คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 193 ทวิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 161 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3468/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาขึ้นอยู่กับความเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ถูกยักยอก การโต้แย้งดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐานเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ร่วมมิได้เข้าเกี่ยวข้องกับการรับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรร่วมกับองค์การตลาดเพื่อการเกษตร แต่องค์การตลาดเพื่อการเกษตรเป็นผู้ซื้อข้าวเปลือกและชำระราคาเอง โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในข้าวเปลือกที่รับซื้อ โจทก์ร่วมอุทธรณ์โดยอ้างเป็นข้อกฎหมายว่าตามคำฟ้องมิได้เกี่ยวข้องกับองค์การตลาดเพื่อการเกษตรและพยานโจทก์ก็เบิกความว่าจำเลยเอาข้าวเปลือกของโจทก์ร่วมไปขายแล้วยักยอกเอาเงินที่ขายได้ไป ศาลจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าโจทก์ร่วมได้เข้าร่วมกับองค์การตลาดเพื่อการเกษตรรับซื้อข้าวเปลือกหรือไม่ ดังนี้ อุทธรณ์ของโจทก์ร่วมเป็นการมุ่งประสงค์ที่จะไม่ให้ศาลชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏจากพยานหลักฐานในสำนวนเพื่อที่จะให้ศาลฟังว่าโจทก์ร่วมมีกรรมสิทธิ์ในข้าวเปลือกพิพาทอันเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงมิใช่ข้อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3468/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: การพิสูจน์กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ถูกกล่าวหายักยอกเป็นข้อเท็จจริง ไม่ใช่ข้อกฎหมาย
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ร่วมมิได้เข้าเกี่ยวข้องกับการรับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรร่วมกับองค์การตลาดเพื่อการเกษตรแต่องค์การตลาดเพื่อการเกษตรเป็นผู้ซื้อข้าวเปลือกและชำระราคาเอง โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในข้าวเปลือกที่รับซื้อ โจทก์ร่วมอุทธรณ์โดยอ้างเป็นข้อกฎหมายว่าตามคำฟ้องมิได้เกี่ยวข้องกับองค์การตลาดเพื่อการเกษตรและพยานโจทก์ก็เบิกความว่าจำเลยเอาข้าวเปลือกของโจทก์ร่วม ไปขายแล้วยักยอกเอาเงินที่ขายได้ไป ศาลจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าโจทก์ร่วมได้เข้าร่วมกับองค์การตลาดเพื่อการเกษตรรับซื้อข้าวเปลือกหรือไม่ ดังนี้ อุทธรณ์ของโจทก์ร่วมเป็นการมุ่งประสงค์ที่จะไม่ให้ศาลชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏจากพยานหลักฐานในสำนวนเพื่อที่จะให้ศาลฟังว่าโจทก์ร่วมมีกรรมสิทธิ์ในข้าวเปลือกพิพาทอันเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงมิใช่ข้อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3468/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องในคดีเบียดบังยักยอก: การพิสูจน์ความเป็นเจ้าของทรัพย์สินและการรับฟังพยานหลักฐาน
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ร่วมมิได้เข้าเกี่ยวข้องกับการรับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรร่วมกับองค์การตลาดเพื่อการเกษตรแต่องค์การตลาดเพื่อการเกษตรเป็นผู้ซื้อข้าวเปลือกและชำระราคาเองโจทก์ร่วมจึงไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในข้าวเปลือกที่รับซื้อโจทก์ร่วมอุทธรณ์โดยอ้างเป็นข้อกฎหมายว่าตามคำฟ้องมิได้เกี่ยวข้องกับองค์การรตลาดเพื่อการเกษตรและพยานโจทก์ก็เบิกความว่าจำเลยเอาข้าวเปลือกของโจทก์ร่วมไปขายแล้วยักยอกเอาเงินที่ขายได้ไปศาลจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าโจทก์ร่วมได้เข้าร่วมกับองค์การตลาดเพื่อการเกษตรรับซื้อข้าวเปลือกหรือไม่ดังนี้อุทธรณ์ของโจทก์ร่วมเป็นการมุ่งประสงค์ที่จะไม่ให้ศาลชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏจากพยานหลักฐานในสำนวนเพื่อที่จะให้ศาลฟังว่าโจทก์ร่วมมีกรรมสิทธิ์ในข้าวเปลือกพิพาทอันเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานจึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงมิใช่ข้อกฎหมาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2641/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาความผิดลิขสิทธิ์: จำเลยเข้าใจผิดว่าโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นมีสิทธิพิมพ์หนังสือได้ ฎีกายืนยกฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างและผู้จัดการโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย จ้างจำเลยอื่นให้พิมพ์ปลอมหนังสือแบบเรียนและแบบพิมพ์ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการมีลิขสิทธิ์ เอาชื่อในการประกอบการค้าและรูปเสมาธรรมจักรซึ่งเป็นเครื่องหมายราชการของกระทรวงศึกษาธิการมาใช้ แล้วส่งไปจำหน่ายแก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรมพ.ศ. 2474 มาตรา 25,27 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521มาตรา 24,43 พระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พ.ศ. 2482มาตรา 6,7,8 พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 19,57ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264,265,268,272(1)กรณีเป็นเรื่องการกระทำกรรมเดียวแต่ผิดกฎหมายหลายบทเมื่อบทหนักตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ พระราชบัญญัติการพิมพ์ฯและประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265,268 ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงแล้วความผิดบทอื่น ๆ แม้จะมีอัตราโทษจำคุก ไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาทก็ย่อมไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงด้วย จำเลยที่ 4 เป็นหัวหน้าแผนกจำหน่าย จำเลยที่ 5เป็นผู้จัดการฝ่ายการพิมพ์โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นแม้จะทราบว่ากรมการปกครองต้องขออนุญาตจัดพิมพ์หนังสือแบบเรียนต่อกระทรวงศึกษาธิการก่อนจึงจะจัดพิมพ์ได้ ก็เฉพาะในช่วงที่งบประมาณจัดพิมพ์เป็นของกรมการปกครองเมื่อกระทรวงมหาดไทยโอนงบประมาณในการจัดพิมพ์หนังสือแบบเรียนเพื่อแจกแก่นักเรียนที่ยากจนยืมเรียนให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดจำเลยอาจเข้าใจว่าหน้าที่การขออนุญาตจัดพิมพ์เป็นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดก็ได้การที่จำเลยได้สั่งจ้างจำเลยที่ 1 จัดพิมพ์หนังสือแบบเรียนเตรียมไว้ก่อนที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดจะสั่งจ้างพิมพ์นั้นเป็นดุลยพินิจของจำเลยที่จะกระทำได้ ดังนี้ จำเลยที่ 4 ที่ 5กระทำไปโดยไม่รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดย่อมขาดเจตนาในการกระทำความผิดตามฟ้อง บริษัทจำเลยที่ 1 มีจำเลยอื่นอีก 5 คน เป็นกรรมการ และลูกจ้างย่อมเข้าใจว่าโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นเป็นส่วนราชการ สังกัดกระทรวงมหาดไทยเมื่อส่วนราชการมาจ้างพิมพ์ในนามองค์การบริหารส่วนจังหวัดซึ่งพิมพ์ในรูปแบบเดียวกับ สมัยที่กรมการปกครองจัดพิมพ์ มีชื่อผู้จัดการโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นเป็นผู้พิมพ์ผู้โฆษณาเหมือนกันจำเลยย่อมจะต้องเข้าใจว่าส่วนราชการผู้ว่าจ้าง มีสิทธิโดยชอบธรรมที่จะจ้างพิมพ์ได้ ย่อมไม่จำต้องไปตรวจสอบว่าผู้ว่าจ้างพิมพ์มีลิขสิทธิ์ในการสั่งพิมพ์ตามกฎหมายหรือไม่การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามกฎหมายที่โจทก์ฟ้องเพราะขาดเจตนา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3556/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงในคดีอาญาที่มีอัตราโทษจำกัด ห้ามอุทธรณ์ได้
ในการไต่สวนมูลฟ้อง ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีพยานมาสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 รู้เห็นหรือมีส่วนร่วมกับจำเลยที่ 1 ให้ยกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ว่าพยานหลักฐานของโจทก์ฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 มีส่วนรู้เห็นกับจำเลยที่1 เป็นการอุทธรณ์โต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ เพราะคดีมีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2482/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามกฎหมาย และการรับฟังพยานเอกสารในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง
ผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีในศาลชั้นต้นและเป็นผู้ลงชื่อในคำพิพากษาด้วยได้มีคำสั่งในคดีซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงว่า"รับเป็นอุทธรณ์ของโจทก์" เพียงเท่านี้ไม่มีข้อความอื่นใดที่พอจะให้เข้าใจได้ว่าเป็นการอนุญาตให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ตรี จึงฟังไม่ได้ว่าได้มีการอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 242 มาใช้บังคับในการพิจารณาคดีอาญาได้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏในชั้นศาลอุทธรณ์ว่า อุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ ศาลอุทธรณ์ย่อมไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อเท็จจริงของโจทก์ได้
เอกสารที่ทนายจำเลยใช้ถามค้านพยานโจทก์ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง พยานโจทก์ได้ตรวจดูและรับรองความถูกต้องบางส่วน ทั้งเป็นเอกสารราชการที่มีเจ้าหน้าที่รับรองความถูกต้องแล้ว จำเลยมีอำนาจที่จะส่งศาลประกอบการถามค้านได้ ไม่ถือว่าเป็นเรื่องที่จำเลยนำพยานเข้าสืบในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ดังนี้ ศาลย่อมรับฟังประกอบการพิจารณาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2302/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการวินิจฉัยข้อเท็จจริงในชั้นอุทธรณ์คดีอาญา และการห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 193 ทวิ
กรณีที่มีการอุทธรณ์เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมาย การวินิจฉัยข้อกฎหมายนั้นๆ ศาลอุทธรณ์ต้องฟังข้อเท็จจริงตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น แต่ถ้าศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดต่อกฎหมาย ศาลอุทธรณ์มีอำนาจฟังข้อเท็จจริงใหม่แล้วมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดไปตามนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 243 (3) (ก) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15
โจทก์อุทธรณ์ว่า ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจถือเอาข้อเท็จจริงตาม คำพิพากษาคดีแพ่งมาผูกพันโจทก์ในคดีอาญาแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยศาลชั้นต้นชอบที่จะวินิจฉัยพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบไว้ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องเพื่อประทับฟ้องโจทก์ไว้พิจารณานั้นเท่ากับโจทก์อุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดต่อกฎหมาย ศาลอุทธรณ์มีอำนาจฟังข้อเท็จจริงใหม่แล้วพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดไปตามนั้นได้
ชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ศาลชั้นต้นฟังว่าเอกสารสัญญากู้ที่จำเลยใช้เป็นหลักฐานฟ้องเรียกเงินกู้จากโจทก์ในคดีแพ่งเป็นเอกสารที่แท้จริงแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานแสดงหลักฐานเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 180 นั้น เป็น การยกฟ้องโดยอาศัยข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ใน ปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 741/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความผิดฐานพาอาวุธและการทำร้ายร่างกาย: ข้อจำกัดในการอุทธรณ์และหลักต่างกรรมกัน
ข้อหาความผิดฐานพาอาวุธปืนไปในเมืองหมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันสมควร ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 371 มีอัตราโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ และโจทก์บรรยายฟ้องข้อหาตามมาตรา 371 กับความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้รับอันตรายสาหัสตาม มาตรา 297 เป็นกรณีต่างกรรมกัน มิใช่เป็นเรื่องกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท การที่ศาลอุทธรณ์รับพิจารณาความผิดตามมาตรา 297 จึงไม่มีสาเหตุที่จะต้องรับพิจารณาความผิดตาม มาตรา 371 ซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์และยุติไปแล้ว ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยตาม มาตรา371 จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาพิพากษาให้ยกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1074/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างอาคารผิดแบบ การปฏิบัติตามกฎหมาย และความรับผิดของผู้กระทำ
จำเลยถูกฟ้องว่าปลูกสร้างอาคารไม่ตรงตามแบบที่ได้รับอนุญาต ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่าโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยไม่เข้าข้อยกเว้นตาม มาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ฯลฯ อันจะทำให้ถือว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดเช่นนี้การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์นำสืบข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบแห่งความผิดครบถ้วนแล้ว และเป็นหน้าที่ของจำเลย ที่จะต้องนำสืบว่าการกระทำของจำเลยเข้าข้อยกเว้นข้ออุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นปัญหาข้อกฎหมาย
ข้อบัญญัติส่วนท้องถิ่นเป็นกฎหมายใช้บังคับแก่คนทั่วประเทศมิใช่บังคับเฉพาะแต่คนในท้องถิ่นเท่านั้น จึงเป็น ข้อกฎหมายที่ศาลจะต้องทราบเอง โดยโจทก์มิต้องนำสืบความในข้อบัญญัติดังกล่าว
พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่จำเลยว่า "ก่อสร้างอาคารผิดแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตจากคณะเทศมนตรีเมืองปทุมธานี" เช่นนี้เป็นการแจ้งข้อหาชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 134 พนักงานสอบสวนหาจำต้องแจ้งชื่อพระราชบัญญัติด้วยไม่การสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
จำเลยทราบอยู่แล้วว่าการก่อสร้างอาคารในเขตเทศบาลต้องได้รับอนุญาตจากเทศบาล ซึ่งมีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 ในเขตเทศบาลเมืองปทุมธานี ฯ แล้ว การที่จำเลยก่อสร้างฝ่าฝืนต่อเติมอาคารผิดไปจากที่ได้รับอนุญาต จึงจะยกเป็นเหตุอ้างว่าไม่รู้กฎหมาย เพื่อไม่ต้องรับโทษ หรือรับโทษน้อยลงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 62 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1074/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างอาคารผิดแบบและการยกเว้นความรับผิดทางอาญาจากความเข้าใจผิดเรื่องกฎหมาย
จำเลยถูกฟ้องว่าปลูกสร้างอาคาร ไม่ตรงตามแบบที่ได้รับอนุญาต ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่าโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยไม่เข้าข้อยกเว้นตาม มาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ฯลฯ อันจะทำให้ ถือว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิด เช่นนี้การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์นำสืบข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบแห่งความผิดครบถ้วนแล้ว และเป็นหน้าที่ของจำเลย ที่จะต้องนำสืบว่าการกระทำของจำเลยเข้าข้อยกเว้นข้ออุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นปัญหาข้อกฎหมาย
ข้อบัญญัติส่วนท้องถิ่นเป็นกฎหมายใช้บังคับแก่คนทั่วประเทศมิใช่บังคับเฉพาะแต่คนในท้องถิ่นเท่านั้น จึงเป็น ข้อกฎหมายที่ศาลจะต้องทราบเอง โดยโจทก์มิต้องนำสืบความในข้อบัญญัติดังกล่าว
พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่จำเลยว่า "ก่อสร้างอาคารผิดแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตจากคณะเทศมนตรีเมืองปทุมธานี" เช่นนี้เป็นการแจ้งข้อหาชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 134 พนักงานสอบสวนหาจำต้องแจ้งชื่อพระราชบัญญัติด้วยไม่การสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
จำเลยทราบอยู่แล้วว่าการก่อสร้างอาคารในเขตเทศบาลต้องได้รับอนุญาตจากเทศบาล ซึ่งมีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 ในเขตเทศบาลเมืองปทุมธานี ฯ แล้ว การที่จำเลยก่อสร้างฝ่าฝืนต่อเติมอาคารผิดไปจากที่ได้รับอนุญาต จึงจะยกเป็นเหตุอ้างว่าไม่รู้กฎหมาย เพื่อไม่ต้องรับโทษ หรือรับโทษน้อยลงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 62 ไม่ได้
of 17