พบผลลัพธ์ทั้งหมด 161 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8760/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิอุทธรณ์คดียาเสพติด - การไม่รอการลงโทษ - โทษปรับต่ำกว่ากฎหมาย
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ฐานร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน และฐานเสพเมทแอมเฟตามีน เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีน โดยรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยที่ 1 โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและฐานร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเท่านั้น โดยอุทธรณ์ของโจทก์ไม่ได้กล่าวถึงความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนที่ศาลชั้นต้นรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยที่ 1 ว่า โจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นอย่างไร หรือศาลชั้นต้นรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยที่ 1 ไม่ชอบอย่างไร ทั้งความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 91 มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสามปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3 ด้วย เมื่ออุทธรณ์ของโจทก์ไม่คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนและต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้นแล้ว จะถือว่าการที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและฐานร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนแล้ว เท่ากับโจทก์อุทธรณ์ขอให้ไม่รอการลงโทษในความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนไปโดยปริยายหาได้ไม่ กรณีดังกล่าวเท่ากับโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ในความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนด้วย แม้การลงโทษจำคุกในความผิดฐานสนับสนุนการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนและการรอการลงโทษจำคุกในความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีน จะเป็นการลงโทษที่ลักลั่นกันก็ตาม แต่การลงโทษที่ลักลั่นกันดังกล่าวมิได้เกิดจากการใช้ดุลพินิจของศาล แต่เกิดจากการที่โจทก์ไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์ในความผิดฐานที่ศาลรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ขอให้ไม่รอการลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีน แม้ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานสนับสนุนการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนก็ตาม ศาลอุทธรณ์ก็ไม่อาจลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนโดยไม่รอการลงโทษตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้ เพราะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 1 ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12218/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการฟ้องร้องอาญา: การที่คำฟ้องระบุความผิดไม่ชัดเจน ทำให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเกินเลยขอบเขตที่ฟ้อง
ตามคำบรรยายฟ้องโจทก์ระบุเพียงว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันทำหนังสือมอบอำนาจปลอมขึ้นทั้งฉบับว่าโจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายบางส่วนของที่ดินพิพาทกับบริษัท ท. ผู้จะซื้อ โดยจำเลยทั้งสองปลอมลายมือชื่อโจทก์ในช่องผู้มอบอำนาจ นำตราประทับปลอมนำมาประทับในหนังสือมอบอำนาจ แล้วจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อเป็นผู้รับมอบอำนาจ จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อเป็นพยาน หลังจากนั้นจำเลยทั้งสองใช้หนังสือมอบอำนาจปลอมดังกล่าวอ้างแก่บริษัท ท. ทำให้โจทก์เสียหายโดยมิได้ระบุว่าหนังสือมอบอำนาจปลอมดังกล่าวเป็นเอกสารสิทธิ อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 265 แม้ในคำขอท้ายฟ้องจะระบุอ้างมาตรา 265 มาด้วยก็ตาม ก็เป็นการระบุเกินมาจากคำบรรยายฟ้องของโจทก์ในตอนต้น ถือไม่ได้ว่าโจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 265 คงเป็นความผิดตามมาตรา 264 วรรคแรก, 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 วรรคแรก ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ คดีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12218/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการฟ้องคดีอาญา: การระบุความผิดในคำบรรยายฟ้องมีผลต่อการพิจารณาคดีและการอุทธรณ์
ตามคำบรรยายฟ้องโจทก์ระบุเพียงว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันทำหนังสือมอบอำนาจปลอมขึ้นทั้งฉบับว่าโจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายบางส่วนของที่ดินพิพาทกับบริษัท ท. ผู้จะซื้อ โดยจำเลยทั้งสองปลอมลายมือชื่อโจทก์ในช่องผู้มอบอำนาจ ทำตราประทับปลอมนำมาประทับในหนังสือมอบอำนาจ แล้วจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อเป็นผู้รับมอบอำนาจ จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อเป็นพยาน หลังจากนั้นจำเลยทั้งสองใช้หนังสือมอบอำนาจปลอมดังกล่าวอ้างแก่บริษัท ท. ทำให้โจทก์เสียหายโดยมิได้ระบุว่าหนังสือมอบอำนาจปลอมดังกล่าวเป็นเอกสารสิทธิ อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 265 แม้ในคำขอท้ายฟ้องจะระบุอ้างมาตรา 265 มาด้วยก็ตาม ก็เป็นการระบุเกินมาจากคำบรรยายฟ้องของโจทก์ในตอนต้น ถือไม่ได้ว่าโจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 265 คงเป็นความผิดตามมาตรา 264 วรรคแรก, 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 วรรคแรก ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ คดีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ในปัญหาข้อเท็จจริงจึงไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาอันเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5610/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ฎีกาในคดีอาญาและแพ่งเกี่ยวเนื่องกัน โดยพิจารณาจากทุนทรัพย์และข้อกฎหมาย
ความผิดฐานร่วมกันพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควร ตาม ป.อ. มาตรา 371 ประกอบมาตรา 83 มีระวางโทษปรับไม่เกิน 100 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยหลังจากลดโทษให้หนึ่งในสามแล้วคงปรับ 40 บาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ
คดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การพิจารณาคดีแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 40 ดังนั้น สิทธิในการอุทธรณ์ฎีกาในคดีส่วนแพ่งจึงต้องพิจารณาจากทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ฎีกา เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมและจำเลยไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 40 ที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยสำหรับโจทก์ร่วมมาไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าว คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 4 ในส่วนของโจทก์ร่วมจึงไม่ชอบ และที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของจำเลยสำหรับโจทก์ร่วมมาจึงไม่ชอบเช่นกัน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 40
คดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การพิจารณาคดีแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 40 ดังนั้น สิทธิในการอุทธรณ์ฎีกาในคดีส่วนแพ่งจึงต้องพิจารณาจากทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ฎีกา เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมและจำเลยไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 40 ที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยสำหรับโจทก์ร่วมมาไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าว คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 4 ในส่วนของโจทก์ร่วมจึงไม่ชอบ และที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของจำเลยสำหรับโจทก์ร่วมมาจึงไม่ชอบเช่นกัน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 40
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 225/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีอาญา: การอุทธรณ์ข้อเท็จจริง และการรับวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ
ความผิดฐานร่วมกันพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรตาม ป.อ. มาตรา 371 ซึ่งมีระวางโทษปรับไม่เกิน 100 บาท และศาลชั้นต้นลงโทษปรับ 100 บาท นั้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 9 จะรับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ และถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 9 ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ส่วนความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่น ฐานร่วมกันยิงปืนโดยใช่เหตุ ฐานร่วมกันข่มขืนใจผู้อื่น และฐานร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่น ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและให้ลงโทษจำเลยแต่ละกระทงจำคุกไม่เกินห้าปี จำเลยจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาในความผิดฐานดังกล่าวมาโดยสรุปได้ความในทำนองว่า พยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสองมีพิรุธน่าสงสัย ยังไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยเป็นผู้กระทำผิด ข้อฎีกาดังกล่าวเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 9 ซึ่งเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15718/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีอาญา และการแก้ไขฐานความผิดตามกฎหมายอาญาโดยศาลฎีกา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 352 และมาตรา 358 ซึ่งความผิดทั้งสองฐานมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ คดีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ การที่โจทก์ร่วมอุทธรณ์ขอให้ไม่รอการลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้อุทธรณ์โต้เถียงคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนอาญา คงอุทธรณ์เฉพาะส่วนแพ่ง ความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 6 จึงไม่มีอำนาจพิจารณาและพิพากษาคดีส่วนอาญา อันมีผลทำให้ไม่มีคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 6 เฉพาะในส่วนอาญาให้จำเลยทั้งสองฎีกา ศาลฎีกาไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลยทั้งสองที่ขอให้รอการลงโทษต่อไปอีก
อนึ่ง โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานยักยอก และทำให้เสียทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 352 และมาตรา 358 จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ โจทก์และจำเลยทั้งสองไม่ติดใจสืบพยาน ปรากฏว่าศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำผิดของจำเลยทั้งสองว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันลักทรัพย์ของโจทก์ร่วม ศาลย่อมลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 334 แต่จะลงโทษจำเลยทั้งสองตามมาตรา 335 (7) วรรคแรก ไม่ได้ เพราะโจทก์มิได้อ้างมาตรานี้มาในฟ้อง ทั้งโทษตามมาตรา 335 (7) วรรคแรก ก็หนักกว่าโทษตามมาตรา 352 และมาตรา 358 ที่โจทก์ฟ้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
อนึ่ง โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานยักยอก และทำให้เสียทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 352 และมาตรา 358 จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ โจทก์และจำเลยทั้งสองไม่ติดใจสืบพยาน ปรากฏว่าศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำผิดของจำเลยทั้งสองว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันลักทรัพย์ของโจทก์ร่วม ศาลย่อมลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 334 แต่จะลงโทษจำเลยทั้งสองตามมาตรา 335 (7) วรรคแรก ไม่ได้ เพราะโจทก์มิได้อ้างมาตรานี้มาในฟ้อง ทั้งโทษตามมาตรา 335 (7) วรรคแรก ก็หนักกว่าโทษตามมาตรา 352 และมาตรา 358 ที่โจทก์ฟ้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4280/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์ของผู้เสียหายเฉพาะความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ แม้ความผิดอื่นมีโทษหนักกว่าก็ไม่อาจอ้างสิทธิอุทธรณ์ได้
โจทก์ร่วมที่ 2 เป็นผู้เสียหายเฉพาะความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์เท่านั้น มิได้เป็นผู้เสียหายในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นด้วย และศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมที่ 2 เข้าร่วมเป็นโจทก์เฉพาะในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์ร่วมที่ 2 จึงมีสิทธิที่จะอุทธรณ์เฉพาะในความผิดที่โจทก์ร่วมที่ 2 เป็นผู้เสียหาย เมื่อความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 358 มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ และไม่ปรากฏว่าโจทก์ร่วมที่ 2 ได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามมาตรา 193 ตรี แม้ความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 288, 80 จะมีอัตราโทษที่ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง และเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวกับความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามมาตรา 358 ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ร่วมที่ 2 มิได้เป็นผู้เสียหายในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นอันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด โจทก์ร่วมที่ 2 จึงไม่อาจใช้สิทธิอุทธรณ์โดยอ้างว่าเมื่อโทษตามบทหนักไม่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงแล้ว ความผิดตามฐานในบทเบาย่อมอุทธรณ์ได้ด้วยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12082/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาเกี่ยวกับความถูกต้องของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดียาเสพติด และการอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ
พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์เฉพาะการกระทำซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้เป็นที่สุด และตามมาตรา 19 วรรคหนึ่ง คู่ความอาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องไปพร้อมกับฎีกาต่อศาลฎีกาภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาของศาลนั้นให้คู่ความฝ่ายที่ขออนุญาตฎีกาฟัง เพื่อขอให้พิจารณารับฎีกาไว้วินิจฉัยก็ได้ เมื่อจำเลยฎีกาโดยไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรา 19 วรรคหนึ่ง เฉพาะความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง ความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนนั้น แม้จะเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่กรณีที่กฎหมายบัญญัติให้คำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นที่สุดนั้น หมายถึง ต้องเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถูกต้องตามกฎหมายที่ให้อำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งเช่นนั้นได้ มิได้หมายความว่า แม้คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นจะไม่ถูกต้องตามกฎหมายก็จะถึงที่สุดด้วย เมื่อความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนตามพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 91 มีอัตราโทษอย่างสูงที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสามปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยแต่รอการลงโทษไว้ โจทก์จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา193 ทวิ การที่โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงขอให้ไม่รอการลงโทษ และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้และพิพากษาเกี่ยวกับความผิดฐานนี้นั้นเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาอันว่าด้วยอุทธรณ์ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนจึงไม่ถูกต้องและไม่เป็นที่สุด ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4525/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยนั่งซ้อนท้ายรถใกล้คนร้ายหลังทำร้ายผู้เสียหาย ศาลฎีกาตัดสินว่าไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยเป็นตัวการร่วม
แม้ความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายกับความผิดฐานร่วมกันทำให้ผู้อื่นเกิดความกลัวหรือความตกใจโดยการขู่เข็ญ จะต้องห้ามมิให้จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยในส่วนความผิดสองฐานนี้ โดยไม่ปรากฏว่าได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์จากผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ตรี และศาลอุทธรณ์รับพิจารณาพิพากษาต่อมาอันเป็นการไม่ชอบก็ตาม แต่พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบในความผิดฐานมีและพาอาวุธปืนครอบคลุมถึงข้อเท็จจริงในความผิดทั้งสองฐานดังกล่าว โดยเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกัน เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับคนร้ายในคดีนี้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยยกฟ้องไปถึงความผิดดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17116/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีอาญา: ความผิดฐานเข้า-ออกนอกราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต และการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์
ความผิดฐานออกไปนอกราชอาณาจักรโดยไม่ออกตามช่องทางและความผิดฐานเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่เข้าตามช่องทางตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 11 ประกอบด้วยมาตรา 62 วรรคสอง บัญญัติให้ระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท และศาลชั้นต้นลงโทษปรับจำเลยในความผิดดังกล่าวกระทงละ 800 บาท นั้น เป็นความผิดที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ ที่จำเลยอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นขอให้ยกฟ้องโจทก์โดยโต้เถียงดุลพินิจของศาลชั้นต้นในการรับฟังพยานหลักฐานในสำนวน เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งรวมความผิดทั้งสองฐานนี้ด้วย การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในความผิดทั้งสองฐานดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบ ดังนั้น ฎีกาของจำเลยที่คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 และขอให้ยกฟ้องในความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวโดยโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ภาค 5 ในการวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานดังกล่าว จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 5 ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้