คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1033

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 35 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1632/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญ กรณีรถยนต์ของห้างหุ้นส่วนได้รับความเสียหายจากการถูกชน
ส. ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเป็นผู้ครอบครองรถยนต์กระบะคันเกิดเหตุในสมุดคู่มือการจดทะเบียนมอบรถยนต์กระบะให้แก่โจทก์เป็นผู้ครอบครองโดยใช้เป็นพาหนะส่งอาหารทะเลให้แก่ลูกค้า แม้โจทก์จะไม่มีชื่อเป็นผู้ครอบครองรถยนต์ในสมุดคู่มือการจดทะเบียน แต่การจดทะเบียนรถยนต์ไม่ใช่หลักฐานแห่งกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายเป็นเพียงหลักฐานที่กำหนดขึ้นเพื่อความสะดวกในการควบคุมใช้รถและการเสียภาษีของเจ้าพนักงานเท่านั้น บุคคลใดจะเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองรถยนต์ต้องพิจารณาไปตามสภาพของข้อเท็จจริง เมื่อปรากฏว่าโจทก์และ ส. ได้ร่วมลงทุนในการประกอบกิจการค้าขายและขนส่งอาหารอันมีลักษณะเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ รถยนต์กระบะจึงเป็นทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วน เมื่อทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนได้รับความเสียหายโดยไม่ปรากฏว่าได้ตกลงกันไว้ในกระบวนจัดการห้างหุ้นส่วน โจทก์ในฐานะหุ้นส่วนย่อมมีอำนาจฟ้องร้องผู้กระทำให้ทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนได้รับความเสียหายได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1033

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4264/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนสามัญฟ้องหนี้เฉพาะส่วนไม่ได้ ต้องฟ้องเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
โจทก์และ ส. ตกลงเข้ากันเป็นหุ้นส่วนทำกิจการบ้านจัดสรรและอาคารพาณิชย์ แม้ในการทำสัญญาขายที่ดินพร้อมอาคารแก่จำเลย จะได้มอบอำนาจให้ ว. เป็นผู้มีอำนาจจัดการแทน อันมีผลทำให้โจทก์และ ส. ผูกพันตามสัญญาที่ ว. ทำไว้กับจำเลย ซึ่งโจทก์หรือ ส. ผู้เป็นหุ้นส่วนมีสิทธิฟ้องจำเลยได้โดยลำพังก็ตาม แต่การฟ้องคดีก็จะต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน เมื่อโจทก์และ ส. ยังเป็นหุ้นส่วนกันอยู่ การที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้เฉพาะส่วนของตนกึ่งหนึ่ง จึงเป็นการฟ้องเรียกหนี้สินของห้างหุ้นส่วนสามัญในฐานะส่วนตัว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินตามฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3199/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ห้างหุ้นส่วนประกันภัย: ความรับผิดร่วมกันของผู้รับประกันภัยและการรับผิดของตัวการ-ตัวแทน
โจทก์และผู้รับประกันภัยรายอื่นรวม 12 ราย ตกลงเข้ารับประกันภัยการขนส่งสินค้าร่วมกันโดยระบุชื่อและกำหนดสัดส่วนความรับผิดชอบของแต่ละคนไว้แน่นอน โดยมุ่งหวังแบ่งปันกำไรอันพึงได้ตามสัดส่วนดังกล่าวจากการรับประกันภัยรายนี้ ย่อมเข้าลักษณะเป็นสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ ตาม ป.พ.พ. ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนมิได้ตกลงกันไว้ในกระบวนจัดการห้างหุ้นส่วน ผู้เป็นหุ้นส่วนย่อมจัดการห้างหุ้นส่วนนั้นได้ทุกคน ดังนั้น โจทก์ซึ่งเป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายทั้งหมดเพื่อประโยชน์แก่ผู้รับประกันภัยรายอื่น ซึ่งเป็นหุ้นส่วนทุกคนด้วยโดยไม่ต้องคำนึงว่าผู้รับประกันภัยรายอื่นจะทำหนังสือมอบสิทธิของตนให้แก่โจทก์หรือไม่ เมื่อปรากฏชื่อโจทก์ในกรมธรรม์ประกันภัย โจทก์ย่อมใช้สิทธิแทนผู้รับประกันภัยทุกคนมาฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายของสินค้าได้เต็มจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่ได้จ่ายให้แก่ผู้ซื้อไป
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่ง ในขณะที่ส่งมอบตู้คอนเทนเนอร์ให้แก่จำเลยที่ 4 สินค้ายังไม่เกิดความเสียหายแต่ได้เกิดความเสียหายในระหว่างการเคลื่อนย้ายตู้คอนเทนเนอร์จากหน้าท่าเรือไปยังโรงพักสินค้าที่ 17 สินค้าไม่ได้เกิดความเสียหายในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของผู้ขนส่ง จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดชอบในความเสียหายของสินค้า
จำเลยที่ 4 (การท่าเรือแห่งประเทศไทย)มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องดูแลและรับผิดชอบสินค้าที่ถูกขนส่งทางเรือและถูกขนถ่ายลงจากเรือมาที่หน้าท่า การขนถ่ายเคลื่อนย้ายตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้าจากบริเวณหน้าท่าไปยังโรงพักสินค้า ย่อมเป็นกระบวนการซึ่งอยู่ในหน้าที่และความรับผิดชอบของจำเลยที่ 4 แม้การขนย้ายตู้สินค้ารายนี้จะกระทำโดยรถบรรทุกที่จำเลยที่ 3เป็นผู้จัดหามา แต่ก็โดยการอนุญาตของจำเลยที่ 4 การดำเนินการของจำเลยที่ 3 เท่ากับเป็นการกระทำแทนจำเลยที่ 4 จำเลยที่ 4 ในฐานะตัวการจึงต้องรับผิดชอบในการกระทำของจำเลยที่ 3 เช่นเดียวกับการกระทำของตนเองเมื่อตู้คอนเทนเนอร์ที่บรรจุสินค้ารายนี้เกิดตกหล่นจากรถบรรทุกในระหว่างการขนย้ายจากหน้าท่าไปยังโรงพักสินค้าที่ 17 ทำให้สินค้าได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 4 จึงต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ส่วนจำเลยที่ 3 เป็นเพียงตัวแทนและเป็นผู้จัดหารถบรรทุกมาทำหน้าที่แทนจำเลยที่ 4 จึงไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3199/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ห้างหุ้นส่วนสามัญ-ความรับผิดชอบของผู้รับประกันภัย-การขนส่งสินค้าทางเรือ-ตัวการตัวแทน
การที่โจทก์และผู้รับประกันภัยรายอื่นรวม 12 ราย ตกลงเข้ารับประกันภัยการขนส่งร่วมกัน โดยระบุชื่อและกำหนดสัดส่วนความรับผิดชอบของแต่ละคนไว้แน่นอน โดยมุ่งหวังแบ่งปันกำไรอันพึงได้ตามสัดส่วนดังกล่าว ย่อมเข้าลักษณะเป็นสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ โจทก์ซึ่งเป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายทั้งหมดเพื่อประโยชน์แก่ผู้รับประกันภัยรายอื่นซึ่งเป็นหุ้นส่วนทุกคนด้วย โดยไม่ต้องคำนึงว่าผู้รับประกันภัยรายอื่นจะทำหนังสือมอบสิทธิของตนให้แก่โจทก์หรือไม่
จำเลยที่ 4 มีหน้าที่ตามกฎหมายจะต้องดูแลและรับผิดชอบสินค้าที่ถูกขนส่งทางเรือและถูกขนถ่ายลงจากเรือมาที่หน้าท่า การขนถ่ายเคลื่อนย้ายตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้าจากบริเวณหน้าท่าไปยังโรงพักสินค้า ย่อมเป็นกระบวนการซึ่งอยู่ในหน้าที่และความรับผิดชอบของจำเลยที่ 4 ด้วย แม้การขนย้ายตู้สินค้ารายนี้จะกระทำโดยรถบรรทุกที่จำเลยที่ 3 เป็นผู้จัดหามา แต่ก็โดยการอนุญาตของจำเลยที่ 4 การดำเนินการของจำเลยที่ 3 จึงเท่ากับเป็นการกระทำแทนจำเลยที่ 4 จำเลยที่ 4 ในฐานะตัวการจึงต้องรับผิดชอบเช่นเดียวกับการกระทำของตนเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 830/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของหุ้นส่วนจำกัดและผู้สั่งจ่ายเช็คในสัญญาประนีประนอมยอมความ รวมถึงการล้มละลาย
ข้อพิพาทตามสิทธิเรียกร้องที่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันเป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับห้างจำเลยที่ 1 ซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการกระทำการแทนห้างจำเลยที่ 1 และไม่มีข้อจำกัดอำนาจของหุ้นส่วนผู้จัดการไว้ จำเลยที่ 2 จึงลงลายมือชื่อเป็นคู่สัญญาแทนจำเลยที่ 1 ในสัญญาประนีประนอมยอมความได้โดยไม่ต้องประทับตราห้างจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 เป็นแต่เพียงผู้ออกเช็คชำระหนี้ของห้างจำเลยที่ 1ให้แก่โจทก์ความรับผิดของจำเลยที่ 3 เป็นความรับผิดตามเช็คในฐานะผู้สั่งจ่ายตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยที่ 3 หาได้แสดงตนว่าเป็นหุ้นส่วนในห้างจำเลยที่ 1 ไม่ แม้จำเลยที่ 3 จะเป็นภริยาของจำเลยที่ 2 และได้ลงลายมือชื่อทางด้านห้างจำเลยที่ 1 ไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งมีข้อความระบุว่า "การชำระหนี้จำเลยที่ 1 ได้ชำระด้วยเช็คซึ่งสั่งจ่ายโดยจำเลยที่ 3" ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 แสดงตนเป็นหุ้นส่วนของห้างจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3จึงไม่ต้องร่วมรับผิดตามสัญญาประนีประนอมยอมความด้วย จำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นหนี้โจทก์อยู่ 839,000 บาท ห้างจำเลยที่ 1 ได้ปิดกิจการตั้งแต่ก่อนถูกฟ้องคดีนี้ ตัวอาคารห้างรวมทั้งที่ดินถูกธนาคารยึด นำขายทอดตลาดไปแล้ว จำเลยที่ 1 ที่ 2 ไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ จำเลยที่ 2ต้องอาศัยบุตรสาวอยู่ พฤติการณ์ต้องด้วยข้อสันนิษฐานของกฎหมายแล้วว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5897/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนห้างหุ้นส่วนที่ไม่จดทะเบียนฟ้องบุคคลภายนอกไม่ได้หากชื่อไม่ปรากฏในกิจการ
ผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนที่ไม่ได้จดทะเบียน จะฟ้องบุคคลภายนอกโดยอ้างสิทธิในกิจการซึ่งไม่ปรากฏชื่อของตนมิได้ โจทก์และ ส. กับพวกนำเงินไปเปิดบัญชีไว้ที่ธนาคารเพื่อดำเนินกิจการร่วมกันโดยไม่ได้จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน ส.เอาเงินของห้างหุ้นส่วนจ่ายให้จำเลยเพื่อแลกเช็คพิพาทจากจำเลยแล้วธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค ดังนี้ แม้การรับแลกเช็คนั้นจะเป็นกิจการของห้างหุ้นส่วน แต่เมื่อไม่ปรากฏชื่อของโจทก์ในกิจการนี้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินตามเช็คจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5897/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนห้างหุ้นส่วนไม่จดทะเบียนฟ้องบุคคลภายนอก ต้องแสดงชื่อตนในกิจการจึงมีอำนาจฟ้อง
ผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนที่ไม่ได้จดทะเบียน จะฟ้องบุคคลภายนอกโดยอ้างสิทธิในกิจการซึ่งไม่ปรากฏชื่อของตนมิได้
โจทก์และ ส. กับพวกนำเงินไปเปิดบัญชีไว้ที่ธนาคารเพื่อดำเนินกิจการร่วมกันโดยไม่ได้จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน ส.เอาเงินของห้างหุ้นส่วนจ่ายให้จำเลยเพื่อแลกเช็คพิพาทจากจำเลย แล้วธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค ดังนี้ แม้การรับแลกเช็คนั้นจะเป็นกิจการของห้างหุ้นส่วน แต่เมื่อไม่ปรากฏชื่อของโจทก์ในกิจการนี้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินตามเช็คจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2539-2540/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: การบรรยายฟ้อง, อำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการ, สิทธิเจ้าของทรัพย์สิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่าช.คนขับรถยนต์ของจำเลยขับรถยนต์ด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังโดยขับรถเข้าไปในช่องทางเดินรถคันที่โจทก์ที่3ขับเป็นเหตุให้รถชนกันเป็นการบรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาพอที่จำเลยจะเข้าใจได้แล้วฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม. ฎีกาในประเด็นที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้. หุ้นส่วนผู้จัดการห้างโจทก์มี3คนและไม่มีข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการหุ้นส่วนผู้จัดการคนใดคนหนึ่งย่อมมีสิทธิกระทำกิจการในนามห้างโจทก์ได้. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1336เจ้าของทรัพย์สินนอกจากจะมีสิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้แล้วยังมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมายอีกด้วยเมื่อจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2539-2540/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: สิทธิของเจ้าของทรัพย์สิน, อำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการ, และความชัดเจนของฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ช. คนขับรถยนต์ของจำเลยขับรถยนต์ด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวัง โดยขับรถเข้าไปในช่องทางเดินรถคันที่โจทก์ที่ 3 ขับเป็นเหตุให้รถชนกัน เป็นการบรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาพอที่จำเลยจะเข้าใจได้แล้วฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
ฎีกาในประเด็นที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
หุ้นส่วนผู้จัดการห้างโจทก์มี 3 คน และไม่มีข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการคนใดคนหนึ่งย่อมมีสิทธิกระทำกิจการในนามห้างโจทก์ได้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 เจ้าของทรัพย์สินนอกจากจะมีสิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้แล้ว ยังมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมายอีกด้วย เมื่อจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4511-4512/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้ามาในคดีของจำเลยที่ 1 (นิติบุคคล) ผ่านตัวแทน แม้ไม่ได้แต่งตั้งทนายโดยตรง
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล การดำเนินกิจการทั้งหลายของจำเลยที่ 1 ย่อมต้องอาศัย ช. หุ้นส่วนผู้จัดการดำเนินการแทน เมื่อ ช. มอบหมายให้จำเลยที่ 2 ติดต่อกับโจทก์ คิดบัญชีหนี้สินที่เกี่ยวค้างกัน และยังมอบงานบางอย่างให้จำเลยที่ 2 ทำ โดยให้ใช้ตราของห้างได้ในชั้นส่งหมายเรียกสำเนาฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสอง เจ้าพนักงานก็ได้ส่งไปยังภูมิลำเนาของจำเลยทั้งสองตามที่ปรากฏในหนังสือรับรองของนายทะเบียน ในคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวของจำเลยที่ 2 ก็ระบุว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ในวันเดียวกันนั้น ช. ได้ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 2 ด้วย เมื่อศาลอนุญาต ช.ได้ทำสัญญาประกันตัวจำเลยที่ 2 ตามคำร้องดังกล่าวมีข้อความระบุชื่อจำเลยที่ 1 ว่าเป็นจำเลยไว้อย่างชัดแจ้ง ช.ย่อมทราบดีว่าจำเลยที่ 1 ถูกฟ้อง และที่จำเลยที่ 2ต่อสู้คดีในนามของจำเลยที่ 1 มาแต่แรก ช. ก็ไม่ได้คัดค้านการกระทำของจำเลยที่ 2 พฤติการณ์ของ ช. ดังกล่าวแสดงว่า ช. ได้มอบหมายให้จำเลยที่ 2 ต่อสู้คดีแทนตนในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 แล้วดังนั้นที่จำเลยที่ 2แต่งทนายความต่อสู้คดีในนามของจำเลยที่ 1 จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เข้ามาในคดีแล้ว
of 4