พบผลลัพธ์ทั้งหมด 428 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1601-1903/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้เอาประกันภัยในการเลือกซ่อมรถยนต์ และการใช้สิทธิทางกฎหมายควบคู่กับการเรียกร้องตามสัญญา
ตามสัญญาประกันภัยมีเงื่อนไขระบุว่า เมื่อรถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้เกิดความเสียหาย ผู้รับประกันภัยมีสิทธิซ่อมเปลี่ยนหรือใช้รถยนต์สภาพเดียวกันนั้น ผู้รับประกันภัยจะต้องเลือกซ่อมโดยช่างซ่อมที่มีฝีมือด้วย การที่ผู้เอาประกันภัยไม่ยอมส่งมอบรถยนต์ให้ซ่อมเพราะยังไม่พอใจว่าช่างซ่อมของผู้รับประกันภัยจะซ่อมรถได้ดีหรือไม่ และไม่ปรากฏว่าผู้เอาประกันภัยจะไม่ส่งมอบรถยนต์ให้ผู้รับประกันภัยโดยเด็ดขาด จึงถือไม่ได้ว่าผู้เอาประกันภัยผิดเงื่อนไขในสัญญา
การที่ผู้เอาประกันภัยฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ที่อ้างว่าทำละเมิดนั้น เป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายของผู้เอาประกันภัย จะถือว่าผู้เอาประกันภัยสละสิทธิที่จะให้ผู้รับประกันภัยปฏิบัติตามสัญญาหาได้ไม่
การที่ผู้เอาประกันภัยฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ที่อ้างว่าทำละเมิดนั้น เป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายของผู้เอาประกันภัย จะถือว่าผู้เอาประกันภัยสละสิทธิที่จะให้ผู้รับประกันภัยปฏิบัติตามสัญญาหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2779/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประกันภัยรถยนต์: ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายจากการลักทรัพย์ แม้รถคืนสภาพชำรุด
โจทก์เอาประกันภัยรถยนต์ที่โจทก์เช่าซื้อมาไว้แก่บริษัทจำเลย ตามกรมธรรม์ประกันภัยจำเลยจะต้องรับผิดใช้ ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายหรือสูญหายต่อรถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้เนื่องจากการลักทรัพย์ ชิงทรัพย์หรือปล้นทรัพย์เป็นจำนวนเงินไม่เกิน 30,000บาท ต่อมาในระหว่างอายุสัญญาประกันภัยรถยนต์ดังกล่าวถูกคนร้ายลักไปโจทก์จึงฟ้องขอให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทน แม้ว่าในระหว่างการพิจารณาคดีนี้ โจทก์จะได้รถยนต์ดังกล่าวคืนมาแต่ได้คืนมาในสภาพชำรุดเสียหายต้องซ่อมเป็นเงิน 51,200 บาท ดังนี้ ศาล ก็พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ตาม กรมธรรม์ประกันภัยได้
ตามกรมธรรม์ประกันภัยมีเงื่อนไขให้จำเลยรับผิดใช้ ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายหรือสูญหายต่อรถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้เนื่องจากการลักทรัพย์ ก็ต้องหมายความว่าจำเลยจะรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในกรณีที่รถยนต์สูญหายไปเนื่องจากการลักทรัพย์อย่างหนึ่ง และในกรณีที่รถยนต์ เกิดความเสียหายอันเนื่องมาจากการลักทรัพย์อีกอย่างหนึ่ง รถยนต์ของโจทก์เกิดความชำรุดเสียหายก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากการลักทรัพย์โดยตรง จำเลยจึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เพื่อ ความเสียหายดังกล่าว
ตามกรมธรรม์ประกันภัยมีเงื่อนไขให้จำเลยรับผิดใช้ ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายหรือสูญหายต่อรถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้เนื่องจากการลักทรัพย์ ก็ต้องหมายความว่าจำเลยจะรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในกรณีที่รถยนต์สูญหายไปเนื่องจากการลักทรัพย์อย่างหนึ่ง และในกรณีที่รถยนต์ เกิดความเสียหายอันเนื่องมาจากการลักทรัพย์อีกอย่างหนึ่ง รถยนต์ของโจทก์เกิดความชำรุดเสียหายก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากการลักทรัพย์โดยตรง จำเลยจึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เพื่อ ความเสียหายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2779/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประกันภัยรถยนต์: ความเสียหายจากการลักทรัพย์ ครอบคลุมทั้งความสูญหายและค่าซ่อม
โจทก์เอาประกันภัยรถยนต์ที่โจทก์เช่าซื้อมาไว้แก่บริษัทจำเลย ตามกรมธรรม์ประกันภัยจำเลยจะต้องรับผิดใช้ ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายหรือสูญหายต่อรถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้เนื่องจากการลักทรัพย์ ชิงทรัพย์หรือปล้นทรัพย์เป็นจำนวนเงินไม่เกิน 30,000 บาท ต่อมาในระหว่างอายุสัญญาประกันภัยรถยนต์ดังกล่าวถูกคนร้ายลักไปโจทก์จึงฟ้องขอให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทน แม้ว่าในระหว่างการพิจารณา คดีนี้ โจทก์จะได้รถยนต์ดังกล่าวคืนมา แต่ได้คืนมา ในสภาพชำรุดเสียหายต้องซ่อมเป็นเงิน 51,200 บาท ดังนี้ ศาล ก็พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ตาม กรมธรรม์ประกันภัยได้ ตามกรมธรรม์ประกันภัยมีเงื่อนไขให้จำเลยรับผิดใช้ ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายหรือสูญหายต่อรถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้เนื่องจากการลักทรัพย์ ก็ต้องหมายความว่าจำเลยจะรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในกรณีที่รถยนต์สูญหายไปเนื่องจากการลักทรัพย์อย่างหนึ่ง และในกรณีที่รถยนต์ เกิดความเสียหายอันเนื่องมาจากการลักทรัพย์อีกอย่างหนึ่งรถยนต์ของโจทก์เกิดความชำรุดเสียหายก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากการลักทรัพย์โดยตรง จำเลยจึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เพื่อ ความเสียหายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2427/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประกันภัยไม่สามารถโอนไปยังผู้รับช่วงสิทธิในสัญญาเช่าซื้อได้ เว้นแต่มีการโอนสิทธิโดยตรง
การที่โจทก์ที่ 2 เข้าทำสัญญารับรองการเช่าซื้อของ โจทก์ที่ 1โดยในกรณีที่โจทก์ที่ 1 ผิดสัญญา โจทก์ที่ 2 จะต้องชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยและค่าเสียหายให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อและรับโอนกรรมสิทธิ์รถที่เอาประกันภัยมาเป็นของโจทก์ที่ 2 นั้น เป็นการรับโอนสิทธิเรียกร้องอันมีอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อที่โจทก์ที่1 มีต่อผู้ให้เช่าซื้อมาเป็นของโจทก์ที่ 2 เท่านั้น หาได้รวมไปถึงสิทธิเรียกร้องที่โจทก์ที่ 1 มีต่อ จำเลยที่ 3 ตามสัญญาประกันภัยด้วยไม่ เพราะเป็นสัญญาอีก ฉบับหนึ่งแยกต่างหากจากสัญญาเช่าซื้อ ขณะเกิดวินาศภัยแก่รถที่เอาประกันภัยโจทก์ที่ 1 ยังอยู่ในฐานะเป็นผู้เช่าซื้อ สิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 3ใช้ค่าสินไหมทดแทนในเหตุวินาศภัยย่อมเป็นของโจทก์ที่1ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยที่จะเรียกร้องจากจำเลยที่ 3 การที่โจทก์ที่ 2 จะใช้สิทธิเรียกร้องนี้ได้ก็แต่โดยโจทก์ที่ 1 โอนสิทธิเรียกร้องนั้นให้แก่โจทก์ที่ 2เท่านั้น และกรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 875 เพราะโจทก์ที่ 2 ได้รับโอนรถที่เอาประกันภัยมาภายหลังที่ความวินาศภัยได้ เกิดขึ้นแล้ว สิทธิอันมีอยู่ ในสัญญาประกันภัย ย่อมไม่โอนตามไป
โจทก์ที่ 1 ที่ 2 เป็นฝ่ายนำสืบก่อน โจทก์ที่1 ขาดนัดพิจารณาศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปโดยมิได้สั่งจำหน่ายคดีของ โจทก์ที่ 1 ย่อมถือได้ว่าเป็นการพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้คัดค้านจนศาลชั้นต้นสืบพยานทั้งสองฝ่ายเสร็จสิ้นและ วินิจฉัยชี้ขาดคดีไปแล้ว จึงล่วงเลยเวลาที่จะคัดค้าน กรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งจำหน่ายคดีโจทก์ที่ 1 แล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 จำเลยจึงหมด สิทธิที่จะยกข้อคัดค้านเรื่องนี้ในชั้นอุทธรณ์ฎีกา
ตามกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์รวมทั้งอุปกรณ์ติดประจำเนื่องจากการชนที่เกิดขึ้น ระหว่างระยะเวลาประกันภัยย่อมหมายความว่า ความเสียหายที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดมีเฉพาะแต่ความเสียหายต่อตัวรถและอุปกรณ์ เท่านั้น ความเสียหายเนื่องจากขาดรายได้ประจำวัน มิใช่ความเสียหายต่อตัวรถและอุปกรณ์ จำเลยที่ 3จึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่โจทก์ที่ 1
โจทก์ที่ 1 ที่ 2 เป็นฝ่ายนำสืบก่อน โจทก์ที่1 ขาดนัดพิจารณาศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปโดยมิได้สั่งจำหน่ายคดีของ โจทก์ที่ 1 ย่อมถือได้ว่าเป็นการพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้คัดค้านจนศาลชั้นต้นสืบพยานทั้งสองฝ่ายเสร็จสิ้นและ วินิจฉัยชี้ขาดคดีไปแล้ว จึงล่วงเลยเวลาที่จะคัดค้าน กรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งจำหน่ายคดีโจทก์ที่ 1 แล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 จำเลยจึงหมด สิทธิที่จะยกข้อคัดค้านเรื่องนี้ในชั้นอุทธรณ์ฎีกา
ตามกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์รวมทั้งอุปกรณ์ติดประจำเนื่องจากการชนที่เกิดขึ้น ระหว่างระยะเวลาประกันภัยย่อมหมายความว่า ความเสียหายที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดมีเฉพาะแต่ความเสียหายต่อตัวรถและอุปกรณ์ เท่านั้น ความเสียหายเนื่องจากขาดรายได้ประจำวัน มิใช่ความเสียหายต่อตัวรถและอุปกรณ์ จำเลยที่ 3จึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่โจทก์ที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2427/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประกันภัยไม่โอนตามกรรมสิทธิ์รถ หากเกิดความเสียหายก่อนการโอนสิทธิ
การที่โจทก์ที่ 2 เข้าทำสัญญารับรองการเช่าซื้อของ โจทก์ที่ 1 โดยในกรณีที่โจทก์ที่ 1 ผิดสัญญา โจทก์ที่ 2 จะต้องชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยและค่าเสียหายให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อและรับโอนกรรมสิทธิ์รถที่เอาประกันภัยมาเป็นของโจทก์ที่ 2 นั้น เป็นการรับโอนสิทธิเรียกร้องอันมีอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อที่โจทก์ที่1 มีต่อผู้ให้เช่าซื้อมาเป็นของโจทก์ที่ 2 เท่านั้น หาได้รวมไปถึงสิทธิเรียกร้องที่โจทก์ที่ 1 มีต่อ จำเลยที่ 3 ตามสัญญาประกันภัยด้วยไม่ เพราะเป็นสัญญาอีก ฉบับหนึ่งแยกต่างหากจากสัญญาเช่าซื้อ ขณะเกิดวินาศภัยแก่รถที่เอาประกันภัย โจทก์ที่ 1 ยังอยู่ในฐานะเป็นผู้เช่าซื้อ สิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 3 ใช้ค่าสินไหมทดแทนในเหตุวินาศภัยย่อมเป็นของโจทก์ที่1 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยที่จะเรียกร้องจากจำเลยที่ 3 การที่โจทก์ที่ 2 จะใช้สิทธิเรียกร้องนี้ได้ก็แต่โดยโจทก์ที่ 1 โอนสิทธิเรียกร้องนั้นให้แก่โจทก์ที่ 2 เท่านั้น และกรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 875 เพราะโจทก์ที่ 2 ได้รับโอนรถที่เอาประกันภัยมาภายหลังที่ความวินาศภัยได้ เกิดขึ้นแล้ว สิทธิอันมีอยู่ ในสัญญาประกันภัย ย่อมไม่โอนตามไป โจทก์ที่ 1 ที่ 2 เป็นฝ่ายนำสืบก่อน โจทก์ที่1 ขาดนัดพิจารณาศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปโดยมิได้สั่งจำหน่ายคดีของ โจทก์ที่ 1 ย่อมถือได้ว่าเป็นการพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้คัดค้านจนศาลชั้นต้นสืบพยานทั้งสองฝ่ายเสร็จสิ้นและ วินิจฉัยชี้ขาดคดีไปแล้วจึงล่วงเลยเวลาที่จะคัดค้าน กรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งจำหน่ายคดีโจทก์ที่ 1 แล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 จำเลยจึงหมด สิทธิที่จะยกข้อคัดค้านเรื่องนี้ในชั้นอุทธรณ์ฎีกา ตามกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์รวมทั้งอุปกรณ์ติดประจำเนื่องจากการชนที่เกิดขึ้นระหว่างระยะเวลาประกันภัยย่อมหมายความว่า ความเสียหายที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดมีเฉพาะแต่ความเสียหายต่อตัวรถและอุปกรณ์ เท่านั้น ความเสียหายเนื่องจากขาดรายได้ประจำวันมิใช่ความเสียหายต่อตัวรถและอุปกรณ์ จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่โจทก์ที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1284/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
CIF, หน้าที่ประกันภัย, ข้อจำกัดความรับผิดโมฆะ, ตัวแทนรับผิดชอบสัญญา
การตกลงซื้อขายกันในราคา ซี. ไอ. เอฟ นั้น หมายความว่า ราคาสินค้าที่ตกลงซื้อขายกันรวมค่าประกันภัยและค่าระวางขนส่งด้วย ฉะนั้น ผู้ขายจึงมีหน้าที่ต้องเอาประกันภัยสินค้านั้นในระหว่างขนส่งไปยังผู้ซื้อ ถือได้ว่าผู้ขายมีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัยไว้สัญญาประกันภัยที่ผู้ขายทำไว้กับโจทก์จึงมีผลผูกพันกันตามกฎหมายโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแล้วจึงมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยซึ่งเป็นผู้รับขนส่งได้
การที่ผู้ส่งเพียงแต่ยอมรับใบตราส่งซึ่งมีข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง เพื่อเป็นหลักฐานไปขอรับเงินค่าสินค้าจากธนาคาร ยังไม่เพียงพอที่จะถือว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดเช่นว่านั้น ข้อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งที่ระบุไว้ในใบตราส่งจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 625
จำเลยทำสัญญารับขนส่งสินค้าแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศ เมื่อสินค้าสูญหายไปในระหว่างขนส่งจำเลยจะต้องรับผิดตามสัญญานั้นแต่ลำพังตนเอง
การที่ผู้ส่งเพียงแต่ยอมรับใบตราส่งซึ่งมีข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง เพื่อเป็นหลักฐานไปขอรับเงินค่าสินค้าจากธนาคาร ยังไม่เพียงพอที่จะถือว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดเช่นว่านั้น ข้อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งที่ระบุไว้ในใบตราส่งจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 625
จำเลยทำสัญญารับขนส่งสินค้าแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศ เมื่อสินค้าสูญหายไปในระหว่างขนส่งจำเลยจะต้องรับผิดตามสัญญานั้นแต่ลำพังตนเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1284/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ซี.ไอ.เอฟ., การประกันภัยขนส่ง, ข้อยกเว้นความรับผิด, ตัวแทนรับผิดแต่ลำพัง
การตกลงซื้อขายกันในราคา ซี.ไอ.เอฟ นั้นหมายความว่า ราคาสินค้าที่ตกลงซื้อขายกันรวมค่าประกันภัยและค่าระวางขนส่งด้วย ฉะนั้น ผู้ขายจึงมีหน้าที่ต้องเอาประกันภัยสินค้านั้นในระหว่างขนส่งไปยังผู้ซื้อ ถือได้ว่าผู้ขายมีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัยไว้สัญญาประกันภัยที่ผู้ขายทำไว้กับโจทก์จึงมีผลผูกพันกันตามกฎหมายโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแล้วจึงมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยซึ่งเป็นผู้รับขนส่งได้
การที่ผู้ส่งเพียงแต่ยอมรับใบตราส่งซึ่งมีข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง เพื่อเป็นหลักฐานไปขอรับเงินค่าสินค้าจากธนาคาร ยังไม่เพียงพอที่จะถือว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดเช่นว่านั้น ข้อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งที่ระบุไว้ในใบตราส่งจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 625
จำเลยทำสัญญารับขนส่งสินค้าแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศ. เมื่อสินค้าสูญหายไปในระหว่างขนส่งจำเลยจะต้องรับผิดตามสัญญานั้นแต่ลำพังตนเอง
การที่ผู้ส่งเพียงแต่ยอมรับใบตราส่งซึ่งมีข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง เพื่อเป็นหลักฐานไปขอรับเงินค่าสินค้าจากธนาคาร ยังไม่เพียงพอที่จะถือว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดเช่นว่านั้น ข้อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งที่ระบุไว้ในใบตราส่งจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 625
จำเลยทำสัญญารับขนส่งสินค้าแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศ. เมื่อสินค้าสูญหายไปในระหว่างขนส่งจำเลยจะต้องรับผิดตามสัญญานั้นแต่ลำพังตนเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 297/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัย: การจ่ายค่าสินไหมทดแทนเมื่อรถถูกยึด ไม่ใช่ความเสียหายจากลักทรัพย์
โจทก์รับประกันภัยรถยนต์จากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อจากจำเลยที่ 1 โจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้จำเลยที่ 1 เพราะจำเลยแจ้งว่ารถถูกลักไป เมื่อปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ศุลกากรยึดรถนั้นเนื่องจากมีผู้นำไปขนสินค้าหลบหนีภาษี ซึ่งตามกรมธรรม์ประกันภัย โจทก์จะใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อเมื่อเกิดวินาศภัยแก่รถยนต์สูญหายไปเนื่องจากถูกคนร้ายลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ หรือปล้นทรัพย์ฉะนั้นจำเลยที่ 1 จึงต้องคืนเงินค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 736/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้รับประกันภัย: ประมาทเลินเล่อของผู้ขับขี่
ที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 879 บัญญัติว่าผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดในเมื่อความวินาศภัยหรือเหตุอื่นซึ่งได้ระบุไว้ในสัญญานั้นได้เกิดขึ้นเพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์นั้น เป็นบทบัญญัติที่ยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันภัย จึงต้องตีความโดยเคร่งครัดว่าหมายถึงความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัย หรือผู้รับประโยชน์เองเท่านั้น ไม่หมายรวมถึง ความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของลูกจ้างผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 736/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันภัย: ประมาทเลินเล่อของผู้เอาประกันภัย vs. บุคคลอื่น
ที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 879 บัญญัติว่าผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดในเมื่อความวินาศภัยหรือเหตุอื่นซึ่งได้ระบุไว้ในสัญญานั้นได้เกิดขึ้นเพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์นั้น เป็นบทบัญญัติที่ยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันภัย จึงต้องตีความโดยเคร่งครัดว่าหมายถึงความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์เองเท่านั้น ไม่หมายรวมถึง ความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของลูกจ้างผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ด้วย