คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 ม. 9

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 35 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 325/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินมือเปล่าที่ยังไม่ได้รับการรับรองการทำประโยชน์ตามกฎหมายที่ดิน สิทธิที่โอนได้คือสิทธิครอบครองเท่านั้น
ที่พิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า แม้จะได้แจ้งการครอบครองแล้ว แต่เมื่อยังไม่ได้รับคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้ว ย่อมไม่อาจโอนกันได้ตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 9 แต่ย่อมโอนไปซึ่งการครอบครองได้โดยการส่งมอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1378

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1046/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ ที่ดินมือเปล่า การซื้อขายที่ไม่สุจริต ผู้ซื้อไม่มีสิทธิ
ที่พิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า เดิมเป็นของ ว. แต่จำเลยได้ครอบครองมาจนเกินเวลาที่ ว. จะได้คืนซึ่งการครอบครองแล้ว ว. ย่อมไม่มีสิทธิจะโอนขายที่พิพาทให้โจทก์ โจทก์รู้เห็นว่าจำเลยได้ครอบครองที่พิพาทอย่างเป็นเจ้าของมาตั้งแต่ก่อนโจทก์และ ว. จะตกลงซื้อขายที่พิพาทกันและพฤติการณ์ที่จำเลยคัดค้านไม่ให้ ว. ขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ถึงสองครั้ง แม้จำเลยมิได้ฟ้องคดีต่อศาลภายใน 30 วันตามคำสั่งของอำเภอ แต่การที่เจ้าพนักงานที่ดินอำเภอทำสัญญาซื้อขายที่พิพาทให้โจทก์และ ว. แล้วออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทให้โจทก์ในวันเดียวกันย่อมส่อแสดงว่าโจทก์รับซื้อที่พิพาทโดยไม่สุจริตทั้งหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทที่โจทก์ได้มา ก็มิใช่หลักฐานกรรมสิทธิ์ทางทะเบียนเช่นโฉนด จึงจะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299, 1300 มาปรับแก่กรณีหาได้ไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1758/2513)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2670/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดิน ส.ค.1 ที่ยังไม่ได้รับคำรับรองจากนายอำเภอ ทำให้การบังคับโอนไม่มีผล
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยโอนที่ดิน ส.ค.1 ให้โจทก์ตามสัญญาจะซื้อขาย ซึ่งเท่ากับขอบังคับให้จำเลยจดทะเบียนโอนขายที่พิพาทให้โจทก์ แต่เมื่อปรากฏว่าที่ดินพิพาทยังไม่ได้รับคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้ว จึงไม่อาจจะโอนให้กันได้ตาม พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 9 เมื่อตามกฎหมายไม่อาจจะโอนกันได้ ก็จะถือว่าจำเลยผิดสัญญา เพราะไม่ไปจดทะเบียนขายภายในกำหนดอันจะต้องใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามสัญญาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 981/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินมือเปล่า ส.ค.๑ โอนไม่ได้ตามประมวลกฎหมายที่ดิน แม้ศาลล่างบังคับให้จดทะเบียน
บทบัญญัติมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 เป็นบทบัญญัติอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ถึงแม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้ยกขึ้นวินิจฉัย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้
ที่ดินมือเปล่ามี ส.ค.1. ยังมิได้รับคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้ว จะโอนกันไม่ได้ จึงขอให้ศาลบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนการขายให้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 739/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดิน ส.ค.1 ที่ทำประโยชน์แล้ว การบังคับคดี และการจดทะเบียนโอนตามคำพิพากษา
เมื่อที่พิพาทมี ส.ค.1 แล้ว ก็แสดงว่าเป็นที่ดินที่มีผู้ครอบครองและทำประโยชน์อยู่แล้ว ตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 5. และในเมื่อเป็นที่ที่ทำประโยชน์อยู่แล้วเช่นนี้ เพียงแต่มีคำรับรองจากนายอำเภอก็โอนกันได้ตามมาตรา 9. โดยมีหนังสือสำคัญแสดงสิทธิในที่ดินมาจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 72. ดังนั้นผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะที่จะจดทะเบียนสิทธิของตนตามคำพิพากษาตามยอมได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300. ด้วยเหตุนี้ แม้ที่ดินจะยังเป็นของจำเลยอยู่ก็ตาม แต่โจทก์ก็จะบังคับคดีแก่ทรัพย์สินนั้นให้กระทบกระทั่งถึงสิทธิของผู้ร้องดังกล่าวแล้วหาได้ไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา287.(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13/2511).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 739/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดิน ส.ค.๑ ที่จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความยกให้ผู้ร้อง แม้ยังไม่ได้จดทะเบียน ผู้ร้องมีสิทธิเรียกร้องได้
เมื่อที่พิพาทมี ส.ค.1 แล้ว ก็แสดงว่าเป็นที่ดินที่มีผู้ครอบครองและทำประโยชน์อยู่แล้ว ตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 5 และในเมื่อเป็นที่ที่ทำประโยชน์อยู่แล้วเช่นนี้ เพียงแต่มีคำรับรองจากนายอำเภอก็โอนกันได้ตามมาตรา 9 โดยมีหนังสือสำคัญแสดงสิทธิในที่ดินมาจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 72 ดังนั้นผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะที่จะจดทะเบียนสิทธิของตนตามคำพิพากษาตามยอมได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 ด้วยเหตุนี้ แม้ที่ดินจะยังเป็นของจำเลยอยู่ก็ตาม แต่โจทก์ก็จะบังคับคดีแก่ทรัพย์สินนั้นให้กระทบกระทั่งถึงสิทธิของผู้ร้องดังกล่าวแล้วหาได้ไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา287
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1076-1079/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: สิทธิของผู้รับโอนย่อมไม่ดีกว่าผู้โอน แม้จะสุจริตและจดทะเบียน
ผู้ที่ไม่มีสิทธิในที่ดิน แม้จะได้ไปแจ้งการครอบครอง ได้รับ ส.ค.1 และได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ น.ส.3 ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิครอบครองในที่นั้น
รับซื้อที่ดินซึ่งมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ น.ส.3 ไว้โดยสุจริต เสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนโดยถูกต้องตามกฎหมาย แต่เมื่อปรากฏว่าผู้ที่มีชื่อในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ น.ส.3 ไม่มีสิทธิในที่ดินนั้น ผู้ซื้อก็ไม่มีสิทธิอย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1270/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนโอนที่ดินต้องได้รับคำรับรองการทำประโยชน์จากนายอำเภอก่อน แม้ซื้อจากการขายทอดตลาดโดยสุจริตก็ไม่อาจขัดขั้นตอนตามกฎหมายได้
ศาลจะบังคับให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนโอนที่ดินมือเปล่าซึ่งยังมิได้รับคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้วไม่ได้
ความในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ที่ยอมให้บุคคลที่ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินและผู้รับโอนที่ดินดังกล่าว มีสิทธิขอรับโฉนดที่ดินได้นั้น คำว่า"ผู้รับโอน"นั้นจะต้องเป็นผู้ที่ได้รับโอนที่ดินมาโดยชอบด้วยกฎหมายว่าด้วยการออกโฉนดที่ดินโดยถูกต้องเสียก่อน แล้วผู้รับโอนนั้นจึงจะมีสิทธิมาขอรับโฉนดที่ดิน ฉะนั้น ที่ดินรายพิพาทซึ่งยังมิได้มีการโอนกันโดยชอบด้วยกฎหมาย และยังเป็นที่ดินที่ไม่ได้รับคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้ว จึงโอนกันมิได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 เพียงแต่บัญญัติรับรองสิทธิของผู้ซื้อโดยสุจริตจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งว่ามิเสียไป ถึงแม้ภายหลังจะพิสูจน์ได้ว่าทรัพย์สินนั้นมิใช่ของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น ซึ่งเป็นคนละเรื่องกันกับเรื่องขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม อันจะต้องดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 และประมวลกฎหมายที่ดิน
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 15/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 293/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินก่อนจัดตั้งนิคมฯ และการแจ้งการครอบครองตามกฎหมาย มิใช่ที่ป่า
จำเลยครอบครองที่พิพาทและทำเป็นสวนยางมาก่อนทางราชการตั้งนิคมสร้างตนเอง ฯ ทั้งได้แจ้งการครอบครองเมื่อ พ.ศ.2498 ตามกฎหมายแล้ว ที่พิพาทจึงหาใช่เป็นที่ป่าไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1099/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิในที่ดินที่เคยถูกไต่สวนออกโฉนดแล้วแต่ถูกทำลาย การจดทะเบียนโดยปลัดอำเภอแทน นายอำเภอชอบด้วยกฎหมาย
ที่พิพาทเป็นที่ทำประโยชน์แล้ว จนเจ้าพนักงานที่ดินได้ทำใบไต่สวนและทำโฉนดแล้วพร้อมที่จะมอบให้เจ้าของที่เดิมซึ่งได้ร้องขอออกโฉนดไว้ หากแต่เจ้าของที่เดิมไม่ไปรับใบไต่สวนและโฉนดจนเกิน 10 ปี เจ้าพนักงานจึงได้สั่งทำลายเสีย ที่พิพาทจึงไม่มีใบไต่สวนและไม่มีโฉนด ครั้นที่พิพาทตกมาเป็นของจำเลยโดยเจ้าของเดิมที่ว่านั้นยกให้จำเลย จำเลยก็ได้ครอบครองทำประโยชน์มา จำเลยร้องขอให้ศาลสั่งแสดงสิทธิ ศาลก็สั่งแสดงว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองที่พิพาท ที่พิพาทจึงเป็นที่ดินที่อยู่ในความหมายของพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 6 คือเป็นที่ดินที่อยู่ในประเภทที่ดินซึ่งเจ้าของมีสิทธิขอรับโฉนดที่ดินตามบทแห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เวลาจะโอนขายไม่ต้องให้นายอำเภอรับรองว่าได้ทำประโยชน์แล้ว การจดทะเบียนสิทธิและการทำนิติกรรมซื้อขายที่พิพาทรายนี้ปลัดอำเภอเป็นผู้ทำแทนนายอำเภอ ย่อมเป็นการทำที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 71(2)
of 4