พบผลลัพธ์ทั้งหมด 161 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3725/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาท การฟังข้อเท็จจริงในชั้นอุทธรณ์ และเหตุเพื่อความชอบธรรมในการป้องกันตน
คดีที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา193ทวิจำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายศาลอุทธรณ์จะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา194ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าวันเวลาเกิดเหตุจำเลยได้ไปที่ทำงานของโจทก์และด่าว่าโจทก์เนื่องจากพฤติการณ์ต่างๆระหว่างโจทก์กับสามีจำเลยทำให้จำเลยเข้าใจว่าโจทก์มีความสัมพันธ์กับสามีจำเลยแต่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมว่าโจทก์มีความสัมพันธ์ในทำนองชู้สาวกับสามีจำเลยจริงจึงเป็นการฟังข้อเท็จจริงไม่ชอบต้องถือว่าข้อเท็จจริงฟังยุติตามที่ศาลชั้นต้นฟังมาดังนั้นแม้โจทก์จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวว่าโจทก์มิได้ความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับสามีจำเลยศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย การที่จำเลยเข้าใจว่าโจทก์มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับสามีจำเลยไม่ก่อให้จำเลยเกิดสิทธิที่จะเข้าไปกล่าวประจานโจทก์ในที่ทำงานของโจทก์ต่อหน้าเพื่อนร่วมงานของโจทก์ด้วยถ้อยคำหมิ่นประมาทโจทก์เห็นได้ว่าจำเลยมุ่งประสงค์เพื่อให้โจทก์อับอายและทำลายชื่อเสียงของโจทก์ดังนั้นจำเลยจะยกเหตุเพื่อความชอบธรรมป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมขึ้นเพื่อปฎิเสธความผิดไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3248/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์และฎีกาในคดีอาญาที่มีอัตราโทษจำกัดตามกฎหมาย
เฉพาะข้อหาความผิดตาม ป.อ.มาตรา 371 ที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษนั้น อัตราโทษอย่างสูงที่กฎหมายกำหนดไว้ให้ปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 193 ทวิ การที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งหมดรวมถึงอุทธรณ์ดุลพินิจในการกำหนดโทษซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงสำหรับข้อหาความผิดตามมาตรา 371 ด้วย โดยมิได้รับอนุญาตจากผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรืออัยการสูงสุดลงลายมือชื่อรับรองในอุทธรณ์ว่ามีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยตามที่ ป.วิ.อ.มาตรา193 ตรี บัญญัติไว้ จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงในข้อหาความผิดดังกล่าว ความผิดในข้อหาดังกล่าวย่อมยุติเพียงศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 หาได้ไม่ เพราะมิใช่กรณีฎีกาของจำเลยต้องห้ามฎีกาตามมาตรา 218, 219 และ 220 การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยมาทั้งหมดจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4911/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาข้อห้ามอุทธรณ์ในคดีอาญา ต้องพิจารณาอัตราโทษของบทที่โจทก์ขอลงโทษเป็นสำคัญ
คดีอาญาจะต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ หรือไม่นั้นต้องดูอัตราโทษตามที่กำหนดไว้ในบทบัญญัติที่โจทก์ขอให้ลงโทษเป็นสำคัญ ส่วนอัตราโทษตามบทบัญญัติที่พิจารณาได้ความหาใช่ข้อที่จะนำมาพิจารณาในชั้นนี้ไม่ อุทธรณ์ของโจทก์สำหรับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365(2) ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ส่วนความผิดตามบทมาตราอื่น แม้จะมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ก็เป็นการกระทำกรรมเดียวกับความผิดตามมาตรา 365(2)ซึ่งไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ ความผิดตามบทมาตราอื่นจึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2885/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดอำนาจศาลอุทธรณ์และฎีกาในคดีอาญา และการลงโทษที่ไม่ตรงกับฟ้อง
ความผิดฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 ศาลชั้นต้นลงโทษปรับจำเลย 100 บาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1รับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ และถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาโดยชอบแล้วในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย แม้คำขอท้ายฟ้องจะระบุอ้างมาตรา 376 ไว้ด้วยก็ตาม แต่โจทก์มิได้กล่าวบรรยายมาในฟ้องถึงองค์ประกอบความผิดมาตราดังกล่าวดังนั้น ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรานี้ไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคแรก การที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 376 มาด้วยจึงเป็นการไม่ชอบ และปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกาขึ้นมาศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1996/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีอาญา: หลักการพิจารณาบทหนัก-บทเบา และประโยชน์แห่งความสงสัย
การวินิจฉัยว่าอุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา193 ทวิ หรือไม่ ต้องพิจารณาความผิดแต่ละกระทง เมื่อความผิดในกระทงนั้นมีความผิดหลายบทรวมอยู่ด้วย ถ้าบทหนักไม่ต้องห้าม ศาลก็ต้องถือว่าทุกบทไม่ต้องห้ามคดีนี้โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยในกระทงความผิดฐานพาอาวุธปืนและมีดติดตัวไปในทางสาธารณะ และหมู่บ้าน อันเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท เมื่อความผิดต่อพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 8 ทวิ, วรรคแรก 72 ทวิวรรคสอง ซึ่งเป็นบทหนักมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ ความผิดตามประมวล-กฎหมายอาญา มาตรา 371 ซึ่งเป็นบทเบาก็พลอยไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ด้วย
เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ยังมีข้อสงสัยว่าจำเลยใช้อาวุธปืนและมีดยิงและแทงผู้เสียหายหรือไม่ และได้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยแล้วก็ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 ให้แก่จำเลยด้วย
เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ยังมีข้อสงสัยว่าจำเลยใช้อาวุธปืนและมีดยิงและแทงผู้เสียหายหรือไม่ และได้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยแล้วก็ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 ให้แก่จำเลยด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1927/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติตามขั้นตอนการอุทธรณ์และการพิจารณาเลื่อนคดีเนื่องจากความป่วยไข้ของคู่ความ
ศาลชั้นต้นเพียงแต่ส่งสำเนาอุทธรณ์ของโจทก์ให้จำเลยทราบมิได้กำหนดให้จำเลยแก้อุทธรณ์ภายในระยะเวลาตามกฎหมายด้วยเป็นการที่ศาลชั้นต้นไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการอุทธรณ์ แต่เมื่อระยะเวลาล่วงเลยมาจนศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีแล้ว การที่จำเลยยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาย่อมเห็นสมควรไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ทนายโจทก์ขอเลื่อนอ้างว่าป่วยการที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานไว้ยังมีพยานปากอื่นที่สามารถนำมาเบิกความไปพลางก่อนได้และทนายโจทก์ก็ไม่มาศาลในวันนั้น ส่อให้เห็นว่าโจทก์เจตนาประวิงคดีนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับพยานปากอื่นของโจทก์และทนายโจทก์มาหรือไม่มาศาลนั้นหาใช่เหตุที่จะนำมาพิจารณาสมควรให้เลื่อนคดีเพราะคู่ความอ้างเหตุป่วยเจ็บไม่ โจทก์อุทธรณ์ว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานโจทก์ไม่ชอบนั้นเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงที่มิได้เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1927/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติตามขั้นตอนอุทธรณ์ และการใช้ดุลพินิจศาลในการเลื่อนคดีเนื่องจากเหตุป่วย
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ว่าด้วยอุทธรณ์มาตรา 198,200 และ 201 มีความหมายชัดเจนบังคับไว้ว่า เมื่อศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์แล้วเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่ต้องส่งสำเนาอุทธรณ์ให้อีกฝ่ายหนึ่งและกำหนดเวลาให้แก้อุทธรณ์ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับสำเนาอุทธรณ์ การที่ศาลชั้นต้นสั่งอุทธรณ์ของโจทก์ว่า "รับเป็นอุทธรณ์โจทก์ สำเนาให้อีกฝ่าย"และออกหมายนัดส่งให้แก่จำเลยที่ 1 โดยมีข้อความในหมายนัดว่า"ด้วยคดีเรื่องนี้ศาลได้รับอุทธรณ์ของโจทก์ดังสำเนาอุทธรณ์แนบมาพร้อมหมายนี้ เพราะฉะนั้นจึงแจ้งมาให้ทราบ" เป็นการส่งสำเนาอุทธรณ์ของโจทก์ให้จำเลยที่ 1 ทราบเท่านั้น มิได้กำหนดให้จำเลยที่ 1แก้อุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ว่าด้วยการอุทธรณ์ คู่ความจะร้องขอเลื่อนคดีติดต่อกันได้ต้องเป็นกรณีที่มีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 และการอนุญาตให้เลื่อนคดีหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล ในการขอเลื่อนคดีครั้งที่ 2โจทก์มีใบรับรองแพทย์ของโรงพยาบาลมาแสดง ระบุว่าโจทก์มีอาการอ่อนแรงแขนขาด้านซ้าย เนื่องจากโรคเส้นเลือดสมองตีบ และความดันโลหิตสูงได้เข้ารักษาในโรงพยาบาลและยังไม่มีกำหนดกลับบ้านการขอเลื่อนการสืบพยานโจทก์จึงเป็นการอ้างเหตุขอเลื่อนคดีเพราะตัวความป่วยเจ็บไม่สามารถมาศาลได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 41 วรรคแรก ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 หากศาลชั้นต้นมีความสงสัยว่าโจทก์ป่วยจริงหรือไม่ก็มีอำนาจไต่สวนคำร้องขอเลื่อนคดีเสียก่อนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 21(4)ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 หรือจะตั้งเจ้าพนักงานศาลไปตรวจดูว่า โจทก์ป่วยเจ็บจริงหรือไม่ก็ได้หากข้ออ้างดังกล่าวเป็นความจริงก็ถือได้ว่ากรณีมีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้และมีเหตุสมควรที่ศาลชั้นต้นจะใช้ดุลพินิจให้โจทก์เลื่อนคดีอีกครั้งหนึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 40 ประกอบ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ดังกล่าว ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีแล้วมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์พร้อมทั้งพิพากษายกฟ้องในวันเดียวกัน โจทก์อุทธรณ์ว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานโจทก์ไม่ชอบ เป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงที่มิได้เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 887/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์โทษจำคุกที่ไม่รอการลงโทษในความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขัง ซึ่งเป็นข้อหาที่มีอัตราโทษจำกัดและจำเลยไม่ได้อุทธรณ์
ความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 310 วรรคแรก มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ให้การลงโทษเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ เมื่อจำเลยมิได้อุทธรณ์ข้อหาดังกล่าวจึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาในข้อหาดังกล่าวมาโดยไม่รอการลงโทษจำเลยจึงไม่ชอบ ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 887/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ไม่รอการลงโทษและการจำกัดสิทธิอุทธรณ์ในข้อหาหน่วงเหนี่ยวกักขังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
โจทก์อุทธรณ์ขอไม่ให้รอการลงโทษความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขัง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 ซึ่งระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยในข้อหาดังกล่าวเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 763/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่อุทธรณ์/ฎีกาข้อเท็จจริงเดิม – การโต้เถียงข้อเท็จจริงเดิมต้องห้ามอุทธรณ์/ฎีกา
ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลชั้นต้นยกฟ้องโดยฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยทั้งหกได้ใช้รถไถและรถแทรกเตอร์ไถดินบนทางพิพาทอันเป็นทางสาธารณะซึ่งมีความกว้าง 10 เมตร ทางใต้ของที่ดินโจทก์ รอยไถมีความกว้าง6 เมตร ต้นไม้ที่ถูกไถล้มลงก็อยู่ในทางพิพาท พยานหลักฐานโจทก์ไม่พอฟังว่าจำเลยทั้งหกได้กระทำความผิด โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยทั้งหกร่วมกันไถคันดินและโค่นต้นไม้ในที่ดินของโจทก์ เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 ทวิ โจทก์ฎีกาว่า จำเลยทั้งหกร่วมกันนำเครื่องจักรไถทางและต้นไม้ริมทางเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งหก เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงซึ่งศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัย จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15