คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 193 ทวิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 161 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2381/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์ใช้รายงานคุมประพฤติ + สิทธิอุทธรณ์ของผู้เสียหาย
รายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติที่จำเลยมิได้คัดค้านว่ารายงานนั้นไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบอย่างไร แม้โจทก์ร่วมเป็นฝ่ายอุทธรณ์ขอให้ลงโทษหนักขึ้นโดยไม่ได้กล่าวถึงรายงานดังกล่าวในอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจหยิบยกรายงานดังกล่าวซึ่งเข้าสู่สำนวนอย่างถูกต้องแล้วมาประกอบการใช้ดุลพินิจพิพากษาคดีลงโทษจำเลยได้
โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายและได้เข้าเป็นคู่ความในคดีนี้แล้ว คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 278 ซึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน10 ปี เมื่อมิใช่เป็นคดีที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 193 ทวิ ดังนี้ หากโจทก์ร่วมยังไม่พอใจคำพิพากษาศาลชั้นต้นโจทก์ร่วมย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ได้ ไม่มีบทกฎหมายให้สิทธิอุทธรณ์เฉพาะพนักงานอัยการโจทก์แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6826/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอรับรองอุทธรณ์หลังพ้นกำหนดเวลา และการไม่อนุญาตอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามกฎหมาย
โจทก์ได้ยื่นคำร้องพร้อมกับฟ้องอุทธรณ์เจาะจงขอให้ ฐ. ซึ่งเป็นผู้ที่นั่งพิจารณาคดีนี้ให้รับรองอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ฐ. ได้สั่งในวันเดียวกันนั้นว่าไม่มีเหตุอันควรรับรองให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงจึงไม่รับรองอุทธรณ์โจทก์ในปัญหาข้อเท็จจริง ยกคำร้องและศาลชั้นต้นสั่งในฟ้องอุทธรณ์ว่า อุทธรณ์ของโจทก์ในคดีอาญาเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิจึงไม่รับอุทธรณ์โจทก์ในคดีอาญา คำสั่งดังกล่าวจึงเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมายแล้ว ดังนี้ คำฟ้องอุทธรณ์ส่วนอาญาของโจทก์จึงเป็นอันตกไป การที่ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่ลงชื่อในคำพิพากษารับรองอุทธรณ์ของโจทก์เมื่อพ้นกำหนดเวลาอุทธรณ์และศาลชั้นต้นสั่งว่า พ้นระยะเวลายื่นอุทธรณ์ของโจทก์แล้ว จึงไม่มีประโยชน์ที่จะสั่งคำร้องนี้จึงเป็นคำสั่งที่ชอบแล้ว โดยไม่จำต้องสั่งว่าจะรับรองให้หรือไม่อีก เพราะการขออนุญาตให้อุทธรณ์ต้องกระทำในระยะเวลาที่โจทก์ยังยื่นอุทธรณ์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2888/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีเยาวชนและครอบครัว: ข้อจำกัดในการอุทธรณ์การกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ
ศาลเยาวชนและครอบครัวซึ่งเป็นศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335(1)(3)(11) วรรคสาม ประกอบด้วยมาตรา 83ขณะกระทำความผิดจำเลยมีอายุ 15 ปีเศษ ลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่ง ลงโทษจำคุก 2 ปี ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปควบคุม เพื่อฝึกและอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน มีกำหนดขั้นต่ำ 1 ปี ขั้นสูง 1 ปี 6 เดือน อันเป็นกรณีที่ศาลเยาวชนและครอบครัวกำหนดให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดี เยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 104 มิใช่เป็นกรณีที่ ศาลเยาวชนและครอบครัวพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ส่งเด็กหรือเยาวชน ไปเพื่อกักและอบรมมีกำหนดระยะเวลาเกินสามปี ซึ่งต้องห้ามมิให้ อุทธรณ์ในข้อที่ศาลเยาวชนและครอบครัวใช้ดุลพินิจกำหนด วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 121 คดีจึงไม่ต้องห้ามมิให้จำเลยอุทธรณ์ ว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบแตกต่างขัดแย้งกันและไม่มีน้ำหนัก ให้ฟังว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิด เพราะเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงที่มิได้เกี่ยวกับการใช้ดุลพินิจกำหนด วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8399/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลแขวง การใช้บทบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง และการห้ามอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริง
คดีนี้เหตุเกิดที่อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานีซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานีอันเป็นศาลชั้นต้น และพระราชกฤษฎีกากำหนดจำนวนและวันเปิดทำการของศาลแขวงในบางจังหวัด พ.ศ. 2500 มาตรา 18 บัญญัติว่า"ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีให้มีศาลแขวงหนึ่งศาล มีเขตอำนาจในอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี" ต่อมามีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลแขวงสุราษฎร์ธานีอีกหลายฉบับซึ่งได้กำหนดให้ศาลแขวงสุราษฎร์ธานีมีเขตอำนาจในอำเภออื่นนอกจากอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี แต่ยังไม่ปรากฏว่ามีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ศาลแขวงสุราษฎร์ธานีมีเขตอำนาจในอำเภอเกาะสมุยด้วย ดังนี้บทบัญญัติมาตรา 4แห่งพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาใช้บังคับแก่คดีนี้มิได้และจะนำบทบัญญัติมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520มาใช้บังคับแก่คดีนี้ไม่ได้เช่นกัน เนื่องจากมาตรา 2แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติว่า "พระราชบัญญัติให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่มาตรา 3 จะใช้บังคับสำหรับคดีที่เกิดขึ้นในท้องที่ใดเมื่อใด ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา" สำหรับจังหวัดสุราษฎร์ธานีท้องที่ซึ่งยังมิได้มีศาลแขวงเปิดทำการและมีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บทบัญญัติมาตรา 3 ดังกล่าวบังคับคงมีเฉพาะท้องที่อำเภอไชยาอำเภอท่าฉางและอำเภอท่าชนะเท่านั้น จึงนำบทบัญญัติมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499ที่ห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์มาใช้บังคับแก่คดีนี้ไม่ได้ เมื่อยังไม่มีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้มาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 ใช้บังคับสำหรับคดีที่เกิดขึ้นในท้องที่อำเภอเกาะสมุย ได้ และมีปัญหาว่าคดีของโจทก์นี้จะต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงหรือไม่จึงต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7117/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์และการฎีกาที่ขัดต่อข้อจำกัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และการบังคับให้จำเลยจ่ายเงินสินบนนำจับที่ไม่ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 29 ทวิ,71 ทวิ ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 6 เดือน และปรับ 5,000 บาทโทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 1 ปี จึงต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ ที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำคุกโดยไม่รอการลงโทษนั้นเป็นการอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ และไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่จะฎีกาขอให้รอการลงโทษ เพราะแม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะรับวินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฎีกาจำเลยจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยเป็นผู้จ่ายเงินสินบนนำจับกึ่งหนึ่งของค่าปรับเป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 74 จัตวา ซึ่งเป็นบทบัญญัติให้จ่ายเงินสินบนนำจับจากค่าปรับหรือจ่ายเงินค่าขายของกลางที่ศาลสั่งริบ หาได้บังคับให้จำเลยต้องจ่ายเงินสินบนนำจับด้วยไม่ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6571/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีเยาวชนและครอบครัว: การจำกัดสิทธิอุทธรณ์เฉพาะการเปลี่ยนโทษเป็นสถานพินิจ และข้อยกเว้นการห้ามอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริง
คดีที่ศาลเยาวชนและครอบครัวได้พิพากษาหรือมีคำสั่งให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534มาตรา 104(2) โดยให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึกอบรมยังสถานพินิจ ฯลฯ นั้น จะต้องห้ามอุทธรณ์แต่เฉพาะกรณีที่อุทธรณ์เกี่ยวกับการที่ศาลใช้ดุลพินิจเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมยังสถานพินิจเท่านั้นมิได้ห้ามจำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงว่าจำเลยมิได้กระทำการอันกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด ฉะนั้น จำเลยทั้งสองจะอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวได้หรือไม่จึงต้องพิจารณาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอย่างคดีธรรมดาซึ่งเมื่อนำพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 6มาประกอบแล้วก็คือบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่บัญญัติไว้ในมาตรา 193 ทวิ ซึ่งห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริง ในคดีซึ่งอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อคดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277วรรคสอง และวรรคสาม ซึ่งอัตราโทษตามมาตรา 277 วรรคสองระวางโทษจำคุกตั้งแต่เจ็ดปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นสี่พันบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต และตามมาตรา 277 วรรคสามระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต อันเป็นอัตราโทษสูงกว่าที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 ทวิ จำเลยจึงอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงว่าจำเลยมิได้กระทำการอันกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดได้ไม่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 121

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2590/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีอาญาเรื่องบุกรุก ต้องพิจารณาอัตราโทษตามกฎหมาย เพื่อวินิจฉัยว่าต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงหรือไม่
คดีอาญาเรื่องใดจะต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ หรือไม่ต้องดูอัตราโทษที่กำหนดไว้ในบทบัญญัติที่โจทก์ขอให้ลงโทษเป็นสำคัญ คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อประมาณต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2536 เวลาใดไม่ปรากฏชัด ถึงวันที่15 มีนาคม 2536 เวลากลางวัน ทั้งเวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยบุกรุกเข้าไปในที่ดินอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ของผู้เสียหาย แล้วปลูกพืชผลอาสินลงในที่ดินดังกล่าวเพื่อถือการครอบครองที่ดินของผู้เสียหายบางส่วน ถือว่าโจทก์บรรยายว่าจำเลยกระทำผิดตลอดทั้งเวลากลางวันและเวลากลางคืนแล้ว และคำขอท้ายฟ้องก็ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 ฟ้องโจทก์จึงครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 365 แล้ว ส่วนจำเลยจะเข้าไปในที่ดินพิพาทตอนแรกเมื่อใดเป็นเรื่องในชั้นพิจารณา เมื่อความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 ที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยมีอัตราโทษจำคุกเกินสามปีไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 ทวิ ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์โจทก์และโจทก์ร่วมจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์และโจทก์ร่วม เพราะผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 3 อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิ การฎีกาของคู่ความได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2590/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีบุกรุกและอัตราโทษเกินสามปี ไม่ขัดขวางสิทธิอุทธรณ์และฎีกา
คดีอาญาเรื่องใดจะต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา193ทวิหรือไม่ต้องดูอัตราโทษที่กำหนดไว้ในบทบัญญัติที่โจทก์ขอให้ลงโทษเป็นสำคัญคดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่าเมื่อประมาณต้นเดือนกุมภาพันธ์2536เวลาใดไม่ปรากฏชัดถึงวันที่15มีนาคม2536เวลากลางวันทั้งเวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกันจำเลยบุกรุกเข้าไปในที่ดินอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ของผู้เสียหายแล้วปลูกพืชผลอาสินลงในที่ดินดังกล่าวเพื่อถือการครอบครองที่ดินของผู้เสียหายบางส่วนถือว่าโจทก์บรรยายว่าจำเลยกระทำผิดตลอดทั้งเวลากลางวันและเวลากลางคืนแล้วและคำขอท้ายฟ้องก็ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา365ฟ้องโจทก์จึงครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา365แล้วส่วนจำเลยจะเข้าไปในที่ดินพิพาทตอนแรกเมื่อใดเป็นเรื่องในชั้นพิจารณาเมื่อความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา365ที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยมีอัตราโทษจำคุกเกินสามปีไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา193ทวิดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์ภาค3ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์โจทก์และโจทก์ร่วมจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ภาค3วินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์และโจทก์ร่วมเพราะผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค3อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4457/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีอาญา: เจตนาลงโทษจำเลยในความผิดร้ายแรงเป็นสำคัญ
การห้ามไม่ให้อุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ ถือเจตนาของโจทก์เป็นสำคัญ หากโจทก์มีเจตนาที่จะให้ลงโทษจำเลยในความผิดที่มีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายให้จำคุกเกินกว่าสามปีแล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะฟังข้อเท็จจริงว่าคดีโจทก์ไม่มีมูลในความผิดที่โจทก์ขอให้ลงโทษ ก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเฉพาะในข้อหาความผิดที่มีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายให้จำคุกเกินสามปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3725/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการวินิจฉัยข้อเท็จจริงในชั้นอุทธรณ์ และการประเมินเหตุเพื่อความชอบธรรมในคดีหมิ่นประมาท
คดีที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 193 ทวิ จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายศาลอุทธรณ์จะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตาม ป.วิ.อ.มาตรา 194 ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า วันเวลาเกิดเหตุจำเลยได้ไปที่ทำงานของโจทก์และด่าว่าโจทก์เนื่องจากพฤติการณ์ต่าง ๆ ระหว่างโจทก์กับสามีจำเลยทำให้จำเลยเข้าใจว่าโจทก์มีความสัมพันธ์กับสามีจำเลย แต่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมว่าโจทก์มีความสัมพันธ์ในทำนองชู้สาวกับสามีจำเลยจริง จึงเป็นการฟังข้อเท็จจริงไม่ชอบ ต้องถือว่าข้อเท็จจริงฟังยุติตามที่ศาลชั้นต้นฟังมา ดังนั้นแม้โจทก์จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวว่าโจทก์มิได้มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับสามีจำเลย ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
การที่จำเลยเข้าใจว่าโจทก์มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับสามี-จำเลย ไม่ก่อให้จำเลยเกิดสิทธิที่จะเข้าไปกล่าวประจานโจทก์ในที่ทำงานของโจทก์ต่อหน้าเพื่อนร่วมงานของโจทก์ด้วยถ้อยคำหมิ่นประมาทโจทก์ เห็นได้ว่าจำเลยมุ่งประสงค์เพื่อให้โจทก์อับอายและทำลายชื่อเสียงของโจทก์ ดังนั้น จำเลยจะยกเหตุเพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมขึ้นเพื่อปฏิเสธความผิดไม่ได้
of 17