พบผลลัพธ์ทั้งหมด 161 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12058/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์จำกัดเฉพาะโทษที่ไม่รอการลงโทษ การวินิจฉัยศาลอุทธรณ์ที่ไม่ชอบและจำเลยไม่มีสิทธิฎีกา
เมื่อพิจารณาเนื้อหาอุทธรณ์ของโจทก์โดยตลอดแล้วแสดงว่าโจทก์มีเจตนาให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ลงโทษจำเลยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยไม่รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยเท่านั้น มิใช่โจทก์มีเจตนาที่จะให้ลงโทษจำเลยในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 354 ที่มีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกเกินกว่าสามปี การต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ เป็นการตัดสิทธิคู่ความจึงต้องพิจารณาด้วยความเคร่งครัดโดยถือเจตนาของโจทก์เป็นสำคัญ เมื่ออุทธรณ์โจทก์มีเจตนาให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 353 ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หนักขึ้นโดยไม่รอการลงโทษจำคุก ซึ่งเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษของศาลชั้นต้นอันเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงแล้ว อุทธรณ์ของโจทก์จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ และไม่ก่อสิทธิให้จำเลยฎีกาได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12008/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์คดีอาญาเด็ก – ศาลใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน – การจำกัดสิทธิอุทธรณ์ – การแก้ไขบทกฎหมายอาญา
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 121 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะจำเลยยื่นอุทธรณ์ กำหนดว่า จำเลยจะอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงว่าจำเลยมิได้กระทำการอันกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดโดยมิได้อุทธรณ์เกี่ยวกับการใช้ดุลพินิจกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนได้หรือไม่นั้น ต้องพิจารณาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอย่างคดีธรรมดา ซึ่งเมื่อนำ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 6 มาประกอบแล้ว ก็คือ บทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ ซึ่งห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีซึ่งอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43, 157 ซึ่งระวางโทษปรับตั้งแต่สี่ร้อยบาทถึงหนึ่งพันบาท และศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (4), 157 ขณะกระทำความผิดจำเลยมีอายุ 12 ปีเศษ ยังไม่ต้องรับโทษตาม ป.อ. มาตรา 74 (1) (2) (3) ศาลชั้นต้นได้ว่ากล่าวตักเตือนจำเลยแล้วมอบตัวให้ผู้ปกครองรับไปอบรมดูแล โดยวางข้อกำหนดผู้ปกครองต้องระวังมิให้จำเลยก่อเหตุร้ายอีกภายใน 2 ปี นับแต่วันพิพากษา มิฉะนั้นผู้ปกครองของจำเลยต้องชำระเงินต่อศาลครั้งละ 3,000 บาท และให้คุมความประพฤติจำเลยไว้มีกำหนด 1 ปี อันเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลเยาวชนและครอบครัวใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษทางอาญาแก่จำเลย ไม่เป็นการลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 18 อันจะเข้ากรณียกเว้นที่จะมีสิทธิอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามบทบัญญัติดังกล่าว เมื่อจำเลยอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยไม่ได้กระทำโดยประมาท เป็นอุทธรณ์โต้แย้งการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น มิใช่อุทธรณ์เกี่ยวกับดุลพินิจกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงอันต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทบัญญัติดังกล่าว เมื่อจำเลยยื่นอุทธรณ์โดยขอให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้อุทธรณ์ แต่ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวไม่ได้มีคำสั่งอนุญาตให้อุทธรณ์ ก็เป็นการชอบด้วยกฎหมายตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 122 เพราะผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจะอนุญาตให้อุทธรณ์ได้เฉพาะในคดีซึ่งห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 121 เท่านั้น มิได้ให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้อุทธรณ์ในกรณีดังกล่าวได้ แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาจะรับอุทธรณ์ของจำเลยก็ตาม แต่ก็มิได้มีข้อความที่จะจับใจความได้ว่าได้ใช้ดุลพินิจอนุญาตให้อุทธรณ์ได้และจำเลยก็มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ตรี จึงถือว่าคดีไม่มีการอนุญาตหรือรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์มานั้นชอบแล้ว ไม่มีเหตุที่จะย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ภาค 9 มีคำพิพากษาใหม่อีก ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น
ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ได้มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 21) มาตรา 6 ให้ยกเลิกความในมาตรา 74 วรรคแรก แห่ง ประมวลกฎหมายอาญาและให้ใช้ข้อความใหม่แทน มาตรา 74 (2) (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะกระทำความผิดกำหนดไว้ว่า ถ้าศาลเห็นว่า บิดา มารดา หรือผู้ปกครองสามารถดูแลเด็กนั้นได้ ศาลจะมีคำสั่งให้มอบตัวเด็กนั้นให้แก่บิดา มารดา หรือผู้ปกครองไป โดยวางข้อกำหนดให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองระวังเด็กนั้นไม่ให้ก่อเหตุร้ายตลอดเวลาที่ศาลกำหนด ซึ่งต้องไม่เกิน 3 ปี และกำหนดจำนวนเงินตามที่เห็นสมควร ซึ่งบิดา มารดา หรือผู้ปกครองต้องชำระต่อศาลไม่เกินครั้งละ 1,000 บาท ในเมื่อเด็กนั้นก่อเหตุร้ายขึ้น โดยตาม มาตรา 74 (2) ที่แก้ไขใหม่ กำหนดไว้ว่า ให้ศาลกำหนดจำนวนเงินตามที่เห็นสมควร ซึ่งบิดา มารดา หรือผู้ปกครองต้องชำระต่อศาลไม่เกินครั้งละ 10,000 บาท ในเมื่อเด็กนั้นก่อเหตุร้ายขึ้น ดังนั้นกฎหมายเดิมจึงเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่าจึงต้องใช้กฎหมายเดิมบังคับแก่จำเลย ตาม ป.อ. มาตรา 3 ที่ศาลชั้นต้นนำมาตรา 74 (2) ซึ่งเป็นกฎหมายที่แก้ไขใหม่มาบังคับแก่จำเลยนั้นจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ได้มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 21) มาตรา 6 ให้ยกเลิกความในมาตรา 74 วรรคแรก แห่ง ประมวลกฎหมายอาญาและให้ใช้ข้อความใหม่แทน มาตรา 74 (2) (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะกระทำความผิดกำหนดไว้ว่า ถ้าศาลเห็นว่า บิดา มารดา หรือผู้ปกครองสามารถดูแลเด็กนั้นได้ ศาลจะมีคำสั่งให้มอบตัวเด็กนั้นให้แก่บิดา มารดา หรือผู้ปกครองไป โดยวางข้อกำหนดให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองระวังเด็กนั้นไม่ให้ก่อเหตุร้ายตลอดเวลาที่ศาลกำหนด ซึ่งต้องไม่เกิน 3 ปี และกำหนดจำนวนเงินตามที่เห็นสมควร ซึ่งบิดา มารดา หรือผู้ปกครองต้องชำระต่อศาลไม่เกินครั้งละ 1,000 บาท ในเมื่อเด็กนั้นก่อเหตุร้ายขึ้น โดยตาม มาตรา 74 (2) ที่แก้ไขใหม่ กำหนดไว้ว่า ให้ศาลกำหนดจำนวนเงินตามที่เห็นสมควร ซึ่งบิดา มารดา หรือผู้ปกครองต้องชำระต่อศาลไม่เกินครั้งละ 10,000 บาท ในเมื่อเด็กนั้นก่อเหตุร้ายขึ้น ดังนั้นกฎหมายเดิมจึงเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่าจึงต้องใช้กฎหมายเดิมบังคับแก่จำเลย ตาม ป.อ. มาตรา 3 ที่ศาลชั้นต้นนำมาตรา 74 (2) ซึ่งเป็นกฎหมายที่แก้ไขใหม่มาบังคับแก่จำเลยนั้นจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10579/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองยาเสพติดเกิน 15 หน่วยการใช้ สันนิษฐานว่ามีไว้เพื่อจำหน่าย ต้องมีพฤติการณ์สนับสนุน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสี่มีความผิดตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ปรับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 กระทงละ 1,800 บาท จำเลยที่ 4 อายุกว่าสิบเจ็ดปี แต่ยังไม่เกินยี่สิบปี ลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 76 ให้ปรับ กระทงละ 900 บาท ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืน ฉะนั้น ความผิดฐานนี้ของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ส่วนข้อหาความผิดของจำเลยที่ 4 ศาลชั้นต้นลงโทษปรับ กระทงละ 900 บาท จึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่จำเลยที่ 4 จะอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ (4) จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 รับวินิจฉัยในข้อหาความผิดนี้จึงเป็นการไม่ชอบ
ที่จำเลยที่ 1 และที่ 4 ฎีกาว่า พยานหลักฐานโจทก์ยังมีข้อสงสัยรับฟังลงโทษไม่ได้นั้น เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน ซึ่งเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 1 ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง และต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 4 ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 เพราะถือว่าเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ส่วนที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 4 ฐานร่วมกันนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายและร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายนั้น แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 จะฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 นำเข้าเพื่อจำหน่ายและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำนวน 172 เม็ด และฟังว่าจำเลยที่ 4 นำเข้าเพื่อจำหน่ายและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำนวน 15 เม็ด ซึ่งแตกต่างจากคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งฟังว่า จำเลยที่ 1 และที่ 4 ร่วมกันนำเข้าเพื่อจำหน่ายและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำนวน 187 เม็ด ก็ตาม แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ก็ยังคงพิพากษาว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 4 ต้องด้วยบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ทั้งยังกำหนดโทษจำเลยที่ 1 และที่ 4 ยืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วย กรณีจึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกินห้าปี ซึ่งต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคสอง ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาข้อนี้ของโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยที่ 1 และที่ 4 ฎีกาว่า พยานหลักฐานโจทก์ยังมีข้อสงสัยรับฟังลงโทษไม่ได้นั้น เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน ซึ่งเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 1 ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง และต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 4 ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 เพราะถือว่าเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ส่วนที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 4 ฐานร่วมกันนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายและร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายนั้น แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 จะฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 นำเข้าเพื่อจำหน่ายและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำนวน 172 เม็ด และฟังว่าจำเลยที่ 4 นำเข้าเพื่อจำหน่ายและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำนวน 15 เม็ด ซึ่งแตกต่างจากคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งฟังว่า จำเลยที่ 1 และที่ 4 ร่วมกันนำเข้าเพื่อจำหน่ายและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำนวน 187 เม็ด ก็ตาม แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ก็ยังคงพิพากษาว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 4 ต้องด้วยบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ทั้งยังกำหนดโทษจำเลยที่ 1 และที่ 4 ยืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วย กรณีจึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกินห้าปี ซึ่งต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคสอง ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาข้อนี้ของโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8481/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไต่สวนมูลฟ้องคดีอาญาเรื่องทำให้เสียทรัพย์ แม้จำเลยอ้างกรรมสิทธิ์ที่ดิน แต่โจทก์อ้างการครอบครองโดยชอบ ศาลต้องไต่สวน
คดีอาญาเรื่องใดจะต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาอัตราโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับข้อหาแต่ละกระทงความผิดเป็นสำคัญ เมื่อความผิดในกระทงนั้นมีความผิดหลายบทรวมอยู่ด้วย ถ้าบทหนักไม่ต้องห้าม ก็ถือว่าทุกบทไม่ต้องห้าม
แม้จำเลยจะมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินตามฟ้อง แต่โจทก์อ้างว่าเป็นเจ้าของที่ดินที่แท้จริงและได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องจากบิดาตลอดมา โดยจำเลยทราบดีอยู่แล้วว่าเป็นการครอบครองที่ดินโดยชอบ กรณีเช่นนี้หากจำเลยเห็นว่าโจทก์ไม่มีสิทธิในที่ดิน ก็ชอบที่จะดำเนินการตามกฎหมายเพื่อรักษาสิทธิของตน ไม่มีสิทธิหรืออำนาจเข้าไปรบกวนการครอบครองของโจทก์โดยพลการการที่จำเลยได้บุกรุกเข้าไปในที่ดินแล้วทำให้ทรัพย์ของโจทก์เสียหาย จึงอาจมีมูลเป็นความผิดตามฟ้องได้ เป็นฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 ที่จะรับไว้ไต่สวนมูลฟ้อง
แม้จำเลยจะมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินตามฟ้อง แต่โจทก์อ้างว่าเป็นเจ้าของที่ดินที่แท้จริงและได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องจากบิดาตลอดมา โดยจำเลยทราบดีอยู่แล้วว่าเป็นการครอบครองที่ดินโดยชอบ กรณีเช่นนี้หากจำเลยเห็นว่าโจทก์ไม่มีสิทธิในที่ดิน ก็ชอบที่จะดำเนินการตามกฎหมายเพื่อรักษาสิทธิของตน ไม่มีสิทธิหรืออำนาจเข้าไปรบกวนการครอบครองของโจทก์โดยพลการการที่จำเลยได้บุกรุกเข้าไปในที่ดินแล้วทำให้ทรัพย์ของโจทก์เสียหาย จึงอาจมีมูลเป็นความผิดตามฟ้องได้ เป็นฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 ที่จะรับไว้ไต่สวนมูลฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5902/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่รับอุทธรณ์ต้องทำหลังศาลมีคำสั่งรับหรือไม่รับอุทธรณ์ มิใช่ก่อน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตในคำร้องขออนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเท่านั้น ซึ่งเป็นดุลพินิจเฉพาะตัวจะอุทธรณ์ไม่ได้ ทั้งคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้โจทก์ทำอุทธรณ์ฉบับใหม่หาได้มีผลเป็นการสั่งรับอุทธรณ์หรือไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ไม่ แต่ศาลชั้นต้นได้สั่งให้โจทก์ยื่นอุทธรณ์ฉบับใหม่เข้ามาเฉพาะฐานความผิดของจำเลยที่ 1, ที่ 3, ที่ 4, และที่ 7 ที่ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เพื่อศาลชั้นต้นจะได้มีคำสั่งในอุทธรณ์ของโจทก์ฉบับใหม่ต่อไป ดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำสั่งรับหรือไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ แต่โจทก์กลับอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์และขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งกลับคำสั่งศาลชั้นต้น โดยมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณาต่อไปโดยไม่ได้โต้แย้งว่าคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้โจทก์ทำอุทธรณ์ฉบับใหม่ไม่ชอบอย่างไร จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ถูกขั้นตอนตามที่กฎหมายบัญญัติ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 540/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทำร้ายร่างกายในพื้นที่เปิดให้บริการ: ไม่มีความผิดฐานบุกรุก
ที่เกิดเหตุมีโต๊ะสนุกเกอร์เปิดบริการให้บุคคลทั่วไปเล่นได้และขณะเกิดเหตุยังคงเปิดบริการอยู่ การที่จำเลยทั้งสามเข้าไปทำร้ายร่างกายผู้เสียหายที่ 2 ในบริเวณที่บุคคลทั่วไปย่อมจะเข้าไปได้นั้น ย่อมไม่มีความผิดฐานบุกรุกตาม ป.อ. มาตรา 364 และ 365
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6022/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงโทษและขอบเขตการอุทธรณ์: ศาลฎีกาแก้ไขให้ชัดเจนว่าไม่เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขัง
ศาลชั้นต้นเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นโทษกักขังจำเลยแทน แม้โทษที่จะรอการลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 56 ได้จะต้องเป็นโทษจำคุกเท่านั้นก็ตาม แต่การที่จำเลยอุทธรณ์ขอให้รอการลงโทษจำคุกก็เท่ากับเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษ อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ (1) ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลงโทษปรับจำเลยอีกสถานหนึ่ง และให้รอการลงโทษจำคุกจำเลยไว้มีกำหนด 2 ปี โดยไม่ได้กล่าวไว้ในคำพิพากษาว่าไม่เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังก็หาได้เป็นคำพิพากษาที่มิชอบไม่ แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ชัดเจนโดยไม่เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นโทษกักขัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4971/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์และฎีกาในคดีอาญา: ข้อจำกัดการอุทธรณ์ข้อเท็จจริง และการบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ความผิดฐานยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุและฐานทำให้ผู้อื่นเกิดความกลัวหรือความตกใจ โดยการขู่เข็ญตาม ป.อ. มาตรา 376 และ 392 ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษฐานทำให้ผู้อื่นเกิดความกลัวหรือความตกใจโดยการขู่เข็ญ ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุก 15 วันและปรับ 500 บาท โจทก์อุทธรณ์ขอให้ไม่รอการลงโทษ เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ ศาลอุทธรณ์ภาค 6 รับวินิจฉัยความผิดฐานดังกล่าวมาโดยไม่รอการลงโทษจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ และถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 6 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3852/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาห้ามอุทธรณ์ความผิดประมาทฯ และศาลฎีกายกคำร้องขอรอการลงโทษอาวุธปืน
ความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจตาม ป.อ. มาตรา 390 มีระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ ทั้งโจทก์บรรยายฟ้องข้อหาความผิดฐานนี้กับความผิดฐานมีและฐานพาอาวุธปืนพร้อมเครื่องกระสุนปืนโดยไม่ได้รับใบอนุญาต เป็นกรณีต่างกรรมกันโดยมิใช่เป็นเรื่องกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 รับพิจารณาความผิดฐานมีและฐานพาอาวุธปืนพร้อมเครื่องกระสุนปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต จึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 จะต้องรับพิจารณาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 390 ซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์และยุติไปแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ได้วินิจฉัยความผิดตาม ป.อ. มาตรา 390 และพิพากษาจำคุกจำเลยโดยไม่รอการลงโทษและไม่ปรับจึงไม่ชอบ และเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และเมื่อจำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษในความผิดดังกล่าว จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 7 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3628/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีพยายามฆ่าและการรับวินิจฉัยข้อหาพาอาวุธโดยไม่ชอบ ศาลฎีกายกข้อหาพาอาวุธ และลดโทษจำเลยที่ 2
คดีสำหรับจำเลยที่ 1 ในข้อหาร่วมกันพยายามฆ่าผู้เสียหายเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 สำหรับข้อหาพาอาวุธไปโดยไม่มีเหตุสมควรตาม ป.อ.มาตรา 371 นั้น อัตราโทษอย่างสูงที่กฎหมายกำหนดไว้ให้ปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหานี้ โจทก์จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ทั้งหมดของโจทก์รวมถึงข้อหานี้ด้วย โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นหรืออัยการสูงสุดลงลายมือชื่อรับรองในอุทธรณ์ว่ามีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัย ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 รับวินิจฉัยความผิดในข้อหาดังกล่าวและพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองจึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้