พบผลลัพธ์ทั้งหมด 161 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 763/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ฎีกาข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้ว ถือเป็นการต้องห้ามอุทธรณ์และฎีกา
ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยไถดินบนทางพิพาทอันเป็นทางสาธารณะ โจทก์อุทธรณ์ว่าจำเลยไถคันดินและโค่นต้นไม้ในที่ดินของโจทก์ เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่รับวินิจฉัย โจทก์ฎีกาว่า จำเลยไถทางและต้นไม้เข้าไปในที่ดินของโจทก์เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่รับวินิจฉัย จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: การฟ้องคดีนอกเขตอำนาจศาลอาญา การใช้ดุลพินิจของศาล และการส่งตัวผู้ต้องขัง
มูลคดีเกิดในเขตอำนาจของศาลจังหวัดฝาง พยานหลักฐานต่าง ๆก็อยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดฝาง ถ้าโจทก์ฟ้องคดีที่ศาลจังหวัดฝางก็จะเป็นการสะดวกแก่การพิจารณาพิพากษาคดียิ่งกว่าการฟ้องต่อศาลอาญาแม้จำเลยจะต้องขังอยู่ในเขตอำนาจศาลอาญา โจทก์ก็ชอบที่จะร้องขอต่อศาลอาญาให้สั่งให้เรือนจำที่คุมขังจำเลยอยู่ส่งตัวจำเลยไปคุมขังยังเรือนจำอำเภอฝางได้ ดังนั้น ที่ศาลอาญาใช้ดุลพินิจไม่อนุญาตให้โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลอาญา จึงชอบแล้ว การอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลชั้นต้นแม้จะเป็นการอุทธรณ์ดุลพินิจของศาลชั้นต้น ก็เป็นเรื่องที่โจทก์อุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจของศาลชั้นต้น ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14(5) มิใช่เป็นการอุทธรณ์โต้แย้งข้อเท็จจริงในเนื้อหาแห่งคำฟ้องที่จะต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5382/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ร่วมกันปลอมและใช้เอกสารปลอมฉ้อโกงธนาคาร จำเลยทั้งสองมีความผิดตามกฎหมายอาญา
การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268ประกอบด้วยมาตรา 266,341 เมื่อข้อหาใช้เอกสารปลอมตามมาตรา 268 ประกอบด้วยมาตรา 266 ซึ่งเป็นบทหนักไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ ข้อหาฉ้อโกงตามมาตรา 341ซึ่งเป็นบทที่เบากว่า จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4905/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาอำนาจอุทธรณ์คดีอาญาตามมาตรา 193 ทวิ ต้องดูที่โทษตามที่โจทก์ขอลงโทษ
คำฟ้องโจทก์บรรยายชัดว่า จำเลยที่ 3 ถึงที่ 10 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 กระทำผิด ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 352,353,354,83 ซึ่งความผิดตามมาตรา 354,83 นั้นมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และการพิจารณาว่าคดีอาญาเรื่องใดต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 ทวิ หรือไม่ ย่อมต้องดูที่อัตราโทษตามที่กำหนดไว้ในบทบัญญัติที่โจทก์ขอให้ลงโทษเป็นสำคัญ ส่วนอัตราโทษที่ศาลจะนำมาใช้จริง หาใช่ข้อที่จะนำมาพิจารณาในชั้นนี้ไม่ อุทธรณ์ของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 ถึงที่ 10 จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4905/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาข้อห้ามอุทธรณ์ในคดีอาญา ต้องพิจารณาจากอัตราโทษที่โจทก์ขอลงโทษเป็นสำคัญ ไม่ใช่โทษที่ศาลใช้
การพิจารณาว่าคดีอาญาเรื่องใดต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิหรือไม่ ย่อมต้องดูที่อัตราโทษตามที่กำหนดไว้ในบทบัญญัติที่โจทก์ขอให้ลงโทษเป็นสำคัญ ส่วนอัตราโทษที่ศาลจะนำมาใช้จริง ไม่ใช่ข้อที่จะนำมาพิจารณาในชั้นนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4377/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีอาญา และการใช้ดุลพินิจรับฟังความเห็นผู้ชำนาญการ
ข้อหาบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 มีอัตราโทษอย่างสูงจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับจึงเป็นคดีต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์นำสืบสมตามฟ้องแล้วเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ในปัญหาดังกล่าวเป็นการไม่ชอบ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 243 วรรคสอง ที่ว่าศาลจะให้ผู้ชำนาญการพิเศษทำความเห็นเป็นหนังสือก็ได้ แต่ต้องให้มาเบิกความประกอบหนังสือนั้น บทบัญญัติดังกล่าวให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจที่จะทำหรือไม่ก็ได้ มิใช่บทบังคับเด็ดขาด เมื่อศาลมิได้สั่งให้ทำความเห็นเป็นหนังสือก็ย่อมไม่ต้องห้ามมิให้รับฟังความเห็นดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3563/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจศาลชั้นต้นในข้อหาซ่อนเร้นศพและฆ่าผู้อื่น ต้องห้ามอุทธรณ์ตามกฎหมาย
คดีความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่า พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบไม่พอฟังลงโทษจำเลยโจทก์อุทธรณ์ว่าพยานหลักฐานของโจทก์ฟังลงโทษจำเลยได้ เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิการที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ในข้อหาดังกล่าว และศาลอุทธรณ์ภาค 2 รับวินิจฉัยให้เป็นการไม่ชอบ อัยการสูงสุดไม่มีอำนาจรับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง คำให้การในชั้นสอบสวนของพยานซึ่งโจทก์ไม่สามารถนำตัวมาเบิกความในชั้นพิจารณา เพราะหาตัวไม่พบ แม้โจทก์จะมีผู้ว่าราชการจังหวัดมาเบิกความว่าพยานได้ให้การต่อหน้าตนก็ตาม ก็รับฟังได้แต่เพียงว่าพยานได้เคยให้การไว้เช่นนั้น แต่ความจริงจะเป็นดังที่พยานให้การไว้หรือไม่ โจทก์จะต้องมีพยานหลักฐานอื่นมาประกอบอีก เพราะคำให้การในชั้นสอบสวนของพยานดังกล่าว จำเลยไม่มีโอกาสซักค้านเพื่อให้ศาลใช้ดุลพินิจค้นคว้าหาข้อเท็จจริงได้ จึงมีน้ำหนักน้อย เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานใดมาสืบให้เห็นว่าจำเลยฆ่าผู้ตาย ลำพังคำรับชั้นจับกุมจำเลย และคำให้การรับสารภาพของจำเลยในชั้นสอบสวนซึ่งจำเลยปฏิเสธอยู่ว่าไม่ได้ให้การรับสารภาพด้วยความสมัครใจจึงนำมารับฟังลงโทษจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3231/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีอาญาข้อหาปลอมแปลงเอกสารสิทธิ: ศาลต้องพิจารณาอัตราโทษเพื่อวินิจฉัยว่าอุทธรณ์ได้หรือไม่
การอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงในคดีอาญานั้น ศาลจะต้องพิจารณาอัตราโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมายสำหรับข้อหาแต่ละกระทงความผิดตามฟ้องว่าต้องห้ามอุทธรณ์หรือไม่ ไม่ใช่ความผิดที่พิจารณาได้ความข้อหาปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอมตามฟ้อง มีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาทคดีโจทก์ในข้อหาดังกล่าวจึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2366/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบพระราชกฤษฎีกาต่อความผิดบุกรุกที่ดินสาธารณะ และการพิจารณาโทษตามกฎหมายที่ใช้บังคับ
ที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันแต่ระหว่างการพิจารณาคดีของศาลได้มีพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินพิพาทดังนั้น ที่ดินพิพาทย่อมไม่เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับแต่ที่ดินพิพาทยังคงมีสภาพเป็นที่ดินอันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินหาได้เปลี่ยนแปลงตกไปเป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลหนึ่งบุคคลใดไม่จำเลยทั้งหกบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินพิพาท จึงยังมีความผิดอยู่ แต่เมื่อที่ดินพิพาทมิได้มีสภาพเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน จึงเป็นกรณีกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำความผิดต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าทางใดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 จำเลยทั้งหกจึงไม่ต้องรับโทษตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 108 ทวิ วรรคสอง แต่ต้องรับโทษตามมาตรา 108 ทวิ วรรคหนึ่ง ซึ่งมีอัตราโทษเบากว่า พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวหาได้บัญญัติให้การกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดไม่จึงไม่มีผลให้จำเลยทั้งหกพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 การที่นายอำเภอซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ดูแลที่ดินพิพาทดังกล่าวตามกฎหมายมีหนังสือสั่งให้จำเลยที่ 4 และที่ 6 ออกไปจากที่ดินพิพาทภายในกำหนดจำเลยที่ 4 และที่ 6 ทราบแล้วเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามโดยไม่มีเหตุและข้อแก้ตัวอันสมควรการกระทำของจำเลยที่ 4 และที่ 6 จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา368 วรรคหนึ่ง ความผิดฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 ศาลชั้นต้นลงโทษปรับจำเลยที่ 4และที่ 6 คนละ 400 บาท จึงเป็นคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22 แต่เมื่อจำเลยที่ 4 และที่ 5อุทธรณ์รวมมากับความผิดฐานอื่นที่ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานนี้ซึ่งศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 โจทก์จึงมีสิทธิฎีกาในความผิดฐานนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 443/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์แก้ไขคำสั่งส่งตัวจำเลยฝึกอบรมเป็นอุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้ามตามกฎหมาย
อุทธรณ์ของจำเลยที่ขอให้ศาลมีคำสั่งให้ส่งตัวจำเลยไปให้ส. ซึ่งเป็นป้าของจำเลย ดูแลแทนการส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรม ย่อมมีผลเป็นการอุทธรณ์ดุลพินิจของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง จึงเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความฯ มาตรา 22 กับพระราชบัญญัติ ให้นำวิธีพิจารณาความฯ มาตรา 3 เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 74 แล้ว หากจำเลยเห็นว่าพฤติการณ์เกี่ยวกับคำสั่งดังกล่าวของศาลเปลี่ยนแปลงไป จำเลยชอบที่จะร้องขอต่อศาลชั้นต้นให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสั่งนั้นหรือมีคำสั่งใหม่ได้