คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 317 วรรคท้าย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1817/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีส่วนร่วมในความผิดอาญา: การรับรู้และการกระทำที่แยกจากกัน
พวกของจำเลยที่ 3 ฉุดดึงผู้เสียหายทั้งสองขึ้นไปบนกระบะด้านท้ายของรถยนต์ จำเลยที่ 3 นั่งอยู่ในรถด้านหน้าแถวเดียวกับคนขับ ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 มีส่วนร่วมในการฉุดดึงผู้เสียหายทั้งสองขึ้นรถแต่อย่างใด เมื่อรถมาจอดบริเวณที่เกิดเหตุมีจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวก พาผู้เสียหายทั้งสองลงจากรถและข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายทั้งสอง จำเลยที่ 3 ไม่ได้ลงจากรถเข้าไปมีส่วนร่วมในการพาผู้เสียหายลงจากรถหรือมีส่วนร่วมในขณะที่ผู้เสียหายทั้งสองถูกข่มขืนกระทำชำเราแต่อย่างใด จนกระทั่งผู้เสียหายที่ 2 ร้องขอความช่วยเหลือขณะถูก พ. ข่มขืนกระทำชำเรา จำเลยที่ 3 จึงลงจากรถไปขอร้อง พ. ให้หยุดกระทำและนำตัวผู้เสียหายที่ 2 ไปนั่งรอในรถด้านหน้ากับจำเลยที่ 3 จากนั้นจำเลยที่ 3 ได้ขอให้ ภ. ขับรถพาผู้เสียหายที่ 2 ไปส่งที่บ้านเพื่อนของจำเลยที่ 3 และให้นอนค้างที่นั้น โดยจำเลยที่ 3 ไม่ได้กระทำลวนลามหรือกระทำอนาจารผู้เสียหายที่ 2 แม้ก่อนเกิดเหตุจำเลยที่ 3 ได้ยิน พ. พูดคุยกับจำเลยที่ 4 ว่าจะพาผู้หญิงชื่อ บ. ไปกระทำชำเรานั้น การที่ผู้ใดรับรู้ว่าผู้อื่นจะกระทำความผิดหรือกระทำความผิดแล้ว จะถือว่าผู้นั้นมีส่วนร่วมกระทำความผิดหรือสนับสนุนผู้อื่นกระทำความผิดด้วยไม่ได้ ลำพังข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 3 นั่งรถไปกับพวกที่กระทำความผิดนั้นไม่เพียงพอให้รับฟังลงโทษจำเลยที่ 3 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6661/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาลงโทษโดยไม่สืบพยานประกอบคำรับสารภาพในคดีอาญาที่มีโทษสูง เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกายกเลิกคำพิพากษาและให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยพรากเด็กหญิง ส. อายุ 12 ปีเศษ ไปเสียจากบิดาและผู้ปกครองของผู้เยาว์ โดยปราศจากเหตุสมควรเพื่อการอนาจาร ขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 317 หากศาลฟังว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง จำเลยจะมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคท้าย ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยกระทำความผิดจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง แต่ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น ลงวันที่ 21 สิงหาคม 2544 ระบุว่า อ่านอธิบายฟ้องให้จำเลยฟังแล้ว จำเลยขอให้การรับสารภาพผิดตามฟ้องและไม่ต้องการทนาย โจทก์และจำเลยไม่ขอสืบพยาน ศาลเห็นสมควรให้พนักงานคุมประพฤติสืบเสาะข้อเท็จจริงก่อนมีคำพิพากษา จึงเลื่อนไปนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 25 กันยายน 2544 โดยโจทก์ไม่ได้ลงลายมือชื่อรับทราบรายงานกระบวนพิจารณาฉบับดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคท้าย ตามคำฟ้องโดยไม่มีการสืบพยานประกอบคำรับสารภาพของจำเลยก่อนและศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกามีอำนาจย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5409/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาพิเศษในการพรากเด็กไปขอทานถือเป็นความผิดฐานหากำไรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคท้าย
การที่จำเลยพรากเด็กไปเพื่อให้ขอทานเงินและเก็บหาทรัพย์สิน มาให้จำเลย เป็นการกระทำไปเพื่อหาประโยชน์ในทางทรัพย์สิน อันเป็นเจตนาพิเศษในการพรากเด็ก จึงเป็นการกระทำเพื่อหากำไร เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5409/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาพิเศษในการพรากเด็กเพื่อหากำไร ถือเป็นความผิดฐานพรากเด็กตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 317 วรรคท้าย
การที่จำเลยพรากเด็กไปเพื่อให้ขอทานเงินและเก็บหาทรัพย์สิน มาให้จำเลย เป็นการกระทำไปเพื่อหาประโยชน์ในทางทรัพย์สิน อันเป็นเจตนาพิเศษในการพรากเด็ก จึงเป็นการกระทำเพื่อหากำไร เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317วรรคท้าย