พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15028/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกล้างนิติกรรมให้ทรัพย์สินระหว่างสมรส: สิทธิเรียกคืนทรัพย์สิน
โจทก์ยกบ้านพิพาทให้จำเลยในระหว่างสมรส เป็นนิติกรรมสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินที่โจทก์จำเลยทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยากัน ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1469 บัญญัติให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างเสียในเวลาใดที่เป็นสามีภริยากันอยู่หรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันขาดจากการเป็นสามีภริยากันก็ได้ ตามทางนำสืบโจทก์ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าโจทก์บอกล้างการให้เมื่อใด แต่เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องหย่าและขอให้เพิกถอนการให้บ้านพิพาท ให้จำเลยคืนบ้านพิพาทแก่โจทก์ ถือได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาบอกล้างในขณะที่ยังเป็นสามีภริยากันอยู่ สัญญาจึงไม่มีผลบังคับอีกต่อไป โจทก์มีสิทธิเรียกคืนบ้านพิพาทจากจำเลยได้โดยไม่จำต้องคำนึงว่าข้อเท็จจริงจะฟังได้หรือไม่ได้ว่าจำเลยประพฤติเนรคุณโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9006/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสซ้อนเป็นโมฆะ แม้คู่สมรสอีกฝ่ายเสียชีวิตก่อนฟ้อง ผู้มีส่วนได้เสียฟ้องได้
ขณะที่จำเลยจดทะเบียนสมรสกับ ท. นั้น ท. จดทะเบียนสมรสกับโจทก์แล้วและยังคงเป็นคู่สมรสกับโจทก์ตลอดมาจนกระทั่ง ท. ถึงแก่ความตาย การสมรสระหว่างจำเลยกับ ท. จึงเป็นการฝ่าฝืน ป.พ.พ. มาตรา 1452 และตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1495 ผู้มีส่วนได้เสียจะกล่าวอ้างขึ้นหรือจะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะก็ได้ตามมาตรา 1497 แม้ภายหลัง ท. ถึงแก่ความตายเป็นเหตุให้การสมรสระหว่างจำเลยกับ ท. สิ้นสุดลงไปก่อนโจทก์ฟ้องก็ตาม แต่เมื่อการจดทะเบียนสมรสระหว่างจำเลยกับ ท. ยังเป็นโมฆะอยู่ โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้การสมรสระหว่างจำเลยกับ ท. เป็นโมฆะได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3432/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับสารภาพของเด็กในคดีแข่งรถ ศาลฎีกาพิพากษากลับ สนับสนุนคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ความผิดฐานแข่งรถในทางโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานอันเป็นความผิดต่อ พ.ร.บ.จราจรทางบก เป็นความผิดอื่นซึ่งกฎหมายมิได้บังคับว่าพนักงานสอบสวนต้องจัดให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ และพนักงานอัยการเข้าร่วมในการสอบปากคำผู้ต้องหาซึ่งเป็นเด็กตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134/2 ประกอบมาตรา 133 ทวิ แต่อย่างใด ประกอบกับผู้ต้องหาไม่ได้ต้องการให้บุคคลดังกล่าวเข้าร่วมในการสอบปากคำ ในชั้นสอบสวนจำเลยให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหาทั้งยังให้ข้อเท็จจริงว่าคืนเกิดเหตุจำเลยได้ร่วมแข่งรถด้วยและหลังการแข่งขันมีเจ้าพนักงานตำรวจเข้าจับกุมซึ่งสอดคล้องกับคำให้การของจำเลยในบันทึกคำให้การชั้นสอบสวน ข้อเท็จจริงประกอบคำรับสารภาพของจำเลยที่ให้ไว้ต่อพนักงานสอบสวนตามบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนจึงเป็นพยานหลักฐานที่พิสูจน์ความผิดของจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21251/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดฐานเป็นธุระจัดหาเด็กเพื่อค้าประเวณี ไม่ต้องเจตนาค้าประเวณี
จำเลยพาเด็กหญิง ธ. นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์เพื่อไปค้าประเวณีที่โรงแรม การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเป็นธุระจัดหาและพาเด็กหญิง ธ. ให้ไปค้าประเวณี อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี มาตรา 9 แล้ว ไม่จำเป็นที่เด็กหญิง ธ. ต้องมีเจตนาค้าประเวณีด้วย เพราะบทบัญญัติดังกล่าว มิได้บัญญัติเจตนาของผู้ค้าประเวณีให้เป็นองค์ประกอบความผิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21063/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมในการใช้บัตรเครดิต และการแปลงหนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด
พ. และโจทก์ทำสัญญาใช้บัตรเครดิตวีซ่าชฎาทองของจำเลยที่ 1 โดย พ. ถือบัตรหลัก โจทก์ถือบัตรเสริม ตามสัญญาการใช้บัตรเครดิตดังกล่าวระบุไว้ว่า ในกรณีที่ธนาคารจำเลยที่ 1 อนุมัติให้ออกบัตรเสริมแก่ผู้ถือบัตรหลักรายใดแล้ว ผู้ถือบัตรหลักและผู้ถือบัตรเสริมจะต้องร่วมกันรับผิดชอบชำระหนี้อันเกิดจากการใช้บัตรนั้นอย่างลูกหนี้ร่วม ซึ่งโจทก์ลงลายมือชื่อไว้ตอนท้ายสัญญาในช่องผู้ให้สัญญา ย่อมเป็นการตกลงเข้าร่วมรับผิดกับ พ. ในการใช้บัตรหลักด้วยอย่างลูกหนี้ร่วมโดยไม่อาจแบ่งแยกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 297
แม้สัญญาการใช้บัตรเครดิตมีข้อตกลงกันว่า กรณีการเรียกเก็บเงินจากการใช้บัตรเครดิต พ. ยินยอมให้จำเลยที่ 1 หักเงินจากบัญชีกระแสรายวันของ พ. แต่พฤติการณ์ที่ พ. ขอเปิดบัญชีกระแสรายวันในวันเดียวกับที่สมัครขอเป็นผู้ถือบัตรเครดิต และจำเลยที่ 1 ให้ พ. เปิดบัญชีกระแสรายวันโดยไม่มีการใช้เช็คเพื่อเบิกถอนเงิน แสดงว่าเป็นบัญชีกระแสรายวันใช้เฉพาะเพื่อชำระหนี้อันเกิดจากการใช้บัตรเครดิต จึงไม่ใช่สัญญาบัญชีเดินสะพัด
แม้สัญญาการใช้บัตรเครดิตมีข้อตกลงกันว่า กรณีการเรียกเก็บเงินจากการใช้บัตรเครดิต พ. ยินยอมให้จำเลยที่ 1 หักเงินจากบัญชีกระแสรายวันของ พ. แต่พฤติการณ์ที่ พ. ขอเปิดบัญชีกระแสรายวันในวันเดียวกับที่สมัครขอเป็นผู้ถือบัตรเครดิต และจำเลยที่ 1 ให้ พ. เปิดบัญชีกระแสรายวันโดยไม่มีการใช้เช็คเพื่อเบิกถอนเงิน แสดงว่าเป็นบัญชีกระแสรายวันใช้เฉพาะเพื่อชำระหนี้อันเกิดจากการใช้บัตรเครดิต จึงไม่ใช่สัญญาบัญชีเดินสะพัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16107-16108/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาห้าม โจทก์อุทธรณ์ข้อเท็จจริง คดีอาญา ใช้อาวุธปืนฆ่า-พยายามฆ่า ศาลอุทธรณ์แก้ไขฐานความผิดเล็กน้อย
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 78 วรรคสาม ป.อ. มาตรา 289 (4) และมาตรา 289 (4) ประกอบมาตรา 80 วางโทษประหารชีวิต ลดโทษให้จำเลยที่ 2 หนึ่งในสาม คงจำคุกจำเลยที่ 2 ตลอดชีวิต ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 78 วรรคหนึ่ง วรรคสาม ป.อ. มาตรา 288 และมาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 โดยวางโทษจำเลยทั้งสองคงเดิมตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาแก้จากความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้ตายและพยายามฆ่าผู้เสียหายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตาม ป.อ. มาตรา 289 (4) และมาตรา 289 (4) ประกอบมาตรา 80 มาเป็นความผิดฐานร่วมกันใช้อาวุธปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ในการกระทำความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้ตายและพยายามฆ่าผู้เสียหายตาม ป.อ. มาตรา 288 และมาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 และยังคงลงโทษประหารชีวิตจำเลยที่ 1 กับจำคุกจำเลยที่ 2 ตลอดชีวิต เป็นการแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองเกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคสอง
โจทก์ฎีกาว่า พยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักรับฟังว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันวางแผนไตร่ตรองที่จะใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายและผู้เสียหายมาก่อนนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 9 จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
โจทก์ฎีกาว่า พยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักรับฟังว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันวางแผนไตร่ตรองที่จะใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายและผู้เสียหายมาก่อนนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 9 จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13674/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาบุกรุก: แม้ไม่มีเจตนาแย่งการครอบครอง แต่การเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยไม่มีสิทธิ ถือเป็นการละเมิด
การที่จำเลยจะมีความผิดฐานบุกรุกตามฟ้องได้ต้องปรากฏด้วยว่า จำเลยมีเจตนาที่จะเข้าไปในที่ดินพิพาทเพื่อแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากผู้ร้องทั้งๆ ที่จำเลยทราบดีอยู่แล้วว่า ผู้ร้องมีสิทธิดีกว่าตน แต่เมื่อพิเคราะห์พฤติการณ์ของจำเลยที่ได้โต้แย้งสิทธิของนายสมนึกและผู้ร้องในที่ดินพิพาทโดยกล่าวอ้างถึงสิทธิของตนในที่ดินพิพาทและท้าทายให้ไปฟ้องศาลตลอดมา ประกอบกับข้อเท็จจริงที่ได้ความว่าผู้ร้องกับจำเลยเป็นญาติกัน ทั้งจำเลยยังเป็นทายาทคนหนึ่งของ จ. ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทมาตั้งแต่เดิมด้วยแล้ว เห็นว่า จำเลยอาจเข้าใจโดยสุจริตว่าช่วงเวลาเกิดเหตุยังอยู่ในช่วงที่โต้แย้งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทกันอยู่และจำเลยมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าผู้ร้องก็เป็นได้ พยานหลักฐานของโจทก์จึงมีข้อน่าสงสัยตามสมควรว่า จำเลยมีเจตนาบุกรุกที่ดินพิพาทหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานบุกรุกตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
อย่างไรก็ตามแม้การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดอาญาเพราะขาดเจตนา แต่การกระทำของจำเลยเป็นการเข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทโดยไม่มีสิทธิที่จะกระทำได้ จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ร้อง แม้ในคดีส่วนอาญาจำเลยจะไม่มีความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง แต่ในคดีส่วนแพ่งก็ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 47 วรรคแรก ดังนั้นเมื่อผู้ร้องไม่ประสงค์ให้จำเลยเข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทอีกต่อไป จำเลยจึงต้องออกไปจากที่ดินพิพาทและชำระค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ร้อง
อย่างไรก็ตามแม้การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดอาญาเพราะขาดเจตนา แต่การกระทำของจำเลยเป็นการเข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทโดยไม่มีสิทธิที่จะกระทำได้ จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ร้อง แม้ในคดีส่วนอาญาจำเลยจะไม่มีความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง แต่ในคดีส่วนแพ่งก็ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 47 วรรคแรก ดังนั้นเมื่อผู้ร้องไม่ประสงค์ให้จำเลยเข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทอีกต่อไป จำเลยจึงต้องออกไปจากที่ดินพิพาทและชำระค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7942/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิดจากการชำระหนี้หลังถูกพิทักษ์ทรัพย์: เริ่มนับเมื่อคืนเงินกองทรัพย์สิน
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดฐานละเมิดที่เปิดบัญชีกระแสรายวันกับโจทก์ หลังจากจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดที่อำนาจจัดการทรัพย์สินของจำเลยตกแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามกฎหมาย จำเลยรู้อยู่แล้วว่าไม่มีอำนาจดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลย แต่กลับเปิดบัญชีกระแสรายวันและเดินสะพัดทางบัญชีกับโจทก์ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องขอให้โจทก์ชำระเงินที่จำเลยชำระหนี้โจทก์ คืนแก่กองทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลาย ถือว่า ณ วันที่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีชำระหนี้แก่โจทก์ยังมิใช่เป็นวันละเมิด อายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 ยังไม่เริ่มนับ เพราะการกระทำของจำเลยกรณีนี้ จะถือเป็นการละเมิดโจทก์ต่อเมื่อโจทก์ต้องคืนเงินให้แก่กองทรัพย์สินของจำเลยแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว เมื่อโจทก์จำต้องคืนเงินให้แก่กองทรัพย์สินของจำเลยตามคำสั่งศาล ซึ่งศาลมีคำสั่งในวันที่ 14 ธันวาคม 2549 จึงถือว่า โจทก์ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันดังกล่าว โจทก์ฟ้อง วันที่ 7 มิถุนายน 2550 ไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทน คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7324/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน กสน.5: ภาระการพิสูจน์ตกแก่ผู้ฟ้องเมื่อไม่มีหลักฐานสนับสนุน
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินตามหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (กสน.5) ออกโดยส่วนจัดนิคมสหกรณ์ในสังกัดกรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ดินพิพาทดังกล่าวมีหนังสือแสดงการทำประโยชน์เป็นหลักฐาน จึงมิใช่อสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดไว้ในทะเบียนที่ดินของสำนักงานที่ดินอำเภอหรือจังหวัดในกรมที่ดิน ซึ่งกฎหมายต้องการให้แสดงออกซึ่งกรรมสิทธิ์ในทางทะเบียนยิ่งกว่าการครอบครอง ที่ดินที่มีหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (กสน.5) เป็นหลักฐานจึงถือได้ว่าเป็นที่ดินมือเปล่าที่มีหลักฐานอื่น ๆ เช่นเดียวกับที่ดินที่มีแบบแจ้งการครอบครอง (ส.ค.1) ใบไต่สวน หรือหลักฐานการเสียภาษีบำรุงท้องที่เป็นหลักฐานแสดงสิทธิ ซึ่งล้วนแต่ไม่ได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373 อีกทั้งคู่กรณีต่างก็กล่าวอ้างว่าที่ดินพิพาทตกอยู่ในเขตหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (กสน.5) ของตน ทั้งโจทก์และจำเลยก็ไม่มีฝ่ายใดได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าวว่าเป็นฝ่ายมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทและกรณีมิใช่จำเลยกล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ดังที่โจทก์กล่าวอ้างในฎีกา ภาระการพิสูจน์จึงยังคงตกแก่โจทก์ที่จะต้องนำสืบพิสูจน์ให้สมตามที่กล่าวอ้างมาในฟ้องว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท เมื่อโจทก์ไม่นำสืบพยานก็ไม่มีทางจะรับฟังได้ว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท