก็ไม่ต้องชำระค่าเสียหายให้โจทก์ในคดีนี้อีก การชำระค่าเสียหายตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวเป็นการชำระหนี้โดยสุจริตและถูกต้องตามกฎหมาย จำเลยที่ 4 ไม่ต้องเฉลี่ยเงินค่าเสียหายให้โจทก์คดีนี้ จำเลยที่ 4 อ้างสำนวนคดีแพ่งของศาลชั้นต้นพร้อมทั้งสรรพเอกสารเป็นพยานในคดีนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยตามข้อเท็จจริงในสำนวนคดีดังกล่าว จึงไม่เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกสำนวน แต่ข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 4 ได้ชำระค่าเสียหายตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์ในคดีอื่นเกิดขึ้นภายหลังที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีนี้แล้ว ศาลอุทธรณ์ไม่ชอบที่จะนำมาพิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 4 ไปเลย แต่ควรกำหนดเป็นเงื่อนไขในความรับผิดของจำเลยที่ 4 เท่านั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 400/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยยังคงผูกพันแม้มีการประนีประนอมความรับผิด การเปลี่ยนแปลงความรับผิดของผู้เอาประกันภัยไม่กระทบความรับผิดของประกัน
จำเลยผู้รับประกันภัยยินยอมให้โจทก์ผู้เอาประกันภัยไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความชดใช้ค่ารักษาพยาบาลและค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหายเพราะเหตุรถยนต์ของโจทก์ที่ประกันภัยไว้ชนกับรถยนต์คนอื่นซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยแม้ความรับผิดของโจทก์ผู้เอาประกันภัยที่มีต่อผู้เสียหายจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นความรับผิดตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ก็หาทำให้ความรับผิดของจำเลยต่อโจทก์ที่มีอยู่แล้วตามกรมธรรม์ประกันภัยเปลี่ยนแปลงระงับสิ้นไปไม่ จำเลยยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 400/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรมธรรม์ประกันภัยยังคงคุ้มครองแม้มีการประนีประนอมยอมความ ความรับผิดของจำเลยไม่ระงับ
จำเลยผู้รับประกันภัยยินยอมให้โจทก์ผู้เอาประกันภัยไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความชดใช้ค่ารักษาพยาบาลและค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหาย เพราะเหตุรถยนต์ของโจทก์ที่ประกันภัยไว้ชนกับรถยนต์คนอื่น ซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัย แม้ความรับผิดของโจทก์ผู้เอาประกันภัยที่มีต่อผู้เสียหายจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นความรับผิดตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ก็หาทำให้ความรับผิดของจำเลยต่อโจทก์ที่มีอยู่แล้วตามกรมธรรม์ประกันภัยเปลี่ยนแปลงระงับสิ้นไปไม่ จำเลยยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 400/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประกันภัยยังคงมีผลแม้มีการประนีประนอมระหว่างผู้เอาประกันภัยกับผู้เสียหาย
จำเลยผู้รับประกันภัยยินยอมให้โจทก์ผู้เอาประกันภัยไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความชดใช้ค่ารักษาพยาบาลและค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหายเพราะเหตุรถยนต์ ของโจทก์ที่ประกันภัยไว้ชนกับรถยนต์ คนอื่น ซึ่ง จำเลยจะต้อง รับผิดตาม สัญญาประกันภัย แม้ความรับผิดของโจทก์ผู้เอาประกันภัยที่มีต่อ ผู้เสียหายจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นความรับผิดตาม สัญญาประนีประนอมยอมความ ก็หาทำให้ความรับผิดของจำเลยต่อ โจทก์ที่มีอยู่แล้วตาม กรมธรรม์ประกันภัยเปลี่ยนแปลงระงับสิ้นไปไม่ จำเลยยังคงต้อง รับผิดต่อ โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3499/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดในสัญญาประกันภัย: การแบ่งเฉลี่ยค่าเสียหายเมื่อมีผู้ได้รับความเสียหายหลายราย
สัญญากรมธรรม์ประกันภัยระบุจำนวนเงินจำกัดความรับผิดในส่วนที่เป็นค่าเสียหายต่อชีวิตร่างกายไว้ในข้อ 2.1 บรรทัดแรกว่า 100,000 บาท ต่อหนึ่งคน และบรรทัดถัดลงมาว่า 100,000 บาท ต่อหนึ่งครั้ง ดังนี้ หากเกิดอุบัติเหตุที่ผู้รับประกันภัยจะต้องรับผิดในค่าเสียหายแก่บุคคลภายนอกหลายคนในครั้งเดียวกันแล้วมิได้ หมายความว่า ผู้รับประกันภัยจะต้องรับผิดต่อทุกคนในวงเงินคนละไม่เกิน 100,000 บาท แต่หมายความว่า ทุกคนมีสิทธิได้รับค่าเสียหายจากผู้รับประกันภัยในวงเงินไม่เกิน 100,000 บาท โดยแบ่งเฉลี่ยกันตามส่วนของความเสียหายที่ได้รับ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3499/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดในสัญญาประกันภัย: วงเงินต่อครั้งและต่อคน ศาลแก้ไขวงเงินรับผิดชอบของบริษัทประกันภัย
สัญญากรมธรรม์ประกันภัยระบุจำนวนเงินจำกัดความรับผิดในส่วนที่เป็นค่าเสียหายต่อชีวิตร่างกายไว้ในข้อ 2.1 บรรทัดแรกว่า100,000 บาทต่อหนึ่งคน และบรรทัดถัดลงมาว่า 100,000 บาท ต่อหนึ่งครั้ง ดังนี้ หากเกิดอุบัติเหตุที่ผู้รับประกันภัยจะต้องรับผิดในค่าเสียหายแก่บุคคลภายนอกหลายคนในครั้งเดียวกันแล้วมิได้หมายความว่า ผู้รับประกันภัยจะต้องรับผิดต่อทุกคนในวงเงินคนละไม่เกิน 100,000 บาท แต่หมายความว่า ทุกคนมีสิทธิได้รับค่าเสียหายจากผู้รับประกันภัยในวงเงินไม่เกิน 100,000 บาท โดยแบ่งเฉลี่ยกันตามส่วนของความเสียหายที่ได้รับ.