พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7031/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ที่เกิดขึ้นหลังแผนฟื้นฟูกิจการได้รับการเห็นชอบ เจ้าหนี้ต้องฟ้องคดีแพ่ง ไม่สามารถขอรับชำระหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการได้
การที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ที่อยู่ในกระบวนพิจารณาคดีฟื้นฟูกิจการอาจแบ่งตามมูลหนี้ที่เกิดขึ้นได้เป็น 3 ช่วง ช่วงแรก มูลหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและหนี้ที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการจนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนอันเจ้าหนี้จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/26 และมาตรา 90/27 ช่วงที่สอง หนี้ที่เกิดขึ้นหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนจนถึงก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน หากว่าหนี้ส่วนนี้มิได้กำหนดไว้ในแผนเป็นอย่างอื่น เจ้าหนี้ก็สามารถฟ้องร้องเป็นคดีแพ่งได้โดยอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 90/12(4)(5) และมาตรา 90/13 ช่วงที่สาม หนี้เกิดขึ้นหลังจากศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน เมื่อแผนฟื้นฟูกิจการมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิฟ้องร้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งต่อศาลที่มีเขตอำนาจได้โดยไม่ต้องขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/62
เจ้าหนี้ยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลางอ้างว่าลูกหนี้ทำสัญญายืมใบหุ้นสามัญของเจ้าหนี้เพื่อนำไปเป็นหลักประกันหนี้ที่ลูกหนี้มีต่อธนาคาร โดยลูกหนี้สัญญาว่าจะจ่ายค่าธรรมเนียมรวมทั้งภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่เจ้าหนี้ในอัตราร้อยละ 3 ของราคาตลาดหุ้นสามัญโดยคิดคำนวณจากราคาปิดเฉลี่ยของแต่ละเดือน หนี้ดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนโดยคิดค่าตอบแทนเป็นรายเดือน ซึ่งเกิดขึ้นตามกำหนดเป็นระยะตลอดเวลาที่มีการผูกพันตามสัญญา เมื่อหนี้ค่าธรรมเนียมนับแต่วันที่ 1 เมษายน 2544 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2544 จำนวน 5,314,827.72 บาท และนับจากวันที่ 1 ธันวาคม2544 จนกว่าสัญญาการยืมใบหุ้นสามัญสิ้นสุดลงเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นหลังจากศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนแล้ว และแผนฟื้นฟูกิจการมิได้กำหนดเรื่องดังกล่าวไว้ เจ้าหนี้จึงหาอาจมีคำขอในคดีฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลางให้สั่งให้ลูกหนี้ชำระหนี้ดังกล่าวได้ไม่ เจ้าหนี้ต้องไปดำเนินการฟ้องร้องเป็นคดีแพ่งต่อศาลที่มีเขตอำนาจ
เจ้าหนี้ยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลางอ้างว่าลูกหนี้ทำสัญญายืมใบหุ้นสามัญของเจ้าหนี้เพื่อนำไปเป็นหลักประกันหนี้ที่ลูกหนี้มีต่อธนาคาร โดยลูกหนี้สัญญาว่าจะจ่ายค่าธรรมเนียมรวมทั้งภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่เจ้าหนี้ในอัตราร้อยละ 3 ของราคาตลาดหุ้นสามัญโดยคิดคำนวณจากราคาปิดเฉลี่ยของแต่ละเดือน หนี้ดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนโดยคิดค่าตอบแทนเป็นรายเดือน ซึ่งเกิดขึ้นตามกำหนดเป็นระยะตลอดเวลาที่มีการผูกพันตามสัญญา เมื่อหนี้ค่าธรรมเนียมนับแต่วันที่ 1 เมษายน 2544 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2544 จำนวน 5,314,827.72 บาท และนับจากวันที่ 1 ธันวาคม2544 จนกว่าสัญญาการยืมใบหุ้นสามัญสิ้นสุดลงเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นหลังจากศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนแล้ว และแผนฟื้นฟูกิจการมิได้กำหนดเรื่องดังกล่าวไว้ เจ้าหนี้จึงหาอาจมีคำขอในคดีฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลางให้สั่งให้ลูกหนี้ชำระหนี้ดังกล่าวได้ไม่ เจ้าหนี้ต้องไปดำเนินการฟ้องร้องเป็นคดีแพ่งต่อศาลที่มีเขตอำนาจ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4636/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปกปิดรายชื่อเจ้าหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ ทำให้เจ้าหนี้ไม่ทราบกำหนดเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้ ศาลรับคำขอรับชำระหนี้ไว้พิจารณา
ลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้ในมูลหนี้ตามสัญญาซื้อขายสินค้าซึ่งลูกหนี้ได้สั่งซื้อเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2543 ลูกหนี้ยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2544โดยลูกหนี้ทราบชื่อและที่อยู่ของเจ้าหนี้ในขณะยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการเป็นอย่างดีการที่ลูกหนี้มิได้ระบุชื่อและที่อยู่ของเจ้าหนี้ในบัญชีเจ้าหนี้ จึงเป็นการจงใจปกปิดรายชื่อเจ้าหนี้อันเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 90/6 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าหนี้เพราะเป็นเหตุให้ศาลไม่อาจส่งสำเนาคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการแก่เจ้าหนี้ และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อาจแจ้งคำสั่งตั้งผู้ทำแผนและกำหนดเวลาให้เจ้าหนี้เสนอคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เมื่อเจ้าหนี้ไม่ทราบคำสั่งตั้งผู้ทำแผนและกำหนดเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้ก่อนหน้านี้กรณีมีเหตุตามกฎหมายที่จะรับคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ไว้พิจารณาแม้จะยื่นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 90/26
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4191/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดวันเริ่มนับระยะเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการ พิจารณาจากวันที่โฆษณาเผยแพร่ต่อสาธารณชน
หลังจากศาลตั้งผู้ทำแผนแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องดำเนินการโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผนในราชกิจจานุเบกษาและหนังสือพิมพ์รายวันที่แพร่หลายไม่น้อยกว่าสองฉบับเพื่อเป็นการเผยแพร่ต่อสาธารณชนตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/20 และ 90/24 ฉะนั้นกำหนดเวลาที่เจ้าหนี้จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผนตามมาตรา 90/26 วรรคหนึ่ง ต้องถือเอาวันที่ได้มีการโฆษณาคำสั่งต่อสาธารณชนเป็นสำคัญ หากวันโฆษณาในราชกิจจานุเบกษากับวันโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันไม่ตรงกัน ต้องนับวันโฆษณาในฉบับหลัง เมื่อผู้คัดค้านได้โฆษณาประกาศคำสั่งตั้งผู้ทำแผนในหนังสือพิมพ์ฉบับลงวันที่ 14 มีนาคม 2545 และโฆษณาในราชกิจจานุเบกษาลงวันที่ 2 เมษายน 2545 จึงต้องถือเอาวันที่ได้ลงโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผนในราชกิจจานุเบกษา แต่การลงโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผนในราชกิจจานุเบกษายังไม่ได้ความชัดแจ้งว่าได้นำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนเมื่อใดอันจะเป็นการเริ่มต้นนับวันยื่นคำขอรับชำระหนี้ เมื่อสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้จัดพิมพ์หนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้วเสร็จและนำออกเผยแพร่ให้กับสมาชิกที่ไปรับหนังสือราชกิจจานุเบกษาที่ส่วนงานราชกิจจานุเบกษาด้วยตนเองเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2545 คำสั่งโฆษณาตั้งผู้ทำแผนจึงต้องถือเอาวันที่ได้ลงโฆษณาในราชกิจจานุเบกษาฉบับหลังซึ่งได้นำเผยแพร่ต่อสาธารณชนครั้งแรกในวันที่ 17 พฤษภาคม 2545 ไม่ใช่วันที่ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันหรือวันที่ได้ลงในราชกิจจานุเบกษาที่ยังไม่ได้นำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านจะได้ส่งแบบฟอร์มยื่นคำขอรับชำระหนี้พร้อมประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้เจ้าหนี้ยื่นขอรับชำระหนี้ภายในหนึ่งเดือนให้เจ้าหนี้ทราบเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2545 ก็เป็นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 90/24 วรรคสอง จะต้องแจ้งคำสั่งดังกล่าวไปยังเจ้าหนี้ทั้งหลาย เป็นคนละกรณีไม่เกี่ยวกับกำหนดวันที่เจ้าหนี้จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 90/26 วรรคหนึ่ง การที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในวันที่ 13 มิถุนายน 2545 จึงยังไม่พ้นกำหนดระยะเวลาหนึ่งเดือนตามมาตรา 90/26 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4191/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: นับจากวันโฆษณาเผยแพร่ต่อสาธารณชน
หลังจากศาลตั้งผู้ทำแผนแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องดำเนินการโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผนในราชกิจจานุเบกษาและหนังสือพิมพ์รายวันที่แพร่หลายไม่น้อยกว่าสองฉบับเพื่อเป็นการเผยแพร่ต่อสาธารณชนด้วยเช่นกัน ฉะนั้นกำหนดเวลาที่เจ้าหนี้จะต้องยื่นคำรับขอชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/26 วรรคหนึ่ง ต้องถือเอาวันที่ได้มีการโฆษณาคำสั่งต่อสาธารณชนเป็นสำคัญหากวันโฆษณาในราชกิจจานุเบกษากับวันโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันไม่ตรงกันต้องนับวันโฆษณาในฉบับหลัง
คำสั่งโฆษณาตั้งผู้ทำแผนคดีนี้ต้องถือเอาวันที่ได้ลงโฆษณาในราชกิจจานุเบกษาฉบับหลังซึ่งได้นำเผยแพร่ต่อสาธารณชนครั้งแรกในวันที่ 17 พฤษภาคม 2545 ไม่ใช่วันที่ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันหรือวันที่ได้ลงในราชกิจจานุเบกษาที่ยังไม่ได้นำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านจะได้ส่งแบบฟอร์มยื่นคำขอรับชำระหนี้พร้อมประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้เจ้าหนี้ยื่นขอรับชำระหนี้ภายในหนึ่งเดือนให้เจ้าหนี้ทราบเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2545 ก็เป็นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/24 วรรคสอง ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องแจ้งคำสั่งดังกล่าวไปยังเจ้าหนี้ทั้งหลาย เป็นคนละกรณีไม่เกี่ยวกับกำหนดวันที่เจ้าหนี้จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 90/26 วรรคหนึ่ง การที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในวันที่ 13 มิถุนายน 2545 ยังไม่พ้นกำหนดระยะเวลาหนึ่งเดือนตามมาตรา 90/26 วรรคหนึ่ง
คำสั่งโฆษณาตั้งผู้ทำแผนคดีนี้ต้องถือเอาวันที่ได้ลงโฆษณาในราชกิจจานุเบกษาฉบับหลังซึ่งได้นำเผยแพร่ต่อสาธารณชนครั้งแรกในวันที่ 17 พฤษภาคม 2545 ไม่ใช่วันที่ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันหรือวันที่ได้ลงในราชกิจจานุเบกษาที่ยังไม่ได้นำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านจะได้ส่งแบบฟอร์มยื่นคำขอรับชำระหนี้พร้อมประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้เจ้าหนี้ยื่นขอรับชำระหนี้ภายในหนึ่งเดือนให้เจ้าหนี้ทราบเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2545 ก็เป็นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/24 วรรคสอง ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องแจ้งคำสั่งดังกล่าวไปยังเจ้าหนี้ทั้งหลาย เป็นคนละกรณีไม่เกี่ยวกับกำหนดวันที่เจ้าหนี้จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 90/26 วรรคหนึ่ง การที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในวันที่ 13 มิถุนายน 2545 ยังไม่พ้นกำหนดระยะเวลาหนึ่งเดือนตามมาตรา 90/26 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3456/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำขอรับชำระหนี้ในชั้นฟื้นฟูกิจการ การพิจารณาหลักฐานเพิ่มเติม และอำนาจศาลในการวินิจฉัย
ในการยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อเจ้าหนี้มีบัญชีแสดงรายละเอียดแห่งหนี้สินและข้อความระบุถึงหลักฐานประกอบหนี้ ก็ถือได้ว่าเป็นการยื่นคำขอรับชำระหนี้โดยชอบแล้วศาลย่อมมีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยโดยรับฟังพยานหลักฐานทุกอย่างทั้งที่ยื่นในชั้นขอรับชำระหนี้และยื่นเพิ่มเติมในชั้นสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ ไม่เป็นกรณีวินิจฉัยและรับฟังพยานหลักฐานเกินกว่าคำขอรับชำระหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1183/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้มีสิทธิยื่นขอรับชำระหนี้จากการฟื้นฟูกิจการได้ แม้คดีตามคำพิพากษาจะยังไม่ถึงที่สุด
บทบัญญัติตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/26 แสดงโดยแจ้งชัดแล้วว่า หากเจ้าหนี้ประสงค์จะได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการจะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามวิธีการที่กฎหมายระบุไว้ โดยบทบัญญัติวรรคหนึ่งของมาตรานี้ส่วนท้ายแยกเป็น 2 กรณี กรณีแรกเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา กรณีที่สองเป็นเจ้าหนี้ที่ได้ฟ้องคดีแพ่งไว้แล้วแต่คดียังอยู่ระหว่างพิจารณา ซึ่งหมายถึงศาลยังไม่มีคำพิพากษา คดีนี้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในกรณีแรก คือเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้โดยไม่จำต้องรอให้คำพิพากษานั้นถึงที่สุดเพราะมูลหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ทุกรายเจ้าหนี้ ลูกหนี้ หรือผู้ทำแผนอาจขอตรวจและโต้แย้งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ตามมาตรา 90/29 หากมีผู้โต้แย้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ต้องสอบสวนแล้วมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 90/32 โดยเจ้าหนี้ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายใน 1 เดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผน ดังนั้น หากรอให้ศาลพิพากษาในชั้นที่สุดเสียก่อน เจ้าหนี้ก็ไม่อาจยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดได้ ทำให้เจ้าหนี้หมดสิทธิได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 90/61 การที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการหรือไม่จึงมิใช่เพราะหนี้นั้นเป็นมูลหนี้ตามคำพิพากษาเพียงอย่างเดียว แต่ต้องประกอบด้วยการพิสูจน์หนี้ของเจ้าหนี้ การสอบสวนและคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ รวมทั้งคำสั่งของศาลในกรณีมีผู้ยื่นคำร้องคัดค้านเป็นสำคัญ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ คำพิพากษานั้นย่อมมีผลผูกพันลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145ไปจนกว่าจะถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับ หรืองดเสียโดยศาลที่มีศักดิ์สูงกว่าเจ้าหนี้จึงนำมูลหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวมารับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้
คดีที่ลูกหนี้อุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลล้มละลายกลางเรื่องขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ตามคำพิพากษาต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียงฉบับละ 25 บาท เท่านั้น ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 179(2) ประกอบด้วยมาตรา 90/2 วรรคสอง
คดีที่ลูกหนี้อุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลล้มละลายกลางเรื่องขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ตามคำพิพากษาต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียงฉบับละ 25 บาท เท่านั้น ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 179(2) ประกอบด้วยมาตรา 90/2 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 728/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนอง, การบังคับชำระหนี้, สิทธิเจ้าหนี้มีประกัน, การฟื้นฟูกิจการ, ผู้ค้ำประกัน, หนี้ร่วม
การที่ลูกหนี้ซื้อที่ดินบางส่วนจากบริษัท อ. ในขณะที่ที่ดินดังกล่าวได้จดทะเบียนจำนองประกันหนี้ที่บริษัท อ. และ/หรือบริษัท ส. มีต่อธนาคาร ม. จึงเป็นการซื้อขายที่ดินโดยติดจำนองมาด้วย ซึ่งสิทธิจำนองเป็นทรัพย์สิทธิย่อมติดไปกับตัวทรัพย์นั้นโดยไม่ต้องคำนึงว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์จำนองจะโอนไปยังบุคคลภายนอกแล้วหรือไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 702 วรรคสอง ดังนั้น ลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้รับโอนทรัพย์สินที่จำนองจึงต้องรับภารจำนองมาด้วย เจ้าหนี้จึงยังมีบุริมสิทธิเหนือที่ดินดังกล่าวในฐานะผู้รับจำนองจนกว่าจะมีเหตุให้จำนองระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 744 แม้ต่อมาธนาคาร ม. จะจดทะเบียนปลดจำนองเฉพาะส่วนที่ดินของบริษัท อ. แต่ส่วนของลูกหนี้ก็ยังคงติดจำนองอยู่กับธนาคาร ม. และภาระหนี้ยังเป็นของบริษัท ส. ตามเดิมเช่นนี้ ที่ดินส่วนของลูกหนี้ย่อมติดจำนองเพื่อประกันหนี้ของบริษัท ส. ที่มีต่อธนาคาร ม. ต่อไป แต่ภารจำนองของลูกหนี้ย่อมไม่เกินวงเงินจำนองพร้อมดอกเบี้ย เจ้าหนี้จึงมีบุริมสิทธิเหนือที่ดินส่วนของลูกหนี้ในวงเงินดังกล่าว โดยไม่เกินจำนวนหนี้ที่บริษัท ส. ต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ เมื่อเจ้าหนี้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในทางจำนองจึงเป็นเจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 6
การที่ลูกหนี้ซื้อทรัพย์ซึ่งติดจำนองมา เจ้าหนี้ก็ยังมีสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ตัวทรัพย์นั้นได้ ลูกหนี้มีฐานะเป็นเพียงผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองอันมีสิทธิและหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 12 หมวด 5 หาทำให้ลูกหนี้มีฐานะเป็นผู้จำนองแต่อย่างใดไม่ เพราะการจำนองประกันหนี้ของลูกหนี้จะต้องมีการจดทะเบียนจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วยตามมาตรา 714 เพื่อให้บุคคลทั่วไปได้ทราบว่าทรัพย์สินที่จำนองนั้นเป็นประกันหนี้ของผู้ใด วงเงินเท่าใด การที่เจ้าหนี้และลูกหนี้ตกลงกันให้ทรัพย์สินที่ลูกหนี้ซื้อมาโดยติดจำนองนั้นเป็นการจำนองประกันหนี้ที่ลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้โดยที่ยังไม่มีการจดทะเบียนจำนอง จึงเป็นข้อตกลงที่ตกเป็นโมฆะ เจ้าหนี้มิใช่เจ้าหนี้มีประกันในหนี้ส่วนนี้
มูลหนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้นั้น ปรากฏว่านอกจากมีบริษัท ส. เป็นผู้ค้ำประกันหนี้บางอันดับแล้ว ยังมีบุคคลอื่นอีกหลายคนเป็นผู้ค้ำประกันร่วมอีกด้วย ดังนั้น หากผู้ค้ำประกันคนใดชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ย่อมมีผลถึงลูกหนี้ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 292 วรรคหนึ่ง เมื่อเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จากบริษัท ส. และ/หรือผู้ค้ำประกันร่วมคนอื่นเพียงใดแล้ว สิทธิของเจ้าหนี้ในการได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ย่อมลดลงมาเพียงนั้น ซึ่งในส่วนนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้วางเงื่อนไขเกี่ยวกับการชำระหนี้ไว้ และศาลล้มละลายกลางก็มิได้แก้ไขให้ถูกต้อง กรณีเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
การที่ลูกหนี้ซื้อทรัพย์ซึ่งติดจำนองมา เจ้าหนี้ก็ยังมีสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ตัวทรัพย์นั้นได้ ลูกหนี้มีฐานะเป็นเพียงผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองอันมีสิทธิและหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 12 หมวด 5 หาทำให้ลูกหนี้มีฐานะเป็นผู้จำนองแต่อย่างใดไม่ เพราะการจำนองประกันหนี้ของลูกหนี้จะต้องมีการจดทะเบียนจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วยตามมาตรา 714 เพื่อให้บุคคลทั่วไปได้ทราบว่าทรัพย์สินที่จำนองนั้นเป็นประกันหนี้ของผู้ใด วงเงินเท่าใด การที่เจ้าหนี้และลูกหนี้ตกลงกันให้ทรัพย์สินที่ลูกหนี้ซื้อมาโดยติดจำนองนั้นเป็นการจำนองประกันหนี้ที่ลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้โดยที่ยังไม่มีการจดทะเบียนจำนอง จึงเป็นข้อตกลงที่ตกเป็นโมฆะ เจ้าหนี้มิใช่เจ้าหนี้มีประกันในหนี้ส่วนนี้
มูลหนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้นั้น ปรากฏว่านอกจากมีบริษัท ส. เป็นผู้ค้ำประกันหนี้บางอันดับแล้ว ยังมีบุคคลอื่นอีกหลายคนเป็นผู้ค้ำประกันร่วมอีกด้วย ดังนั้น หากผู้ค้ำประกันคนใดชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ย่อมมีผลถึงลูกหนี้ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 292 วรรคหนึ่ง เมื่อเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จากบริษัท ส. และ/หรือผู้ค้ำประกันร่วมคนอื่นเพียงใดแล้ว สิทธิของเจ้าหนี้ในการได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ย่อมลดลงมาเพียงนั้น ซึ่งในส่วนนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้วางเงื่อนไขเกี่ยวกับการชำระหนี้ไว้ และศาลล้มละลายกลางก็มิได้แก้ไขให้ถูกต้อง กรณีเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7960/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลล้มละลายต้องวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทภาษีจากการฟื้นฟูกิจการอย่างชัดเจน พร้อมพิจารณาพยานหลักฐานเพิ่มเติม
ในการขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/26 ให้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ถ้าคำขอรับชำระหนี้รายนั้นมีผู้โต้แย้ง ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนแล้วมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใด คือให้ยกคำขอรับชำระหนี้ อนุญาตให้ได้รับชำระหนี้เต็มจำนวนหรืออนุญาตให้ได้รับชำระหนี้ บางส่วน เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งดังกล่าวแล้ว ผู้มีส่วนได้เสียอาจยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลได้ตามมาตรา 90/32 และเมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต่อศาล และผู้คัคค้านแถลงคัดค้านคำร้องดังกล่าว ศาลล้มละลายจะต้องดำเนินการไต่สวนหาความจริงในข้อเท็จจริงที่คู่ความยังโต้เถียงกันอยู่แล้ววินิจฉัยคดีตามประเด็นซึ่งเกิดจากคำร้องและคำคัดค้านนั้น ในคำสั่งศาลเรื่องดังกล่าวจะต้องแสดงถึงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยทั้งปวงและ คำวินิจฉัยของศาลในประเด็นแห่งคดีทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและมีปัญหาข้อกฎหมาย ตลอดจนค่าฤชาธรรมเนียม ตามมาตรา 14 และข้อกำหนดคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 ข้อ 24
ตามคำร้องของผู้ร้องได้อ้างเป็นประเด็นในการคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในมูลหนี้อันดับที่ 2 ส่วนที่ 1 ภาษีอากรที่วัตถุดิบในคลังสินค้าทัณฑ์บนขาดหายไปว่า จะใช้จำนวนวัตถุดิบในคลังสินค้าที่ขาดหาย ณ วันที่ 4 มิถุนายน 2541 ซึ่งเป็นวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ หรือวันที่ 17 พฤษภาคม 2542 ซึ่งเป็นวันที่ผู้คัดค้านเข้าไปตรวจสอบจำนวนวัตถุดิบเป็นฐานในการคำนวณภาระภาษีอากรจำนวนวัตถุดิบที่ขาดหายไปนั้นผู้ร้องสามารถชี้แจงได้หรือไม่ และลูกหนี้ต้องรับผิดภาษีจำนวนเท่าใด และส่วนที่ 2 ภาษีอากรสำหรับวัตถุดิบที่นำเข้ามามีอายุเกิน 2 ปี นับแต่วันนำเข้าเป็นภาระภาษีอากรที่ซ้ำซ้อนกับมูลหนี้ส่วนที่ 1 และเมื่อผู้คัดค้านโต้แย้งประเด็นดังกล่าว ศาลล้มละลาย จึงต้องมีคำสั่งโดยวินิจฉัยคดีตามประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวให้ป็นที่ชัดแจ้งว่าจะใช้จำนวนวัตถุดิบที่ขาดหายไป ณ วันใดเป็นฐานในการคำนวณภาษีอากร มีสินค้าประเภทใดขาดหายไป จำนวนเท่าใด แล้วเหตุที่ผู้ร้องอ้างว่าทำให้ สินค้าขาดหายนั้นมีอยู่จริงหรือไม่ และหากเหตุดังกล่าวมีอยู่จริงถือว่าเป็นเหตุอันสมควรหรือไม่ จากเหตุดังกล่าว ลูกหนี้ต้องรับผิดในมูลหนี้ภาษีอากรเนื่องจากวัตถุดิบในคลังสินค้าทัณฑ์บนขาดหายตามประกาศกรมศุลกากร ที่ 13/2534 เรื่องระเบียบเกี่ยวกับคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทโรงผลิตสินค้า ข้อ 17 และข้อ 19 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 ทวิ (2) แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 หรือไม่ เพียงใด และในมูลหนี้ภาษีอากรเนื่องจาก นำวัตถุดิบเข้ามาค้างเกิน 2 ปี ซ้ำซ้อนกับมูลหนี้ค่าภาษีอากรเนื่องจากจำนวนวัตถุดิบในคลังสินค้าทัณฑ์บนขาดหายไปหรือไม่ อย่างไร เมื่อคำวินิจฉัยของศาลล้มละลายเป็นการกล่าวแบบรวม ๆ มิได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีและ แสดงเหตุผลประกอบการวินิจฉัย จึงเป็นการไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14 และข้อกำหนดคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 ข้อ 24
ผู้ร้องประสงค์จะอ้างหรือขอให้เรียกพยานเอกสารอีกหลายฉบับซึ่งเป็นเอกสารสำคัญในการวินิจฉัยประเด็นแห่งคดี อีกทั้งได้ระบุรายละเอียดของเอกสารดังกล่าวมาแล้วในคำร้องคัดค้านและคำฟ้องอุทธรณ์ พร้อมทั้ง ขอให้ศาลสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนเพิ่มเติม นอกจากนี้ในคำร้องและคำคัดค้านยังมีข้อเท็จจริงที่ยังโต้เถียงกันอีกหลายประการ ศาลฎีกาพิจารณาพยานหลักฐานในสำนวนแล้วเห็นว่ายังไม่เพียงพอแก่การวินิจฉัย จึงจำต้อง ย้อนสำนวนคืนไปยังศาลล้มละลายเพื่อพิจารณาและมีคำสั่งใหม่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 243 (1) และ (2) ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 28
ตามคำร้องของผู้ร้องได้อ้างเป็นประเด็นในการคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในมูลหนี้อันดับที่ 2 ส่วนที่ 1 ภาษีอากรที่วัตถุดิบในคลังสินค้าทัณฑ์บนขาดหายไปว่า จะใช้จำนวนวัตถุดิบในคลังสินค้าที่ขาดหาย ณ วันที่ 4 มิถุนายน 2541 ซึ่งเป็นวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ หรือวันที่ 17 พฤษภาคม 2542 ซึ่งเป็นวันที่ผู้คัดค้านเข้าไปตรวจสอบจำนวนวัตถุดิบเป็นฐานในการคำนวณภาระภาษีอากรจำนวนวัตถุดิบที่ขาดหายไปนั้นผู้ร้องสามารถชี้แจงได้หรือไม่ และลูกหนี้ต้องรับผิดภาษีจำนวนเท่าใด และส่วนที่ 2 ภาษีอากรสำหรับวัตถุดิบที่นำเข้ามามีอายุเกิน 2 ปี นับแต่วันนำเข้าเป็นภาระภาษีอากรที่ซ้ำซ้อนกับมูลหนี้ส่วนที่ 1 และเมื่อผู้คัดค้านโต้แย้งประเด็นดังกล่าว ศาลล้มละลาย จึงต้องมีคำสั่งโดยวินิจฉัยคดีตามประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวให้ป็นที่ชัดแจ้งว่าจะใช้จำนวนวัตถุดิบที่ขาดหายไป ณ วันใดเป็นฐานในการคำนวณภาษีอากร มีสินค้าประเภทใดขาดหายไป จำนวนเท่าใด แล้วเหตุที่ผู้ร้องอ้างว่าทำให้ สินค้าขาดหายนั้นมีอยู่จริงหรือไม่ และหากเหตุดังกล่าวมีอยู่จริงถือว่าเป็นเหตุอันสมควรหรือไม่ จากเหตุดังกล่าว ลูกหนี้ต้องรับผิดในมูลหนี้ภาษีอากรเนื่องจากวัตถุดิบในคลังสินค้าทัณฑ์บนขาดหายตามประกาศกรมศุลกากร ที่ 13/2534 เรื่องระเบียบเกี่ยวกับคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทโรงผลิตสินค้า ข้อ 17 และข้อ 19 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 ทวิ (2) แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 หรือไม่ เพียงใด และในมูลหนี้ภาษีอากรเนื่องจาก นำวัตถุดิบเข้ามาค้างเกิน 2 ปี ซ้ำซ้อนกับมูลหนี้ค่าภาษีอากรเนื่องจากจำนวนวัตถุดิบในคลังสินค้าทัณฑ์บนขาดหายไปหรือไม่ อย่างไร เมื่อคำวินิจฉัยของศาลล้มละลายเป็นการกล่าวแบบรวม ๆ มิได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีและ แสดงเหตุผลประกอบการวินิจฉัย จึงเป็นการไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14 และข้อกำหนดคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 ข้อ 24
ผู้ร้องประสงค์จะอ้างหรือขอให้เรียกพยานเอกสารอีกหลายฉบับซึ่งเป็นเอกสารสำคัญในการวินิจฉัยประเด็นแห่งคดี อีกทั้งได้ระบุรายละเอียดของเอกสารดังกล่าวมาแล้วในคำร้องคัดค้านและคำฟ้องอุทธรณ์ พร้อมทั้ง ขอให้ศาลสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนเพิ่มเติม นอกจากนี้ในคำร้องและคำคัดค้านยังมีข้อเท็จจริงที่ยังโต้เถียงกันอีกหลายประการ ศาลฎีกาพิจารณาพยานหลักฐานในสำนวนแล้วเห็นว่ายังไม่เพียงพอแก่การวินิจฉัย จึงจำต้อง ย้อนสำนวนคืนไปยังศาลล้มละลายเพื่อพิจารณาและมีคำสั่งใหม่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 243 (1) และ (2) ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 28