พบผลลัพธ์ทั้งหมด 161 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5012/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฉ้อโกง: การปกปิดภาระหนี้สินและข้อเท็จจริงสำคัญในการซื้อขายที่ดิน ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกายกฟ้องเนื่องจากเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า ขณะทำสัญญาจะซื้อจะขายรายพิพาทจำเลยทั้งสี่ไม่อาจทราบเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนดขึ้นในภายหลังทั้งที่ดินและอาคารตามสัญญาจะซื้อจะขายรายพิพาทก็ไม่ใช่ที่ดินที่จำเลยที่ 3 นำไปประกันหนี้ในคดีแพ่งที่จำเลยที่ 3 ถูกธนาคารฟ้องบังคับจำนอง และจำเลยที่ 3 เคยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารที่เคยขายให้แก่โจทก์ได้มาแล้ว กรณีเป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่ง ฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสี่กระทำผิดตามฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยทั้งสี่ไม่ได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 3 ถูกธนาคารฟ้องเป็นคดีแพ่งไม่แจ้งให้โจทก์ทราบจำนวนเงินที่จำเลยที่ 3 เป็นหนี้ธนาคาร ปกปิดข้อเท็จจริงในการชำระหนี้ตามข้อตกลงที่ทำไว้ จำเลยทั้งสี่ไม่ได้ขวนขวายขอเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการชำระหนี้ให้แก่ธนาคารและนำที่ดินพิพาทมาโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นการเพียงพอที่จะวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยทั้งสี่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2319/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมที่ต้องห้ามตามกฎหมาย และอำนาจศาลฎีกาในการวินิจฉัยปัญหาความสงบเรียบร้อย
ฟ้องโจทก์ระบุว่าจำเลยขับรถโดยไม่มีใบอนุญาตขับรถ และไม่ได้จัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยจากรถ และขับรถในขณะเมาสุราและโดยประมาทพุ่งเข้าชนรถจักรยานยนต์ที่ ช. ขับ และพุ่งเข้าชนกำแพงรั้วบริษัท ท. เป็นเหตุให้นาย ช. ได้รับอันตรายสาหัส และนางสาว ต. ซึ่งนั่งโดยสารมาในรถที่จำเลยขับถึงแก่ความตาย ขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 291, 300 พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43, 157, 160 พ.ร.บ. รถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 42, 66 พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มาตรา 7, 37 แม้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้นาย บ. บิดานาย ช. ผู้เสียหายเข้าร่วมเป็นโจทก์ โดยมิได้ระบุว่าอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์ในความผิดฐานใด แต่ก็พอแปลได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้นาย บ. เข้าร่วมเป็นโจทก์เฉพาะข้อหากระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสตาม ป.อ. มาตรา 300 เท่านั้น และความผิดตาม ป.อ. มาตรา 300 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โจทก์ร่วมจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ โจทก์ร่วมอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่ลดโทษและไม่รอการลงโทษจำคุกนั้น เป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษ จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 รับพิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมและพิพากษาจำคุกจำเลยมานั้นจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และเมื่อโจทก์ร่วมต้องห้ามอุทธรณ์ จึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3901/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ในกรณีพิเศษ: ศาลชั้นต้นมีอำนาจอนุญาต และคำสั่งศาลชั้นต้นผูกพันคู่ความ
หลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ฉบับแรกของโจทก์ร่วม เพราะเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง โจทก์ร่วมจึงยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ โดยอ้างเหตุว่ากำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการขอให้อัยการสูงสุดลงลายมือชื่อรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เป็นคำร้องขอขยายระยะเวลาในกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษ ซึ่งศาลชั้นต้นก็ได้วินิจฉัยว่าเหตุการณ์ตามคำร้องดังกล่าวมีพฤติการณ์พิเศษที่จะอนุญาตให้ขยายระยะเวลาที่ในการยื่นอุทธรณ์ได้ และได้อนุญาตให้ขยายระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์ออกไปตามคำร้องของโจทก์ร่วม ซึ่งเป็นการปฏิบัติไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ให้อำนาจศาลชั้นต้นในการดำเนินการอนุญาตเช่นนั้นได้ เมื่อไม่มีคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นในปัญหาดังกล่าว ประเด็นปัญหาดังกล่าวจึงต้องยุติไปตามคำสั่งศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงไม่มีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยโดยลำพังได้ ดังนั้น อุทธรณ์ของโจทก์ร่วมจึงเป็นอุทธรณ์ที่ยื่นภายในกำหนดระยะเวลา ชอบที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะต้องรับไว้วินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5230/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความเสียหายในคดีอาญา และการอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริง
คดีนี้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยพยานหลักฐานโจทก์ว่า สัญญาซื้อขายหุ้นทำระหว่าง ว. กับจำเลยโดยโจทก์ไม่เกี่ยวข้องทั้งโจทก์มิได้นำสืบตัวโจทก์ในชั้นไต่สวนและในชั้นพิจารณากับข้อเท็จจริงคงได้จากพยานหลักฐานว่า ว. ให้โจทก์นำเช็คพิพาทไปเรียกเก็บเงินเข้าบัญชีแทน โจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงโดยชอบจึงไม่เป็นผู้เสียหาย แม้คำวินิจฉัยจะมิได้กล่าวไปถึงคำเบิกความของ ว. ที่ว่า ว. นำเช็คพิพาทไปแบ่งให้แก่โจทก์ เพราะเดิมโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินตามสัญญาซื้อขายหุ้นเอกสารหมาย จ.2 จะเป็นจริงหรือไม่ก็ตาม แต่คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่ว่าโจทก์มิได้เกี่ยวข้องกับสัญญาขายหุ้นทั้งโจทก์มิได้นำสืบตัวโจทก์ ดังนี้เท่ากับแสดงว่าศาลชั้นต้นได้ใช้ดุลพินิจชั่งน้ำหนักคำเบิกความของ ว. ดังกล่าว แล้วว่าไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้นั่นเอง ดังนั้น อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวงในคดีนี้จนครบถ้วนเท่ากับยังไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นโดยประสงค์ให้ศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงไปตามคำเบิกความทั้งหมดของพยานโจทก์คือตัว ว. เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาที่โจทก์อ้างเป็นข้อกฎหมายว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายอันถือว่าเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ที่ศาลอุทธรณ์ยกอุทธรณ์ของโจทก์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5230/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา ผู้เสียหายต้องพิสูจน์ความเสียหาย ศาลชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานได้
ในคดีอาญาโจทก์มีหน้าที่ที่จะต้องนำพยานเข้ามาสืบเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยก่อน หากพยานหลักฐานของโจทก์นำมาสืบฟังไม่ได้ว่ามีการกระทำผิดเกิดขึ้นก็ดีจำเลยมิได้เป็นผู้กระทำความผิดก็ดี ศาลก็ต้องยกฟ้องโจทก์ปล่อยจำเลยไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 รวมทั้งในคดีความผิดต่อส่วนตัวโจทก์ยังต้องมีหน้าที่นำสืบให้ศาลเห็นว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องคดีอาญาต่อศาลด้วย
คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่ว่าโจทก์มิได้เกี่ยวข้องกับสัญญาขายหุ้น ทั้งโจทก์มิได้นำสืบตัวโจทก์ เท่ากับแสดงว่าศาลชั้นต้นได้ใช้ดุลพินิจชั่งน้ำหนักคำเบิกความของ ว. ผู้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนโจทก์แล้วว่าไม่มีน้ำหนักรับฟังได้นั่นเอง กรณีมิใช่เรื่องที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานที่มีปรากฏอยู่ในทางพิจารณาเพียงบางส่วนหรือไม่ครบถ้วน ดังนั้น อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าศาลชั้นต้นมิได้มีคำวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวงในคดีนี้จนครบถ้วนเท่ากับยังไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นโดยประสงค์ให้ศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงไปตามคำเบิกความทั้งหมดของ ว. พยานโจทก์ เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาที่โจทก์อ้างเป็นข้อกฎหมายว่า โจทก์เป็นผู้เสียหายอันถือได้ว่าเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่ว่าโจทก์มิได้เกี่ยวข้องกับสัญญาขายหุ้น ทั้งโจทก์มิได้นำสืบตัวโจทก์ เท่ากับแสดงว่าศาลชั้นต้นได้ใช้ดุลพินิจชั่งน้ำหนักคำเบิกความของ ว. ผู้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนโจทก์แล้วว่าไม่มีน้ำหนักรับฟังได้นั่นเอง กรณีมิใช่เรื่องที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานที่มีปรากฏอยู่ในทางพิจารณาเพียงบางส่วนหรือไม่ครบถ้วน ดังนั้น อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าศาลชั้นต้นมิได้มีคำวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวงในคดีนี้จนครบถ้วนเท่ากับยังไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นโดยประสงค์ให้ศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงไปตามคำเบิกความทั้งหมดของ ว. พยานโจทก์ เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาที่โจทก์อ้างเป็นข้อกฎหมายว่า โจทก์เป็นผู้เสียหายอันถือได้ว่าเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5230/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยพยานหลักฐานและการพิสูจน์ความเสียหายในคดีอาญา ศาลใช้ดุลพินิจชั่งน้ำหนักพยานได้
คดีนี้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยพยานหลักฐานโจทก์ว่า สัญญาซื้อขายหุ้นทำระหว่าง ว. กับจำเลยโดยโจทก์ไม่เกี่ยวข้อง ทั้งโจทก์มิได้นำสืบตัวโจทก์ในชั้นไต่สวนและในชั้นพิจารณากับข้อเท็จจริงคงได้จากพยานหลักฐานว่า ว. ให้โจทก์นำเช็คพิพาทไปเรียกเก็บเงินเข้าบัญชีแทน โจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงโดยชอบจึงไม่เป็นผู้เสียหาย แม้คำวินิจฉัยจะมิได้กล่าวไปถึงคำเบิกความของ ว. ที่ว่า ว. นำเช็คพิพาทไปแบ่งให้แก่โจทก์ เพราะเดิมโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินตามสัญญาซื้อขายหุ้นเอกสารหมาย จ. 2 จะเป็นจริงหรือไม่ก็ตาม แต่คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่ว่าโจทก์มิได้เกี่ยวข้องกับสัญญาขายหุ้นทั้งโจทก์มิได้นำสืบตัวโจทก์ ดังนี้เท่ากับแสดงว่าศาลชั้นต้นได้ใช้ดุลพินิจชั่งน้ำหนักคำเบิกความของ ว. ดังกล่าวแล้วว่าไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้นั่นเอง ดังนั้นอุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวงในคดีนี้จนครบถ้วนเท่ากับยังไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นโดยประสงค์ให้ศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงไปตามคำเบิกความทั้งหมดของพยานโจทก์คือตัว ว. เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาที่โจทก์อ้างเป็นข้อกฎหมายว่าโจทก์เป็นผู้เสียหาย อันถือว่าเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ที่ศาลอุทธรณ์ยกอุทธรณ์ของโจทก์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4817/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้เสียหายต้องมีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายอื่นหรือเป็นผู้เสียหายเอง มิฉะนั้นขาดอำนาจฟ้อง
โจทก์ซึ่งได้รับอันตรายสาหัสฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291,300 และ 390 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43(4)และ 157 แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เสียหายอื่นที่เป็นผู้เยาว์หรือเป็นผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือสามีผู้เสียหายอื่นซึ่งถึงแก่ความตาย หรือได้รับอันตรายสาหัส หรือได้รับอันตรายแก่กาย โจทก์จึงไม่ใช่ผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายเหล่านั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(1) และ (2) โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291,300 และ 390 ซึ่งบุคคลอื่นเป็นผู้เสียหาย และโดยที่โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43(4) และ 157 เพราะความผิดดังกล่าวเป็นความผิดต่อรัฐ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดตามมาตรา 43(4) และ 157 ด้วย ศาลชั้นต้นชอบที่จะพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 และ 390 และพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 43(4) และ 157
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ววินิจฉัยว่า โจทก์มีส่วนขับรถยนต์โดยประมาทโจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย พิพากษายกฟ้อง เมื่อโจทก์เป็นผู้เสียหายเฉพาะในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า เหตุรถยนต์ชนกันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยแต่ฝ่ายเดียว โจทก์ไม่ได้มีส่วนประมาท เป็นอุทธรณ์โต้แย้งการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์รับอุทธรณ์ของโจทก์และพิพากษามานั้น จึงเป็นการไม่ชอบ เมื่อโจทก์ฎีกาเช่นเดียวกับที่โจทก์อุทธรณ์อีก จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ แม้จะมีผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกา ก็ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 ซึ่งจะอนุญาตให้ฎีกาได้เฉพาะในคดีซึ่งห้ามฎีกาไว้โดยมาตรา 218,219 และ 220 เท่านั้น มิได้ให้อนุญาตให้ฎีกาในกรณีดังกล่าวได้ โจทก์ย่อมไม่อาจฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ววินิจฉัยว่า โจทก์มีส่วนขับรถยนต์โดยประมาทโจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย พิพากษายกฟ้อง เมื่อโจทก์เป็นผู้เสียหายเฉพาะในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า เหตุรถยนต์ชนกันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยแต่ฝ่ายเดียว โจทก์ไม่ได้มีส่วนประมาท เป็นอุทธรณ์โต้แย้งการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์รับอุทธรณ์ของโจทก์และพิพากษามานั้น จึงเป็นการไม่ชอบ เมื่อโจทก์ฎีกาเช่นเดียวกับที่โจทก์อุทธรณ์อีก จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ แม้จะมีผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกา ก็ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 ซึ่งจะอนุญาตให้ฎีกาได้เฉพาะในคดีซึ่งห้ามฎีกาไว้โดยมาตรา 218,219 และ 220 เท่านั้น มิได้ให้อนุญาตให้ฎีกาในกรณีดังกล่าวได้ โจทก์ย่อมไม่อาจฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4817/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้เสียหายโดยนิตินัย vs. ผู้มีอำนาจจัดการแทน & การอุทธรณ์/ฎีกาที่ขัดต่อกฎหมาย
ผู้เสียหายที่มีสิทธิฟ้องคดีอาญาต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) หรือต้องเป็นผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5 การที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้เฉี่ยวชนกับรถยนต์ที่โจทก์ขับ ทำให้โจทก์ได้รับอันตรายสาหัส และบุคคลอื่นหลายคนซึ่งโดยสารมาในรถยนต์ที่โจทก์ขับถึงแก่ความตาย ได้รับอันตรายสาหัส และได้รับอันตรายแก่กาย และขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291,300 และ 390 พระราชบัญญัติจราจรทางบกฯมาตรา 43(4) และ 157 เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เสียหายอื่นที่เป็นผู้เยาว์ หรือเป็นผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือสามีผู้เสียหายอื่นซึ่งถึงแก่ความตาย หรือได้รับอันตรายสาหัส หรือได้รับอันตรายแก่กาย โจทก์จึงไม่ใช่ผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายเหล่านั้น ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291,300 และ 390 ซึ่งบุคคลอื่นเป็นผู้เสียหาย และโดยที่โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ เพราะความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นความผิดต่อรัฐ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรฯ ด้วย
คดีที่ต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ชอบที่จะพิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 รับอุทธรณ์ของโจทก์และพิพากษามานั้นเป็นการไม่ชอบ เมื่อโจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเช่นเดียวกับที่โจทก์อุทธรณ์อีก จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 7 แม้โจทก์จะยื่นฎีกาโดยมีผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาก็ตาม แต่การอนุญาตดังกล่าวไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 ซึ่งผู้พิพากษาดังกล่าวจะอนุญาตให้ฎีกาได้เฉพาะในคดีซึ่งห้ามฎีกาไว้โดยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218,219 และ 220 เท่านั้น มิได้ให้ผู้พิพากษานั้นอนุญาตให้ฎีกาในกรณีดังกล่าวได้ โจทก์ย่อมไม่อาจฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์มานั้นจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์สำหรับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 ซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและพิพากษามานั้น เป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา อันว่าด้วยอุทธรณ์ แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คดีที่ต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ชอบที่จะพิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 รับอุทธรณ์ของโจทก์และพิพากษามานั้นเป็นการไม่ชอบ เมื่อโจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเช่นเดียวกับที่โจทก์อุทธรณ์อีก จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 7 แม้โจทก์จะยื่นฎีกาโดยมีผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาก็ตาม แต่การอนุญาตดังกล่าวไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 ซึ่งผู้พิพากษาดังกล่าวจะอนุญาตให้ฎีกาได้เฉพาะในคดีซึ่งห้ามฎีกาไว้โดยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218,219 และ 220 เท่านั้น มิได้ให้ผู้พิพากษานั้นอนุญาตให้ฎีกาในกรณีดังกล่าวได้ โจทก์ย่อมไม่อาจฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์มานั้นจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์สำหรับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 ซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและพิพากษามานั้น เป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา อันว่าด้วยอุทธรณ์ แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3184/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษายกฟ้องอาญาฐานชิงทรัพย์และพาอาวุธ เนื่องจากพยานหลักฐานไม่เพียงพอ และความน่าสงสัยของผู้เสียหายในการจำจำเลย
ข้อหาพาอาวุธไปในเมืองทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 ศาลชั้นต้นลงโทษปรับจำเลย 100 บาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 ทวิ ที่จำเลยฎีกาว่าไม่ได้กระทำความผิดและโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยจะมีอาวุธมีดจริงหรือไม่ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ก็ถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาโดยชอบแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยแต่เมื่อข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่ใช้มีดจี้ชิงทรัพย์ผู้เสียหาย แม้ข้อหาพาอาวุธมีดไปในเมืองทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรจะยุติไปแล้ว ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้องจำเลยในข้อหาดังกล่าวได้ด้วย เพราะเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 185 วรรคหนึ่งประกอบมาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8731/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คมีมูลหนี้ผิดกฎหมาย (ดอกเบี้ยเกินอัตรา) ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค แม้โอนให้ผู้อื่น
อุทธรณ์ของโจทก์ว่า การที่จำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ให้แก่ ฝ. แทนเช็คที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4หรือไม่ โดยมิได้อุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงเป็นประการอื่น อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย
การที่จำเลยกู้ยืมเงิน ฝ. ฝ. คิดดอกเบี้ยจากจำเลยอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน จำเลยออกเช็คฉบับแรกจำนวน 4,000,000 บาทให้แก่ ฝ. โดยรวมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือนไว้แล้ว ต่อมาธนาคารตามเช็คนั้นปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยจึงออกเช็คให้แก่ ฝ. จำนวน2 ฉบับ ฉบับละ 2,000,000 บาท ซึ่งรวมทั้งเช็คพิพาท แสดงให้เห็นว่าเช็คพิพาทซึ่งออกเพื่อชำระหนี้ตามเช็คฉบับแรกมีมูลหนี้อันเกิดจากการคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้รวมอยู่ ซึ่งการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3 เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าเช็คพิพาทเป็นเช็คที่มีมูลหนี้ผิดกฎหมายรวมอยู่ด้วย การออกเช็คพิพาทของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามฟ้อง แม้ ฝ. จะโอนเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ โดยโจทก์ไม่ทราบว่ามีดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายรวมอยู่ด้วยก็ตาม ก็ไม่ทำให้การออกเช็คพิพาทของจำเลยซึ่งไม่เป็นความผิดต่อกฎหมายกลับมาเป็นความผิดขึ้นมาอีก
การที่จำเลยกู้ยืมเงิน ฝ. ฝ. คิดดอกเบี้ยจากจำเลยอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน จำเลยออกเช็คฉบับแรกจำนวน 4,000,000 บาทให้แก่ ฝ. โดยรวมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือนไว้แล้ว ต่อมาธนาคารตามเช็คนั้นปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยจึงออกเช็คให้แก่ ฝ. จำนวน2 ฉบับ ฉบับละ 2,000,000 บาท ซึ่งรวมทั้งเช็คพิพาท แสดงให้เห็นว่าเช็คพิพาทซึ่งออกเพื่อชำระหนี้ตามเช็คฉบับแรกมีมูลหนี้อันเกิดจากการคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้รวมอยู่ ซึ่งการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3 เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าเช็คพิพาทเป็นเช็คที่มีมูลหนี้ผิดกฎหมายรวมอยู่ด้วย การออกเช็คพิพาทของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามฟ้อง แม้ ฝ. จะโอนเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ โดยโจทก์ไม่ทราบว่ามีดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายรวมอยู่ด้วยก็ตาม ก็ไม่ทำให้การออกเช็คพิพาทของจำเลยซึ่งไม่เป็นความผิดต่อกฎหมายกลับมาเป็นความผิดขึ้นมาอีก