พบผลลัพธ์ทั้งหมด 161 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5483/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกเคหสถานและข่มขืนใจเจ้าหน้าที่เพื่อยึดทรัพย์สิน กรณีพิพาทสัญญาเช่า
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทำสัญญาเช่าร้านอาหารพิพาทจากจำเลยที่ 1ต่อมาจำเลยที่ 2 กับชายคนหนึ่งซึ่งพกอาวุธปืนติดตัวได้พากันไปที่ ร้านอาหารพิพาท ซึ่งมี จ. ลูกจ้างโจทก์เฝ้าดูแลอยู่ จำเลยที่ 2 สั่ง จ. ให้ออกจากร้าน มิฉะนั้นจะปิดกุญแจขัง จ. กลัวจึงยอมออกจากร้านจำเลยที่ 2 ได้ปิดกุญแจร้านอาหารพิพาททำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่สามารถประกอบกิจการร้านอาหารและไม่สามารถนำอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ของโจทก์ซึ่งซื้อมาใช้ในการประกอบกิจการออกจากร้านอาหารพิพาทได้ หลังจากนั้นอีก 3 ถึง 4 วัน จำเลยที่ 1 ได้ให้ บุคคลอื่นเข้าทำกิจการร้านอาหารพิพาทแทน นอกจากนั้นโจทก์ ยังนำสืบว่าไม่เคยค้างชำระค่าเช่าจำเลยที่ 1 คดีจึงยังมีปัญหาข้อเท็จจริง ที่ต้องให้ปรากฏชัดแจ้งก่อนว่า โจทก์ผิดสัญญาเช่าหรือไม่ ข้อเท็จจริง ที่โจทก์นำสืบในชั้นไต่สวนมูลฟ้องเกี่ยวกับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 362, 364, 365 ประกอบด้วยมาตรา 83 มีมูล ให้ประทับฟ้องไว้ พิจารณาได้ การที่ศาลล่างทั้งสองด่วนวินิจฉัยว่าโจทก์ผิดสัญญาเช่า จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจกลับเข้าครอบครองทรัพย์ที่เช่าตามสัญญาจึงไม่ชอบ
จำเลยที่ 2 ให้ จ. ออกจากร้านอาหารพิพาทเพื่อปิดร้าน มิใช่การกระทำเพื่อให้ได้รับประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน ไม่เป็นความผิดฐานกรรโชก
จำเลยที่ 2 ให้ จ. ออกจากร้านอาหารพิพาทเพื่อปิดร้าน มิใช่การกระทำเพื่อให้ได้รับประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน ไม่เป็นความผิดฐานกรรโชก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5483/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองร้านเช่าพิพาท: สิทธิของผูเช่าเมื่อถูกจำเลยกีดกันการเข้าใช้ประโยชน์
โจทก์ทำสัญญาเช่าร้านอาหารพิพาทจากจำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 2 กับชายคนหนึ่งซึ่งพกอาวุธปืนติดตัวได้พากันไปที่ร้านอาหารพิพาทซึ่งมีลูกจ้างโจทก์เฝ้าดูแลอยู่ จำเลยที่ 2 สั่งลูกจ้างโจทก์ให้ออกจากร้านมิฉะนั้นจะปิดกุญแจขัง ลูกจ้างโจทก์กลัวจึงยอมออกจากร้าน จำเลยที่ 2 ได้ปิดกุญแจร้านอาหารพิพาททำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่สามารถประกอบกิจการร้านอาหารและไม่สามารถนำอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ของโจทก์ซึ่งซื้อมาใช้ในการประกอบกิจการออกจากร้านอาหารพิพาทได้หลังจากนั้นอีก 3 ถึง 4 วัน จำเลยที่ 1 ได้ให้บุคคลอื่นเข้าทำกิจการร้านอาหารพิพาทแทน โจทก์ยังได้นำสืบอีกว่าไม่เคยค้างชำระค่าเช่าจำเลยที่ 1 ดังนี้ ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบในชั้นไต่สวนมูลฟ้องเกี่ยวกับความผิดฐานบุกรุกตาม ป.อ.มาตรา 362,364 และ 365 จึงมีมูล ศาลล่างทั้งสองด่วนวินิจฉัยว่าโจทก์ผิดสัญญาเช่า จำเลยที่ 1จึงมีอำนาจกลับเข้าครอบครองทรัพย์ที่เช่าตามสัญญา จึงไม่ชอบ
จำเลยที่ 2 ให้ จ.ออกจากร้านอาหารพิพาทเพื่อปิดร้าน มิใช่การกระทำเพื่อให้ได้รับประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน ไม่เป็นความผิดฐานกรรโชก
จำเลยที่ 2 ให้ จ.ออกจากร้านอาหารพิพาทเพื่อปิดร้าน มิใช่การกระทำเพื่อให้ได้รับประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน ไม่เป็นความผิดฐานกรรโชก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4185/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความในคดีแพ่งมีผลระงับคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวได้ หากเจตนาครอบคลุมถึงผู้เกี่ยวข้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยข้อเท็จจริง โจทก์อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยโดยพิเคราะห์ว่าเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิเมื่อโจทก์มิได้ฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ไม่รับวินิจฉัยให้ว่าไม่ถูกต้องอย่างไร ข้อเท็จจริงจึงยุติแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแม้ผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จะอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15
ก่อนโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326,328 เป็นคดีนี้ โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นจำเลยในคดีแพ่งขอให้บังคับจำเลยยินยอมให้โจทก์ไปติดต่อและพบเด็กหญิง ธ.จำเลยที่ 2ให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งขอให้ห้ามโจทก์ติดต่อหรือพบกับเด็กหญิง ธ.โจทก์กับจำเลยที่ 2 ก็ได้ยอมความกันในคดีแพ่ง ศาลมีคำพิพากษาตามยอมปรากฏในรายงานกระบวนพิจารณาว่า "โจทก์แถลงว่าตามที่โจทก์ได้ยื่นฟ้องบุคคลที่เกี่ยวข้องในคดีนี้ โจทก์จะไปดำเนินการถอนฟ้องคดีอาญาดังกล่าวและจะทำหนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอถอนเรื่องที่ร้องเรียนไว้ต่อไปศาลจึงบันทึกไว้เป็นสำคัญ" แสดงให้เห็นโดยปริยายว่าโจทก์ตกลงกับจำเลยที่ 2ยินยอมระงับข้อพิพาทในคดีอาญาระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 2 และบุคคลที่เกี่ยวข้องในคดีดังกล่าวด้วยดังนี้ย่อมแสดงชัดว่าเป็นการยอมความกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2โดยชอบด้วยกฎหมาย และสำหรับจำเลยที่ 1ซึ่งถูกฟ้องในมูลความคดีเดียวกันกับจำเลยที่ 2 เนื่องจากเป็นผู้บันทึกข้อความดังกล่าวลงในบัตรตรวจโรค จำเลยที่ 1 ก็คือบุคคลผู้เกี่ยวข้องตามที่ระบุไว้ในรายงานกระบวนพิจารณานั้นเอง เมื่อเจตนารมณ์ของคู่ความชี้ชัดว่าโจทก์ยอมความกับจำเลยที่ 2 โดยประสงค์ให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ด้วยจึงเป็นการแสดงเจตนาไม่ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสอง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวจึงระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ก่อนโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326,328 เป็นคดีนี้ โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นจำเลยในคดีแพ่งขอให้บังคับจำเลยยินยอมให้โจทก์ไปติดต่อและพบเด็กหญิง ธ.จำเลยที่ 2ให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งขอให้ห้ามโจทก์ติดต่อหรือพบกับเด็กหญิง ธ.โจทก์กับจำเลยที่ 2 ก็ได้ยอมความกันในคดีแพ่ง ศาลมีคำพิพากษาตามยอมปรากฏในรายงานกระบวนพิจารณาว่า "โจทก์แถลงว่าตามที่โจทก์ได้ยื่นฟ้องบุคคลที่เกี่ยวข้องในคดีนี้ โจทก์จะไปดำเนินการถอนฟ้องคดีอาญาดังกล่าวและจะทำหนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอถอนเรื่องที่ร้องเรียนไว้ต่อไปศาลจึงบันทึกไว้เป็นสำคัญ" แสดงให้เห็นโดยปริยายว่าโจทก์ตกลงกับจำเลยที่ 2ยินยอมระงับข้อพิพาทในคดีอาญาระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 2 และบุคคลที่เกี่ยวข้องในคดีดังกล่าวด้วยดังนี้ย่อมแสดงชัดว่าเป็นการยอมความกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2โดยชอบด้วยกฎหมาย และสำหรับจำเลยที่ 1ซึ่งถูกฟ้องในมูลความคดีเดียวกันกับจำเลยที่ 2 เนื่องจากเป็นผู้บันทึกข้อความดังกล่าวลงในบัตรตรวจโรค จำเลยที่ 1 ก็คือบุคคลผู้เกี่ยวข้องตามที่ระบุไว้ในรายงานกระบวนพิจารณานั้นเอง เมื่อเจตนารมณ์ของคู่ความชี้ชัดว่าโจทก์ยอมความกับจำเลยที่ 2 โดยประสงค์ให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ด้วยจึงเป็นการแสดงเจตนาไม่ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสอง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวจึงระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4185/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความในคดีแพ่งมีผลระงับคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวได้
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยข้อเท็จจริง โจทก์อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยโดยพิเคราะห์ว่าเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 193 ทวิ เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ไม่รับวินิจฉัยให้ว่าไม่ถูกต้องอย่างไร ข้อเท็จจริงจึงยุติแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแม้ผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จะอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบป.วิ.อ.มาตรา 15
ก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ.มาตรา 326, 328 โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นจำเลยในคดีแพ่งขอให้บังคับจำเลยยินยอมให้โจทก์ไปติดต่อและพบเด็กหญิง ธ. จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งขอให้ห้ามโจทก์ติดต่อหรือพบกับเด็กหญิงธ. โจทก์กับจำเลยที่ 2ก็ได้ยอมความกันในคดีแพ่ง ศาลมีคำพิพากษาตามยอมปรากฏในรายงานกระบวนพิจารณาว่า "โจทก์แถลงว่า ตามที่โจทก์ได้ยื่นฟ้องบุคคลที่เกี่ยวข้องในคดีนี้ โจทก์จะไปดำเนินการถอนฟ้องคดีอาญาดังกล่าว และจะทำหนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอถอนเรื่องที่ร้องเรียนไว้ต่อไป ศาลจึงบันทึกไว้เป็นสำคัญ" แม้โจทก์จะผิดข้อตกลงไม่ไปดำเนินการถอนฟ้องให้ก็ตาม แต่ข้อความที่ปรากฏในรายงานกระบวนพิจารณาดังกล่าวแสดงให้เห็นโดยปริยายว่า โจทก์ตกลงกับจำเลยที่ 2 ยินยอมระงับข้อพิพาทในคดีอาญาระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 2 และบุคคลที่เกี่ยวยข้องในคดีดังกล่าวด้วยดังนี้ย่อมแสดงชัดว่าเป็นการยอมความกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 โดยชอบด้วยกฎหมาย และสำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งถูกฟ้องในมูลความคดีเดียวกันกับจำเลยที่ 2เนื่องจากเป็นผู้บันทึกข้อความดังกล่าวลงในบัตรตรวจโรค จำเลยที่ 1 ก็คือบุคคลผู้เกี่ยวข้องตามที่ระบุไว้ในรายงานกระบวนพิจารณานั้นเอง เมื่อเจตนารมณ์ของคู่ความชี้ชัดว่าโจทก์ยอมความกับจำเลยที่ 2 โดยประสงค์ให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ด้วยจึงเป็นการแสดงเจตนาไม่ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสอง มิใช่แต่เพียงจำเลยที่ 2 เท่านั้นไม่ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวจึงระงับไปตามป.วิ.อ.มาตรา 39 (2) ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ.มาตรา 326, 328 โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นจำเลยในคดีแพ่งขอให้บังคับจำเลยยินยอมให้โจทก์ไปติดต่อและพบเด็กหญิง ธ. จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งขอให้ห้ามโจทก์ติดต่อหรือพบกับเด็กหญิงธ. โจทก์กับจำเลยที่ 2ก็ได้ยอมความกันในคดีแพ่ง ศาลมีคำพิพากษาตามยอมปรากฏในรายงานกระบวนพิจารณาว่า "โจทก์แถลงว่า ตามที่โจทก์ได้ยื่นฟ้องบุคคลที่เกี่ยวข้องในคดีนี้ โจทก์จะไปดำเนินการถอนฟ้องคดีอาญาดังกล่าว และจะทำหนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอถอนเรื่องที่ร้องเรียนไว้ต่อไป ศาลจึงบันทึกไว้เป็นสำคัญ" แม้โจทก์จะผิดข้อตกลงไม่ไปดำเนินการถอนฟ้องให้ก็ตาม แต่ข้อความที่ปรากฏในรายงานกระบวนพิจารณาดังกล่าวแสดงให้เห็นโดยปริยายว่า โจทก์ตกลงกับจำเลยที่ 2 ยินยอมระงับข้อพิพาทในคดีอาญาระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 2 และบุคคลที่เกี่ยวยข้องในคดีดังกล่าวด้วยดังนี้ย่อมแสดงชัดว่าเป็นการยอมความกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 โดยชอบด้วยกฎหมาย และสำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งถูกฟ้องในมูลความคดีเดียวกันกับจำเลยที่ 2เนื่องจากเป็นผู้บันทึกข้อความดังกล่าวลงในบัตรตรวจโรค จำเลยที่ 1 ก็คือบุคคลผู้เกี่ยวข้องตามที่ระบุไว้ในรายงานกระบวนพิจารณานั้นเอง เมื่อเจตนารมณ์ของคู่ความชี้ชัดว่าโจทก์ยอมความกับจำเลยที่ 2 โดยประสงค์ให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ด้วยจึงเป็นการแสดงเจตนาไม่ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสอง มิใช่แต่เพียงจำเลยที่ 2 เท่านั้นไม่ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวจึงระงับไปตามป.วิ.อ.มาตรา 39 (2) ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3154/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีอาญา: หลักเกณฑ์การพิจารณาโทษหนัก-เบา และขอบเขตการย้อนสำนวน
คดีอาญาเรื่องใดจะต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงหรือไม่ ต้องพิจารณาอัตราโทษที่กฎหมายบัญญัติสำหรับข้อหาแต่ละกระทงความผิดเป็นสำคัญ เมื่อความผิดในกระทงนั้นมีความผิดหลายบทรวมอยู่ด้วย ถ้าบทหนักไม่ต้องห้าม ก็ถือว่าทุกบทไม่ต้องห้าม โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามในความผิดฐานร่วมกันบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์ ซึ่งเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวกัน เมื่อความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365(2) ประกอบด้วยมาตรา 362 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 ซึ่งเป็นบทเบา แม้จะมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับก็ย่อมไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงด้วย สมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาพิพากษาใหม่ เพื่อให้การวินิจฉัยความผิดของจำเลยทั้งสามเป็นไปตามลำดับศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 208(2) ประกอบด้วย มาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7993/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมที่ต้องห้ามตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และอำนาจศาลฎีกาในการวินิจฉัย
ตามฟ้องโจทก์ระบุว่าจำเลยขับรถยนต์โดยประมาทเฉี่ยวชนกับรถยนต์ที่ผู้เสียหายขับเป็นเหตุให้ จ. ถึงแก่ความตาย ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส ส่วน พ. และ บ. ได้รับอันตรายแก่กาย ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291,300 พระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 43,157,160 แม้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้เสียหายเข้าร่วมเป็นโจทก์ โดยมิได้ระบุว่าอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์ในความผิดฐานใดแต่ก็พอแปลได้ว่า ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ ผู้เสียหายเข้าร่วมเป็นโจทก์เฉพาะข้อหากระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 300 เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ และความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ โจทก์ร่วมจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 ทวิ โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์รับพิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมและพิพากษาจำคุกจำเลยมาจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195ประกอบด้วยมาตรา 225 ไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาจำเลยและให้พิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และยกฎีกาของจำเลย กับให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7830-7831/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนขายทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงชำระหนี้ค่าทนายความเข้าข่ายความผิดฐานโกงเจ้าหนี้
โจทก์อุทธรณ์ว่า เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้เป็นยุติว่า จำเลยตกลงว่าจ้างโจทก์ให้เป็นทนายความฟ้องคดีขอแบ่งมรดก และคดีดังกล่าวถึงที่สุดโดยคำพิพากษาตามยอมให้จำเลยได้รับส่วนแบ่งเป็นที่ดินจำนวน 3 ไร่ และ 5 ไร่ ตามลำดับ หลังจากนั้นจำเลยยังไม่ชำระค่าว่าความให้โจทก์ โจทก์จึงได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่ง สำหรับที่ดินที่จำเลยมีสิทธิได้รับตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น จำเลยมอบหมายให้ว. ไปขายแก่บุคคลอื่นโดยจำเลยได้รับส่วนแบ่งเป็นเงินตามราคาที่ดินที่ขายได้ตามส่วนของตน ซึ่งมีการฝากธนาคารไว้แล้ว จำเลยถอนเงินดังกล่าวไป ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาจะมิให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของตนได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งเป็นเจตนาพิเศษอันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 แล้ว อันเป็นอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยปรับข้อเท็จจริงที่รับฟังได้แล้วนั้นว่าเข้าองค์ประกอบความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามฟ้องหรือไม่ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อกฎหมาย
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า อุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงจึงไม่รับวินิจฉัยให้และพิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์ แต่ศาลฎีกาเห็นว่าอุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ ซึ่งหากศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์แล้ว คดีอาจมีผลต่อการฎีกาของโจทก์ตามกฎหมายได้ศาลฎีกาให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า อุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงจึงไม่รับวินิจฉัยให้และพิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์ แต่ศาลฎีกาเห็นว่าอุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ ซึ่งหากศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์แล้ว คดีอาจมีผลต่อการฎีกาของโจทก์ตามกฎหมายได้ศาลฎีกาให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4711/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมและการบุกรุก: เจ้าพนักงานมีอำนาจจับกุมโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้ไม่ได้ขออนุญาตผู้บังคับบัญชาก่อน
ความผิดต่อเสรีภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 วรรคหนึ่ง,310 วรรคหนึ่งมีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ เว้นแต่จะมีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยตามมาตรา 193 ตรีแต่ตามอุทธรณ์ของโจทก์ที่อ้างเหตุว่า จำเลยทั้งสามมีเจตนาไม่สุจริต อาศัยข้อกฎหมายเป็นเครื่องกำบังร่วมกันจับกุมโจทก์เพื่อกลั่นแกล้ง ข่มขู่ให้โจทก์เกรงกลัวไม่กล้าไปเบิกความเป็นพยานโจทก์ในคดีอาญาที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ถูกฟ้องในความผิดฐานยักยอกทรัพย์ของบริษัท ย. เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรา 193 ตรีอุทธรณ์ของโจทก์ในข้อหาความผิดต่อเสรีภาพจึงต้องห้ามตามกฎหมายการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ในข้อหาดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาของศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้โจทก์ฎีกาในข้อหาดังกล่าวด้วย ศาลฎีกาก็ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาในความผิดต่อเสรีภาพต่อไป ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78(4),81(1), 92(5) มีความหมายโดยสรุปว่าเจ้าพนักงานตำรวจจะเข้าไปจับกุมบุคคลหนึ่งบุคคลใดในที่รโหฐานได้ต่อเมื่อมีหมายจับกุมบุคคลผู้นั้นและมีหมายค้นที่รโหฐานนั้นด้วย เว้นแต่ในกรณีที่มีผู้ขอให้เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมบุคคลผู้เป็นเจ้าของบ้าน โดยกล่าวหาว่ากระทำความผิดอาญาและแจ้งว่าได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีอาญาแก่ผู้นั้นตามระเบียบแล้วเจ้าพนักงานตำรวจจึงจะมีอำนาจจับกุมได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นและหมายจับ เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขอให้จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์ในข้อหาแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานโดยแจ้งว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนตามระเบียบแล้ว กรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78(4),81(1),92(5) ที่ให้อำนาจจำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์ในบ้านพักของโจทก์ได้ โดยไม่ต้องมีหมายค้นและหมายจับ จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจมีอำนาจจับกุมผู้กระทำความผิดอาญาได้ทั่วราชอาณาจักร แม้ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 3 จะมีหน้าที่ในการบรรเทาสาธารณภัยก็ไม่ทำให้อำนาจที่จำเลยที่ 3 มีอยู่ตามกฎหมายสูญสิ้นไปแต่ประการใดจำเลยที่ 3 ยังคงมีอำนาจอยู่โดยบริบูรณ์ในฐานะเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจผู้มีอำนาจหน้าที่สืบสวนจับกุมผู้กระทำความผิดอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(16) การที่จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาก่อนไม่มีผลกระทบต่ออำนาจที่จำเลยที่ 3 มีอยู่แล้วตามกฎหมาย ดังนั้นการที่จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์จึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก และการที่จำเลยที่ 1 เข้าไปในบ้านของโจทก์เพื่อชี้ให้จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์ก็เป็นการเข้าไปโดยมีเหตุอันสมควร ไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2383/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีเยาวชนและครอบครัวที่ศาลเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวไปฝึกอบรม และข้อยกเว้นการห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
คดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 121 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 นั้น ต้องห้ามอุทธรณ์แต่เฉพาะกรณีที่โจทก์อุทธรณ์เกี่ยวกับการที่ศาลใช้ดุลพินิจเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวไปฝึกและอบรมเท่านั้น คดีนี้แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจเป็นเวลาไม่เกิน 2 ปี แต่โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงว่าจำเลยกระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดหรือไม่ ไม่ได้อุทธรณ์เกี่ยวกับการที่ศาลใช้ดุลพินิจเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวไปฝึกและอบรม ฉะนั้นโจทก์จะอุทธรณ์ได้หรือไม่จึงต้องพิจารณาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความเหมือนคดีธรรมดา ไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวตามมาตรา 122 ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวแต่อย่างใด
การจะพิจารณาว่าคดีจะอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้หรือไม่นั้น ต้องพิจารณาอัตราโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมายตามฟ้อง แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 295 , 83 ซึ่งอัตราโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่โจทก์อุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายซึ่งตาม ป.อ. มาตรา 288 , 80 , 83 ระวางโทษไว้สองในสามส่วนของโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี ซึ่งเป็นอัตราโทษสูงกว่าที่กำหนดไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ โจทก์จึงอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวได้
การจะพิจารณาว่าคดีจะอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้หรือไม่นั้น ต้องพิจารณาอัตราโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมายตามฟ้อง แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 295 , 83 ซึ่งอัตราโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่โจทก์อุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายซึ่งตาม ป.อ. มาตรา 288 , 80 , 83 ระวางโทษไว้สองในสามส่วนของโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี ซึ่งเป็นอัตราโทษสูงกว่าที่กำหนดไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ โจทก์จึงอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2381/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์ใช้รายงานคุมประพฤติ + สิทธิอุทธรณ์ของผู้เสียหาย
รายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติที่จำเลยมิได้คัดค้านว่ารายงานนั้นไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบอย่างไร แม้โจทก์ร่วมเป็นฝ่ายอุทธรณ์ขอให้ลงโทษหนักขึ้นโดยไม่ได้กล่าวถึงรายงานดังกล่าวในอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจหยิบยกรายงานดังกล่าวซึ่งเข้าสู่สำนวนอย่างถูกต้องแล้วมาประกอบการใช้ดุลพินิจพิพากษาคดีลงโทษจำเลยได้
โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายและได้เข้าเป็นคู่ความในคดีนี้แล้ว คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 278 ซึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน10 ปี เมื่อมิใช่เป็นคดีที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 193 ทวิ ดังนี้ หากโจทก์ร่วมยังไม่พอใจคำพิพากษาศาลชั้นต้นโจทก์ร่วมย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ได้ ไม่มีบทกฎหมายให้สิทธิอุทธรณ์เฉพาะพนักงานอัยการโจทก์แต่อย่างใด
โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายและได้เข้าเป็นคู่ความในคดีนี้แล้ว คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 278 ซึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน10 ปี เมื่อมิใช่เป็นคดีที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 193 ทวิ ดังนี้ หากโจทก์ร่วมยังไม่พอใจคำพิพากษาศาลชั้นต้นโจทก์ร่วมย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ได้ ไม่มีบทกฎหมายให้สิทธิอุทธรณ์เฉพาะพนักงานอัยการโจทก์แต่อย่างใด