พบผลลัพธ์ทั้งหมด 26 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5992/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีจำนอง: สิทธิในการได้รับชำระหนี้จำนองและดอกเบี้ยตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
การร้องขอให้บังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ของการบังคับคดีให้ครบถ้วนภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา โดยขั้นแรกเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี และขั้นต่อไปต้องให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าศาลได้ออกหมายบังคับคดี ต่อจากนั้นเจ้าหนี้ต้องแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ทั้งนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 275 และมาตรา 278 ดังนั้น การที่ผู้ร้องเพียงแต่ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีโดยมิได้ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปอีกจนพ้นกำหนดเวลาสิบปี ย่อมสิ้นสิทธิที่จะบังคับคดีเอาแก่หนี้ตามคำพิพากษา แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าการจำนองได้ระงับสิ้นไป การจำนองจึงยังคงมีอยู่ ดังนั้น ผู้ร้องจึงยังคงมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จำนองตามกฎหมายกับดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเป็นเวลาห้าปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 745 เท่านั้น ผู้ร้องจะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2844/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินถูกเพิกถอนจากคำพิพากษาศาล โจทก์ผู้ซื้อไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากเจ้าพนักงานบังคับคดี
โจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ ย.636/2544 ของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีจังหวัดชลบุรียึดที่ดิน 4 แปลง ที่จังหวัดชลบุรี ของลูกหนี้ออกขายทอดตลาด ศาลอนุญาตให้ขายทอดตลาดที่ดิน มีการประกาศกำหนดวันขายทอดตลาด 3 ครั้ง ตามประกาศขายทอดตลาดโดยยึดถือประกาศของจำเลยที่ 1 เรื่องนโยบายการขายทอดตลาดทรัพย์สิน ในการขายทอดตลาดครั้งแรกกำหนดราคาเริ่มต้นร้อยละ 80 ของราคาประเมิน ขายแยกแปลง กำหนดไว้แปลงละ 440,000 บาท มีผู้รับมอบอำนาจโจทก์และ ส. เข้าร่วมประมูลสู้ราคา ส. ให้ราคาสูงสุดแปลงละ 2,500,000 บาท ผู้แทนจำเลยที่ 1 ในคดีดังกล่าว คัดค้านอ้างว่าราคาต่ำไป จึงงดการขาย ครั้งที่สองกำหนดราคาแปลงละ 2,500,000 บาท ไม่มีผู้ใดเข้าสู้ราคาจึงงดการขาย ก่อนกำหนดขายทอดตลาดครั้งที่สามมีประกาศของจำเลยที่ 1 เรื่องนโยบายการขายทอดตลาดทรัพย์สิน ในการขายทอดตลาดครั้งที่สามเจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดราคาเริ่มต้นร้อยละ 50 ของราคาประเมิน มีผู้แทนโจทก์เข้าสู้ราคาเพียงรายเดียวเสนอราคาแปลงละ 300,000 บาท รวมเป็นเงิน 1,200,000 บาท เจ้าพนักงานบังคับคดีเคาะไม้ขายทอดตลาด หลังจากนั้นผู้แทนโจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินกับจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ชำระค่าซื้อที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 แล้วเจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือให้โจทก์ดำเนินการรับโอนที่ดินทั้งสี่แปลง ต่อมาจำเลยทั้งสองในฐานะลูกหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดต่อศาลชั้นต้น โจทก์ยื่นคำร้องคัดค้าน ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้ววินิจฉัยว่า ถือว่าเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าพนักงานบังคับคดี มีคำสั่งให้เพิกถอนการขายทอดตลาด โจทก์ยื่นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโจทก์ยื่นคำขอรับเงินค่าซื้อที่ดินคืนและขอค่าเสียหายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งให้คืนเงินที่ซื้อแก่โจทก์ แต่ยกคำร้องในส่วนค่าเสียหาย ซึ่งโจทก์ได้รับคืนเงินค่าซื้อที่ดินแล้ว
ฎีกาโจทก์ว่าจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดชดใช้ค่าดอกเบี้ยและค่าเสียหายต่าง ๆ ตามฟ้องโจทก์หรือไม่ เพียงใด เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดไปตามประกาศของจำเลยที่ 1 ในเรื่องนโยบายการขายทอดตลาดทั้ง 2 ฉบับ ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ซึ่งในการขายทอดตลาดครั้งที่ 3 เจ้าพนักงานบังคับคดีตกลงเคาะไม้ให้โจทก์เป็นผู้ซื้อทรัพย์สินได้เมื่อโจทก์วางเงินค่าซื้อทรัพย์ครบถ้วน เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ทำหนังสือถึงเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดชลบุรีจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้โจทก์ หากไม่มีการเพิกถอนการขายทอดตลาดในครั้งนี้ โจทก์ก็สามารถเป็นเจ้าของทรัพย์สินและขอรับเงินจากการขายทอดตลาดมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้ แสดงว่าโจทก์ยอมรับเอาการปฏิบัติหน้าที่และการตัดสินใจของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการขายทอดตลาดครั้งนี้แล้ว เมื่อลูกหนี้เดิมซึ่งถูกยึดทรัพย์ได้ยื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนการขายทอดตลาด โดยวินิจฉัยว่า ถือว่าเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการตีความประกาศของกรมบังคับคดีจนเป็นผลเสียแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์จึงต้องรับผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่และการตัดสินใจของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่เกิดขึ้นในภายหลังด้วยเช่นกัน กรณียังฟังไม่ได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีประมาทเลินเล่อกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายให้โจทก์เสียหายตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 แต่อย่างใด หลังจากโจทก์ประมูลซื้อทรัพย์สินได้ วันดังกล่าวโจทก์ได้ทำหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินไว้ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี มีเงื่อนไขให้โจทก์ต้องปฏิบัติตามสัญญา ซึ่งในข้อ 5 ของสัญญาได้ระบุไว้ชัดเจนแล้วว่าหากศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีนี้ได้ชี้ขาดลงต่อมาภายหลังว่าที่ดินนั้นไม่ใช่ของจำเลยหรือเพราะเหตุอื่น ๆ ก็ดี อันเป็นเหตุให้ข้าพเจ้า (ผู้ซื้อ) ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ซื้อ สัญญาซื้อขายนี้เป็นอันยกเลิก เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีคืนเงินที่ข้าพเจ้า (ผู้ซื้อ) ได้ชำระไว้ ข้าพเจ้า (ผู้ซื้อ) จะไม่คิดดอกเบี้ยหรือค่าเสียหายแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนการขายทอดตลาด อันมีผลให้โจทก์ผู้ซื้อไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน 4 แปลงนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยหรือค่าเสียหายจากเจ้าพนักงานบังคับคดีได้อีก ทั้งหนังสือสัญญาซื้อขายที่โจทก์จัดทำไว้กับเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นแบบพิมพ์ที่ผู้ซื้อทุกรายจะต้องทำไว้กับเจ้าพนักงานบังคับคดี เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ใช่ลูกหนี้ของโจทก์ ดังนั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงสามารถวางข้อตกลงเกี่ยวกับความรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยและค่าเสียหายอันอาจจะเกิดขึ้นไว้ในหนังสือสัญญาซื้อขายนี้ได้ กรณีไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 373 ตามที่โจทก์อ้างในฎีกาแต่อย่างใด หนังสือสัญญาซื้อขายจึงไม่ตกเป็นโมฆะ จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าดอกเบี้ยและค่าเสียหายต่าง ๆ ตามฟ้องแก่โจทก์ ส่วนโจทก์จะมีสิทธิเรียกค่าธรรมเนียมการโอนได้หรือไม่ เพียงใด เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องไปว่ากล่าวเอาแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
ฎีกาโจทก์ว่าจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดชดใช้ค่าดอกเบี้ยและค่าเสียหายต่าง ๆ ตามฟ้องโจทก์หรือไม่ เพียงใด เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดไปตามประกาศของจำเลยที่ 1 ในเรื่องนโยบายการขายทอดตลาดทั้ง 2 ฉบับ ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ซึ่งในการขายทอดตลาดครั้งที่ 3 เจ้าพนักงานบังคับคดีตกลงเคาะไม้ให้โจทก์เป็นผู้ซื้อทรัพย์สินได้เมื่อโจทก์วางเงินค่าซื้อทรัพย์ครบถ้วน เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ทำหนังสือถึงเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดชลบุรีจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้โจทก์ หากไม่มีการเพิกถอนการขายทอดตลาดในครั้งนี้ โจทก์ก็สามารถเป็นเจ้าของทรัพย์สินและขอรับเงินจากการขายทอดตลาดมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้ แสดงว่าโจทก์ยอมรับเอาการปฏิบัติหน้าที่และการตัดสินใจของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการขายทอดตลาดครั้งนี้แล้ว เมื่อลูกหนี้เดิมซึ่งถูกยึดทรัพย์ได้ยื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนการขายทอดตลาด โดยวินิจฉัยว่า ถือว่าเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการตีความประกาศของกรมบังคับคดีจนเป็นผลเสียแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์จึงต้องรับผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่และการตัดสินใจของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่เกิดขึ้นในภายหลังด้วยเช่นกัน กรณียังฟังไม่ได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีประมาทเลินเล่อกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายให้โจทก์เสียหายตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 แต่อย่างใด หลังจากโจทก์ประมูลซื้อทรัพย์สินได้ วันดังกล่าวโจทก์ได้ทำหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินไว้ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี มีเงื่อนไขให้โจทก์ต้องปฏิบัติตามสัญญา ซึ่งในข้อ 5 ของสัญญาได้ระบุไว้ชัดเจนแล้วว่าหากศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีนี้ได้ชี้ขาดลงต่อมาภายหลังว่าที่ดินนั้นไม่ใช่ของจำเลยหรือเพราะเหตุอื่น ๆ ก็ดี อันเป็นเหตุให้ข้าพเจ้า (ผู้ซื้อ) ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ซื้อ สัญญาซื้อขายนี้เป็นอันยกเลิก เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีคืนเงินที่ข้าพเจ้า (ผู้ซื้อ) ได้ชำระไว้ ข้าพเจ้า (ผู้ซื้อ) จะไม่คิดดอกเบี้ยหรือค่าเสียหายแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนการขายทอดตลาด อันมีผลให้โจทก์ผู้ซื้อไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน 4 แปลงนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยหรือค่าเสียหายจากเจ้าพนักงานบังคับคดีได้อีก ทั้งหนังสือสัญญาซื้อขายที่โจทก์จัดทำไว้กับเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นแบบพิมพ์ที่ผู้ซื้อทุกรายจะต้องทำไว้กับเจ้าพนักงานบังคับคดี เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ใช่ลูกหนี้ของโจทก์ ดังนั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงสามารถวางข้อตกลงเกี่ยวกับความรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยและค่าเสียหายอันอาจจะเกิดขึ้นไว้ในหนังสือสัญญาซื้อขายนี้ได้ กรณีไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 373 ตามที่โจทก์อ้างในฎีกาแต่อย่างใด หนังสือสัญญาซื้อขายจึงไม่ตกเป็นโมฆะ จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าดอกเบี้ยและค่าเสียหายต่าง ๆ ตามฟ้องแก่โจทก์ ส่วนโจทก์จะมีสิทธิเรียกค่าธรรมเนียมการโอนได้หรือไม่ เพียงใด เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องไปว่ากล่าวเอาแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 484/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสนอสิ่งของเพื่อแก้ไขปัญหาในการประชุมหมู่บ้านและการหาเสียงทั่วไป ไม่เข้าข่ายความผิดเลือกตั้ง
การประชุมคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านเป็นไปเพื่อการจัดทำประโยชน์สาธารณะต่าง ๆ แก่ชุมชนคนในหมู่บ้าน จำเลยและกรรมการซึ่งรวมทั้งพยานโจทก์จำเลยเข้ามาเป็นกรรมการดำเนินการร่วมกันก็ด้วยต่างมีจิตอาสา การพูดจาหามติกันในหมู่กรรมการก็เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ของกองทุนเป็นสำคัญ ในการประชุมเกี่ยวกับเรื่องงบประมาณกลางที่รัฐบาลจัดสรรมาให้ มีการเสนอในที่ประชุมว่าให้นำเงินดังกล่าวมาทำป้ายของกองทุนหมู่บ้าน ที่ประชุมได้แสดงความเห็นกันว่าไม่สามารถหาเงินส่วนใดของกองทุนหมู่บ้านมาเสริมได้ จำเลยซึ่งเป็นประธานที่ประชุมเสนอว่าปีกไม้เล้าไก่ของจำเลยมีให้ไปเลือกเอามาใช้ แต่เมื่อที่ประชุมทักท้วงว่าการเสนอของจำเลยไม่ถูกต้องจำเลยก็เงียบไป ตามพฤติการณ์ที่จำเลยพูดดังกล่าว เป็นการเสนอแนะโดยเจตนาจะแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นเท่านั้น ส่วนการที่จำเลยไปหาเสียงโดยการแจกแผ่นพับที่บ้านที่มีผู้อยู่อาศัย 5 คน ซึ่งบริเวณรอบ ๆ หมู่บ้านนั้นมืด มีคนพูดว่าถนนมันมืด ถ้าเป็น อ.บ.ต. แล้วให้เอาไฟมาติดตั้ง จำเลยบอกว่า เมื่อจำเลยเป็น อ.บ.ต. แล้วจะนำไฟแสงเทียนมาติดตั้งตามบริเวณหมู่บ้านโดยจะติดตั้งที่บริเวณเสาไฟฟ้าสาธารณะ ก็เป็นการหาเสียงทั่วไป มิใช่เสนอประโยชน์แก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยเฉพาะเจาะจง มิได้มีลักษณะเป็นการให้หรือเสนอจะให้ทรัพย์สินสิ่งใดเพื่อจูงใจให้ลงคะแนนเลือกตั้งแก่ตน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 59/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องซื้อขายสินค้า: การบริการหนังสือพิมพ์กับการสร้างความพึงพอใจลูกค้าในธุรกิจการบิน
โจทก์เป็นผู้ผลิตและขายหนังสือพิมพ์จีน จำเลยประกอบกิจการการบินขนส่งผู้โดยสารด้วยเครื่องบินโดยสาร จำเลยมีจดหมายขอสั่งซื้อหนังสือพิมพ์จีนจากโจทก์เพื่อให้การบริการด้านข่าวสารแก่ผู้โดยสาร โจทก์เริ่มส่งหนังสือพิมพ์แก่จำเลยระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2546 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2548 โจทก์แจ้งให้จำเลยชำระหนี้ทุกวันสิ้นเดือนเพื่อเรียกเก็บเงินค่าหนังสือพิมพ์ของเดือนนั้น ๆ รวม 550,774.80 บาท ต่อมาจำเลยได้ออกตั๋วโดยสารเครื่องบินเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์รวม 37 ฉบับ คงเหลือหนี้ที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ 446,814.80 บาท
คดีนี้ เอกสารที่เกี่ยวกับข้อตกลงการซื้อขายหนังสือพิมพ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่ปรากฏว่าได้กำหนดระยะเวลาชำระหนี้กันไว้อย่างไรนับแต่วันแจ้งหนี้ (วางบิล) แต่จำเลยให้การต่อสู้ว่าอายุความฟ้องคดีนี้เริ่มนับแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2548 อันเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ซึ่งโจทก์มิได้นำสืบโต้แย้งเป็นอย่างอื่น ทั้งพนักงานบัญชีของโจทก์เป็นพยานเบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านก็ยอมรับตามนั้น จึงถือว่าโจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องจากจำเลยได้ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2548 เป็นต้นไป การประกอบกิจการขนส่งผู้โดยสารทางอากาศด้วยอากาศยานของจำเลย เป็นธุรกิจบริการที่สาระสำคัญอยู่ที่การสร้างความพึงพอใจแก่ผู้ใช้บริการ คือ ไม่เพียงแต่ต้องตรงเวลา ปลอดภัย และสะดวกเป็นหลักเท่านั้น แต่ต้องสามารถตอบสนองความต้องการด้านอื่น ๆ ของผู้โดยสารให้ได้มากที่สุดด้วยเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อประโยชน์ในการแข่งขันกับสายการบินอื่น ๆ และเพื่อที่จะสามารถดึงดูดลูกค้าให้กลับมาใช้บริการอีกในครั้งต่อไป ซึ่งการให้การบริการแก่ผู้โดยสารในด้านข้อมูลข่าวสารระหว่างทำการบินหรือระหว่างรอรับบริการ เช่นด้วยหนังสือพิมพ์ก็ต้องนับว่าเป็นไปเพื่อการสร้างความพึงพอใจแก่ผู้โดยสารที่กำลังใช้บริการของจำเลยด้วยไม่มากก็น้อย ทั้งตามถ้อยคำในกฎหมายมิได้แสดงนัยไว้ว่ากิจการของฝ่ายลูกหนี้ที่เจ้าหนี้ทำให้นั้นต้องเป็นกิจการในส่วนที่เป็นสาระสำคัญด้วย ดังนั้น สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5) ประกอบมาตรา 193/34 (1) ตอนท้าย
คดีนี้ เอกสารที่เกี่ยวกับข้อตกลงการซื้อขายหนังสือพิมพ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่ปรากฏว่าได้กำหนดระยะเวลาชำระหนี้กันไว้อย่างไรนับแต่วันแจ้งหนี้ (วางบิล) แต่จำเลยให้การต่อสู้ว่าอายุความฟ้องคดีนี้เริ่มนับแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2548 อันเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ซึ่งโจทก์มิได้นำสืบโต้แย้งเป็นอย่างอื่น ทั้งพนักงานบัญชีของโจทก์เป็นพยานเบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านก็ยอมรับตามนั้น จึงถือว่าโจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องจากจำเลยได้ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2548 เป็นต้นไป การประกอบกิจการขนส่งผู้โดยสารทางอากาศด้วยอากาศยานของจำเลย เป็นธุรกิจบริการที่สาระสำคัญอยู่ที่การสร้างความพึงพอใจแก่ผู้ใช้บริการ คือ ไม่เพียงแต่ต้องตรงเวลา ปลอดภัย และสะดวกเป็นหลักเท่านั้น แต่ต้องสามารถตอบสนองความต้องการด้านอื่น ๆ ของผู้โดยสารให้ได้มากที่สุดด้วยเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อประโยชน์ในการแข่งขันกับสายการบินอื่น ๆ และเพื่อที่จะสามารถดึงดูดลูกค้าให้กลับมาใช้บริการอีกในครั้งต่อไป ซึ่งการให้การบริการแก่ผู้โดยสารในด้านข้อมูลข่าวสารระหว่างทำการบินหรือระหว่างรอรับบริการ เช่นด้วยหนังสือพิมพ์ก็ต้องนับว่าเป็นไปเพื่อการสร้างความพึงพอใจแก่ผู้โดยสารที่กำลังใช้บริการของจำเลยด้วยไม่มากก็น้อย ทั้งตามถ้อยคำในกฎหมายมิได้แสดงนัยไว้ว่ากิจการของฝ่ายลูกหนี้ที่เจ้าหนี้ทำให้นั้นต้องเป็นกิจการในส่วนที่เป็นสาระสำคัญด้วย ดังนั้น สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5) ประกอบมาตรา 193/34 (1) ตอนท้าย