พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1107/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารแต่งทนายไม่เป็นหลักฐานสิทธิ การแจ้งความเท็จ และความผิดฐานทนายความ
เมื่อใบแต่งทนายตามฟ้องมีข้อความตามแบบพิมพ์ใบแต่งทนายโดยไม่ปรากฏข้อความนอกเหนือไปจากข้อความตามแบบพิมพ์ จึงเป็นเรื่องการแต่งตั้งทนายให้มีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนคู่ความ มิใช่เป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการ ก่อเปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ จึงไม่เป็นเอกสารสิทธิตามมาตรา 1(9)
การที่ให้มีการรับรองในใบแต่งทนายว่าผู้แต่งทนายได้เซ็นใบแต่งทนายต่อหน้าก็เป็นเพียงวิธีการอันหนึ่งที่จะให้เป็นหลักฐานว่าผู้แต่งทนายได้ลงชื่อเป็นผู้แต่งทนายตามนั้นจริง และเมื่อผู้แต่งทนายได้เซ็นใบแต่งทนายให้ไปจริง คำรับรองดังกล่าวไม่เป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย ไม่อาจเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ
การยื่นคำร้องสอดเข้าเป็นจำเลยร่วมเป็นการยื่นคำคู่ความเข้าเป็นจำเลยในการดำเนินการพิจารณาคดีของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มิใช่เป็นการแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ไม่เป็นผิดตามมาตรา 137
ฟ้องไม่ปรากฏว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานจึงไม่เป็นผิดตาม มาตรา 162
ฟ้องไม่ได้บรรยายให้เห็นได้เลยว่าจำเลยเป็นทนายความอันจะถือได้ว่าเป็นผู้ประกอบการงานในวิชากฎหมาย จึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 269(เฉพาะปัญหาที่ 1 พิจารณาโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 26/2509)
การที่ให้มีการรับรองในใบแต่งทนายว่าผู้แต่งทนายได้เซ็นใบแต่งทนายต่อหน้าก็เป็นเพียงวิธีการอันหนึ่งที่จะให้เป็นหลักฐานว่าผู้แต่งทนายได้ลงชื่อเป็นผู้แต่งทนายตามนั้นจริง และเมื่อผู้แต่งทนายได้เซ็นใบแต่งทนายให้ไปจริง คำรับรองดังกล่าวไม่เป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย ไม่อาจเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ
การยื่นคำร้องสอดเข้าเป็นจำเลยร่วมเป็นการยื่นคำคู่ความเข้าเป็นจำเลยในการดำเนินการพิจารณาคดีของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มิใช่เป็นการแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ไม่เป็นผิดตามมาตรา 137
ฟ้องไม่ปรากฏว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานจึงไม่เป็นผิดตาม มาตรา 162
ฟ้องไม่ได้บรรยายให้เห็นได้เลยว่าจำเลยเป็นทนายความอันจะถือได้ว่าเป็นผู้ประกอบการงานในวิชากฎหมาย จึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 269(เฉพาะปัญหาที่ 1 พิจารณาโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 26/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1107/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งทนายและการแจ้งความเท็จ: ใบแต่งทนายไม่ใช่เอกสารสิทธิ การยื่นคำร้องไม่ใช่ความผิดฐานแจ้งความเท็จ
เมื่อใบแต่งทนายตามฟ้องมีข้อความตามแบบพิมพ์ใบแต่งทนาย โดยไม่ปรากฏข้อความนอกเหนือไปจากข้อความตามแบบพิมพ์ จึงเป็นเรื่องการแต่งตั้งทนายให้มีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนคู่ความ มิใช่เป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการ ก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ จึงไม่เป็นเอกสารสิทธิตามมาตรา 1(9)
การที่ให้มีการรับรองในใบแต่งทนายว่าผู้แต่งทนายได้เซ็นใบแต่งทนายต่อหน้า ก็เป็นเพียงวิธีการอันหนึ่งที่จะให้เป็นหลักฐานว่าผู้แต่งทนายได้ลงชื่อเป็นผู้แต่งทนายตามนั้นจริง และเมื่อผู้แต่งทนายได้เซ็นใบแต่งทนายให้ไปจริง คำรับรองดังกล่าวไม่เป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย ไม่อาจเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ
การยื่นคำร้องสอดเข้าเป็นจำเลยร่วมเป็นการยื่นคำคู่ความเข้าเป็นจำเลยในการดำเนินการพิจารณาคดีของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มิใช่เป็นการแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ไม่เป็นผิดตามมาตรา 137
ฟ้องไม่ปรากฏว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานจึงไม่เป็นผิดตามมาตรา 162
ฟ้องไม่ได้บรรยายให้เห็นได้เลยว่าจำเลยเป็นทนายความ อันจะถือได้ว่าเป็นผู้ประกอบการงานในวิชากฎหมาย จึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 269.
(เฉพาะปัญหาที่ 1 พิจารณาโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 22/2509).
การที่ให้มีการรับรองในใบแต่งทนายว่าผู้แต่งทนายได้เซ็นใบแต่งทนายต่อหน้า ก็เป็นเพียงวิธีการอันหนึ่งที่จะให้เป็นหลักฐานว่าผู้แต่งทนายได้ลงชื่อเป็นผู้แต่งทนายตามนั้นจริง และเมื่อผู้แต่งทนายได้เซ็นใบแต่งทนายให้ไปจริง คำรับรองดังกล่าวไม่เป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย ไม่อาจเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ
การยื่นคำร้องสอดเข้าเป็นจำเลยร่วมเป็นการยื่นคำคู่ความเข้าเป็นจำเลยในการดำเนินการพิจารณาคดีของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มิใช่เป็นการแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ไม่เป็นผิดตามมาตรา 137
ฟ้องไม่ปรากฏว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานจึงไม่เป็นผิดตามมาตรา 162
ฟ้องไม่ได้บรรยายให้เห็นได้เลยว่าจำเลยเป็นทนายความ อันจะถือได้ว่าเป็นผู้ประกอบการงานในวิชากฎหมาย จึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 269.
(เฉพาะปัญหาที่ 1 พิจารณาโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 22/2509).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 986/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฉ้อโกงโดยแสดงข้อความเท็จและปกปิดความจริง ไม่เข้าข่ายแสดงตนเป็นคนอื่น โทษเบากว่า
การหลอกลวงด้วยแสดงข้อความเท็จและปกปิดความจริงว่าตัวเองเป็นภริยาและทายาทของผู้ตาย เพื่อให้มีสิทธิรับบำนาญพิเศษของผู้ตายนั้น ไม่เข้าลักษณะฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นคนอื่น เพราะไม่ได้แสดงตนว่าเป็นคนหนึ่งคนใด คงมีผิดฐานฉ้อโกงธรรมดา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 986/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฉ้อโกงโดยแสดงข้อความเท็จและปกปิดความจริง ไม่เข้าข่ายฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นคนอื่น
การหลอกลวงด้วยแสดงข้อความเท็จและปกปิดความจริงว่าตัวเองเป็นภริยาและทายาทของผู้ตาย เพื่อให้มีสิทธิรับบำนาญพิเศษของผู้ตายนั้น ไม่เข้าลักษณะฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นคนอื่น เพราะไม่ได้แสดงตนว่าเป็นคนหนึ่งคนใด คงมีผิดฐานฉ้อโกงธรรมดา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1230/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีอาญาก่อนมี พ.ร.บ.ศาลแขวง และการใช้บทกฎหมายที่หนักกว่าเป็นคุณแก่จำเลย
คดีอาญาเหตุเกิดและอยู่ในระหว่างสอบสวนของพนักงานสอบสวนก่อนใช้ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ พ.ศ.2499 อัยการโจทก์ย่อมมีอำนาจดำเนินคดีได้โดยไม่ต้องมีการไต่สวนมูลฟ้องในศาลแขวงก่อน
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 342 เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิดกว่ากฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 306 เพราะกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา306 มีกำหนดโทษจำคุกขั้นต่ำและอัตราปรับอย่างต่ำเป็นบทบังคับไว้ด้วย
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 342 เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิดกว่ากฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 306 เพราะกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา306 มีกำหนดโทษจำคุกขั้นต่ำและอัตราปรับอย่างต่ำเป็นบทบังคับไว้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1230/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาก่อน พ.ร.บ.ศาลแขวง และการใช้บทกฎหมายที่หนักกว่าเป็นคุณแก่จำเลย
คดีอาญาเหตุเกิดและอยู่ในระหว่าง สอบสวนของพนักงานสอบสวนก่อนใช้ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวง ฯ พ.ศ. 2499 อัยการโจทก์ย่อมมีอำนาจดำเนินคดีได้โดยไม่ต้องมีการไต่สวนมูลฟ้องในศาลแขวงก่อน
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 342 เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิดกว่ากฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 306 เพราะกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 306 มีกำหนดโทษจำคุกขั้นต่ำและอัตราปรับอย่างต่ำเป็นบทบังคับไว้ด้วย
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 342 เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิดกว่ากฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 306 เพราะกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 306 มีกำหนดโทษจำคุกขั้นต่ำและอัตราปรับอย่างต่ำเป็นบทบังคับไว้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 557/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงโดยหลอกลวงประชาชนว่าน้ำศักดิ์สิทธิ์รักษาโรคได้ และแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ
จำเลยหลอกลวงว่าน้ำที่พุขึ้นนั้นเจ้าแม่สำโรงบันดาลให้มีขึ้นและว่าน้ำพุนั้นศักดิ์สิทธิ์ใช้เป็นยารักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ประชาชนคนดูหลงเชื่อได้เอาน้ำนั้นไปใช้กินและทารักษาโรค แต่ไม่หายเพราะเป็นน้ำธรรมดาในลำคลองนั้นเองและได้ให้เงินแก่จำเลยรวมประมาณหมื่นบาทโดยหลงเชื่อว่าน้ำนั้นเป็นของเจ้าแม่สำโรงรักษาโรคได้แต่ความจริงนั้น จำเลยที่ 1 เอาเท้าพุ้ยน้ำในคลองทำให้น้ำผุดขึ้นมาเอง ไม่เกี่ยวแก่เจ้าแม่อะไรเลยจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกระทำผิดด้วยโดยอ้างว่าน้ำพุนั้นเจ้าแม่สำโรงบันดาลให้เกิดขึ้นเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์รักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ซึ่งเป็นการปกปิดความจริงและแสดงข้อความเท็จถือว่าจำเลยทั้งสองสมคบกันและมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 343
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงโดยอ้างประมวลกฎหมายอาญามาตรา343 แม้โจทก์ไม่ได้อ้าง มาตรา341,342. แต่ ม.343 ได้อ้างถึงมาตรา341,342 อยู่แล้วและโจทก์ก็ได้บรรยายไว้ในฟ้องชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยหลอกลวงประชาชนจึงเท่ากับอ้าง มาตรา341,342 โดยปริยายแล้ว
จำเลยได้เงินมาเพราะหลอกลวงเขาว่าน้ำพุนั้นเป็นน้ำพุที่เจ้าแม่สำโรงบันดาลให้เกิดขึ้นเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ใช้เป็นยารักษาโรคได้ประชาชนหลงเชื่อจึงให้เงินแก่จำเลยย่อมถือได้ว่าเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายเป็นการทุจริตตามกฎหมายแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงโดยอ้างประมวลกฎหมายอาญามาตรา343 แม้โจทก์ไม่ได้อ้าง มาตรา341,342. แต่ ม.343 ได้อ้างถึงมาตรา341,342 อยู่แล้วและโจทก์ก็ได้บรรยายไว้ในฟ้องชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยหลอกลวงประชาชนจึงเท่ากับอ้าง มาตรา341,342 โดยปริยายแล้ว
จำเลยได้เงินมาเพราะหลอกลวงเขาว่าน้ำพุนั้นเป็นน้ำพุที่เจ้าแม่สำโรงบันดาลให้เกิดขึ้นเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ใช้เป็นยารักษาโรคได้ประชาชนหลงเชื่อจึงให้เงินแก่จำเลยย่อมถือได้ว่าเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายเป็นการทุจริตตามกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 557/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงด้วยการหลอกลวงเรื่องน้ำศักดิ์สิทธิ์ ศาลตัดสินว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยหลอกหลวงว่าน้ำที่พุขึ้นนั้นเจ้าแม่สำโรงบันดาลให้มีขึ้นและว่าน้ำพุนั้นศักดิ์สิทธิใช้เป็นยารักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ ประชาชนคนดูหลงเชื่อ ได้เอาน้ำนั้นไปใช้กินและทารักษาโรค แต่ไม่หายเพราะเป็นน้ำธรรมดาในลำคลองนั้นเอง และได้ให้เงินแก่จำเลยรวมประมาณหมื่นบาทโดยหลงเชื่อว่าน้ำนั้นเป็นของเจ้าแม่สำโรงรักษาโรคได้ แต่ความจริงนั้น จำเลยที่ 1 เอาเท้าพุ้ยน้ำในคลองทำให้น้ำผุดพุขึ้นมาเอง ไม่เกี่ยวแก่เจ้าแม่อะไรเลย จำเลยที่ 2 ได้ร่วมกระทำผิดด้วย โดยอ้างว่าน้ำพุนั้นเจ้าแม่สำโรงบันดาลให้เกิดขึ้นเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์รักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ ซึ่งเป็นการปกปิดความจริง และแสดงข้อความเท็จจริง ถือว่า จำเลยทั้งสองสมคบกันและมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกง โดยอ้างประมวลกฎหมายอาญา ม. 343 แม้โจทก์ไม่ได้อ้างถึง ม. 341, 342 แต่ ม.343 ได้อ้างถึง ม.341,342 อยู่แล้ว และโจทก์ก็ได้บรรยายไว้ในฟ้องชัดแจ้งแล้วว่า จำเลยหลอกลวงประชาชน จึงเท่ากับอ้าง ม. 341, 342 โดยปริยายแล้ว
จำเลยได้เงินมาเพราะหลอกลวงเขาว่า น้ำพุนั้นเป็นน้ำพุที่เจ้าแม่สำโรงบันดาลให้เกิดขึ้นเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ใช้เป็นยารักษาโรคได้ ประชาชนหลงเชื่อจึงให้เงินแก่จำเลย ย่อมถือได้ว่าเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เป็นการทุจริตตามกฎหมายแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกง โดยอ้างประมวลกฎหมายอาญา ม. 343 แม้โจทก์ไม่ได้อ้างถึง ม. 341, 342 แต่ ม.343 ได้อ้างถึง ม.341,342 อยู่แล้ว และโจทก์ก็ได้บรรยายไว้ในฟ้องชัดแจ้งแล้วว่า จำเลยหลอกลวงประชาชน จึงเท่ากับอ้าง ม. 341, 342 โดยปริยายแล้ว
จำเลยได้เงินมาเพราะหลอกลวงเขาว่า น้ำพุนั้นเป็นน้ำพุที่เจ้าแม่สำโรงบันดาลให้เกิดขึ้นเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ใช้เป็นยารักษาโรคได้ ประชาชนหลงเชื่อจึงให้เงินแก่จำเลย ย่อมถือได้ว่าเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เป็นการทุจริตตามกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 933-934/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เปลี่ยนแปลงโทษฉ้อโกงจากกฎหมายลักษณะอาญาเป็นประมวลกฎหมายอาญาและผลกระทบต่อตัวการ-ผู้สนับสนุน
จำเลยที่ 1 และที่ 3 มีความผิดฐานเป็นตัวการฉ้อโกงเรื่องแกล้งแสดงตนว่าเป็นคนใช้วิทยาคมได้ ตามกฎหมายลักษณะอาญา ม.304,306(2) และจำเลยที่ 2 มี ความผิดฐานเป็นผู้ช่วยเหลืออุปการะในการกระทำผิดดังกล่าวผิดตาม กฎหมายลักษณะอาญา ม.304,306,65 อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะกระทำความผิดบัดนี้ประมวลกฎหมายอาญาได้เปลี่ยนแปลงความผิดฐานฉ้อโกงไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดโดยการใช้อุบายพิเศษเรื่องแกล้งแสดงตนว่าเป็นคนใช้วิทยาคมได้นั้นเป็นอันยกเลิกไปเสียแล้วและที่โจทก์กล่าวฟ้องในเรื่องนี้ก็ไม่ใช่เป็นกรณีพิเศษตามประมวลกฎหมายอาญา ม.342 ฉะนั้นการกระทำผิดของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงธรรมดาตามประมวลกฎหมายอาญา ม.341 ตรงกับกฎหมายลักษณะอาญา ม.304 เท่านั้นอันมีอัตราโทษจำคุกเพียงไม่เกิน 3 ปี เบากว่าอัตราโทษตาม กฎหมายลักษณะอาญา ม.306(2) มาก แม้เรื่องนี้เฉพาะโจทก์ร่วมฝ่ายเดียวฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ให้หนักขึ้น แต่ความผิดฐานฉ้อโกงเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้ทำผิดดังกล่าวแล้วซึ่งประมวลกฎหมายอาญา ม.3 บัญญัติให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้ทำผิดและเป็นเหตุในลักษณะคดีตามประมวลกฎหมายอาญา ม.89 จึงมีผลเกี่ยวพันไปถึงตัวจำเลยที่ 1 และที่ 3 ที่มิได้ฎีกาขึ้นมานั้นด้วยจำเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งเป็นตัวการจึงผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม.341,83 ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิดรายนี้ ผิดตามประมวลกฎหมายอาญาม.341 ประกอบด้วย ม.86
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 933-934/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เปลี่ยนแปลงโทษฉ้อโกง: กฎหมายใหม่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิด, ศาลพิจารณาโทษจำเลยตามกฎหมายที่ใช้บังคับ
จำเลยที่ 1 และที่ 3 มีความผิดฐานเป็นตัวการฉ้อโกงเรื่องแกล้งแสดงตนว่าเป็นคนใช้วิทยาคมได้ ตามก.ม.ลักษณะอาญา ม.304,306(2) และจำเลยที่ 2 มีความผิดฐานเป็นผู้ช่วยเหลืออุปการะในการกระทำผิดดังกล่าวผิดตาม ก.ม.ลักษณะอาญา ม.304,306,65 อันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะกระทำความผิด บัดนี้ประมวลกฎหมายอาญาได้เปลี่ยนแปลงความผิดฐานฉ้อโกงไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดโดยการใช้อุบายพิเศษเรื่องแกล้งแสดงตนว่าเป็นคนใช้วิทยาคมได้นั้น เป็นอันยกเลิกไปเสียแล้ว และที่โจทก์กล่าวฟ้องในเรื่องนี้ก็ไม่ใช่เป็นกรณีพิเศษตามประมวลกฎหมายอาญา ม.342 ฉะนั้นการกระทำผิดของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงธรรมดาตามประมวลกฎหมายอาญา ม.341 ตรงกับ ก.ม.ลักษณะอาญา ม.304 เท่านั้น อันมีอัตราโทษจำคุกเพียงไม่เกิน 3 ปี เบากว่าอัตราโทษตาม ก.ม.ลักษณะอาญา ม.306(2) มาก แม้เรื่องนี้เฉพาะโจทก์ร่วมฝ่ายเดียวฎีกา ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ให้หนักขึ้น แต่ความผิดฐานฉ้อโกงเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้ทำผิดดังกล่าวแล้ว ซึ่งประมวลกฎหมายอาญาม.3 บัญญัติให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้ทำผิด และเป็นเหตุในลักษณะคดีตามประมวลกฏหมายอาญาม.89 จึงมีผลเกี่ยวพันไปถึงตัวจำเลยที่ 1 และที่ 3 ที่มิได้ฎีกาขึ้นมานั้นด้วย จำเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งเป็นตัวการจึงผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม.341,83 ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิดรายนี้ ผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม.341 ประกอบด้วย ม.82.