คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ม. 4

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15705-15706/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า: การใช้ชื่อและที่อยู่ผู้ส่งออกบนกระสอบ ไม่ถือเป็นการเลียนแบบเพื่อสร้างความเข้าใจผิด
การกระทำที่จะเป็นความผิดฐานเลียนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 109 นั้น ต้องเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วกับสินค้าจำพวกเดียวกันหรือต่างจำพวกกันแต่มีลักษณะอย่างเดียวกันกับสินค้าที่เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นนั้นได้รับการจดทะเบียนจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนทั้งนี้ โดยผู้กระทำการเลียนเครื่องหมายการค้านั้นมีเจตนาเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนของบุคคลอื่น
โจทก์ที่ 2 เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า ที่ได้รับการจดทะเบียนในราชอาณาจักรกับสินค้าจำพวก 30 รายการสินค้า ข้าว เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2543 ตามทะเบียนเครื่องหมายการค้าเลขที่ ค179957 ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งเป็นวันเกิดเหตุเวลาประมาณ 10 นาฬิกา บริษัทจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 กำลังจะส่งออกไปต่างประเทศซึ่งสินค้าข้าวสารนึ่งบรรจุกระสอบจำนวน 3,491 กระสอบ ปรากฏว่าที่ด้านหลังกระสอบบรรจุข้าวดังกล่าว ตรงลูกศรชี้ข้างล่างมีชื่อและที่อยู่บริษัทโจทก์ที่ 2 พร้อมตราสัญลักษณ์ที่คล้ายกับรูปประดิษฐ์นกอินทรีบนลูกโลกและช่อรวงข้าวผูกริบบิ้นในเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์ที่ 2 ตามทะเบียนเครื่องหมายการค้า ดังภาพ ซึ่งเห็นได้ว่าตราสัญลักษณ์ ที่คล้ายกับรูปประดิษฐ์ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2 มีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับตราเครื่องหมายการค้าที่ปรากฏอยู่ที่ด้านหน้ากระสอบ ชื่อและที่อยู่ของบริษัทโจทก์ที่ 2 ที่ปรากฏอยู่บนกระสอบด้านหลังข้างล่างนั้นเป็นชื่อและที่อยู่ของผู้ส่งออกซึ่งต้องระบุไว้ที่สินค้าที่ส่งออกตามระเบียบของกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยการส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร ซึ่งการระบุชื่อและที่อยู่ของโจทก์ที่ 2 ดังกล่าวไม่ถูกต้องตามใบอนุญาตให้ส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร (ข้าว) (เพื่อกิจการที่เป็นการค้า) ซึ่งระบุชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 เป็นผู้ส่งออก ประกอบกับโจทก์ทั้งสองก็มิได้นำสืบให้เห็นว่าการที่มีตราเครื่องหมายขนาดเล็กที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์ที่ 2 ตามทะเบียนเครื่องหมายการค้าเลขที่ ค179957 ปรากฏติดกับชื่อและที่อยู่ของโจทก์ที่ 2 ที่ด้านล่างกระสอบวัตถุพยาน โจทก์ที่ 2 ก็ได้ใช้ตราเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์ที่ 2 ติดกับชื่อและที่อยู่ของโจทก์ที่ 2 ในลักษณะทำนองเดียวกันดังกล่าวกับสินค้าข้าวที่โจทก์ที่ 2 ส่งออกอย่างเครื่องหมายการค้าเพื่อทำหน้าที่แยกแยะความแตกต่างของสินค้าข้าวของโจทก์ที่ 2 กับสินค้าข้าวของบุคคลอื่นโดยมิใช่เพื่อแสดงถึงชื่อและที่อยู่ของผู้ส่งออก ดังนี้ การที่มีตราเครื่องหมายที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์ที่ 2 ตามทะเบียนเครื่องหมายการค้าเลขที่ ค179957 ปรากฏอยู่ติดกับชื่อและที่อยู่ของโจทก์ที่ 2 บนกระสอบ จึงเป็นเพียงสัญลักษณ์ส่วนประกอบส่วนหนึ่งของชื่อบริษัทผู้ส่งออกเท่านั้น การใช้ตราเครื่องหมายที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์ที่ 2 ตามทะเบียนเครื่องหมายการค้า เพื่อแสดงถึงชื่อและที่อยู่ของผู้ส่งออกดังกล่าวมิใช่การใช้ตราเครื่องหมายนั้นอย่างเครื่องหมายการค้าเพื่อแสดงว่าสินค้าข้าวที่ส่งออกแตกต่างกับสินค้าข้าวที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น เครื่องหมายที่ทำหน้าที่เครื่องหมายการค้าที่ใช้กับสินค้าข้าวที่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ส่งออกในวันเกิดเหตุเพื่อแยกแยะความแตกต่างของสินค้าว่าเป็นของผู้ใดหรือมีแหล่งกำเนิดมาจากที่ใดนั้นปรากฏอยู่เต็มพื้นที่ด้านหน้ากระสอบ คือเครื่องหมาย ซึ่งไม่มีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้า ของโจทก์ที่ 2 ตามทะเบียนเครื่องหมายการค้าแต่อย่างใด เมื่อจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ไม่ได้ใช้เครื่องหมายที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์ที่ 2 ตามที่ปรากฏอยู่หน้าชื่อและที่อยู่ของโจทก์ที่ 2 อย่างเครื่องหมายการค้าเพื่อระบุว่าสินค้าข้าวนั้นเป็นของผู้ผลิตรายใดและเพื่อแยกแยะสินค้าข้าวนั้นว่าแตกต่างจากสินค้าข้าวของบุคคลอื่น การที่ปรากฏเครื่องหมายที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์ที่ 2 ที่กระสอบด้านหลังข้างล่างที่มีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ที่ปรากฏอยู่เต็มพื้นที่ด้านหน้ากระสอบ ซึ่งเป็นกระสอบที่ใช้บรรจุสินค้าข้าวเพื่อส่งออกไปต่างประเทศในวันเกิดเหตุ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้เครื่องหมายการค้าเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2 ที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรโดยมีเจตนาเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2 อันจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 109
เมื่อสินค้าข้าวจำนวน 3,491 กระสอบ ของกลางมิใช่สินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าเลียนเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์ที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีไว้เพื่อจำหน่าย จึงไม่อาจริบตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 115 ได้ ส่วนรถยนต์บรรทุกพร้อมหางพ่วงจำนวน 5 คัน ของกลางที่ใช้บรรทุกข้าวสารนึ่งจำนวน 3,491 กระสอบ ของกลาง และอุทธรณ์ขอให้ริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 นั้น เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่เป็นความผิดฐานเลียนเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของบุคคลอื่นตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 รถยนต์บรรทุกพร้อมหางพ่วงจำนวน 5 คัน ของกลางจึงมิใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด ไม่อาจริบตาม ป.อ. มาตรา 33 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22783/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายและการใช้เพื่อแสดงลักษณะการใช้
ภาพประดิษฐ์ และภาพประดิษฐ์ประกอบคำหรือชื่อ ดังที่ปรากฏในหนังสือรับรองการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตรงส่วนด้านล่าง เป็นข้อเท็จจริงที่เข้าใจโดยทั่วไปว่า ภาพดังกล่าวเป็นภาพเครื่องหมายทั้งเครื่องหมายที่โจทก์ได้ยื่นคำขอและได้รับการจดทะเบียนไว้ โจทก์มิได้นำสืบหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้เห็นว่า นอกจากผู้ขอจดทะเบียนจะแสดงภาพประดิษฐ์ของตัวเครื่องหมายการค้าในคำขอจดทะเบียนแล้ว ผู้ขอจดทะเบียนยังสามารถแสดงให้เห็นถึงลักษณะการใช้เครื่องหมายที่ขอจดทะเบียนให้ปรากฏในคำนำขอจดทะเบียนอันเป็นการเพิ่มเติมไปจากการแสดงให้เห็นถึงตัวเครื่องหมายการค้าได้ ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่า ภาพประดิษฐ์และภาพประดิษฐ์ประกอบคำหรือชื่อของโจทก์เป็นเพียงภาพเครื่องหมายการค้าทั้งเครื่องหมายที่โจทก์ได้ยื่นคำขอและได้รับการจดทะเบียนไว้ มิได้มีความหมายสื่อไปถึงว่าเป็นภาพเครื่องหมายที่ถูกแสดงประกอบวิธีการใช้เครื่องหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8265/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าต้องแสดงแหล่งที่มาของสินค้า การใช้ภาพประดิษฐ์เป็นลวดลายไม่ถือเป็นเครื่องหมายการค้าหากไม่แสดงถึงแหล่งที่มา
การเสนอจำหน่ายสินค้าที่จะเป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 110 (1) ประกอบมาตรา 109 นั้น สินค้าที่เสนอจำหน่ายต้องเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมหรือเครื่องหมายการค้าที่เลียนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วในราชอาณาจักร และการเลียนเครื่องหมายการค้าต้องมีเจตนาพิเศษเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น
ภาพถ่าย ภาพวาด หรือภาพประดิษฐ์ซึ่งมีสภาพเป็นเพียงเครื่องหมายเท่านั้น ยังไม่ได้รับความคุ้มครองอย่างเครื่องหมายการค้าจนกว่าจะมีผู้นำภาพต่างๆ เช่นว่านี้มาใช้อย่างเครื่องหมายการค้า โดยทำหน้าที่แสดงแหล่งที่มาของสินค้าและแยกให้เห็นว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายนี้เป็นเครื่องหมายการค้าแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น
โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมานำสืบให้เห็นว่าการที่เสื้อยืดของกลางมีลวดลายตัวการ์ตูนมิกกี้เม้าส์ มีลักษณะที่เป็นการสื่อให้สาธารณชนผู้บริโภคเห็นว่าเป็นเสื้อยืดที่มีแหล่งกำเนิดมาจากผู้เสียหาย โดยแม้การแสดงเครื่องหมายการค้าที่สินค้าอาจทำให้ปรากฏที่ส่วนใดของสินค้าได้ก็ตาม แต่สิ่งที่แสดงไว้เป็นเครื่องหมายการค้านั้นก็ต้องทำหน้าที่ของเครื่องหมายการค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4488-4490/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าเป็นเครื่องหมายราชการและควบคุมคุณภาพของรัฐต่างประเทศ ศาลสั่งเพิกถอนทะเบียนได้
แม้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 6 ที่ 9 ที่ 11 ที่ 14 และที่ 15 ไม่ได้เข้าร่วมประชุมในการประชุมของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า แต่คดีนี้เป็นคดีที่โจทก์ทั้งสามสำนวนในฐานะผู้ร้องขอต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ไม่เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของโจทก์ โดยฟ้องต่อศาลตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 65 วรรคสอง แต่เนื่องจากคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 16 เป็นรายบุคคลก็เป็นการฟ้องในฐานะที่จำเลยที่ 2 เป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า ส่วนจำเลยที่ 3 ถึงที่ 16 ก็เป็นการฟ้องในฐานะที่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 16 เป็นกรรมการในคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า อันเป็นช่องทางที่กฎหมายให้สิทธิกระทำได้และโจทก์ก็ฟ้องคดีเพื่อให้คำสั่งของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าถูกเพิกถอนไปโดยคำพิพากษาของศาล ไม่ได้ฟ้องให้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 16 ซึ่งเป็นกรรมการในคณะกรรมการเครื่องหมายการค้ารับผิดเป็นส่วนตัวแต่อย่างใด แม้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 6 ที่ 9 ที่ 11 ที่ 14 และที่ 15 จะไม่ได้เข้าร่วมประชุมในการประชุมของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าแต่ก็ต้องถูกผูกพันตามมติของที่ประชุมคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าในครั้งนั้น ย่อมไม่อาจกล่าวอ้างการที่ไม่ได้เข้าร่วมประชุมมาปฏิเสธอำนาจฟ้องของโจทก์ได้ ในส่วนของจำเลยที่ 1 กรมทรัพย์สินทางปัญญา มาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.โอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารบางส่วนของกรมทะเบียนการค้าฯ พ.ศ.2534 บัญญัติให้โอนบรรดาอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าและกฎหมายว่าด้วยสิทธิบัตรไปเป็นของกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ การดำเนินการเกี่ยวกับการจดทะเบียนและการเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 อยู่ในกรอบอำนาจหน้าที่และการควบคุมของกรมทรัพย์สินทางปัญญาจำเลยที่ 1 เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติดังกล่าวทั้งหมด ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องกรมจำเลยที่ 1 ซึ่งมีอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาเป็นผู้แทนกรมจำเลยที่ 1 และเป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าด้วยตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 95 จึงเท่ากับเป็นการฟ้องอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งเป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ได้เช่นกัน
นอกจากเครื่องหมายการค้าจะทำหน้าที่ระบุตัวสินค้าว่าเป็นสินค้าของผู้ผลิตรายใดและทำหน้าที่แยกแยะความแตกต่างของสินค้าที่ทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้สินค้าสามารถเลือกซื้อสินค้าได้ถูกต้องตามที่ต้องการแล้ว เครื่องหมายการค้ายังทำหน้าที่ควบคุมและรับรองคุณภาพของสินค้าในกรณีที่เจ้าของเครื่องหมายการค้าอนุญาตให้บุคคลอื่นใช้เครื่องหมายการค้านั้นด้วย ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้สินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นไม่เป็นที่เชื่อมั่นของผู้บริโภคในคุณภาพของสินค้า ซึ่งหน้าที่ของเครื่องหมายการค้าในการควบคุมและรับรองคุณภาพของสินค้านี้ปรากฏโดยนัยของมาตรา 68 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534
การที่โจทก์ระบุในคำฟ้องและในคำขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสามเครื่องหมายว่า รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐเกาหลีได้อนุญาตให้โจทก์แต่เพียงผู้เดียวมีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้าทั้งสามเครื่องหมายซึ่งเป็นเครื่องหมายราชการของรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐเกาหลีกับสินค้าโสมเกาหลี โสมแดง และผลิตภัณฑ์โสมแดงย่อมแสดงให้เห็นอยู่ในตัวว่ารัฐบาลแห่งสาธารณรัฐเกาหลีประสงค์จะควบคุมคุณภาพของสินค้าโสมเกาหลี โสมแดง และผลิตภัณฑ์โสมแดงด้วย จึงอนุญาตให้โจทก์ใช้เครื่องหมายราชการทั้งสามเครื่องหมายของรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐเกาหลีกับสินค้าโสมเกาหลี โสมแดง และผลิตภัณฑ์โสมแดงที่โจทก์ผลิตออกจำหน่าย เครื่องหมายราชการทั้งสามเครื่องหมายของรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐเกาหลีจึงมีลักษณะเป็นเครื่องหมายควบคุมและรับรองคุณภาพสินค้าโสมเกาหลี โสมแดง และผลิตภัณฑ์โสมแดงของรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐเกาหลีซึ่งเป็นรัฐต่างประเทศอยู่ด้วย ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่า เครื่องหมายการค้าตามทะเบียนเครื่องหมายการค้าเลขที่ ค.75608 เลขที่ ค.116909 และเลขที่ ค.120027 เป็นเครื่องหมายควบคุมและรับรองคุณภาพสินค้าของรัฐต่างประเทศจึงเป็นการวินิจฉัยในประเด็นตามคำฟ้องและคำขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสามเครื่องหมายดังกล่าวไม่ใช่การวินิจฉัยเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องและคำขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสามเครื่องหมายอันจะเป็นการไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 142
เครื่องหมายอักษรจีนคำว่า เป็นเครื่องหมายของรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐเกาหลีซึ่งเป็นผู้ใช้กับสินค้าโสมแดงกระป๋อง ถือได้ว่าเครื่องหมายคำว่า เป็นเครื่องหมายราชการของรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐเกาหลี แม้ต่อมารัฐบาลแห่งสาธารณรัฐเกาหลีโดยกระทรวงการคลังได้ก่อตั้งโคเรีย โมโนโปลี คอร์ปอเรชัน เพื่อดำเนินกิจการผลิตและจำหน่ายสินค้าโสมแดงและผลิตภัณฑ์โสมแดงแทน โดยอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าอักษรจีนคำว่า และภายหลังมีการปรับโครงสร้างของโคเรีย โมโนโปลี คอร์ปอเรชัน เป็นโคเรีย โทแบกโก แอนด์ จินเซ็ง คอร์ปอเรชัน และในที่สุดมีการก่อตั้งบริษัทโจทก์ให้ดำเนินกิจการนั้นและโจทก์ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าอักษรจีนคำว่า ต่อไป การใช้เครื่องหมายการค้านี้ก็ต้องได้รับอนุญาตจากรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐเกาหลี จึงถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าอักษรจีนคำว่า ยังคงเป็นเครื่องหมายราชการของรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐเกาหลีซึ่งเป็นรัฐต่างประเทศอยู่ และนอกจากนี้เครื่องหมายการค้าอักษรจีนคำดังกล่าวยังมีลักษณะเป็นเครื่องหมายควบคุมและรับรองคุณภาพสินค้าโสมเกาหลี โสมแดง และผลิตภัณฑ์โสมแดงของรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐเกาหลีซึ่งเป็นรัฐต่างประเทศด้วย สำหรับเครื่องหมาย และเครื่องหมาย ที่โคเรีย โทแบกโก แอนด์ จินเซ็ง คอร์ปอเรชัน เป็นผู้เริ่มนำมาใช้กับสินค้าโสมแดงและผลิตภัณฑ์โสมแดง ก็เป็นเครื่องหมายที่มีอักษรจีนคำว่า อันเป็นเครื่องหมายราชการและเครื่องหมายควบคุมและรับรองคุณภาพสินค้าของรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐเกาหลีซึ่งเป็นรัฐต่างประเทศประกอบอยู่ด้วย โดยไม่ปรากฏว่าโคเรีย จินเซ็ง เซนเตอร์ ลิมิเต็ด ผู้ขอจดทะเบียนและผู้มีชื่อเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า ตามคำขอเลขที่ 332128 ทะเบียนเลขที่ ค.75608 และบริษัท ท. ผู้ขอจดทะเบียนและผู้มีชื่อเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า และเครื่องหมายการค้า ได้รับอนุญาตจากผู้มีอำนาจหรือมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าทั้งสามเครื่องหมายนี้ให้มาจดทะเบียนในนามตนเองในประเทศไทยได้ เมื่อเครื่องหมายการค้าทั้งสามเครื่องหมายเป็นเครื่องหมายที่มีลักษณะเป็นเครื่องหมายราชการและเครื่องหมายควบคุมและรับรองคุณภาพสินค้าของรัฐต่างประเทศ และเป็นเครื่องหมายที่ประกอบด้วยเครื่องหมายราชการและเครื่องหมายควบคุมและรับรองคุณภาพสินค้าของรัฐต่างประเทศ จึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีหรือประกอบด้วยลักษณะต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนตามมาตรา 8 (6) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534
คดีนี้เป็นคดีที่โจทก์อุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่มีคำสั่งไม่เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยการฟ้องคดีต่อศาลตามมาตรา 65 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 เมื่อศาลเห็นว่ามีเหตุต้องเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสำหรับเครื่องหมายการค้านั้นตามมาตรา 61 (2) ศาลต้องพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ไม่เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นไปเสียทีเดียว ซึ่งมีผลให้การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวถูกเพิกถอนไปโดยคำพิพากษาของศาล ไม่ใช่พิพากษาให้คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเป็นผู้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นอีก เรื่องนี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้อง ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบมาตรา 26 และ ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8405/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักษณะบ่งเฉพาะของเครื่องหมายการค้า: ชื่อบริษัทต้องมีลักษณะพิเศษและไม่สื่อถึงคุณสมบัติสินค้า
เครื่องหมายการค้าที่ประกอบด้วยชื่อนิติบุคคลจะมีลักษณะบ่งเฉพาะตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (1) ได้ต่อเมื่อเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นชื่อเต็มของนิติบุคคลที่แสดงโดยลักษณะพิเศษและไม่เล็งถึงลักษณะ หรือคุณสมบัติของสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นโดยตรง
เครื่องหมายการค้าคำว่า "" เป็นชื่อเต็มของบริษัทโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายประกอบด้วยภาษาโรมันเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด แม้โจทก์อ้างว่าได้มีการออกแบบลายเส้นของตัวอักษรให้มีลักษณะโค้งมน โดยคำว่า "" ออกแบบให้ฐานของตัวอักษร EAS เกาะเกี่ยวเชื่อมต่อกันและอักษร "A" ไม่มีขีดกลางตัวอักษรก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงการดัดแปลงลายเส้นเฉพาะตัวอักษรโรมัน "EAS" เพียงเล็กน้อย โจทก์มิได้ทำให้เห็นถึงลักษณะพิเศษของตัวอักษรดังกล่าวในเครื่องหมายการค้า คำว่า "" โดยยังคงมีลักษณะเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ธรรมดาทั่วไป เมื่อมองภาพรวมเห็นได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นเครื่องหมายที่ใช้อักษรโรมันเป็นตัวพิมพ์ใหญ่เท่านั้น เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงเป็นเพียงชื่อเต็มของนิติบุคคลบริษัทโจทก์ที่ยังมิได้แสดงลักษณะพิเศษ
เครื่องหมายดังกล่าวมีคำว่า "CO., LTD." ซึ่งย่อมาจากคำว่า "Company Limited" ที่แปลว่า บริษัทจำกัดอยู่ตอนท้าย ทำให้ผู้พบเห็นเครื่องหมายดังกล่าวไม่อาจทราบได้ทันทีว่าคำว่า "" เป็นเครื่องหมายการค้า มิใช่เป็นเพียงแต่ชื่อบริษัทเท่านั้น จึงถือไม่ได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าวเป็นชื่อเต็มของนิติบุคคลที่แสดงโดยลักษณะพิเศษ อันมีลักษณะบ่งเฉพาะในตัวเอง ตามความหมายของมาตรา 7 วรรคสอง (1) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534
เครื่องหมายใดจะมีสภาพเป็นเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 4 หรือไม่ จะต้องพิจารณาว่าได้มีการใช้เครื่องหมายดังกล่าวเป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือไม่ สินค้าที่โจทก์นำเข้าที่บรรจุในถังได้มีการจำหน่ายต่อให้โรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยถังที่บรรจุสินค้าจะมีเครื่องหมายการค้าคำว่า "" ปรากฏอยู่ชัดเจนที่ด้านข้างตัวถัง ฝาถังและใช้ร่วมกับเครื่องหมายอื่น เห็นได้ว่า เครื่องหมายการค้าคำว่า "" ของโจทก์ได้ถูกใช้เป็นที่หมายของสินค้าเพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าวนั้นแตกต่างจากสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นแล้ว คำว่า "" ย่อมเป็นเครื่องหมายการค้าไม่ใช่เป็นเพียงชื่อนิติบุคคลซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้าดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5448/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายบริการ 'HAVE IT YOUR WAY' มีลักษณะบ่งเฉพาะ แม้เป็นคำบรรยายทั่วไป หากใช้สร้างความแตกต่างกับบริการอื่น
แม้ว่าเครื่องหมายบริการข้อความว่า "HAVE IT YOUR WAY" ที่โจทก์ขอยื่นจดทะเบียนเพื่อใช้กับบริการจำพวก 43 รายการบริการ ภัตตาคาร จะเป็นคำหลายคำประกอบกันเป็นข้อความ ซึ่งอาจแปลได้ความหมายว่า "มีมันตามทางของคุณ" หรือ "รับประทานมันตามใจ หรือตามแบบของคุณ" หรือสื่อความหมายได้ว่า "มีทุกอย่างที่คุณต้องการ หรือตามใจปรารถนา" ซึ่งมีลักษณะเป็นคำบรรยายทั่วไปก็ตาม แต่ข้อความดังกล่าวจะเป็นเครื่องหมายบริการได้ ก็ต้องเป็นเครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับบริการเพื่อแสดงว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของเครื่องหมายบริการนั้นแตกต่างกับบริการที่ใช้เครื่องหมายบริการของบุคคลอื่นตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 4 และในการพิจารณาลักษณะบ่งเฉพาะของเครื่องหมายบริการที่ขอจดทะเบียนนั้น ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 80 ประกอบมาตรา 7 กล่าวคือ ต้องเป็นเครื่องหมายบริการอันมีลักษณะที่ทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้บริการนั้นทราบและเข้าใจได้ว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างไปจากบริการอื่น และหากเป็นเครื่องหมายบริการที่เป็นคำหรือข้อความ คำหรือข้อความนั้นต้องไม่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของบริการนั้นโดยตรง แต่ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายมาตราใดที่ระบุว่า เครื่องหมายที่เป็นคำหรือข้อความทั่วไปถือว่าไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ เพราะหากคำหรือข้อความนั้นได้ถูกใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับบริการเพื่อแสดงว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของเครื่องหมายบริการนั้นแตกต่างกับบริการที่ใช้เครื่องหมายของบุคคลอื่นจนมีลักษณะที่ทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้บริการนั้นทราบ เข้าใจและสามารถแยกแยะได้ว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายบริการนั้นแตกต่างไปจากบริการอื่น ดังนั้น จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงหรือผู้ขอจดทะเบียนสามารถพิสูจน์ได้ว่า เครื่องหมายที่เป็นคำหรือข้อความดังกล่าวมีลักษณะที่ทำให้ประชาชนหรือผู้บริการนั้นทราบและเข้าใจว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายบริการดังกล่าวแตกต่างจากบริการอื่นอย่างไร และข้อความหรือคำดังกล่าวต้องเป็นข้อความหรือคำที่ไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของบริการนั้นโดยตรงตามมาตรา 80 ประกอบมาตรา 7 วรรคสอง (2) เพราะไม่ควรที่จะให้บุคคลใดมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวหรือผูกขาดในข้อความหรือคำที่สะท้อนให้เห็นถึงลักษณะหรือชนิดหรือประเภทของบริการนั้นโดยตรง ซึ่งบุคคลทุกคนย่อมมีสิทธิที่จะใช้ข้อความหรือคำที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะของบริการกับบริการของตนได้ รวมทั้งมีสิทธิในการนำข้อความหรือคำที่แสดงถึงคุณสมบัติของบริการโดยตรงไปใช้พรรณนาหรือโฆษณาคุณภาพของบริการของตนได้
สำหรับเครื่องหมายบริการข้อความว่า "HAVE IT YOUR WAY" ที่โจทก์ขอยื่นจดทะเบียนแม้จะมีลักษณะเป็นคำบรรยายแต่เมื่อข้อเท็จจริงยุติว่า ก่อนที่โจทก์จะยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายบริการข้อความว่า "HAVE IT YOUR WAY" โจทก์ได้รับการจดทะเบียนและใช้เครื่องหมายบริการดังกล่าวกับบริการประเภทภัตตาคารซึ่งเป็นร้านอาหารประเภทจานด่วนซึ่งจำหน่ายแฮมเบอร์เกอร์และเครื่องดื่มเป็นอาหารหลักภายใต้ร้านค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการอื่นของโจทก์ในต่างประเทศหลายสิบประเทศรวมทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นเวลานานกว่า 20 ปี โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายบริการดังกล่าวในประเทศไทยกับบริการประเภทภัตตาคารซึ่งเป็นร้านอาหารประเภทจานด่วนซึ่งจำหน่ายแฮมเบอร์เกอร์และเครื่องดื่มเป็นอาหารหลักภายใต้ร้านค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการอื่นของโจทก์ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และบนถนนหลายสายภายในกรุงเทพมหานครที่เป็นแหล่งชุมชน รวมทั้งร้านอาหารของโจทก์ในแหล่งการค้าต่าง ๆ ในต่างจังหวัดที่เป็นสถานท่องเที่ยวสำคัญ และโจทก์ได้โฆษณาเครื่องหมายบริการข้อความว่า "HAVE IT YOUR WAY" ในนิตยสาร ที่สื่อสิ่งพิมพ์และการทำตลาดร่วมกับบัตรเครดิต (VISA) ป้ายโฆษณา ซึ่งเมื่อผู้ใช้บริการเห็นเครื่องหมายบริการข้อความว่า "HAVE IT YOUR WAY" ก็จะทราบได้ทันทีว่าเป็นเครื่องหมายบริการของโจทก์ เครื่องหมายบริการข้อความว่า "HAVE IT YOUR WAY" ของโจทก์จึงมีลักษณะที่ทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้บริการนั้นทราบและเข้าใจได้ว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายบริการข้อความว่า "HAVE IT YOUR WAY" ของโจทก์นั้นแตกต่างไปจากบริการอื่น ทั้งข้อความว่า "HAVE IT YOUR WAY" ไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณลักษณะหรือคุณสมบัติของภัตตาคารโดยตรง ดังนั้นเครื่องหมายบริการข้อความว่า "HAVE IT YOUR WAY" จึงมีลักษณะบ่งเฉพาะอันพึงรับจดทะเบียนได้ตามมาตรา 80 ประกอบมาตรา 6 และมาตรา 7 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4561/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดเครื่องหมายการค้า: การพิสูจน์เจตนาและความยากในการแยกแยะสินค้าเลียนแบบ
แผ่นดิสก์ที่มีเครื่องหมายการค้า "SONY" อันแท้จริงของผู้เสียหายมีลักษณะเฉพาะซึ่งเป็นความลับ 4 จุด ไม่สามารถเปิดเผย มีเฉพาะผู้รู้จุดสังเกตนี้เท่านั้นจึงจะสามารถสังเกตได้ เป็นการยากที่ประชาชนหรือผู้ขายทั่วไปจะรู้ได้ว่าสินค้าแผ่นดิสก์ของกลางที่นำมาจำหน่ายเป็นสินค้าที่แท้จริงของผู้เสียหายหรือมีผู้ทำเลียนแบบขึ้น เมื่อไม่ปรากฏจากทางนำสืบของโจทก์เลยว่าสินค้าแผ่นดิสก์ของแท้ของผู้เสียหายจำหน่ายในราคาเท่าใดและสินค้าแผ่นดิสก์วัตถุพยานที่จำเลยจำหน่ายนี้จำหน่ายในราคาเท่าไร พยานหลักฐานของโจทก์เท่าที่สืบมายังมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยจะรู้หรือไม่ว่าสินค้าแผ่นดิสก์ที่จำหน่ายเป็นสินค้าที่เลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหาย จึงต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 227 ให้พิพากษายกฟ้องโจทก์ แต่เมื่อฟังได้ว่าแผ่นดิสก์ของกลางจำนวน 360 แผ่น มีเครื่องหมายที่เลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหาย อันเป็นสินค้าที่ต้องริบ จึงให้ริบเสีย แม้ว่าจะไม่มีผู้ถูกลงโทษในคดีนี้ก็ตาม ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 115

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5466/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักษณะบ่งเฉพาะของเครื่องหมายการค้า: ภาพประดิษฐ์ที่ไม่โดดเด่นและใช้ร่วมกับเครื่องหมายอื่น ย่อมไม่สามารถจดทะเบียนได้
เครื่องหมายการค้าอันพึงได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายนั้นจะต้องมีลักษณะที่ทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้สินค้านั้นทราบและเข้าใจได้ว่า สินค้าใช้เครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างไปจากสินค้าอื่นด้วย สำหรับคดีนี้เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปคลื่นประดิษฐ์ โดยโจทก์บรรยายถึงลักษณะของเครื่องหมายนี้ว่า "ใช้แถบเส้นที่มีขนาดกว้างและความหนาที่แตกต่างกัน และมีความเข้มของสีที่แตกต่างกันประดิษฐ์ขึ้นเป็นรูปคลื่นโปร่งขนาดใหญ่ที่มีลักษณะบ่งเฉพาะแตกต่างจากเครื่องหมายอื่น เมื่อพิจารณาจากส่วนปลายแหลมด้านบนลงมาจะเห็นได้ว่าในช่วงต้นแถบเส้นจะมีขนาดเล็กและมีสีทึบ แต่แถบเส้นดังกล่าวจะขยายกว้างขึ้นในขณะที่เคลื่อนที่เป็นวงโค้งจากด้านซ้ายไปสู่ด้านขวา โดยความเข้มของสีแถบเส้นจะค่อยๆ จางลงไป จนกระทั่งมีสีอ่อนที่สุดแล้วแถบเส้นดังกล่าวก็จะเคลื่อนที่วกกลับเป็นวงโค้งทางซ้ายมือจนถึงปลายแหลมด้านล่าง ณ จุดนั้นแถบเส้นจะกลับมีลักษณะเป็นแถบเส้นที่มีขนาดเล็กและมีสีทึบอีกครั้ง แล้วเคลื่อนที่เป็นวงโค้งจากด้านขวากลับไปสู่ด้านซ้าย โดยแถบเส้นดังกล่าวจะขยายกว้างขึ้นและมีสีจางลง ในที่สุดจะวกกลับไปทางด้านขวาจดกับส่วนปลายแหลมด้านบน" จึงพิจารณาได้ว่าเครื่องหมายของโจทก์นี้เป็นภาพประดิษฐ์ตามความหมายของคำว่า "เครื่องหมาย" ใน พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 4 เมื่อโจทก์มีความประสงค์จะใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้า เพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายนี้ของโจทก์แตกต่างจากสินค้าของบุคคลอื่น ก็ย่อมถือว่าเป็นเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 4 แต่จะเป็นเครื่องหมายการค้าอันพึงรับจดทะเบียนหรือไม่นั้นย่อมต้องพิจารณาตามมาตรา 6 (1) และมาตรา 7 ว่า เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมีลักษณะบ่งเฉพาะหรือไม่ ซึ่งเครื่องหมายการค้ารูปคลื่นประดิษฐ์ของโจทก์นี้เป็นเครื่องหมายที่มีลักษณะของรูปทรงเรขาคณิตโดยอาจมองได้ว่าเป็นการดัดแปลงมาจากรูปทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
หรือรูปวงรี อย่างไรก็ดี แม้จะมีการตกแต่งด้วยเส้นโค้งและนำความหนาบางและระดับสีเข้มจางมาใช้เพื่อทำให้เกิดความสวยงามและแตกต่างไปจากรูปทรงเรขาคณิตดังกล่าว แต่เป็นความแตกต่างเพียงเล็กน้อยไม่ถึงขนาดที่จะทำให้สาธารณชนเห็นได้ถึงความแตกต่างระหว่างเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับรูปทรงเรขาคณิตอื่นทั่วๆ ไป โดยเฉพาะหากไม่ได้นำมาวางเปรียบเทียบเพื่อพิจารณาพร้อมๆ กัน ต่างจากเครื่องหมายการค้าที่เป็นภาพประดิษฐ์รูปทรงเรขาคณิตอื่นซึ่งสามารถทำให้สาธารณชนเห็นถึงความแตกต่างได้ อันจะถือได้ว่าเป็นภาพที่ประดิษฐ์ขึ้นจนมีลักษณะบ่งเฉพาะตามกฎหมาย เมื่อพิจารณาเครื่องหมายการค้าของโจทก์และบรรจุภัณฑ์ของสินค้าโจทก์ที่มีอยู่ในปัจจุบันแล้วจะเห็นว่า เครื่องหมายการค้ารูปคลื่นประดิษฐ์ของโจทก์ถูกใช้มาในลักษณะของกรอบภาพที่มีคำว่า "MILO" หรือ "ไมโล" ปรากฏอยู่ข้างในเท่านั้น ซึ่งเครื่องหมายการค้าที่ใช้กับสินค้าอื่นๆ ทั่วไปในท้องตลาดก็มีการใช้กรอบภาพในลักษณะเช่นนี้ปรากฏอยู่เช่นกัน แม้ว่าจะไม่เหมือนกับเครื่องหมายการค้ารูปคลื่นประดิษฐ์ของโจทก์ แต่ก็เห็นได้ว่า ภาพประดิษฐ์ในลักษณะที่เป็นกรอบภาพเช่นนี้ไม่มีลักษณะโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์อย่างใดในอันที่จะทำให้สาธารณชนหรือผู้ใช้สินค้าจดจำหรือแยกแยะความแตกต่างระหว่างสินค้าตามที่โจทก์กล่าวอ้างได้ หากนำไปใช้โดยลำพังกับสินค้าเครื่องหมายการค้ารูปคลื่นประดิษฐ์ของโจทก์ย่อมไม่อาจทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้สินค้าทราบและเข้าใจได้ว่า สินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์แตกต่างไปจากสินค้าอื่นเช่นใด ถือว่าเครื่องหมายการค้ารูปคลื่นประดิษฐ์ของโจทก์ไม่ใช่ภาพที่ประดิษฐ์ขึ้นอันจะมีลักษณะบ่งเฉพาะตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (6)
เครื่องหมายการค้ารูปคลื่นประดิษฐ์ของโจทก์ไม่ใช่ชื่อ คำหรือข้อความ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (1) หรือ (2) จึงไม่อาจนำหลักเกณฑ์การมีลักษณะบ่งเฉพาะโดยการใช้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสาม มาพิจารณาได้ เครื่องหมายการค้ารูปคลื่นประดิษฐ์ของโจทก์จึงไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะโดยการใช้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5466/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักษณะบ่งเฉพาะของเครื่องหมายการค้า: ภาพประดิษฐ์ที่ไม่โดดเด่น และไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะโดยการใช้
เครื่องหมายของโจทก์เป็นภาพประดิษฐ์ตามความหมายของคำว่า "เครื่องหมาย" ใน พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 4 เมื่อโจทก์มีความประสงค์จะใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้า เพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายนี้ของโจทก์แตกต่างจากสินค้าของบุคคลอื่น ย่อมถือว่าเป็นเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 4 แต่จะเป็นเครื่องหมายการค้าอันพึงรับจดทะเบียนหรือไม่นั้นย่อมต้องพิจารณาตามมาตรา 6 (1) และมาตรา 7 ว่า เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมีลักษณะบ่งเฉพาะหรือไม่
เครื่องหมายการค้ารูปคลื่นประดิษฐ์ ของโจทก์ถูกใช้มาในลักษณะของกรอบภาพที่มีคำว่า "MILO" หรือ "ไมโล" ปรากฏอยู่ข้างในเท่านั้น ซึ่งเครื่องหมายการค้าที่ใช้กับสินค้าอื่นๆ ทั่วไปในท้องตลาดก็มีการใช้กรอบภาพในลักษณะเช่นที่ปรากฏอยู่เช่นกัน แม้ว่าจะไม่เหมือนกับเครื่องหมายการค้ารูปคลื่นประดิษฐ์ของโจทก์ แต่ก็เห็นได้ว่า ภาพประดิษฐ์ในลักษณะที่เป็นกรอบภาพเช่นนี้ไม่มีลักษณะโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์อย่างใดอันที่จะทำให้สาธารณชนหรือผู้ใช้สินค้าจดจำหรือแยกแยะความแตกต่างระหว่างสินค้าตามที่โจทก์กล่าวอ้างได้ หากนำไปใช้โดยลำพังกับสินค้า เครื่องหมายการค้ารูปคลื่นประดิษฐ์ของโจทก์ย่อมไม่อาจทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้สินค้าทราบและเข้าใจได้ว่า สินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์แตกต่างไปจากสินค้าอื่นเช่นใด ถือว่าเครื่องหมายการค้ารูปคลื่นประดิษฐ์ของโจทก์ไม่ใช่ภาพที่ประดิษฐ์ขึ้นอันจะมีลักษณะบ่งเฉพาะตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (6)
เครื่องหมายการค้ารูปคลื่นประดิษฐ์ของโจทก์ไม่ใช่ชื่อ คำหรือข้อความ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (1) หรือ (2) จึงไม่อาจนำหลักเกณฑ์การมีลักษณะบ่งเฉพาะโดยการใช้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสาม มาพิจารณาได้ เครื่องหมายการค้ารูปคลื่นประดิษฐ์ของโจทก์จึงไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะโดยการใช้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2044/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าคล้ายหยดน้ำขาดลักษณะบ่งเฉพาะ แม้เป็นภาพประดิษฐ์แต่ไม่สามารถแยกแยะสินค้าจากผู้อื่นได้
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นภาพประดิษฐ์คล้ายหยดน้ำถือว่าเป็นภาพประดิษฐ์ตามความหมายของคำว่า "เครื่องหมาย" ใน พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 4 เมื่อโจทก์มีความประสงค์จะใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้าเพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายนี้ของโจทก์แตกต่างสินค้าของบุคคลอื่นก็ย่อมถือว่าเป็นเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 4 ได้ แต่จะเป็นเครื่องหมายการค้าอันพึงรับจดทะเบียนหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาตามมาตรา 6 (1) และมาตรา 7 ว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวมีลักษณะบ่งเฉพาะหรือไม่
เครื่องหมายการค้าภาพประดิษฐ์คล้ายหยดน้ำของโจทก์มีลักษณะทรงรี แม้จะตกต่างด้วยเส้นโค้งมนและมีปลายแหลมเพื่อทำให้เกิดความสวยงามและแตกต่างไปจากรูปทรงเรขาคณิตทั่วไป แต่เป็นความแตกต่างเพียงเล็กน้อย ไม่ถึงขนาดที่จะทำให้สาธารณชนเห็นได้ถึงความแตกต่างระหว่างเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับรูปทรงเรขาคณิตอื่นทั่วๆ ไป ต่างจากเครื่องหมายการค้าที่เป็นภาพประดิษฐ์รูปทรงเรขาคณิตอื่นซึ่งสามารถทำให้สาธารณชนเห็นถึงความแตกต่างได้ อันถือได้ว่าเป็นภาพที่ประดิษฐ์ขึ้นจนมีลักษณะบ่งเฉพาะตามกฎหมาย
เครื่องหมายการค้าภาพประดิษฐ์คล้ายหยดน้ำของโจทก์ถูกนำมาใช้ในลักษณะของส่วนประกอบที่มีอักษรโรมันคำว่า "MAGGI" หรือคำว่า "แม็กกี้" ปรากฏอยู่ข้างในไม่มีลักษณะโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ในอันที่จะทำให้สาธารณชนหรือผู้ใช้สินค้าจดจำหรือแยกแยะความแตกต่างระหว่างสินค้าได้ หากนำไปใช้โดยลำพังกับสินค้า เครื่องหมายการค้าภาพประดิษฐ์คล้ายหยดน้ำของโจทก์ไม่อาจทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้สินค้าทราบและเข้าใจได้ว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์แตกต่างไปจากสินค้าอื่นเช่นใด ถือว่าเครื่องหมายการค้าภาพประดิษฐ์คล้ายหยดน้ำของโจทก์ไม่ใช่ภาพที่ประดิษฐ์ขึ้นอันจะมีลักษณะบ่งเฉพาะโดยตัวเองตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (6)
of 2