คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุรศักดิ์ วิมลรัตน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 26 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13476-13482/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของนิติบุคคลต้องอยู่ภายในวัตถุประสงค์การจดทะเบียนและได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่สำหรับที่ดินของรัฐ
ป.พ.พ. มาตรา 65 บัญญัติว่า "นิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น" มาตรา 66 บัญญัติว่า "นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นภายในขอบแห่งอำนาจหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ดังได้บัญญัติหรือกำหนดไว้ในกฎหมาย ข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้ง" เมื่อโจทก์เป็นนิติบุคคลอันเป็นบุคคลสมมุติโดยอาศัยอำนาจของกฎหมาย การยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐจึงต้องเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายโดยโจทก์ต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติ และต้องเป็นกิจการที่อยู่ในขอบวัตถุประสงค์ของโจทก์ตามที่ได้จดทะเบียนไว้ด้วย เมื่อหนังสือรับรองจดทะเบียนบริษัทของโจทก์ โจทก์ไม่ได้จดทะเบียนให้มีวัตถุประสงค์ในการยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินของรัฐอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (1) ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทและไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งแปดและบริวารออกจากที่ดินพิพาทตามฟ้อง ปัญหาดังกล่าวแม้ไม่มีคู่ความยกขึ้นต่อสู้ แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13476-13482/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของนิติบุคคลต้องอยู่ภายในวัตถุประสงค์ของบริษัท และต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่หากเป็นการครอบครองที่ดินของรัฐ
เมื่อโจทก์เป็นนิติบุคคลอันเป็นบุคคลสมมุติโดยอาศัยอำนาจของกฎหมาย การยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐจึงต้องเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายโดยโจทก์ต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติ และต้องเป็นกิจการที่อยู่ในขอบวัตถุประสงค์ของโจทก์ตามที่ได้จดทะเบียนไว้ด้วย โจทก์ไม่ได้จดทะเบียนให้มีวัตถุประสงค์ในการยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินของรัฐอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (1) ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทและไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งแปดและบริวารออกจากที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17549/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยค้างชำระ: แม้มีการซื้อทรัพย์หลุดจำนอง แต่การร้องคัดค้านทำให้สิทธิรับชำระหนี้ยังไม่สมบูรณ์ โจทก์มีสิทธิรับดอกเบี้ยจนกว่าการชำระหนี้จะเสร็จสิ้น
โจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและเป็นผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด แต่จำเลยร้องคัดค้านการยึดทรัพย์ ร้องขอมิให้ขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึด อ้างว่าจะขอจัดการทรัพย์และร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดหลายครั้ง ทำให้โจทก์ไม่ได้รับชำระหนี้เป็นเวลาหลายปี พฤติการณ์ของจำเลยเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ขัดขวางการได้รับชำระหนี้ของโจทก์ ไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้แล้วเสร็จในวันขายทอดตลาด และไม่แน่ว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้เมื่อใด กรณีจึงทำให้โจทก์ยังมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยต่อไปตามสิทธิที่ปรากฏในคำพิพากษา เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า จำเลยยื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดที่โจทก์ซื้อทรัพย์ได้ คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จำเลยผู้ฎีกายื่นคำร้องขอถอนฎีกา ศาลฎีกาอนุญาต ศาลชั้นต้นอ่านให้คู่ความฟังวันใด ถือว่าวันดังกล่าวโจทก์ได้รับชำระหนี้จากจำเลยเพราะไม่มีข้อขัดแย้งใด ๆ มาขัดข้องต่อการได้รับชำระหนี้ของโจทก์อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8405/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมและใช้เอกสารปลอม กรณีจำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสาร แต่ไม่ได้ยื่นเอกสารปลอมต่อธนาคาร
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยใช้รายงานประเมินราคาที่จำเลยปลอมขึ้นยื่นต่อเจ้าหน้าที่ธนาคาร ก. แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยนำรายงานประเมินราคาปลอมไปใช้อ้างแสดงต่อ ธ. โดยจำเลยไม่ได้นำไปใช้ยื่นแสดงต่อเจ้าหน้าที่ธนาคาร ก. ตามที่โจทก์ฟ้องแต่อย่างใด จึงเป็นข้อเท็จจริงนอกเหนือจากที่โจทก์กล่าวมาในฟ้อง ไม่อาจลงโทษจำเลยฐานใช้เอกสารปลอมได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6540/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินปฏิรูปที่ดินตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรมเท่านั้น พินัยกรรมให้ทายาทโดยพินัยกรรมเป็นโมฆะ
เมื่อทรัพย์มรดกของผู้ตายเป็นสิทธิเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน จึงต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 39 ที่ต้องตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมเท่านั้น ไม่อาจตกทอดแก่ทายาทโดยพินัยกรรมได้ เมื่อผู้ตายทำพินัยกรรมให้สิทธิเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินตกแก่ผู้คัดค้านเพียงผู้เดียว การทำพินัยกรรมเกี่ยวกับสิทธิดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย พินัยกรรมเกี่ยวกับสิทธิดังกล่าวย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 จึงมิใช่กรณีที่ผู้ร้องถูกตัดมิให้รับมรดกด้วยพินัยกรรม ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายในฐานะทายาทโดยธรรม และมีสิทธิที่จะเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 จึงไม่มีเหตุที่จะถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19229/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ส.ส.ถูกเลือกตั้งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ต้องคืนเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอื่น
จำเลยได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จังหวัดนครพนม เขตเลือกตั้งที่ 4 จนถึงวันที่คณะกรรมการเลือกตั้งมีคำวินิจฉัยให้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครพนม เขตเลือกตั้งที่ 4 ใหม่ ซึ่งมีผลทำให้สมาชิกภาพการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจำเลยสิ้นสุดลงนั้นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ยังมีผลบังคับใช้ แม้ต่อมาคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขได้ทำการยึดอำนาจการปกครองเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 และได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 แต่ความรับผิดของจำเลยได้เกิดขึ้นก่อนที่รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวจะถูกยกเลิก โจทก์สามารถอ้างลักษณะของการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนของจำเลยหรือตัวแทน (หัวคะแนน) ตามที่ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 44 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 อันเป็นมูลเหตุให้จำเลยต้องรับผิดคืนเงินต่างๆ แก่โจทก์ เพราะเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่จำเลยเข้ารับสมัครเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและมิได้สิ้นผลบังคับไปพร้อมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเลือกตั้ง ได้วินิจฉัยว่า ควรเชื่อได้ว่าตัวแทน (หัวคะแนน) ของจำเลยให้ทรัพย์สินเพื่อจะจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนให้แก่จำเลย กรณีจึงเข้าหลักเกณฑ์ข้อห้ามมิให้ผู้สมัครหรือผู้ใดกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อจะจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้ตนเองตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 44 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 เมื่อคณะกรรมการเลือกตั้งมีคำสั่งให้เลือกตั้งใหม่และสมาชิกภาพของจำเลยสิ้นสุดลงเช่นนี้ ถือได้ว่า จำเลยต้องออกจากตำแหน่งเพราะเหตุที่ผู้นั้นได้รับเลือกตั้งมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 97 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 แม้คณะกรรมการเลือกตั้งจะวินิจฉัยต่อไปว่า แต่ยังไม่ปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าผู้คัดค้าน (จำเลย) เป็นผู้ก่อหรือสนับสนุน หรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำดังกล่าว คงมีผลเพียงว่าจำเลยไม่ถูกดำเนินคดีอาญาตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวเท่านั้น จำเลยจึงต้องรับผิดคืนเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอื่นที่ได้มาเนื่องจากการดำรงตำแหน่งดังกล่าว ซึ่งตาม พ.ร.ก.เงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของสมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และกรรมธิการ พ.ศ.2535 ได้ระบุถึงเงินประจำตำแหน่งเงินเพิ่ม เบี้ยประชุม การเดินทางโดยเครื่องบินไว้แล้ว เมื่อจำเลยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและขณะเดียวกันก็ได้รับตำแหน่งเป็นกรรมาธิการและอนุกรรมาธิการสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณากฎหมายและปัญหาต่างๆ นอกจากเงินประจำตำแหน่งตามปกติแล้ว จำเลยยังได้รับเบี้ยประชุมกับค่าโดยสารเครื่องบินอีกด้วย ถือว่าเป็นผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่จำเลยต้องรับผิดชดใช้คืนแก่โจทก์ทั้งสิ้น
สำหรับเงินที่โจทก์จ่ายให้แก่ผู้เชี่ยวชาญและผู้ช่วยดำเนินงานของจำเลยนั้น จำเลยมีสิทธิขอให้ตั้งผู้เชี่ยวชาญและผู้ช่วยดำเนินงานของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทั้งนี้ การแต่งตั้งดังกล่าวต้องเป็นไปตามประกาศสภาผู้แทนราษฎรเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการตั้งผู้ช่วยดำเนินงานของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฉบับลงวันที่ 12 ตุลาคม 2537 และประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการตั้งผู้เชี่ยวชาญประจำตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ฉบับลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2539 ตามประกาศทั้งสองฉบับระบุให้ผู้ช่วยดำเนินงานและผู้เชี่ยวชาญได้รับค่าตอบแทนจากโจทก์เป็นรายเดือนในอัตราและกำหนดเวลาตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ ดังนั้น การตั้งผู้เชี่ยวชาญและผู้ช่วยดำเนินงานของจำเลยจึงเป็นบุคคลที่เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรมีคำสั่งตั้งขึ้น โดยกระทรวงการคลังอนุมัติให้เบิกจ่ายค่าตอบแทนให้บุคคลดังกล่าวได้ การจ่ายค่าตอบแทนให้ผู้เชี่ยวชาญและผู้ช่วยดำเนินงานของจำเลยเป็นนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับบุคคลดังกล่าว นอกจากนี้ในการรับเงินยังมีการหักภาษีเงินได้ไว้ก่อนแสดงว่าเงินค่าตอบแทนนี้เป็นเงินได้พึงประเมินของบุคคลนั้นที่ต้องนำมาคิดคำนวณการเสียภาษีประจำปีภาษีที่มีเงินได้ด้วย กรณีไม่เข้าหลักเกณฑ์ว่าเป็นประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่ผู้นั้นได้รับมาเนื่องจากการดำรงตำแหน่งดังกล่าว ตามมาตรา 97 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดคืนเงินส่วนนี้ให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14977/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ และอำนาจฟ้อง: การที่โจทก์ฟ้องคดีซ้ำกับคดีเดิมที่เคยมีคำพิพากษาแล้ว และการที่จำเลยไม่มีหน้าที่ตามกฎหมาย
คดีก่อนจำเลยที่ 1 เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ในคดีนี้เป็นจำเลยที่ 1 ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ในคดีดังกล่าวมีฐานะเป็นนิติบุคคล การซื้อขายสินทรัพย์ สินเชื่อธุรกิจจากองค์กรเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยทั้งสองในคดีนี้อ้างว่า จำเลยที่ 1 (โจทก์ในคดีก่อน) ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย การซื้อขายสินทรัพย์ สินเชื่อธุรกิจจากองค์กรเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) เป็นไปโดยมิชอบด้วยกฎหมาย คำฟ้องของโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ แต่ไม่อาจถือว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำสำหรับจำเลยที่ 2 เนื่องจากจำเลยที่ 2 มิได้เป็นคู่ความในคดีก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 วรรคหนึ่ง
การที่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่า จำเลยที่ 2 ได้กระทำการสิ่งใดอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การ ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13989/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อมูลจำเลยให้ความร่วมมือไม่ถึงขั้นเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการปราบปรามยาเสพติด ศาลไม่ลดโทษ
เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจค้นพบกัญชาอัดแท่งของกลางแล้วจับจำเลยที่ 1 และที่ 2 และสอบถามเกี่ยวกับของกลาง ในระหว่างนั้น ด. ได้โทรศัพท์มาที่โทรศัพท์เคลื่อนที่ของจำเลยที่ 1 บอกเปลี่ยนสถานที่ส่งกัญชาอัดแท่ง โดยให้ส่งแก่ ก. เจ้าพนักงานตำรวจจึงควบคุมพาจำเลยที่ 1 และที่ 2 เดินทางไปเพื่อติดต่อส่งกัญชาอัดแท่งให้แก่ ก. ตามที่ ด. สั่ง แล้วให้จำเลยที่ 1 โทรศัพท์ติดต่อนัดพบ ก. เมื่อพบ ก. กับพวกแล้ว เจ้าพนักงานตำรวจจึงแสดงตัวทำการจับจำเลยที่ 3 และที่ 4 นั้น เป็นแต่เพียงการสืบสวนขยายผลติดตามจับผู้กระทำผิดตามกฎหมายไปตามปกติของเจ้าพนักงานตำรวจ ซึ่งกระทำอยู่แล้ว กรณีจึงถือไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อพนักงานสอบสวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13219/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาอำพราง-หลักฐานกู้ยืม-ผู้ค้ำประกัน: สัญญาร่วมทุนเป็นหลักฐานกู้ยืมได้ แม้ไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ ผู้ลงนามค้ำประกันต้องรับผิด
เมื่อสัญญาที่โจทก์และจำเลยทั้งสองตกลงทำกันในรูปสัญญาร่วมลงทุนเพื่ออำพรางนิติกรรม การกู้ยืมเงินต่อกัน สัญญาร่วมลงทุนจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง กรณีคงต้องบังคับตามบทบัญญัติของกฎหมายเรื่องกู้ยืมเงินที่ถูกอำพราง และสัญญาร่วมลงทุนที่ไม่ได้ปิดอากรแสตมป์เป็นหลักฐานแห่งสัญญากู้ยืมเงินได้หรือไม่ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 บัญญัติว่า "ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์ครบจำนวน จะใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้" คำว่าตราสารดังกล่าวหมายความถึงหนังสือสัญญากู้ยืมเงินที่คู่สัญญาเจตนาแสดงออกว่าเป็นหนังสือสัญญากู้ยืมเงินกัน ไม่ได้หมายรวมไปถึงหลักฐานแห่งสัญญากู้ยืมเงินที่ถูกอำพรางไว้ในรูปสัญญาอื่น เพราะคู่สัญญาไม่ได้ต้องการที่จะแสดงออกอย่างเป็นหนังสือสัญญากู้ยืมเงินกัน หนังสือสัญญาในลักษณะเช่นนี้ จึงไม่ได้เป็นหนังสือสัญญากู้ยืมเงินตามความหมายของคำว่าตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 คงเป็นได้เพียงหลักฐานเป็นหนังสือแสดงการกู้ยืมเงินเท่านั้น เมื่อสัญญาร่วมลงทุนนี้มีเนื้อความครบถ้วนว่าจำเลยที่ 1 รับเงินจากโจทก์ไป แบ่งจ่ายแต่ละครั้งเมื่อใด และจะคืนเงินพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เมื่อใด โดยมีการลงลายมือชื่อจำเลยที่ 1 ผู้กู้ไว้ หนังสือสัญญาร่วมลงทุนจึงเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินที่ไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ แม้สัญญาร่วมทุนจะตกเป็นโมฆะก็ตาม แต่เมื่อถือว่าสัญญาร่วมทุนดังกล่าวเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินแล้ว จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันการกู้ยืมเงินของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวด้วย จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11563/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการริบทรัพย์สินในคดีเกี่ยวกับยาเสพติด: ทรัพย์สินต้องเกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดในคดีที่ฟ้อง
ในคดีที่พนักงานอัยการร้องต่อศาลให้ริบทรัพย์สินของบุคคลตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 นั้น มาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติไว้ว่า "เมื่อพนักงานอัยการมีคำสั่งฟ้องและทรัพย์สินที่คณะกรรมการมีคำสั่งให้ยึดและอายัดตามมาตรา 22 เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ก็ให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องเพื่อขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินโดยจะยื่นคำร้องก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาก็ได้..." บทบัญญัตินี้มีนัยว่า ทรัพย์สินที่พนักงานอัยการร้องขอให้ริบนั้น ต้องเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในคดีที่พนักงานอัยการฟ้องบุคคลใดเป็นคดีอาญานั้น เท่านั้น เมื่อทรัพย์สินทั้ง 5 รายการ เป็นทรัพย์สินที่ถูกยึดไว้ชั่วคราวเพื่อทำการตรวจสอบในคดีอาญาที่ผู้คัดค้านถูกกล่าวหาว่าจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ต่อมาพนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดี การยึดจึงสิ้นสุดลงตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 32 และเมื่อทรัพย์สินถูกยึดไว้ชั่วคราวแล้วก่อนวันที่ 26 มกราคม 2547 อันเป็นวันที่ผู้คัดค้านกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายในคดีอาญาของศาลชั้นต้นที่พิพากษาลงโทษผู้คัดค้าน แสดงว่าทรัพย์สินทั้ง 5 รายการมิใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ย่อมไม่ใช่ทรัพย์สินที่ผู้ร้องมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งริบตามมาตรา 27
of 3