คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 342

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2239/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมกันใช้เอกสารปลอมเพื่อฉ้อโกง ผู้กระทำผิดมีเจตนาฉ้อโกงตั้งแต่แรกเป็นกรรมเดียว
จำเลยที่ 1 ที่ 2 กับชายอีกคนหนึ่งซึ่งเป็นผู้ขับรถร่วมกันนำรถยนต์แท็กซี่คันเกิดเหตุมาขายให้ผู้เสียหาย โดยจำเลยที่ 2 อ้างว่าเป็น นางส. เจ้าของรถและจำเลยที่ 1 เป็นผู้มอบอำนาจในการโอนรถยนต์ให้แก่ผู้เสียหายเอกสารเหล่านั้นเป็นเอกสารปลอม จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานร่วมกันใช้เอกสารปลอมและฐานฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นคนอื่นแต่การที่จำเลยร่วมกันนำเอกสารปลอมมาใช้ก็โดยมีเจตนาที่จะฉ้อโกงผู้เสียหายนั่นเอง การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2239/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมกันฉ้อโกงโดยใช้เอกสารปลอม มีเจตนาฉ้อโกงตั้งแต่ต้น เป็นกรรมเดียวผิดหลายบท
จำเลยที่ 1 ที่ 2 กับชายอีกคนหนึ่งซึ่งเป็นผู้ขับรถร่วมกันนำรถยนต์แท็กซี่คันเกิดเหตุมาขายให้ผู้เสียหาย โดยจำเลยที่ 2 อ้างว่าเป็น นาง ส.เจ้าของรถ และจำเลยที่ 1 เป็นผู้มอบเอกสารในการโอนรถยนต์ให้แก่ผู้เสียหาย เอกสารเหล่านั้นเป็นเอกสารปลอม จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานร่วมกันใช้เอกสารปลอมและฐานฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นคนอื่น แต่การที่จำเลยร่วมกันนำเอกสารปลอมมาใช้ก็โดยมีเจตนาที่จะฉ้อโกงผู้เสียหายนั่นเอง การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นกรรมเดียว เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1279/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารราชการ-เอกสารสิทธิ รวมถึงฉ้อโกง ธนาคาร พิจารณาโทษจำเลย
การที่จำเลยร่วมกันปลอมบัตรประจำตัวประชาชนและปลอมตั๋วแลกเงินในระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2518 ถึงวันที่ 4 เมษายน 2518 นั้น เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265,266,91 แต่จำเลยร่วมกันนำบัตรประจำตัวประชาชนและตั๋วแลกเงินที่ปลอมขึ้นไปใช้ด้วย จึงต้องลงโทษแต่ละกระทงฐานใช้กระทงเดียว ตามมาตรา 268 วรรค 2 และการใช้ในคราวเดียวกันเป็นกรรมเดียวกับความผิดฐานฉ้อโกง ตามมาตรา 342 โดยจำเลยร่วมกันหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดความจริงที่ควรบอกให้แจ้ง เพื่อให้ได้ทรัพย์สิน คือเงิน 220,000 บาทจากธนาคาร ย่อมเป็นความผิดกรรมเดียว ผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษฐานใช้ตั๋วเงินปลอม อันเป็นบทหนัก ตามมาตรา 268 ประกอบด้วยมาตรา 266,90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1501/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจถอนเงินยังไม่ถูกเพิกถอน การถอนเงินจึงไม่เป็นฉ้อโกง แม้ผู้มีอำนาจจะพ้นตำแหน่ง
จำเลยที่ 1 พ้นตำแหน่งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดโจทก์ไปแล้ว แต่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ก็ยังมีชื่อเป็นผู้มีอำนาจถอนเงินของวัดโจทก์จากธนาคารอยู่ โดยยังไม่มีผู้ใดเพิกถอนอำนาจของจำเลยในการถอนเงินและแจ้งไปให้ธนาคารทราบ เมื่อจำเลยทั้งสองร่วมกันถอนเงินของโจทก์จากธนาคาร โดยจำเลยมิได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ของธนาคารทราบว่าจำเลยที่ 1 พ้นจากตำแหน่งดังกล่าวแล้ว ก็ยังไม่เป็นการหลอกลวงเจ้าหน้าที่ของธนาคาร เพราะเมื่ออำนาจการถอนเงินซึ่งจำเลยมีมาแต่เดิมยังไม่ถูกเพิกถอน การที่จำเลยไปถอนเงิน จึงเป็นการถอนเงินตามที่วัดโจทก์ตกลงไว้กับธนาคาร และการที่จำเลยมิได้แจ้งให้โจทก์ทราบเรื่องการถอนเงินนี้ ก็ไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1501/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจถอนเงินที่ยังไม่ถูกเพิกถอน ไม่ถือเป็นหลอกลวงเจ้าหน้าที่ธนาคาร แม้ผู้มีอำนาจจะพ้นตำแหน่งไปแล้ว
จำเลยที่ 1 พ้นตำแหน่งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดโจทก์ไปแล้วแต่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ก็ยังมีชื่อเป็นผู้มีอำนาจถอนเงินของวัดโจทก์จากธนาคารอยู่ โดยยังไม่มีผู้ใดเพิกถอนอำนาจของจำเลยในการถอนเงินและแจ้งไปให้ธนาคารทราบ เมื่อจำเลยทั้งสองร่วมกันถอนเงินของโจทก์จากธนาคาร โดยจำเลยมิได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ของธนาคารทราบว่าจำเลยที่ 1พ้นจากตำแหน่งดังกล่าวแล้ว ก็ยังไม่เป็นการหลอกลวงเจ้าหน้าที่ของธนาคารเพราะเมื่ออำนาจการถอนเงินซึ่งจำเลยมีมาแต่เดิมยังไม่ถูกเพิกถอนการที่จำเลยไปถอนเงิน จึงเป็นการถอนเงินตามที่วัดโจทก์ตกลงไว้กับธนาคาร และการที่จำเลยมิได้แจ้งให้โจทก์ทราบเรื่องการถอนเงินนี้ก็ไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 863/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลอกลวงเพื่อประกันตัวและการใช้เอกสารสิทธิโดยมิชอบ ถือเป็นความผิดฐานฉ้อโกง
คำว่า 'โดยทุจริต' หมายความว่า เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองและผู้อื่น การที่จำเลยทั้งสองสมคบหลอกลวงโจทก์โดยจำเลยที่ 2 แสดงตนต่อโจทก์ว่าเป็นนายเชวง แซ่ภู่เจ้าของที่ดินตาม น.ส.3. จนโจทก์หลงเชื่อทำหนังสือรับรองทรัพย์ยื่นขอประกันตัวนายกุหลาบต่อศาลนั้น แม้จะไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับประโยชน์เป็นทรัพย์สินแต่อย่างใดก็ตาม ก็ทำให้นายกุหลาบได้รับประโยชน์จากการใช้หนังสือรับรองทรัพย์นั้นอ้างต่อศาลจนได้รับประกันตัวไป ซึ่งย่อมถือว่าเป็นการแสวงหาประโยชน์สำหรับผู้อื่นอันเป็นการกระทำโดยทุจริตเช่นกัน
คำว่า 'เอกสารสิทธิ' ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 1(9) นั้นมุ่งหมายถึงเอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อตั้งซึ่งสิทธิหรือหนี้สินและเอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการเปลี่ยนแปลง โอนหรือระงับซึ่งสิทธิหรือหนี้สินทุกอย่าง หนังสือรับรองทรัพย์ที่ยื่นขอประกันตัวจำเลยต่อศาลซึ่งผู้ยื่นหนังสือดังกล่าวรับรองต่อศาลว่า หลักทรัพย์ตามบัญชีคำร้องขอประกันเป็นของผู้ขอประกัน หากบังคับแก่ทรัพย์ตามสัญญาประกันไม่ได้หรือได้ไม่ครบ ผู้ทำหนังสือรับรองทรัพย์ยอมรับผิดใช้เงินจนครบ ซึ่งเท่ากับเป็น หนังสือค้ำประกันผู้ขอประกันตัวอีกชั้นหนึ่งนั้นเป็นเอกสารสิทธิตามความหมายแห่งบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 863/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลอกลวงเพื่อประกันตัว: 'โดยทุจริต' และ 'เอกสารสิทธิ' ตามประมวลกฎหมายอาญา
คำว่า 'โดยทุจริต' หมายความว่า เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองและผู้อื่น การที่จำเลยทั้งสองสมคบหลอกลวงโจทก์โดยจำเลยที่ 2 แสดงตนต่อโจทก์ว่าเป็นนายเชวงแซ่ภู่ เจ้าของที่ดินตาม น.ส.3. จนโจทก์หลงเชื่อทำหนังสือรับรองทรัพย์ยื่นขอประกันตัวนายกุหลาบต่อศาลนั้น แม้จะไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับประโยชน์เป็นทรัพย์สินแต่อย่างใดก็ตาม ก็ทำให้นายกุหลาบได้รับประโยชน์จากการใช้หนังสือรับรองทรัพย์นั้นอ้างต่อศาลจนได้รับประกันตัวไป ซึ่งย่อมถือว่าเป็นการแสวงหาประโยชน์สำหรับผู้อื่นอันเป็นการกระทำโดยทุจริตเช่นกัน
คำว่า 'เอกสารสิทธิ' ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 1(9) นั้นมุ่งหมายถึงเอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อตั้งซึ่งสิทธิหรือหนี้สินและเอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการเปลี่ยนแปลง โอนหรือระงับซึ่งสิทธิหรือหนี้สินทุกอย่าง หนังสือรับรองทรัพย์ที่ยื่นขอประกันตัวจำเลยต่อศาลซึ่งผู้ยื่นหนังสือดังกล่าวรับรองต่อศาลว่า หลักทรัพย์ตามบัญชีคำร้องขอประกันเป็นของผู้ขอประกัน หากบังคับแก่ทรัพย์ตามสัญญาประกันไม่ได้หรือได้ไม่ครบ ผู้ทำหนังสือรับรองทรัพย์ยอมรับผิดใช้เงินจนครบ ซึ่งเท่ากับเป็นหนังสือค้ำประกันผู้ขอประกันตัวอีกชั้นหนึ่งนั้นเป็นเอกสารสิทธิตามความหมายแห่งบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 115/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มเติมฟ้องจำเลยใหม่ในคดีอาญา: ข้อหาและการกระทำผิดต้องเกี่ยวเนื่องกัน
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 คนเดียวในข้อหาฐานทำให้เสียทรัพย์แล้วต่อมาได้ยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องโดยขอให้มารดาจำเลยที่ 1 เข้ามาเป็นจำเลยอีกคนหนึ่งในข้อหาฐานฉ้อโกง ซึ่งเป็นข้อหาและการกระทำผิดที่มิได้เกี่ยวข้องเป็นคดีเดียวกันคำร้องของโจทก์ที่ยื่นขอเพิ่มเติมนี้ถือได้ว่าเป็นการฟ้องจำเลยคนใหม่เป็นคดีใหม่เข้ามาอีกเรื่องหนึ่ง โจทก์จะมาขอเพิ่มเติมฟ้องเช่นนี้ไม่ได้ ไม่มีเหตุอันควรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 163

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 115/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มเติมฟ้องจำเลยใหม่ในคดีอาญา ต้องเป็นคดีเดียวกัน โจทก์ขอเพิ่มเติมฟ้องฐานฉ้อโกงซึ่งต่างจากฐานทำให้เสียทรัพย์เดิมไม่ได้
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 คนเดียวในข้อหาฐานทำให้เสียทรัพย์. แล้วต่อมาได้ยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องโดยขอให้มารดาจำเลยที่ 1 เข้ามาเป็นจำเลยอีกคนหนึ่งในข้อหาฐานฉ้อโกง ซึ่งเป็นข้อหาและการกระทำผิดที่มิได้เกี่ยวข้องเป็นคดีเดียวกัน. คำร้องของโจทก์ที่ยื่นขอเพิ่มเติมนี้ถือได้ว่าเป็นการฟ้องจำเลยคนใหม่เป็นคดีใหม่เข้ามาอีกเรื่องหนึ่ง. โจทก์จะมาขอเพิ่มเติมฟ้องเช่นนี้ไม่ได้. ไม่มีเหตุอันควรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 163.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 115/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มเติมฟ้องจำเลยใหม่ในคดีอาญาที่ไม่เกี่ยวข้องกับจำเลยเดิม ถือเป็นการฟ้องคดีใหม่
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 คนเดียวในข้อหาฐานทำให้เสียทรัพย์ แล้วต่อมาได้ยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องโดยขอให้มารดาจำเลยที่ 1 เข้ามาเป็นจำเลยอีกคนหนึ่งในข้อหาฐานฉ้อโกง ซึ่งเป็นข้อหาและการกระทำผิดที่มิได้เกี่ยวข้องเป็นคดีเดียวกัน คำร้องของโจทก์ที่ยื่นขอเพิ่มเติมนี้ถือได้ว่าเป็นการฟ้องจำเลยคนใหม่เป็นคดีใหม่เข้ามาอีกเรื่องหนึ่ง โจทก์จะมาขอเพิ่มเติมฟ้องเช่นนี้ไม่ได้ ไม่มีเหตุอันควรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163
of 5