พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,039 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12564/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการไม่แจ้งบัญชีทรัพย์สินของกรรมการสาขาพรรคการเมือง: ศาลฎีกาตัดสินคดีขาดอายุความ
พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มาตรา 22 (5) บัญญัติว่า สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงเมื่อพรรคการเมืองที่ผู้นั้นเป็นสมาชิกเลิกหรือยุบไป และมาตรา 65 (4) บัญญัติว่า พรรคการเมืองย่อมเลิกหรือยุบด้วยเหตุที่มีคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคการเมือง เมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบเลิกพรรคเสรีธรรมในวันที่ 6 กันยายน 2544 สมาชิกภาพของจำเลยในการเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองและการดำรงตำแหน่งกรรมการสาขาพรรคเสรีธรรมย่อมสิ้นสุดในวันดังกล่าว ตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ให้หัวหน้าพรรคการเมือง กรรมการบริหารพรรคการเมือง และกรรมการสาขาพรรคการเมือง มีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เข้าดำรงตำแหน่งและภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง จำเลยซึ่งเป็นกรรมการสาขาพรรคเสรีธรรมจึงมีหน้าที่ที่จะต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ พ้นจากตำแหน่งโดยยื่นตั้งแต่วันที่ 7 กันยายน 2544 จนถึงวันที่ 6 ตุลาคม 2544
ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มาตรา 84 ระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทและปรับอีกไม่เกินวันละห้าร้อยบาทตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง จึงมีอายุความเพียงหนึ่งปีตาม ป.อ. มาตรา 95 วรรคหนึ่ง (5) การไม่แจ้งบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินเป็นการหลีกเลี่ยงการกระทำที่กฎหมายบังคับให้กระทำ ความผิดของจำเลยจึงเสร็จสิ้นลงนับแต่ครบวันที่จำเลยมีหน้าที่ต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน แม้มาตรา 84 จะบัญญัติให้ปรับจำเลยอีกไม่เกินวันละห้าร้อยบาทตลอดเวลาที่จำเลยยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง ก็เป็นเพียงที่มีผลในทำนองกำหนดหน้าที่ให้จำเลยปฏิบัติภายหลังการกระทำความผิดเท่านั้น หามีผลทำให้ความผิดของจำเลยเป็นความผิดต่อเนื่องไม่
ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่า คดีของจำเลยในส่วนที่จะต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินอันเป็นการปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรา 84 ยังไม่ขาดอายุความและลงโทษปรับจำเลยย่อมไม่ชอบ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องแม้จำเลยไม่ได้ฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจที่จะยกขึ้นว่ากล่าวเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มาตรา 84 ระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทและปรับอีกไม่เกินวันละห้าร้อยบาทตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง จึงมีอายุความเพียงหนึ่งปีตาม ป.อ. มาตรา 95 วรรคหนึ่ง (5) การไม่แจ้งบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินเป็นการหลีกเลี่ยงการกระทำที่กฎหมายบังคับให้กระทำ ความผิดของจำเลยจึงเสร็จสิ้นลงนับแต่ครบวันที่จำเลยมีหน้าที่ต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน แม้มาตรา 84 จะบัญญัติให้ปรับจำเลยอีกไม่เกินวันละห้าร้อยบาทตลอดเวลาที่จำเลยยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง ก็เป็นเพียงที่มีผลในทำนองกำหนดหน้าที่ให้จำเลยปฏิบัติภายหลังการกระทำความผิดเท่านั้น หามีผลทำให้ความผิดของจำเลยเป็นความผิดต่อเนื่องไม่
ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่า คดีของจำเลยในส่วนที่จะต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินอันเป็นการปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรา 84 ยังไม่ขาดอายุความและลงโทษปรับจำเลยย่อมไม่ชอบ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องแม้จำเลยไม่ได้ฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจที่จะยกขึ้นว่ากล่าวเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8768/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกักขังแทนค่าปรับเกิน 1 ปี ต้องมีคำสั่งชัดเจน การเพิ่มเติมโทษโดยไม่ได้รับการอุทธรณ์เป็นโมฆะ
การกักขังแทนค่าปรับ ตาม ป.อ. มาตรา 30 วรรคหนึ่ง ให้ถืออัตรา 200 บาท ต่อ 1 วัน เว้นแต่ในกรณีที่ศาลพิพากษาให้ปรับตั้งแต่ 80,000 บาท ขึ้นไป ศาลจะสั่งให้กักขังแทนค่าปรับเป็นระยะเวลาเกินกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปี ก็ได้ แต่ทั้งนี้ศาลจะต้องสั่งไว้ให้ชัดแจ้ง หากศาลไม่ได้สั่งไว้เป็นอย่างอื่นโดยชัดแจ้งก็จะกักขังเกินกำหนด 1 ปี ไม่ได้ แม้ศาลพิพากษาให้ปรับตั้งแต่ 80,000 บาทขึ้นไปก็ตาม คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า หากจำเลยทั้งสองไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 29, 30 โดยไม่ได้สั่งให้กักขังจำเลยทั้งสองไว้เป็นอย่างอื่น ดังนั้น หากจะกักขังแทนค่าปรับก็กักขังได้เพียง 1 ปี ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้เป็นว่า ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 29, 30 โดยให้กักขังเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปี จึงเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสองโดยโจทก์มิได้อุทธรณ์ด้วย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 และปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้อง รวมถึงมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วย มาตรา 195 วรรคสอง, 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8350/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ใบอนุญาตอาวุธปืนครอบคลุมกระสุนปืน การมีกระสุนปืนไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาตเพิ่มเติม
ตาม พ.ร.บ. อาวุธปืน ฯ มาตรา 8 บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดมีเครื่องกระสุนปืน ซึ่งมิใช่สำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ตนได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ มาตรา 9 วรรคหนึ่ง บัญญัติถึงใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน และเครื่องกระสุนปืน ให้ออกให้แก่บุคคลสำหรับใช้ในการป้องกันตัวหรือทรัพย์สิน หรือในการกีฬา หรือยิงสัตว์ และวรรคสอง บัญญัติว่า ใบอนุญาตนั้นให้ออกสำหรับอาวุธปืนแต่ละกระบอก แต่ไม่ได้บัญญัติว่าให้ออกใบอนุญาตโดยเฉพาะสำหรับให้มีเครื่องกระสุนปืนด้วย แสดงว่าเมื่อมีใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนแล้ว การมีกระสุนปืนสำหรับอาวุธปืนนั้น ไม่ต้องมีใบอนุญาตพิเศษ การที่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนเป็นการอนุญาตให้มีและใช้กระสุนปืนไปในตัว ดังนั้น เมื่อจำเลยได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนขนาด 22 มม. แล้ว การที่จำเลยมีกระสุนปืนขนาด 22 มม. เพื่อใช้กับอาวุธปืนดังกล่าว จำเลยย่อมไม่มีความผิด แม้โจทก์จะฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองเกินกว่าที่ได้รับใบอนุญาตให้มีไว้สำหรับใช้กับอาวุธปืนที่จำเลยได้รับใบอนุญาต และจำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้ ปัญหาดังกล่าวแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 , 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7/2547)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7/2547)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1916/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาจัดหางานสำคัญกว่าการหลอกลวง หากไม่มีเจตนาจัดหางานจริง แม้มีการรับเงินก็ไม่ผิด พ.ร.บ. จัดหางาน
การจะเป็นความผิดฐานจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ผู้กระทำจะต้องมีเจตนาจัดหางานตามมาตรา 4 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528
ตามคำฟ้องของโจทก์ตอนแรกบรรยายว่า จำเลยกับพวกร่วมกันจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายซึ่งเป็นคนหางานไปทำงานรับจ้างทำถนนที่ไต้หวัน โดยจำเลยกับพวกไม่ได้รับใบอนุญาต แต่คำฟ้องของโจทก์ตอนหลังที่ว่า จำเลยกับพวกสามารถหางานรับจ้างทำถนนในไต้หวัน และสามารถจัดให้ผู้เสียหายทำงานรับจ้างทำถนนในไต้หวันได้โดยถูกต้องตามกฎหมาย และจะได้รับค่าจ้างเดือนละ 15,000 บาท อันเป็นความเท็จทั้งสิ้น ความจริงแล้วจำเลยกับพวกไม่สามารถจัดหางานรับจ้างทำถนนในไต้หวันโดยถูกต้องตามกฎหมายและในอัตราค่าจ้างเดือนละ 15,000 บาท ได้ เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงอยู่ในตัวว่าจำเลยไม่มีเจตนาจัดหางานให้แก่ผู้เสียหาย คงมีแต่เจตนาหลอกลวงเพื่อจะได้รับเงินจากผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง,82 แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ได้ และเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
หลังจากศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ให้จำเลยฟัง ป. ผู้เสียหายยื่นคำร้องว่า ผู้เสียหายได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากจำเลยจนเป็นที่พอใจแล้ว จึงไม่ติดใจเรียกร้องจากจำเลยอีกต่อไป และขอถอนคำร้องทุกข์ โดยโจทก์รับว่าเป็นผู้เสียหายจริง ถือได้ว่าผู้เสียหายได้ถอนคำร้องทุกข์โดยถูกต้องตามกฎหมายในความผิดฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวก่อนคดีถึงที่สุด สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานดังกล่าวจึงระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)
เมื่อสิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงระงับไปแล้วย่อมทำให้คำขอในส่วนคดีแพ่งที่ให้จำเลยใช้เงินแก่ผู้เสียหายตกไปด้วย ประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 มิได้บัญญัติให้อำนาจพนักงานอัยการที่ยื่นฟ้องคดีอาญาในความผิดฐานร่วมกันหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้ให้เรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายได้ อีกทั้งพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 ก็มิได้บัญญัติให้พนักงานอัยการมีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินคืนแก่ผู้เสียหาย จึงต้องยกคำขอในส่วนคดีแพ่งของโจทก์เสียด้วยปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 225
ตามคำฟ้องของโจทก์ตอนแรกบรรยายว่า จำเลยกับพวกร่วมกันจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายซึ่งเป็นคนหางานไปทำงานรับจ้างทำถนนที่ไต้หวัน โดยจำเลยกับพวกไม่ได้รับใบอนุญาต แต่คำฟ้องของโจทก์ตอนหลังที่ว่า จำเลยกับพวกสามารถหางานรับจ้างทำถนนในไต้หวัน และสามารถจัดให้ผู้เสียหายทำงานรับจ้างทำถนนในไต้หวันได้โดยถูกต้องตามกฎหมาย และจะได้รับค่าจ้างเดือนละ 15,000 บาท อันเป็นความเท็จทั้งสิ้น ความจริงแล้วจำเลยกับพวกไม่สามารถจัดหางานรับจ้างทำถนนในไต้หวันโดยถูกต้องตามกฎหมายและในอัตราค่าจ้างเดือนละ 15,000 บาท ได้ เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงอยู่ในตัวว่าจำเลยไม่มีเจตนาจัดหางานให้แก่ผู้เสียหาย คงมีแต่เจตนาหลอกลวงเพื่อจะได้รับเงินจากผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง,82 แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ได้ และเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
หลังจากศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ให้จำเลยฟัง ป. ผู้เสียหายยื่นคำร้องว่า ผู้เสียหายได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากจำเลยจนเป็นที่พอใจแล้ว จึงไม่ติดใจเรียกร้องจากจำเลยอีกต่อไป และขอถอนคำร้องทุกข์ โดยโจทก์รับว่าเป็นผู้เสียหายจริง ถือได้ว่าผู้เสียหายได้ถอนคำร้องทุกข์โดยถูกต้องตามกฎหมายในความผิดฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวก่อนคดีถึงที่สุด สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานดังกล่าวจึงระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)
เมื่อสิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงระงับไปแล้วย่อมทำให้คำขอในส่วนคดีแพ่งที่ให้จำเลยใช้เงินแก่ผู้เสียหายตกไปด้วย ประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 มิได้บัญญัติให้อำนาจพนักงานอัยการที่ยื่นฟ้องคดีอาญาในความผิดฐานร่วมกันหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้ให้เรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายได้ อีกทั้งพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 ก็มิได้บัญญัติให้พนักงานอัยการมีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินคืนแก่ผู้เสียหาย จึงต้องยกคำขอในส่วนคดีแพ่งของโจทก์เสียด้วยปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1826/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กฎหมายยาเสพติดที่แก้ไขใหม่ การปรับบทลงโทษ และการใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลย
จำเลยเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ ฯ ก่อนที่ พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 35 ยกเลิกความในมาตรา 100 แห่ง พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ ฯ (เดิม) และให้ใช้ความใหม่แทน แต่ตามมาตรา 100 ของกฎหมายที่แก้ไขใหม่ ได้บัญญัติเพิ่มเติมฐานความผิดกรณีที่กรรมการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ ฯ (เดิม) หรือข้าราชการหรือพนักงานองค์การหรือหน่วยงานของรัฐกระทำความผิดหรือสนับสนุนในการกระทำความผิด ซึ่งต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น ให้รวมถึงความผิดฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายยาเสพติดให้โทษด้วย กฎหมายที่ใช้ในภายหลังจึงไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลย
มาตรา 100 ของ พ.ร.บ. ยาเสพติด ฯ (เดิม) เป็นกรณีต้องระวางโทษสามเท่าเฉพาะการกระทำความผิดฐานผลิต จำหน่าย นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษเท่านั้น เมื่อโจทก์ฟ้องว่า จำเลยกับพวกร่วมกันมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จึงไม่อยู่ในบังคับตามมาตรา 100 ของกฎหมายเดิมที่จะระวางโทษเป็นสามเท่าได้
แม้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ฯ มาตรา 10 ซึ่งระวางโทษเป็นสามเท่าในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายได้ แต่เมื่อศาลชั้นต้นมิได้ปรับบทลงโทษจำเลยตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงเท่ากับศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องมาตรานี้ การที่โจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้ปรับบทลงโทษตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ฯ มาตรา 10 อีกบทหนึ่งให้ถูกต้อง ข้อหาตามมาตราดังกล่าวจึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่อาจแก้ไขให้ถูกต้องได้เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษอันเป็นผลร้ายแก่จำเลย ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225
จำเลยกับพวกร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 110 เม็ด น้ำหนัก 10.887 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย โดยไม่ปรากฏว่าเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้เท่าใด กรณีความผิดต้องด้วยบทกำหนดโทษตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ ฯ มาตรา 66 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่ซึ่งเป็นคุณมากกว่ากฎหมายเดิม จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่บังคับแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
มาตรา 100 ของ พ.ร.บ. ยาเสพติด ฯ (เดิม) เป็นกรณีต้องระวางโทษสามเท่าเฉพาะการกระทำความผิดฐานผลิต จำหน่าย นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษเท่านั้น เมื่อโจทก์ฟ้องว่า จำเลยกับพวกร่วมกันมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จึงไม่อยู่ในบังคับตามมาตรา 100 ของกฎหมายเดิมที่จะระวางโทษเป็นสามเท่าได้
แม้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ฯ มาตรา 10 ซึ่งระวางโทษเป็นสามเท่าในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายได้ แต่เมื่อศาลชั้นต้นมิได้ปรับบทลงโทษจำเลยตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงเท่ากับศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องมาตรานี้ การที่โจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้ปรับบทลงโทษตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ฯ มาตรา 10 อีกบทหนึ่งให้ถูกต้อง ข้อหาตามมาตราดังกล่าวจึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่อาจแก้ไขให้ถูกต้องได้เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษอันเป็นผลร้ายแก่จำเลย ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225
จำเลยกับพวกร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 110 เม็ด น้ำหนัก 10.887 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย โดยไม่ปรากฏว่าเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้เท่าใด กรณีความผิดต้องด้วยบทกำหนดโทษตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ ฯ มาตรา 66 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่ซึ่งเป็นคุณมากกว่ากฎหมายเดิม จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่บังคับแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8917/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราและหน่วงเหนี่ยวกักขังเป็นคนละกรรมกัน แม้มีการกระทำต่อเนื่อง
ผู้เสียหายกับจำเลยไม่เคยรักใคร่ชอบพอกันมาก่อนและระหว่างที่ถูกฉุดไปผู้เสียหายพยายามหลบหนีถึง 2 ครั้ง แต่ก็ถูกจำเลยทำร้ายและข่มขู่บังคับไม่ให้หลบหนีแม้การที่จำเลยพาผู้เสียหายไปยังต่างจังหวัดในที่ต่าง ๆ หลายแห่งและหลายวัน จะเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องมาจากความประสงค์เดียวกับการข่มขืนกระทำชำเรา แต่จำเลยก็ได้ทำร้ายและข่มขู่บังคับไม่ให้ผู้เสียหายหลบหนี ถือได้ว่าเป็นความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังอีกกระทงหนึ่งต่างหากจากความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงซึ่งเสร็จเด็ดขาดไปแล้ว ปัญหานี้แม้โจทก์จำเลยจะไม่ได้ฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7356/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิดฐานพาอาวุธปืนฯ ต้องเป็นการพาไปยังเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะ ฟ้องไม่ชัดเจนถือเป็นฟ้องที่ไม่ชอบ
การกระทำอันจะเป็นความผิดฐานพาอาวุธปืนตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง 72 ทวิ วรรคสอง จะต้องเป็นการพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว และไม่ใช่กรณีที่ต้องมีอาวุธปืนติดตัวเมื่อมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยพาอาวุธปืนติดตัวไปที่ขนำนากุ้งไม่มีเลขที่ หมู่ที่ 3 ตำบลปากพนัง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยจำเลยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว ทั้งไม่มีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์อันจะต้องพาอาวุธปืนติดตัวไป ฟ้องของโจทก์ดังกล่าวไม่ปรากฏเลยว่าจำเลยพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะ ทั้งไม่ได้ความว่าขนำนากุ้งดังกล่าวเป็นเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะแต่อย่างใด เพียงการพาอาวุธติดตัวไปที่ขนำนากุ้งหาเป็นความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้นไม่ ฟ้องเช่นนี้ย่อมเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) และลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ ไม่ได้ ปัญหาว่าฟ้องคดีอาญาชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกา มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้จำเลยจะมิได้ฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5041/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทมาตราผิดในคดีละเมิดลิขสิทธิ์และการแก้ไขคำพิพากษาให้ถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537มาตรา 28 และ 69 จำเลยให้การรับสารภาพ แต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามมาตรา 31 และ 70 วรรคสองโดยวางโทษก่อนลดโทษให้กึ่งหนึ่งให้จำคุก 3 เดือน และปรับ 50,000 บาท ซึ่งเป็นระวางโทษขั้นต่ำตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 70 วรรคสอง แต่ความผิดตามมาตรา 31และ 70 วรรคสอง เป็นความผิดต่องานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น อันมิใช่การกระทำที่ผู้กระทำละเมิดลิขสิทธิ์ได้กระทำต่องานอันมีลิขสิทธิ์ตามที่โจทก์ฟ้องซึ่งมีระวางโทษขั้นต่ำตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 69 วรรคสอง ให้จำคุก 6 เดือน และปรับ 100,000 บาท การพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 31 และ 70 วรรคสองจึงเป็นเพียงการปรับบทมาตราผิดเท่านั้น แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศแก้ไขเสียให้ถูกต้องเป็นพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 28(2) และ 69 วรรคสอง แต่ไม่อาจกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลยตามระวางโทษในมาตรา 69 วรรคสองได้ เพราะจะเป็นการเพิ่มโทษแก่จำเลย
แผ่นวีซีดีของกลางเป็นแผ่นวีซีดีอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์จึงไม่อาจพิพากษาให้ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ได้ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2537 มาตรา 75 ซึ่งบัญญัติให้เฉพาะสิ่งที่ได้ทำขึ้นอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เท่านั้นตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์
แผ่นวีซีดีของกลางเป็นแผ่นวีซีดีอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์จึงไม่อาจพิพากษาให้ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ได้ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2537 มาตรา 75 ซึ่งบัญญัติให้เฉพาะสิ่งที่ได้ทำขึ้นอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เท่านั้นตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4064/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเงินจากการล่อซื้อยาเสพติด การใช้กฎหมายอาญาใหม่ และการพิจารณาโทษฐานครอบครอง-จำหน่ายยาเสพติด
สายลับล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยทั้งสองในราคา 150 บาท โดยให้เงินไป200 บาท ดังนั้น เงินจำนวน 50 บาทที่จำเลยทั้งสองทอนให้แก่สายลับย่อมถือเป็นทรัพย์ ที่จำเลยทั้งสองได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานจำหน่ายยาเสพติดให้โทษ จึงต้องริบ และปัญหาเรื่องริบของกลางหรือไม่นี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ในระหว่างพิจารณา มี พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ แก้ไขใหม่โดยบัญญัติความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายว่า การมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ที่มีสารแอมเฟตามีนหรืออนุพันธ์แอมเฟตามีนมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่ 375 มิลลิกรัมขึ้นไป หรือมียาเสพติดที่มีสารดังกล่าวผสมอยู่จำนวน 15 หน่วยการใช้ขึ้นไป หรือมีน้ำหนักสุทธิตั้งแต่ 1.5 กรัมขึ้นไป ให้ถือว่าเป็นการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แตกต่างจากกฎหมายเดิมที่กำหนดเฉพาะปริมาณที่คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ตั้งแต่ 20 กรัมขึ้นไปเท่านั้น ดังนั้น เงื่อนไขที่เป็นองค์ประกอบความผิดดังกล่าวตามกฎหมายเดิมเป็นคุณมากกว่ากฎหมายที่แก้ไขใหม่ จึงต้องใช้กฎหมายเดิมในส่วนที่เป็นบทความผิดบังคับแก่จำเลยทั้งสอง
ความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนทั้งตามกฎหมายเดิมและกฎหมายที่แก้ไขใหม่มีข้อความทำนองเดียวกัน จึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลยทั้งสอง ส่วนระวางโทษนั้นกฎหมายที่แก้ไขใหม่ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงสิบห้าปี หรือปรับตั้งแต่แปดหมื่นบาทถึงสามแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ แตกต่างจากกฎหมายเดิมที่มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท โทษจำคุกตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่เป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่บังคับแก่จำเลยทั้งสอง
ในระหว่างพิจารณา มี พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ แก้ไขใหม่โดยบัญญัติความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายว่า การมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ที่มีสารแอมเฟตามีนหรืออนุพันธ์แอมเฟตามีนมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่ 375 มิลลิกรัมขึ้นไป หรือมียาเสพติดที่มีสารดังกล่าวผสมอยู่จำนวน 15 หน่วยการใช้ขึ้นไป หรือมีน้ำหนักสุทธิตั้งแต่ 1.5 กรัมขึ้นไป ให้ถือว่าเป็นการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แตกต่างจากกฎหมายเดิมที่กำหนดเฉพาะปริมาณที่คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ตั้งแต่ 20 กรัมขึ้นไปเท่านั้น ดังนั้น เงื่อนไขที่เป็นองค์ประกอบความผิดดังกล่าวตามกฎหมายเดิมเป็นคุณมากกว่ากฎหมายที่แก้ไขใหม่ จึงต้องใช้กฎหมายเดิมในส่วนที่เป็นบทความผิดบังคับแก่จำเลยทั้งสอง
ความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนทั้งตามกฎหมายเดิมและกฎหมายที่แก้ไขใหม่มีข้อความทำนองเดียวกัน จึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลยทั้งสอง ส่วนระวางโทษนั้นกฎหมายที่แก้ไขใหม่ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงสิบห้าปี หรือปรับตั้งแต่แปดหมื่นบาทถึงสามแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ แตกต่างจากกฎหมายเดิมที่มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท โทษจำคุกตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่เป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่บังคับแก่จำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3879/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิอุทธรณ์-ฎีกา: ข้อหาใหม่/ข้อเท็จจริงไม่เคยยกขึ้นในศาลชั้นต้น
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ที่โจทก์ร่วมอุทธรณ์ข้อแรกว่า การที่จำเลยเตะบริเวณแก้มของผู้ตายเป็นการเล็งเห็นผลว่าจะเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายนั้น ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า อุทธรณ์ดังกล่าวเป็นอุทธรณ์ ในข้อหาที่โจทก์ไม่ได้กล่าวมาในคำฟ้อง และเป็นข้อหาที่โจทก์ไม่ได้ประสงค์ให้ลงโทษ ศาลจะลงโทษจำเลยในข้อหาดังกล่าวไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ดังนั้น ข้อเท็จจริงจึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยเพียงแต่ใช้กำลังทำร้ายและต่อยผู้ตายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย ส่วนบาดแผลที่เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายมิได้เกิดจากการกระทำของจำเลย จึงมิใช่กรณีที่ผู้ตายถูกจำเลยทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้ โจทก์ร่วมซึ่งเป็นบุพการีจึงไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(2) และโจทก์ร่วมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ข้อที่สองที่ว่า จำเลยทำร้ายผู้ตายโดยกระทำทารุณโหดร้ายและอุทธรณ์ข้อที่สามที่ขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานทำร้ายผู้ตายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายในสถานหนัก ที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อที่สองและข้อที่สามของโจทก์ร่วม จึงไม่ชอบ
โจทก์ร่วมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่รอการลงโทษ ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย เนื่องจากเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยและพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้บังคับไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและยกฎีกาของจำเลย
โจทก์ร่วมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่รอการลงโทษ ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย เนื่องจากเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยและพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้บังคับไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและยกฎีกาของจำเลย