พบผลลัพธ์ทั้งหมด 161 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5875/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิอุทธรณ์คดีอาญา: องค์ประกอบความผิดไม่เข้าข่าย & โทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี
แม้โจทก์จะขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 342,265,268ซึ่งมีอัตราโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกเกินกว่า 3 ปี แต่โจทก์บรรยายฟ้องความผิดฐานฉ้อโกงไม่เข้าองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 342 ไม่อาจลงโทษจำเลยฐานนี้ได้ ส่วนความผิดฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยปลอมเอกสารสิทธิหรือเอกสารราชการไม่อาจลงโทษจำเลยตามมาตรา 265,268 ได้เช่นกัน คงเหลือความผิดฐานอื่นซึ่งมีอัตราโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกิน 3 ปี จึงเป็นคดีซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5160/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกทรัพย์: การยกให้เป็นเหตุให้ไม่มีเจตนาทุจริต แม้ไม่ทำตามแบบ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานยักยอก ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า บ้านที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยยักยอกนั้น จำเลยได้รับยกให้จากบิดาตามที่จำเลยนำสืบต่อสู้ แม้การยกให้ดังกล่าวจะมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็ไม่อาจลงโทษจำเลยตามฟ้องได้ เท่ากับศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยมิได้มีเจตนาทุจริตเบียดบังยักยอกทรัพย์ตามที่โจทก์กล่าวหา ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า การยกให้มิได้ทำตามแบบจำเลยจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทนั้น แม้จะเป็นปัญหาข้อกฎหมายก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป จึงเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4766/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีอาญาและข้อจำกัดในการฎีกาเมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาตรงกัน รวมถึงข้อยกเว้นเรื่องอัตราโทษ
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องในข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 177 และมาตรา 180 ข้อหาดังกล่าวจึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220 แม้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องความผิดฐานนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 180 ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปี ปรับไม่เกินหกพันบาท อันจะต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 ทวิ ก็ตาม แต่ความผิดดังกล่าวเป็นกรรมเดียวกันกับความผิดฐานเบิกความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 ซึ่งมีอัตราโทษอันเป็นบทหนัก จำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ ดังนั้นความผิดฐานนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานเท็จจึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2358/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เอกสารราชการปลอมและแจ้งข้อความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ไม่ขัดต่อข้อห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 193 ทวิ
การที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 267,268นั้น เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 267และมาตรา 268 ซึ่งเกิดจากการกระทำผิดฐานใช้หรืออ้างเอกสารราชการปลอม แต่เนื่องจากมาตรา 268 มิได้ระวางอัตราโทษไว้โดยเฉพาะว่าจะให้ลงโทษแก่ผู้กระทำผิดอย่างไร คงให้นำอัตราโทษตามที่ระบุไว้ในมาตรา 264 มาตรา 265 มาตรา 266 หรือมาตรา 267 ซึ่งแล้วแต่ว่าเอกสารที่ได้ใช้หรืออ้างนั้นเกิดขึ้นจากการกระทำผิดของมาตราหนึ่งมาตราใดดังที่กล่าวแล้วมาใช้ ในกรณีเช่นนี้หากจะมีการลงโทษตามมาตรา 268 ก็จะต้องนำเอาอัตราโทษตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 265มาใช้เป็นโทษของมาตรา 268 เพราะโจทก์ได้กล่าวอ้างมาในฟ้องด้วยว่าจำเลยได้ใช้หรืออ้างเอกสารอันเป็นเอกสารราชการที่พวกของจำเลยได้ปลอมขึ้น เมื่อมาตรา 265 ระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปีและปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท คดีโจทก์ในข้อหานี้จึงไม่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 193 ทวิ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2358/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เอกสารราชการปลอมแจ้งการย้ายที่อยู่ ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เนื่องจากคดีไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 193 ทวิ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยรู้อยู่แล้วว่าใบแจ้งย้ายที่อยู่ท.ร.17 เป็นเอกสารราชการที่พวกของจำเลยปลอมขึ้นไปใช้ และแสดงต่อ เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเขตพระโขนง ให้หลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง อันเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อ เจ้าพนักงานผู้กระทำการตาม หน้าที่ ทำให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเขตพระโขนงหลงเชื่อจึงได้ จดข้อความอันเป็นเท็จนั้นลงในทะเบียนบ้านของจำเลย อันเป็นเอกสารของทางราชการโดย ประการที่จะเกิดความเสียหายแก่นายทะเบียนท้องถิ่นเขตพระโขนงผู้อื่นและประชาชน ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267,268 นั้น เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267และมาตรา 268 ซึ่ง เกิดจากการกระทำผิดฐานใช้ หรืออ้างเอกสารราชการปลอมแต่ มาตรา 268 มิได้ระวางอัตราโทษไว้โดยเฉพาะ ว่าจะให้ลงโทษแก่ผู้กระทำผิดอย่างไรคงให้นำอัตราโทษตาม ที่ระบุไว้ในมาตรา 264,265,266 หรือมาตรา 267 ซึ่ง แล้วแต่ว่าเอกสารที่ได้ใช้ หรืออ้างนั้นเกิดขึ้นจากการกระทำผิดของมาตราใดดังที่กล่าวแล้วมาใช้ ในคดีนี้หากจะมีการลงโทษจำเลยตาม มาตรา 268ก็จะต้อง นำเอาอัตราโทษตาม ที่กำหนดไว้ในมาตรา 265 มาใช้ เป็นโทษของมาตรา 268 ซึ่ง มาตรา 265 ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ หกเดือนถึง ห้าปี และปรับตั้งแต่ หนึ่งพัน บาทถึง หนึ่งหมื่นบาท เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คดีโจทก์ในข้อหานี้จึงไม่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3754/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่า โจทก์เป็นผู้เช่าบ้านและเปิดเป็นร้านให้เช่าวีดีโอ คดีโจทก์ไม่มีมูล เป็นการพิพากษายกฟ้องโดยอาศัยข้อเท็จจริง คดีโจทก์สำหรับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137,172 และ 310 จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา193 ทวิ โจทก์อุทธรณ์ว่าพยานหลักฐานโจทก์ชั้นไต่สวนมูลฟ้องมีน้ำหนักน่าเชื่อว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของร้าน เป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทกฎหมายดังกล่าวความผิดในข้อหาทั้งสามนี้จึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ส่วนข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157,162 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องโดยวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 5 ถึงที่ 8 จับกุมโจทก์เนื่องจากเชื่อคำของพยานและของโจทก์ในขณะตรวจค้นให้จับกุมตามที่ปรากฏในบันทึกการตรวจค้นจับกุมและรายงานประจำวันถือได้ว่าจำเลยปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริต ไม่มีพฤติการณ์พิเศษให้เห็นว่ากระทำไม่ชอบประการใด และโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมาสืบว่า โจทก์ได้แจ้งต่อฝ่ายจำเลยว่าโจทก์ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดดังกล่าวเป็นการพิพากษายกฟ้องโดยอาศัยข้อเท็จจริง โจทก์ฎีกาว่าข้อความตามบันทึกการตรวจค้นจับกุมไม่เป็นความจริง การที่ศาลอุทธรณ์ฟังว่าบันทึกการตรวจค้นจับกุมดังกล่าวถูกต้อง เป็นการฟังข้อเท็จจริงนอกสำนวนไม่ชอบด้วยกฎหมาย เช่นนี้ ฎีกาของโจทก์ที่อ้างมาเป็นข้อกฎหมายว่า ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงนอกสำนวนก็เพียงเพื่อสนับสนุนข้ออ้างที่ว่าข้อเท็จจริงไม่ได้เป็นไปตามบันทึกการตรวจค้นจับกุม เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3754/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษายกฟ้องโดยอาศัยข้อเท็จจริง และการห้ามอุทธรณ์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นผู้เช่าบ้านและเปิดเป็นร้านให้เช่าวีดีโอ คดีโจทก์ไม่มีมูล เป็นการพิพากษายกฟ้องโดยอาศัยข้อเท็จจริง คดีโจทก์สำหรับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137172 และ 310 จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ โจทก์อุทธรณ์ว่าพยานหลักฐานโจทก์ชั้นไต่สวนมูลฟ้องมีน้ำหนักน่าเชื่อว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของร้านดังกล่าวแต่อย่างใด เป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นจึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทกฎหมายดังกล่าว ความผิดในข้อหาทั้งสามนี้จึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นโจทก์ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ส่วนข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157162 ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 5 ถึงที่ 8 จับกุมโจทก์เนื่องจากเชื่อคำ ของ พยานและของโจทก์ในขณะตรวจค้นจับกุมตามที่ปรากฏในบันทึกการตรวจค้นจับกุมและรายงานประจำวัน ถือได้ว่าจำเลยปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริต ไม่มีพฤติการณ์พิเศษให้เห็นว่ากระทำไม่ชอบประการใด และโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมาสืบว่าโจทก์ได้แจ้งต่อฝ่ายจำเลยว่าโจทก์ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดดังกล่าวเป็นการพิพากษายกฟ้องโดยอาศัยข้อเท็จจริงอีกเช่นกัน โจทก์ฎีกามีใจความว่าข้อความตามบันทึกการตรวจค้นจับกุมไม่เป็นความจริงการที่ศาลอุทธรณ์ฟังว่าบันทึกการตรวจค้นจับกุมดังกล่าวถูกต้องเป็นการฟังข้อเท็จจริงนอกสำนวน ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เช่นนี้ฎีกาของโจทก์ที่อ้างมาเป็นข้อกฎหมายว่าศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงนอกสำนวนก็เพียงเพื่อสนับสนุนข้ออ้างที่ว่าข้อเท็จจริงไม่ได้เป็นไปตามบันทึกการตรวจค้นจับกุม เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3062/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งยกฟ้องในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง และการฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงในความผิดฐานรับของโจร
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ว่า ความผิดฐานยักยอกและรับของโจรเกี่ยวเนื่องกันจึงรับอุทธรณ์คำสั่งของโจทก์ ดังนี้คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งให้รับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้เท่านั้น มิใช่เป็นการอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ส่วนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่า ความผิดฐานยักยอกไม่มีมูลนั้น มีผลเป็นการพิพากษายกฟ้องโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 167 อันเป็นคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีอย่างหนึ่ง การอุทธรณ์คำสั่งจึงต้องอาศัยหลักเกณฑ์ตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 ทวิ มาใช้บังคับด้วย ดังนี้ เมื่อโจทก์ฟ้องความผิดฐานยักยอกและรับของโจรต่างกรรมต่างวาระกัน เมื่อความผิดฐานยักยอกต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์โจทก์ในความผิดฐานยักยอกไว้ด้วยจึงไม่ชอบ สำหรับความผิดฐานรับของโจร เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งหกร่วมกันรับรถของโจทก์ไว้โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาโดยการกระทำผิดฐานยักยอก ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ให้ยกฟ้องโดยฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยมิได้กระทำผิดฐานยักยอก การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานรับของโจร ดังนี้ จึงเป็นการยกฟ้องโดยอาศัยข้อเท็จจริงการที่โจทก์ฎีกาว่า ฟ้องโจทก์มีมูลความผิดฐานรับของโจรจึงเป็นการฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4477/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์โทษปรับ และการนับโทษต่อเมื่อจำเลยปฏิเสธ
ในข้อหาที่ศาลชั้นต้นลงโทษปรับ 100 บาทนั้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงให้จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาต้องยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์และศาลชั้นต้นไม่ได้สอบถามจำเลยว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อหรือไม่จึงนับโทษต่อให้ไม่ได้
เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์และศาลชั้นต้นไม่ได้สอบถามจำเลยว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อหรือไม่จึงนับโทษต่อให้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4232/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ต้องห้ามในความผิดฐานบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์ ศาลฎีกายืนตามศาลล่าง
ข้อหากระทงความผิดฐานบุกรุกตาม ป.อ. มาตรา 365 ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องโดยอาศัยข้อเท็จจริง คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220 แม้ฎีกาของโจทก์ร่วมจะเป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย แต่ศาลฎีกาต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาแล้วว่า การกระทำของจำเลยยังไม่มีเจตนากระทำความผิด เช่นนี้ ฎีกาข้อกฎหมายของโจทก์ร่วมไม่ว่าจะมีข้อโต้แย้งประการใด ก็ไม่อาจทำให้ศาลฎีกาลงโทษจำเลยได้ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานทำให้เสียทรัพย์และฐานบุกรุกแยกกระทงกันมา การพิจารณาสิทธิในการอุทธรณ์ต้องแยกพิจารณาเป็นรายกระทงความผิด ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ มีโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพัน บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยอาศัยข้อเท็จจริง โจทก์ร่วมจึงอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ.