พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3210/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟื้นฟูกิจการ: เจ้าหนี้มีสิทธิรับชำระหนี้ตามแผนฟื้นฟูเท่านั้น การชำระหนี้โดยวิธีอื่นเป็นโมฆะ
เมื่อศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้และตั้งผู้ทำแผน เจ้าหนี้ในมูลหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/27 วรรคหนึ่ง จะได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ก็แต่โดยยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลา 1 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผนตามมาตรา 90/26 วรรคหนึ่ง และการที่เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขกำหนดเวลาตามที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ กล่าวคือ เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการเป็นจำนวนเท่าใดจะต้องนำหนี้ดังกล่าวมาปรับกับแผนฟื้นฟูกิจการก่อน เจ้าหนี้ไม่อาจที่จะได้รับชำระหนี้โดยวิธีอื่นนอกจากตามจำนวนและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้หรือผู้ทำแผนซึ่งได้นำเงินมาชำระหนี้หรือนำเงินมาวางไว้ที่ สำนักงานวางทรัพย์แต่อย่างใด และการที่ลูกหนี้นำเงินไปชำระหนี้ภายหลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการแล้ว หรือผู้ทำแผนนำเงินไปวางเพื่อชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ที่สำนักงานวางทรัพย์อันมิใช่วิธีการที่กฎหมายกำหนดเพื่อชำระหนี้ซึ่งมูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการจึงเป็นการกระทำที่ไม่อาจกระทำได้ ขัดต่อ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (9) ย่อมตกเป็นโมฆะ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 วรรคท้าย หนี้จึงยังไม่ระงับ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ เมื่อกฎหมายฟื้นฟูกิจการกำหนดวิธีการในการขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ที่อาจขอรับชำระไว้โดยชัดแจ้งแล้ว ลูกหนี้หรือผู้ทำแผนจะดำเนินการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ในมูลหนี้ดังกล่าวโดยอ้างว่าเป็นการค้าตามปกตินั้นหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 975/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟื้นฟูกิจการและการกลับสู่สถานะเดิมของเจ้าหนี้มีประกัน: สิทธิเรียกร้องหลังศาลมีคำสั่งเด็ดขาด
เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผน พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/26 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้เจ้าหนี้ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการพร้อมสำเนาต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในหนึ่งเดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผนและให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งสำเนาคำขอรับชำระหนี้ให้แก่ผู้ทำแผนโดยไม่ชักช้าโดยเจ้าหนี้ตามมาตรา 90/27 และบุคคลตามมาตรา 90/26 วรรคสอง เป็นผู้มีสิทธิขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ ผู้ทำแผนต้องจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการโดยมีรายการต่าง ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 90/42 โดยที่มาตรา 90/60 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้แผนซึ่งศาลมีคำสั่งเห็นชอบแล้ว ผูกมัดเจ้าหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้และเจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการทั้งนี้ตามมาตรา 90/27 กล่าวคือ เจ้าหนี้จะมีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามที่กำหนดไว้ในแผนแทนการได้รับชำระหนี้ตามมูลหนี้เดิม
คดีนี้ที่ประชุมเจ้าหนี้ไม่อาจมีมติตามมาตรา 90/46 เลือกผู้บริหารแผนคนใหม่ได้ และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานต่อศาล ซึ่งศาลล้มละลายกลางเห็นสมควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย จึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดตามมาตรา 90/68 วรรคสาม กรณีเช่นนี้ตามมาตรา 90/77 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้เฉพาะเจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ รวมทั้งเจ้าหนี้ในหนี้อื่นที่อาจขอรับชำระหนี้ได้จากมูลหนี้ที่ได้เกิดขึ้นตั้งแต่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเท่านั้น ที่จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 91
เนื่องจากมาตรา 90/78 บัญญัติว่า "คำสั่งของศาลที่ให้พิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดตามความใน...มาตรา 90/68... ไม่กระทบถึงการใดที่ได้กระทำโดยสุจริตและเป็นไปตามแผนแล้วก่อนศาลมีคำสั่งเช่นว่านั้น และมีผลให้หนี้ที่เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการกลับคืนสู่สถานะดังที่เป็นอยู่เดิม เว้นแต่สภาพแห่งหนี้ในขณะนั้นจะไม่เปิดช่องให้กระทำได้" ฉะนั้น เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดตามมาตรา 90/68 วรรคสาม เจ้าหนี้ซึ่งได้ขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/60 วรรคหนึ่ง จึงชอบที่จะขอรับชำระหนี้ตามจำนวนหนี้ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลเคยมีคำสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการไว้ตามมาตรา 90/32 หาใช่จำนวนหนี้ตามที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/42 (3) (ข) ไม่ ส่วนเจ้าหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการผู้ใดไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ เจ้าหนี้ผู้นั้นย่อมหมดสิทธิที่จะรับชำระหนี้ไม่ว่าการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้จะเป็นผลสำเร็จตามแผนหรือไม่ตามมาตรา 90/61 เจ้าหนี้ผู้นั้นจึงหมดสิทธิที่จะขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 90/77 วรรคหนึ่ง เช่นกัน
เจ้าหนี้ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ และเจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/61 (1) ย่อมเป็นผู้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามแผน และอาจได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนไปตามแผนแล้ว ก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดตามมาตรา 90/68 วรรคสาม ซึ่งคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดดังกล่าวไม่กระทบถึงการใดที่ได้กระทำโดยสุจริตและเป็นไปตามแผนแล้วก่อนศาลมีคำสั่งเช่นว่านั้น ดังนั้น สิทธิของเจ้าหนี้ที่จะได้รับชำระหนี้ตามแผนก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดตามมาตรา 90/68 วรรคสาม จึงขึ้นอยู่กับผลตามคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลที่เคยอนุญาตให้เจ้าหนี้นั้นได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการหรือไม่ด้วย เมื่อคดีนี้เจ้าหนี้อุทธรณ์คำสั่งศาลล้มละลายกลางเกี่ยวกับคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ เพื่อให้ปรากฏสิทธิของเจ้าหนี้รายนี้ในการกลับคืนสู่สถานะดังที่เป็นอยู่เดิม และเมื่อนำทรัพย์สินที่เจ้าหนี้อาจได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการตามแผน (ถ้ามี) ไปหักออกแล้ว จึงจะทราบยอดหนี้สุทธิที่เจ้าหนี้มีสิทธิขอรับชำระหนี้เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดตามมาตรา 90/77 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 90/78 ศาลฎีกาจึงต้องพิจารณาอุทธรณ์ของเจ้าหนี้ต่อไป
คดีนี้ที่ประชุมเจ้าหนี้ไม่อาจมีมติตามมาตรา 90/46 เลือกผู้บริหารแผนคนใหม่ได้ และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานต่อศาล ซึ่งศาลล้มละลายกลางเห็นสมควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย จึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดตามมาตรา 90/68 วรรคสาม กรณีเช่นนี้ตามมาตรา 90/77 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้เฉพาะเจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ รวมทั้งเจ้าหนี้ในหนี้อื่นที่อาจขอรับชำระหนี้ได้จากมูลหนี้ที่ได้เกิดขึ้นตั้งแต่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเท่านั้น ที่จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 91
เนื่องจากมาตรา 90/78 บัญญัติว่า "คำสั่งของศาลที่ให้พิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดตามความใน...มาตรา 90/68... ไม่กระทบถึงการใดที่ได้กระทำโดยสุจริตและเป็นไปตามแผนแล้วก่อนศาลมีคำสั่งเช่นว่านั้น และมีผลให้หนี้ที่เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการกลับคืนสู่สถานะดังที่เป็นอยู่เดิม เว้นแต่สภาพแห่งหนี้ในขณะนั้นจะไม่เปิดช่องให้กระทำได้" ฉะนั้น เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดตามมาตรา 90/68 วรรคสาม เจ้าหนี้ซึ่งได้ขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/60 วรรคหนึ่ง จึงชอบที่จะขอรับชำระหนี้ตามจำนวนหนี้ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลเคยมีคำสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการไว้ตามมาตรา 90/32 หาใช่จำนวนหนี้ตามที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/42 (3) (ข) ไม่ ส่วนเจ้าหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการผู้ใดไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ เจ้าหนี้ผู้นั้นย่อมหมดสิทธิที่จะรับชำระหนี้ไม่ว่าการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้จะเป็นผลสำเร็จตามแผนหรือไม่ตามมาตรา 90/61 เจ้าหนี้ผู้นั้นจึงหมดสิทธิที่จะขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 90/77 วรรคหนึ่ง เช่นกัน
เจ้าหนี้ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ และเจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/61 (1) ย่อมเป็นผู้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามแผน และอาจได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนไปตามแผนแล้ว ก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดตามมาตรา 90/68 วรรคสาม ซึ่งคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดดังกล่าวไม่กระทบถึงการใดที่ได้กระทำโดยสุจริตและเป็นไปตามแผนแล้วก่อนศาลมีคำสั่งเช่นว่านั้น ดังนั้น สิทธิของเจ้าหนี้ที่จะได้รับชำระหนี้ตามแผนก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดตามมาตรา 90/68 วรรคสาม จึงขึ้นอยู่กับผลตามคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลที่เคยอนุญาตให้เจ้าหนี้นั้นได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการหรือไม่ด้วย เมื่อคดีนี้เจ้าหนี้อุทธรณ์คำสั่งศาลล้มละลายกลางเกี่ยวกับคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ เพื่อให้ปรากฏสิทธิของเจ้าหนี้รายนี้ในการกลับคืนสู่สถานะดังที่เป็นอยู่เดิม และเมื่อนำทรัพย์สินที่เจ้าหนี้อาจได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการตามแผน (ถ้ามี) ไปหักออกแล้ว จึงจะทราบยอดหนี้สุทธิที่เจ้าหนี้มีสิทธิขอรับชำระหนี้เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดตามมาตรา 90/77 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 90/78 ศาลฎีกาจึงต้องพิจารณาอุทธรณ์ของเจ้าหนี้ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1122/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้หลังศาลสั่งฟื้นฟูกิจการ: ธนาคารต้องงดจ่ายเช็ค และเจ้าหนี้ต้องยื่นขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
บริษัท ด. ลูกหนี้สั่งจ่ายเช็คลงวันที่ 30 กันยายน 2548 ให้แก่จำเลยเจ้าหนี้เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2548 เพื่อชำระหนี้ค่าสินค้าที่ค้างชำระ แม้จำเลยจะมีสิทธิรับเช็คดังกล่าวและมีสิทธิที่จะเรียกเก็บเงินตามเช็คจากโจทก์ซึ่งเป็นธนาคารเจ้าของเช็คนั้นได้เมื่อเช็คนั้นถึงกำหนดชำระก็ตาม แต่ปรากฏว่าศาลล้มละลายกลางอนุญาตให้ฟื้นฟูกิจการของบริษัท ด. ในวันที่ 11 สิงหาคม 2548 อันเป็นวันก่อนที่เช็คนั้นถึงกำหนดชำระ เมื่อพิจารณา พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (9) ที่ห้ามลูกหนี้ชำระหนี้ มาตรา 90/26 และมาตรา 90/27 ที่ให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ ย่อมหมายความว่า เช็คพิพาทที่ลูกหนี้ออกชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งลงวันที่ล่วงหน้าถึงกำหนดชำระภายหลัง ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งอนุญาตให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ธนาคารตามเช็คต้องงดชำระหนี้ตามเช็คพิพาทตามบทกฎหมายดังกล่าว ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 992 (3) ดังนี้ จำเลยชอบที่จะนำเช็คพิพาทไปยื่นเป็นหลักฐานต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายไม่ใช่นำเช็คพิพาทไปเรียกเก็บเงินจากโจทก์ การที่โจทก์จ่ายเงินตามเช็คพิพาทให้แก่จำเลยไปจึงเป็นการจ่ายโดยผิดหลง การจ่ายเงินตามเช็คของโจทก์จึงเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (9) ที่ห้ามโจทก์ ลูกหนี้ชำระหนี้ ถือเป็นการจ่ายเงินตามเช็คโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ เงินที่จำเลยได้รับไปจึงเป็นลาภมิควรได้ จำเลยต้องคืนเงินจำนวน 542,397.80 บาท พร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9037/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ภาษีฯ เกิดหลังฟื้นฟูกิจการ ไม่ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ ฟ้องได้เลย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/26 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า เจ้าหนี้จะขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ก็แต่โดยปฏิบัติตามวิธีการที่กล่าวไว้ในส่วนนี้ แม้จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา หรือเป็นเจ้าหนี้ที่ได้ฟ้องคดีแพ่งไว้แล้วแต่คดียังอยู่ระหว่างพิจารณาก็ตาม ทั้งนี้ ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้พร้อมสำเนาต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายใน 1 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผนและให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งสำเนาคำขอรับชำระหนี้ให้ผู้ทำแผนโดยไม่ชักช้า มาตรา 90/27 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า เจ้าหนี้อาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ ถ้ามูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ แม้ว่าหนี้นั้นจะยังไม่ถึงกำหนดหรือมีเงื่อนไขก็ตาม เว้นแต่หนี้ที่เกิดขึ้นโดยฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย หรือศีลธรรมอันดีหรือหนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ วรรคสามบัญญัติว่า หนี้ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือผู้บริหารชั่วคราวก่อขึ้น หนี้ที่ลูกหนี้จะต้องรับผิดตาม มาตรา 90/12 (8) หรือ (11) และหนี้ภาษีอากรหรือหนี้อื่นอันมีลักษณะเดียวกันซึ่งเกิดตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการจนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผน เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในแผนโดยไม่ต้องขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ... และมาตรา 90/61 บัญญัติว่า เจ้าหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการผู้ใดไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในเวลาที่กำหนดไว้ ตามมาตรา 90/26 หรือมาตรา 90/27 วรรคสาม แล้วแต่กรณี เจ้าหนี้ผู้นั้นย่อมหมดสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ไม่ว่าการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้จะเป็นผลสำเร็จตามแผนหรือไม่ เว้นแต่ (1) แผนจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น หรือ (2) ศาลมีคำสั่งให้ยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ จากบทบัญญัติดังกล่าวเห็นได้ว่า หนี้ซึ่งมูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลล้มละลายมีคำสั่งฟื้นฟูกิจการนั้นแม้จะยังไม่ถึงกำหนดชำระหรือมีเงื่อนไขก็ตาม หากเจ้าหนี้ไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายใน 1 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผน เจ้าหนี้ผู้นั้นย่อมหมดสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ไม่ว่าการฟื้นฟูกิจการจะเป็นผลสำเร็จตามแผนหรือไม่ เว้นแต่แผนจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นหรือศาลมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเท่านั้น
หนี้ค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินตามฟ้องนั้น แม้ พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 8 จะบัญญัติให้ผู้รับประเมินชำระค่าภาษีปีละครั้งตามค่ารายปีของทรัพย์สิน โดยมาตรา 18 บัญญัติให้ ค่ารายปีที่ล่วงมาแล้วนั้นให้เป็นหลักสำหรับคำนวณค่าภาษีที่จะต้องเสียในปีต่อมาก็ตาม แต่จำเลยจะต้องชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินก็ต่อเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้แจ้งการประเมินให้จำเลยทราบแล้ว ตามความในภาค 3 เรื่อง วิธีดำเนินการประเมินและจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน ซึ่งผู้รับประเมินจะต้องเสียภาษีใน 30 วัน นับแต่วันได้รับการแจ้งรายการประเมินตามมาตรา 38 วรรคหนึ่ง หากพนักงานเจ้าหน้าที่ยังไม่แจ้งให้จำเลยทราบจำนวนค่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน จำเลยก็ยังไม่ต้องชำระแต่อย่างใด หนี้ค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินจึงเกิดขึ้นเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประเมินและแจ้งให้จำเลยทราบแล้ว ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า หนี้ค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2554 อันเป็นวันที่จำเลยได้รับแจ้งการประเมินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังจากวันที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผน และภายหลังที่มีการโฆษณาคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผน เมื่อหนี้ค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินมิได้กำหนดไว้ในแผน โจทก์จึงสามารถฟ้องเป็นคดีต่อศาลภาษีอากรกลางได้ โดยไม่จำต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้แต่อย่างใด
หนี้ค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินตามฟ้องนั้น แม้ พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 8 จะบัญญัติให้ผู้รับประเมินชำระค่าภาษีปีละครั้งตามค่ารายปีของทรัพย์สิน โดยมาตรา 18 บัญญัติให้ ค่ารายปีที่ล่วงมาแล้วนั้นให้เป็นหลักสำหรับคำนวณค่าภาษีที่จะต้องเสียในปีต่อมาก็ตาม แต่จำเลยจะต้องชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินก็ต่อเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้แจ้งการประเมินให้จำเลยทราบแล้ว ตามความในภาค 3 เรื่อง วิธีดำเนินการประเมินและจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน ซึ่งผู้รับประเมินจะต้องเสียภาษีใน 30 วัน นับแต่วันได้รับการแจ้งรายการประเมินตามมาตรา 38 วรรคหนึ่ง หากพนักงานเจ้าหน้าที่ยังไม่แจ้งให้จำเลยทราบจำนวนค่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน จำเลยก็ยังไม่ต้องชำระแต่อย่างใด หนี้ค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินจึงเกิดขึ้นเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประเมินและแจ้งให้จำเลยทราบแล้ว ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า หนี้ค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2554 อันเป็นวันที่จำเลยได้รับแจ้งการประเมินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังจากวันที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผน และภายหลังที่มีการโฆษณาคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผน เมื่อหนี้ค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินมิได้กำหนดไว้ในแผน โจทก์จึงสามารถฟ้องเป็นคดีต่อศาลภาษีอากรกลางได้ โดยไม่จำต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3722/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟื้นฟูกิจการและการรับคำขอรับชำระหนี้ แม้พ้นกำหนด หากลูกหนี้จงใจปกปิดข้อมูลเจ้าหนี้
การที่ลูกหนี้ยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการโดยมิได้แสดงรายชื่อและที่อยู่ของเจ้าหนี้มาพร้อมกับคำร้องขอ ทั้งๆ ที่ได้ปรากฏชื่อเจ้าหนี้ตามเอกสารต่างๆ ของลูกหนี้ที่ทำไว้เป็นหลักฐานสำคัญในการประกอบธุรกิจจัดสรรที่ดินของลูกหนี้ พฤติการณ์แห่งคดีส่อเจตนาของลูกหนี้ว่าจงใจไม่แสดงรายชื่อและที่อยู่ของเจ้าหนี้มาพร้อมคำร้องขอตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/6 วรรคสี่ อันเป็นที่เสียหายแก่เจ้าหนี้เพราะทำให้ศาลล้มละลายกลางไม่ได้ส่งสำเนาคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการแก่เจ้าหนี้และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้แจ้งคำสั่งตั้งผู้ทำแผนและกำหนดเวลาให้เจ้าหนี้เสนอขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อเจ้าหนี้ไม่ทราบคำสั่งแต่งตั้งผู้ทำแผนและกำหนดเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้มาก่อนหน้านี้ กรณีนับว่ามีเหตุตามกฎหมายให้รับคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ไว้พิจาณาแม้จะได้ยื่นเมื่อพ้นกำหนดเวลาตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/26 แล้วก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1683/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำสั่งตั้งผู้ทำแผนในคดีฟื้นฟูกิจการ ต้องแจ้งไปยังภูมิลำเนาเจ้าหนี้ เพื่อให้เจ้าหนี้มีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/26 และมาตรา 90/24 วรรคสอง เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนแล้วกฎหมายได้กำหนดมาตรการต่างๆ ในการแจ้งคำสั่งให้เจ้าหนี้ทราบก็เพื่อให้เจ้าหนี้ทั้งหลายของลูกหนี้ได้มีโอกาสทราบถึงคำสั่งและยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ทั้งการที่จะตัดสิทธิของเจ้าหนี้เพราะเหตุที่เจ้าหนี้มิได้ยื่นขอรับชำระหนี้นั้นก็ต้องปรากฎด้วยว่าได้มีการประกาศและแจ้งคำสั่งให้เจ้าหนี้ทราบตามที่กฎหมายได้บัญญัติรับรองไว้แล้ว คดีนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์คงอ้างเฉพาะในคำแถลงคัดค้านว่าได้ดำเนินการส่งสำเนาประกาศแจ้งคำสั่งฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผนให้เจ้าหนี้แล้วตามที่อยู่ที่ปรากฏในบัญชีเจ้าหนี้เท่านั้น แต่มิได้ปรากฏหลักฐานใดเลยที่แสดงว่าได้มีการนำหนังสือไปส่งยังภูมิลำเนาของเจ้าหนี้แล้วแต่อย่างใด เช่นนี้ กรณีจึงยังฟังไม่ได้ว่าได้มีการแจ้งคำสั่งตั้งผู้ทำแผนให้เจ้าหนี้ทราบโดยชอบแล้ว และเมื่อไม่ปรากฏว่าเจ้าหนี้ได้ทราบคำสั่งตั้งผู้ทำแผนก่อนหน้านั้นแล้วทั้งคดีฟื้นฟูกิจการก็ยังมิได้เสร็จสิ้นลง กรณีจึงมีเหตุสมควรที่จะรับคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ไว้พิจารณาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4902-4904/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าตอบแทนผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการ ต้องพิจารณาผลสำเร็จการจัดทำแผนและผลประกอบการหลังเข้ารับหน้าที่
ในการกำหนดค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ทำแผนนั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้กำหนดในขณะที่คดีฟื้นฟูกิจการอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลและเป็นการกำหนดตามที่ศาลได้มีคำสั่งเพื่อให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ตรวจสอบกลั่นกรองในเบื้องต้นและศาลยังได้กำหนดให้บุคคลผู้มีส่วนได้เสียสามารถร้องคัดค้านได้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 146 เช่นนี้ คำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงอยู่ในหลักเกณฑ์ที่ถูกคัดค้านโต้แย้งได้ภายในกำหนดเวลา 14 วัน หาเป็นที่สุดไม่ แม้ในวันเดียวกันนั้นศาลจะมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการแต่เมื่อคำสั่งดังกล่าวยังมีผลที่กระทบกระเทือนสิทธิของลูกหนี้ทั้งสามหรือผู้มีส่วนได้เสียอื่น และบุคคลผู้มีส่วนได้เสียได้ยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลล้มละลายกลางแล้ว ศาลจึงมีอำนาจในการที่จะพิจารณาคำร้องคัดค้านต่อไปได้
การที่ผู้ทำแผนจะมีฐานะเป็นผู้ทำแผนและมีอำนาจในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งสามเริ่มตั้งแต่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 90/17 ก่อนหน้านั้นหาได้มีนิติสัมพันธ์ใดๆ ระหว่างลูกหนี้ทั้งสามซึ่งมิได้เป็นผู้ร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการกับผู้ทำแผนไม่ เช่นนี้ผู้ทำแผนจะขอเรียกค่าใช้จ่ายหรือค่าตอบแทนซึ่งเกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนหาได้ไม่ หากว่าหนี้ดังกล่าวจะมีอยู่จริงก็เป็นหนี้ซึ่งลูกหนี้ทั้งสามได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผนซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ทำแผนในฐานะเจ้าหนี้จะต้องดำเนินการขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 90/26 ประกอบมาตรา 90/27 หาใช่เบิกจ่ายจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งสาม ในส่วนค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายของผู้ทำแผนซึ่งเกิดขึ้นภายหลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผนแล้วนั้น เมื่อ พ.ร.บ. ล้มละลายฯ หมวด 3/1 ว่าด้วยกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้กำหนดให้ศาลเข้ามากำกับและตรวจสอบการกระทำการต่างๆ ได้ ทั้งนี้เพื่อให้แผนฟื้นฟูกิจการได้ดำเนินการสำเร็จลุล่วงไป ทั้งมีอำนาจในการตั้งผู้ทำแผนและให้ผู้บริหารแผนพ้นจากตำแหน่งกรณีจึงรวมถึงการอนุญาตหรือมีคำสั่งใดๆ เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวด้วย เมื่อเกิดปัญหาประการใดๆ เกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ คณะกรรมการ เจ้าหนี้ หรือที่ประชุมเจ้าหนี้และบุคคลที่เกี่ยวข้องย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องดังกล่าวต่อศาลได้โดยตรง ศาลจึงมีอำนาจพิจารณาอนุญาตให้มีการจ่ายเงินจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ เพื่อเป็นค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายของผู้ทำแผนได้
เนื่องจากหลังจากศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนแล้วผู้ทำแผนมีหน้าที่ในการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการส่งแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 90/43 และผู้ทำแผนมีหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ตามมาตรา 90/25 ในการจ่ายค่าตอบแทนผู้ทำแผนเนื่องจากการกระทำหน้าที่ดังกล่าวในส่วนของการทำแผนฟื้นฟูกิจการนั้นศาลจะพิจารณาให้ผู้ทำแผนมีสิทธิเรียกค่าตอบแทนได้เป็นจำนวนเท่าใด ศาลต้องพิจารณาถึงผลสำเร็จในการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการว่าแผนดังกล่าวที่ผู้ทำแผนได้จัดทำนั้นมีหลักการและวิธีการฟื้นฟูกิจการเป็นไปตามกฎหมายหรือไม่ ทั้งแผนฟื้นฟูกิจการที่ผู้ทำแผนได้จัดทำขึ้นมาแล้วนั้นสามารถนำมาใช้ในการฟื้นฟูกิจการได้หรือไม่ อีกทั้งเมื่อมีการนำแผนฟื้นฟูกิจการมาเสนอต่อที่ประชุมเจ้าหนี้และศาลแล้ว แผนฟื้นฟูกิจการนั้นที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติพิเศษยอมรับแผนและศาลได้ให้ความเห็นชอบหรือไม่ ทั้งในการพิจารณาดังกล่าวศาลจะต้องคำนึงถึงระยะเวลาที่เหมาะสมที่ผู้ทำแผนสมควรจะใช้เมื่อพิจารณาประกอบคุณภาพของงานและความสำเร็จของงาน อัตราค่าตอบแทนผู้ทำแผนศาลอาจจะกำหนดเป็นหน่วยรายชั่วโมงหรือกำหนดเหมารวมเป็นรายชิ้นงานไปก็ได้ ในส่วนที่ผู้ทำแผนได้เข้าไปจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งสามนั้นศาลจะต้องพิจารณาถึงความสามารถในการดำเนินกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งสามในระหว่างที่ผู้ทำแผนเข้ามาจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งสาม ผู้ทำแผนได้ทำให้กิจการของลูกหนี้ทั้งสามมีสถานะหรือผลประกอบการดีขึ้นเพียงใด มีรายได้รับเพิ่มขึ้นหรือไม่ ในส่วนค่าใช้จ่ายซึ่งได้แก่ ค่าที่ปรึกษากฎหมายที่ผู้ทำแผนได้จ่ายไป ศาลจะต้องพิจารณาถึงค่าใช้จ่ายอันจำเป็นตามปกติในการดำเนินธุรกิจของลูกหนี้ทั้งสามทั้งยังจะต้องพิจารณาว่าได้มีการเบิกจ่ายเงินส่วนนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งสามไปดำเนินการเพื่อประโยชน์ของลูกหนี้ทั้งสามโดยแท้จริงหรือไม่ทั้งค่าที่ปรึกษากฎหมายที่จะพิจารณาให้เบิกนั้นก็ย่อมอยู่ในกรอบเฉพาะค่าที่ปรึกษากฎหมายในส่วนที่ผู้ทำแผนได้ปรึกษากับที่ปรึกษากฎหมายเพื่อดำเนินการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการหรือเพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งสาม
คดีนี้ผู้ร้องทั้งสามและลูกหนี้ทั้งสามได้ร้องคัดค้านเพื่อขอให้ศาลแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งได้กำหนดค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ทำแผนตามคำสั่งอันเป็นการโต้แย้งกระบวนการในคดีฟื้นฟูการเพื่อให้ศาลมีอำนาจในการกำกับดูแลคดีฟื้นฟูกิจการได้ควบคุมกระบวนพิจารณาคดีฟื้นฟูกิจการให้เป็นไปอย่างเหมาะสม กรณีถือได้ว่าเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นนี้ 200 บาท
การที่ผู้ทำแผนจะมีฐานะเป็นผู้ทำแผนและมีอำนาจในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งสามเริ่มตั้งแต่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 90/17 ก่อนหน้านั้นหาได้มีนิติสัมพันธ์ใดๆ ระหว่างลูกหนี้ทั้งสามซึ่งมิได้เป็นผู้ร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการกับผู้ทำแผนไม่ เช่นนี้ผู้ทำแผนจะขอเรียกค่าใช้จ่ายหรือค่าตอบแทนซึ่งเกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนหาได้ไม่ หากว่าหนี้ดังกล่าวจะมีอยู่จริงก็เป็นหนี้ซึ่งลูกหนี้ทั้งสามได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผนซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ทำแผนในฐานะเจ้าหนี้จะต้องดำเนินการขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 90/26 ประกอบมาตรา 90/27 หาใช่เบิกจ่ายจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งสาม ในส่วนค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายของผู้ทำแผนซึ่งเกิดขึ้นภายหลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผนแล้วนั้น เมื่อ พ.ร.บ. ล้มละลายฯ หมวด 3/1 ว่าด้วยกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้กำหนดให้ศาลเข้ามากำกับและตรวจสอบการกระทำการต่างๆ ได้ ทั้งนี้เพื่อให้แผนฟื้นฟูกิจการได้ดำเนินการสำเร็จลุล่วงไป ทั้งมีอำนาจในการตั้งผู้ทำแผนและให้ผู้บริหารแผนพ้นจากตำแหน่งกรณีจึงรวมถึงการอนุญาตหรือมีคำสั่งใดๆ เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวด้วย เมื่อเกิดปัญหาประการใดๆ เกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ คณะกรรมการ เจ้าหนี้ หรือที่ประชุมเจ้าหนี้และบุคคลที่เกี่ยวข้องย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องดังกล่าวต่อศาลได้โดยตรง ศาลจึงมีอำนาจพิจารณาอนุญาตให้มีการจ่ายเงินจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ เพื่อเป็นค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายของผู้ทำแผนได้
เนื่องจากหลังจากศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนแล้วผู้ทำแผนมีหน้าที่ในการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการส่งแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 90/43 และผู้ทำแผนมีหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ตามมาตรา 90/25 ในการจ่ายค่าตอบแทนผู้ทำแผนเนื่องจากการกระทำหน้าที่ดังกล่าวในส่วนของการทำแผนฟื้นฟูกิจการนั้นศาลจะพิจารณาให้ผู้ทำแผนมีสิทธิเรียกค่าตอบแทนได้เป็นจำนวนเท่าใด ศาลต้องพิจารณาถึงผลสำเร็จในการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการว่าแผนดังกล่าวที่ผู้ทำแผนได้จัดทำนั้นมีหลักการและวิธีการฟื้นฟูกิจการเป็นไปตามกฎหมายหรือไม่ ทั้งแผนฟื้นฟูกิจการที่ผู้ทำแผนได้จัดทำขึ้นมาแล้วนั้นสามารถนำมาใช้ในการฟื้นฟูกิจการได้หรือไม่ อีกทั้งเมื่อมีการนำแผนฟื้นฟูกิจการมาเสนอต่อที่ประชุมเจ้าหนี้และศาลแล้ว แผนฟื้นฟูกิจการนั้นที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติพิเศษยอมรับแผนและศาลได้ให้ความเห็นชอบหรือไม่ ทั้งในการพิจารณาดังกล่าวศาลจะต้องคำนึงถึงระยะเวลาที่เหมาะสมที่ผู้ทำแผนสมควรจะใช้เมื่อพิจารณาประกอบคุณภาพของงานและความสำเร็จของงาน อัตราค่าตอบแทนผู้ทำแผนศาลอาจจะกำหนดเป็นหน่วยรายชั่วโมงหรือกำหนดเหมารวมเป็นรายชิ้นงานไปก็ได้ ในส่วนที่ผู้ทำแผนได้เข้าไปจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งสามนั้นศาลจะต้องพิจารณาถึงความสามารถในการดำเนินกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งสามในระหว่างที่ผู้ทำแผนเข้ามาจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งสาม ผู้ทำแผนได้ทำให้กิจการของลูกหนี้ทั้งสามมีสถานะหรือผลประกอบการดีขึ้นเพียงใด มีรายได้รับเพิ่มขึ้นหรือไม่ ในส่วนค่าใช้จ่ายซึ่งได้แก่ ค่าที่ปรึกษากฎหมายที่ผู้ทำแผนได้จ่ายไป ศาลจะต้องพิจารณาถึงค่าใช้จ่ายอันจำเป็นตามปกติในการดำเนินธุรกิจของลูกหนี้ทั้งสามทั้งยังจะต้องพิจารณาว่าได้มีการเบิกจ่ายเงินส่วนนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งสามไปดำเนินการเพื่อประโยชน์ของลูกหนี้ทั้งสามโดยแท้จริงหรือไม่ทั้งค่าที่ปรึกษากฎหมายที่จะพิจารณาให้เบิกนั้นก็ย่อมอยู่ในกรอบเฉพาะค่าที่ปรึกษากฎหมายในส่วนที่ผู้ทำแผนได้ปรึกษากับที่ปรึกษากฎหมายเพื่อดำเนินการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการหรือเพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งสาม
คดีนี้ผู้ร้องทั้งสามและลูกหนี้ทั้งสามได้ร้องคัดค้านเพื่อขอให้ศาลแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งได้กำหนดค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ทำแผนตามคำสั่งอันเป็นการโต้แย้งกระบวนการในคดีฟื้นฟูการเพื่อให้ศาลมีอำนาจในการกำกับดูแลคดีฟื้นฟูกิจการได้ควบคุมกระบวนพิจารณาคดีฟื้นฟูกิจการให้เป็นไปอย่างเหมาะสม กรณีถือได้ว่าเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นนี้ 200 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4902-4904/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดค่าตอบแทนผู้ทำแผนในคดีฟื้นฟูกิจการ และอำนาจศาลในการพิจารณาหลังยกเลิกคำสั่งฟื้นฟู
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดจำนวนเงินค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ทำแผนในขณะคดีฟื้นฟูกิจการอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลและเป็นการกำหนดตามที่ศาลได้มีคำสั่งเพื่อให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ตรวจสอบเบื้องต้นโดยให้บุคคลผู้มีส่วนได้เสียร้องคัดค้านได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 146 เช่นนี้ คำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดังกล่าวจึงอาจถูกคัดค้านโต้แย้งได้ภายในกำหนด 14 วัน หาเป็นที่สุดไม่ แม้ในวันเดียวกันนั้นศาลมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการแล้ว แต่ผลของคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดังกล่าวยังมีผลกระทบต่อสิทธิของลูกหนี้หรือผู้มีส่วนได้เสียอื่นและเมื่อบุคคลดังกล่าวยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลแล้ว ศาลจึงมีอำนาจพิจารณาคำร้องคัดค้านต่อไปได้ ทั้งคำร้องคัดค้านดังกล่าวที่ขอให้กลับหรือแก้ไขคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
ผู้ทำแผนจะมีฐานะเป็นผู้ทำแผนและมีอำนาจในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้นับแต่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/17 ก่อนหน้านั้นหาได้มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ ระหว่างลูกหนี้ซึ่งมิได้เป็นผู้ร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการกับผู้ทำแผนไม่ แต่หากว่ามีหนี้ค่าใช้จ่ายและค่าตอบแทนซึ่งเกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผนก็เป็นเรื่องที่ผู้ทำแผนในฐานะเจ้าหนี้จะต้องดำเนินการขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 90/26 ประกอบมาตรา 90/27 ในส่วนค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายซึ่งเกิดขึ้นภายหลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผนนั้น ศาลจะพิจารณาให้ผู้ทำแผนมีสิทธิเบิกจ่ายจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้เป็นจำนวนเท่าใด ศาลต้องพิจารณาถึงผลสำเร็จในการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการว่าแผนดังกล่าวมีหลักการและวิธีการฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายหรือไม่ แผนสามารถนำไปใช้ในการฟื้นฟูกิจการได้หรือไม่ แผนดังกล่าวที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติพิเศษยอมรับแผนและศาลได้ให้ความเห็นชอบหรือไม่ และศาลต้องพิจารณาถึงระยะเวลาที่เหมาะสมที่ผู้ทำแผนสมควรใช้ประกอบคุณภาพและความสำเร็จของงาน รวมทั้งความสามารถของผู้ทำแผนในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ว่าลูกหนี้มีสถานะหรือผลประกอบการดีขึ้นเพียงใด
ผู้ทำแผนจะมีฐานะเป็นผู้ทำแผนและมีอำนาจในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้นับแต่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/17 ก่อนหน้านั้นหาได้มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ ระหว่างลูกหนี้ซึ่งมิได้เป็นผู้ร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการกับผู้ทำแผนไม่ แต่หากว่ามีหนี้ค่าใช้จ่ายและค่าตอบแทนซึ่งเกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผนก็เป็นเรื่องที่ผู้ทำแผนในฐานะเจ้าหนี้จะต้องดำเนินการขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 90/26 ประกอบมาตรา 90/27 ในส่วนค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายซึ่งเกิดขึ้นภายหลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผนนั้น ศาลจะพิจารณาให้ผู้ทำแผนมีสิทธิเบิกจ่ายจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้เป็นจำนวนเท่าใด ศาลต้องพิจารณาถึงผลสำเร็จในการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการว่าแผนดังกล่าวมีหลักการและวิธีการฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายหรือไม่ แผนสามารถนำไปใช้ในการฟื้นฟูกิจการได้หรือไม่ แผนดังกล่าวที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติพิเศษยอมรับแผนและศาลได้ให้ความเห็นชอบหรือไม่ และศาลต้องพิจารณาถึงระยะเวลาที่เหมาะสมที่ผู้ทำแผนสมควรใช้ประกอบคุณภาพและความสำเร็จของงาน รวมทั้งความสามารถของผู้ทำแผนในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ว่าลูกหนี้มีสถานะหรือผลประกอบการดีขึ้นเพียงใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2979/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งเจ้าหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการ หากเจ้าหนี้ไม่ได้รับแจ้งตามหลักเกณฑ์ แม้จะยื่นคำขอรับชำระหนี้เกินกำหนด ก็ยังสามารถรับคำขอได้
ภายหลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้และตั้งผู้ทำแผนแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผนในราชกิจจานุเบกษาและหนังสือพิมพ์รายวันที่แพร่หลายไม่น้อยกว่า 2 ฉบับ ตามมาตรา 90/20 วรรคสี่ แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย ฯ ทั้งยังต้องแจ้งคำสั่งตั้งผู้ทำแผนและกำหนดเวลาให้เจ้าหนี้ทั้งหลายตามบัญชีรายชื่อเจ้าหนี้ที่เจ้าหนี้หรือลูกหนี้เสนอต่อศาลและเจ้าหนี้อื่นเท่าที่ทราบตามมาตรา 90/24 วรรคสองและวรรคสาม เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เรื่อง คำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผนให้เจ้าหนี้โดยทางไปรษณีย์ด่วนพิเศษ แต่ส่งไม่ได้เนื่องจากบ้านปิดและไม่ไปรับภายในกำหนด จึงเป็นกรณีที่เจ้าหนี้ยังไม่ได้รับประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในเรื่องดังกล่าว ทั้งไม่ปรากฏว่าเจ้าหนี้ทราบคำสั่งตั้งผู้ทำแผนและกำหนดเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้ก่อนวันที่ 22 เมษายน 2547 ที่เจ้าหนี้อ้างว่าเพิ่งทราบคำสั่งดังกล่าว การที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในวันถัดมา กรณีจึงมีเหตุตามกฎหมายที่จะรับคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6340/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ค่าเช่าซื้อหลังฟื้นฟูกิจการ: สิทธิการรับชำระหนี้และการฟ้องร้องคดีแพ่ง
สัญญาเช่าซื้อระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้เป็นสัญญาต่างตอบแทนที่กำหนดชำระค่าเช่าซื้อเป็นรายเดือนภายในวันที่ที่ระบุไว้ทุกเดือนจนกว่าจะครบ หนี้ค่าเช่าซื้อย่อมเกิดขึ้นตามกำหนดตลอดเวลาที่มีการผูกพันกันตามสัญญา เมื่อลูกหนี้ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนตามสัญญาจนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนด้วย ค่าเช่าซื้อส่วนที่เหลือจึงเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนแล้ว เจ้าหนี้ไม่อาจนำหนี้ค่าเช่าซื้อส่วนที่เหลือมาขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 90/26 และมาตรา 90/27 หากหนี้ค่าเช่าซื้อดังกล่าวมิได้กำหนดไว้ในแผนและลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้โดยผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อภายหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนจนถึงก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งต่อศาลที่มีเขตอำนาจได้โดยอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 90/12 (4) และมาตรา 90/13 หรือหากผิดนัดชำระหนี้ค่าเช่าซื้อภายหลังจากศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนแล้ว เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิฟ้องร้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งต่อศาลที่มีเขตอำนาจได้โดยไม่ต้องขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/26