พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,039 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7847/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และความผิดฐานพาอาวุธ ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษา
การที่จำเลยกับผู้ตายมีสาเหตุขัดเคืองกันมาก่อนก่อนเกิดเหตุ ถือไม่ได้เสมอไปว่าจะเป็นเหตุให้จำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและไม่ปรากฏตามทางนำสืบของโจทก์ว่า หลังจากที่จำเลยและผู้ตายมีเรื่องขัดเคืองกันในครั้งก่อน แล้วจำเลยมีความอาฆาตคอยติดตามที่จะทำร้ายผู้ตายอีก ทั้งบ้านจำเลยและบ้านผู้ตายก็มิได้อยู่จังหวัดเดียวกัน ผู้ตายเพิ่งมาบ้านที่เกิดเหตุซึ่งเป็นบ้านพ่อตาแม่ยายและอยู่ใกล้กับบ้านจำเลยในวันเกิดเหตุนั้นเอง การที่จำเลยฆ่าผู้ตายมิได้เป็นการซุ่มยิง แต่เป็นการใช้อาวุธปืนยิงจากข้างล่าง 1 นัด แล้วเดินตามขึ้นไปยิงผู้ตายบนบ้านที่เกิดเหตุอีก 1 นัด และยังใช้อาวุธมีดแทงทำร้ายผู้ตายต่อหน้าญาติจำเลยและญาติผู้ตายอีกหลายคน ผิดวิสัยที่จะเป็นการฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ความคิดของจำเลยที่จะฆ่าผู้ตายเกิดขึ้นอย่างกะทันหันเมื่อเห็นผู้ตายที่บ้านที่เกิดเหตุโดยจำเลยมิได้มีการตระเตรียมการหรือมีการวางแผนมาก่อน จำเลยจึงมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 288 เท่านั้น
ความผิดฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และฐานพาอาวุธมีดไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควร เป็นความผิดต่างกรรมกัน แต่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษตาม พ.ร.บ. อาวุธปืน ฯ ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด ตาม ป.อ. มาตรา 90 จึงไม่ถูกต้อง แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาจึงแก้ไขให้ถูกต้องโดยไม่เพิ่มเติมโทษจำเลย
ความผิดฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และฐานพาอาวุธมีดไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควร เป็นความผิดต่างกรรมกัน แต่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษตาม พ.ร.บ. อาวุธปืน ฯ ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด ตาม ป.อ. มาตรา 90 จึงไม่ถูกต้อง แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาจึงแก้ไขให้ถูกต้องโดยไม่เพิ่มเติมโทษจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7800/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดร่วมกันมียาเสพติดให้โทษ ศาลฎีกายืนตามศาลชั้นต้น แม้โทษต่ำกว่าขั้นต่ำตามกฎหมาย
สายลับแนะนำให้ผู้ล่อซื้อรู้จักกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาจำเลยที่ 3 ต่อจากนั้นจำเลยที่ 1 แนะนำจำเลยที่ 3 และที่ 4 ให้รู้จักกับผู้ล่อซื้อ ส่วนเหตุการณ์ในขณะซื้อขายเมทแอมเฟตามีน จำเลยที่ 3 ก็อยู่ด้วยและช่วยในการเจรจา ในที่สุดตกลงซื้อขายกัน จำเลยที่ 4 หยิบตัวอย่างเมทแอมเฟตามีนจำนวน 2 เม็ด มาให้ดู โดยนัดหมายกันว่าจำเลยที่ 1 จะนำเมทแอมเฟตามีนที่ตกลงซื้อขายกันมาส่งมอบให้ในวันรุ่งขึ้น หลังจากจับกุมจำเลยที่ 1 และที่ 2 แล้ว จำเลยที่ 2 บอกว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวมาจากบ้านของจำเลยที่ 1 เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุมจึงไปค้นบ้านของจำเลยที่ 1 เมื่อไปถึงพบจำเลยที่ 3 และที่ 4 อยู่ที่นั่น ผลการตรวจค้นบ้านของจำเลยที่ 1 พบเมทแอมเฟตามีนจำนวน 360 เม็ด บรรจุอยู่ในขวดกาแฟซุกซ่อนอยู่บริเวณข้างบ้านและยังพบโทรศัพท์มือถืออีก 1 เครื่อง ที่ตัวจำเลยที่ 3 ซึ่งจำเลยที่ 3 เคยใช้โทรศัพท์ดังกล่าวติดต่อกับผู้ล่อซื้อในการซื้อขายเมทแอมเฟตามีนตอนแรก ในชั้นจับกุมจำเลยที่ 3 ก็ให้การรับสารภาพด้วยความสมัครใจ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนและมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
ความผิดฐานร่วมกันมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกิน 100 กรัม ตามมาตรา 66 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มีระวางโทษ จำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยทั้งสี่ในความผิดฐานนี้ให้จำคุกคนละ 11 ปี ก่อนลดโทษให้จึงต่ำกว่าโทษขั้นต่ำตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ แต่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ เพราะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
ความผิดฐานร่วมกันมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกิน 100 กรัม ตามมาตรา 66 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มีระวางโทษ จำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยทั้งสี่ในความผิดฐานนี้ให้จำคุกคนละ 11 ปี ก่อนลดโทษให้จึงต่ำกว่าโทษขั้นต่ำตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ แต่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ เพราะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7567/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลคำให้การจำเลยต่างด้าวโดยล่ามที่ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
การที่ศาลชั้นต้นจะต้องปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 13 วรรคสองหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยจำเลยหยิบยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ตามมาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 225
การที่ ร. ซึ่งเป็นทนายจำเลยทำหน้าที่เป็นล่ามให้จำเลยซึ่งไม่สามารถพูดหรือเข้าใจภาษาไทยได้ ไม่ได้สาบานตน หรือปฏิญาณตนว่าจะแปลถ้อยคำของจำเลยให้ถูกต้องและทำหน้าที่โดยสุจริตใจไม่เพิ่มเติมหรือตัดทอนสิ่งที่แปล และ ร. มิได้ลงลายมือชื่อในคำแปลนั้นเลย การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงเป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 13 วรรคสอง
การที่ ร. ซึ่งเป็นทนายจำเลยทำหน้าที่เป็นล่ามให้จำเลยซึ่งไม่สามารถพูดหรือเข้าใจภาษาไทยได้ ไม่ได้สาบานตน หรือปฏิญาณตนว่าจะแปลถ้อยคำของจำเลยให้ถูกต้องและทำหน้าที่โดยสุจริตใจไม่เพิ่มเติมหรือตัดทอนสิ่งที่แปล และ ร. มิได้ลงลายมือชื่อในคำแปลนั้นเลย การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงเป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 13 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7332/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นใหม่, นับโทษกรรมต่างกันชอบ, อายุความความผิดปรับ
จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงที่จำเลยมิได้ยกขึ้นอ้างไว้ในฟ้องอุทธรณ์เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
กฎหมายเป็นเครื่องมือของรัฐที่ใช้สำหรับจัดระเบียบสังคมให้ผู้คนในสังคมได้อยู่ร่วมกันด้วยความปกติสุข เมื่อจำเลยกระทำผิดก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในสังคมแล้ว จำเลยจึงต้องถูกลงโทษตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ในความผิดเรื่องนั้น ๆ จำเลยกระทำผิดในคดีอาญาเป็นการกระทำต่างกรรมกัน การที่ศาลล่างทั้งสองให้นับโทษจำเลยในคดีนี้ต่อจากโทษในคดีอาญาอีกคดีหนึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายตามที่โจทก์ขอมาท้ายฟ้อง เป็นการใช้ดุลพินิจชอบ ไม่ได้ขัดต่อสิทธิมนุษยชนใด ๆ
ข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 มีโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท จึงมีอายุความเพียง 1 ปี ตามมาตรา 95 (5) จำเลยกระทำความผิดวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2539 นับถึงวันฟ้องคือวันที่ 28 พฤษภาคม 2542 เกิน 1 ปีคดีของโจทก์สำหรับความผิดดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) ปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
กฎหมายเป็นเครื่องมือของรัฐที่ใช้สำหรับจัดระเบียบสังคมให้ผู้คนในสังคมได้อยู่ร่วมกันด้วยความปกติสุข เมื่อจำเลยกระทำผิดก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในสังคมแล้ว จำเลยจึงต้องถูกลงโทษตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ในความผิดเรื่องนั้น ๆ จำเลยกระทำผิดในคดีอาญาเป็นการกระทำต่างกรรมกัน การที่ศาลล่างทั้งสองให้นับโทษจำเลยในคดีนี้ต่อจากโทษในคดีอาญาอีกคดีหนึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายตามที่โจทก์ขอมาท้ายฟ้อง เป็นการใช้ดุลพินิจชอบ ไม่ได้ขัดต่อสิทธิมนุษยชนใด ๆ
ข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 มีโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท จึงมีอายุความเพียง 1 ปี ตามมาตรา 95 (5) จำเลยกระทำความผิดวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2539 นับถึงวันฟ้องคือวันที่ 28 พฤษภาคม 2542 เกิน 1 ปีคดีของโจทก์สำหรับความผิดดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) ปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7259/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย แม้เป็นเพียงผู้รับจ้างส่งของ ก็ถือว่ามีความผิดสำเร็จ
จำเลยอุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบาเพียงอย่างเดียว แต่ฎีกาของจำเลยพอแปลได้ว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดอันเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จะไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์ จำเลยก็ยกขึ้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225
จำเลยซุกซ่อนเมทแอมเฟตามีน 8,200 เม็ด แบ่งบรรจุในถุงพลาสติกมีฝาเปิดปิดใส่อยู่ในผ้าอนามัยไว้บริเวณสายรัดเสื้อชั้นในด้านข้างจำนวนข้างละ 1 ชิ้น และเป้ากางเกงชั้นในอีก 1 ชิ้น เป็นการยึดถือเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวไว้ แม้จำเลยจะรับจ้างนำเมทแอมเฟตามีนไปส่งมอบให้แก่ผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกัน ก็ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาครอบครองเมทแอมเฟตามีน
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสองเป็นข้อสันนิษฐานโดยเด็ดขาด เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเมทแอมเฟตามีน8,200 เม็ด น้ำหนัก 712.93 กรัม ที่จำเลยมีไว้ในครอบครองคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 158.615 กรัม ถือได้ว่าจำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายแล้ว และแม้จำเลยจะเป็นผู้รับจ้างนำเมทแอมเฟตามีนไปส่งที่กรุงเทพมหานคร แต่จำเลยถูกจับที่จังหวัดเชียงรายเสียก่อน ก็ไม่เป็นการพยายามกระทำความผิดเพราะการมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายย่อมเป็นความผิดสำเร็จตลอดเวลาที่จำเลยครอบครอง
จำเลยซุกซ่อนเมทแอมเฟตามีน 8,200 เม็ด แบ่งบรรจุในถุงพลาสติกมีฝาเปิดปิดใส่อยู่ในผ้าอนามัยไว้บริเวณสายรัดเสื้อชั้นในด้านข้างจำนวนข้างละ 1 ชิ้น และเป้ากางเกงชั้นในอีก 1 ชิ้น เป็นการยึดถือเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวไว้ แม้จำเลยจะรับจ้างนำเมทแอมเฟตามีนไปส่งมอบให้แก่ผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกัน ก็ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาครอบครองเมทแอมเฟตามีน
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสองเป็นข้อสันนิษฐานโดยเด็ดขาด เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเมทแอมเฟตามีน8,200 เม็ด น้ำหนัก 712.93 กรัม ที่จำเลยมีไว้ในครอบครองคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 158.615 กรัม ถือได้ว่าจำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายแล้ว และแม้จำเลยจะเป็นผู้รับจ้างนำเมทแอมเฟตามีนไปส่งที่กรุงเทพมหานคร แต่จำเลยถูกจับที่จังหวัดเชียงรายเสียก่อน ก็ไม่เป็นการพยายามกระทำความผิดเพราะการมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายย่อมเป็นความผิดสำเร็จตลอดเวลาที่จำเลยครอบครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7075/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายยาเสพติดปริมาณมากเกิน 100 กรัม (สารบริสุทธิ์) ศาลฎีกาแก้ไขบทมาตราผิด
คำฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 51,400 เม็ด น้ำหนัก 4,657.390 กรัม คำนวณเป็น น้ำหนักสารบริสุทธิ์ 946.187 กรัมและเฮโรอีนจำนวน 333 หลอด น้ำหนัก 403.820 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 314.333 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ซึ่งเห็นได้ว่าเมทแอมเฟตามีนและเฮโรอีนของกลางที่จำเลยมีไว้ เพื่อจำหน่ายต่างก็มีปริมาณที่คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกินหนึ่งร้อยกรัม การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสอง, 66 วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือ ประหารชีวิต การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง, 66 วรรคหนึ่ง จึงเป็นการอ้างบทมาตราผิด ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7014/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขค่าปรับและการกักขังแทนค่าปรับในความผิดฐานนำเข้าของต้องจำกัด และการโต้แย้งดุลพินิจในการลงโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาไว้ชัดแจ้งในตอนต้นแล้วว่า "ฐานร่วมกันรับเอาไว้ซึ่งของต้องจำกัดมิให้นำเข้ามาใน ราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรปรับรวมเป็นเงิน 26,000 บาท" แม้จะระบุเพิ่มเติมต่อไปว่า "ซึ่งจำเลยทั้งสองต้องรับผิดชำระกันคนละกึ่งหนึ่งเป็นเงิน 13,000 บาท" ก็ถือได้ว่าเป็นเพียงการที่ศาลชั้นต้นประสงค์จะแบ่งความรับผิดของจำเลยทั้งสองให้เป็นสัดส่วนเพื่อสะดวกแก่การกักขังแทนค่าปรับเท่านั้น การที่ศาลอุทธรณ์แก้ไขให้ถูกต้องเป็นว่าให้ปรับจำเลยทั้งสองรวมเป็นเงิน 26,000 บาท ตาม พ.ร.บ. ศุลกากรฯ มาตรา 27 ทวิ จึงไม่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะเรื่องค่าปรับว่าเป็นการปรับรวมกัน มิใช่แยกปรับเป็นรายบุคคลในความผิดฐานร่วมกันรับเอาไว้ซึ่งของต้องจำกัดมิให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร และแก้ไขเรื่องการจ่ายสินบนนำจับของผู้นำจับและรางวัลของผู้จับ โดยแยกให้ชัดเจนตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ฯ และ พ.ร.บ. ศุลกากรฯ เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองไม่เกินห้าปี หรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่โทษจำคุกไม่เกินห้าปีจำเลยทั้งสองฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษของ ศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
จำเลยทั้งสองถูกปรับรวมกันตาม พ.ร.บ. ศุลกากรฯ ไม่เกิน 40,000 บาท จึงกักขังแทนค่าปรับได้ไม่เกิน 1 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 30 เมื่อมีจำเลย 2 คน ต้องแบ่งการกักขังแทนค่าปรับจำเลยทั้งสองคนละไม่เกิน 6 เดือน การกักขังแทน ค่าปรับที่ศาลอุทธรณ์กำหนดไว้ว่าหากต้องกักขังแทนค่าปรับให้เฉลี่ยกักขังไปตามสัดส่วนของตัวจำเลยนั้นไม่ถูกต้องและเป็นผลร้ายแก่จำเลยทั้งสอง ศาลฎีกาเห็นควรแก้ไขให้ถูกต้อง
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะเรื่องค่าปรับว่าเป็นการปรับรวมกัน มิใช่แยกปรับเป็นรายบุคคลในความผิดฐานร่วมกันรับเอาไว้ซึ่งของต้องจำกัดมิให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร และแก้ไขเรื่องการจ่ายสินบนนำจับของผู้นำจับและรางวัลของผู้จับ โดยแยกให้ชัดเจนตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ฯ และ พ.ร.บ. ศุลกากรฯ เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองไม่เกินห้าปี หรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่โทษจำคุกไม่เกินห้าปีจำเลยทั้งสองฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษของ ศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
จำเลยทั้งสองถูกปรับรวมกันตาม พ.ร.บ. ศุลกากรฯ ไม่เกิน 40,000 บาท จึงกักขังแทนค่าปรับได้ไม่เกิน 1 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 30 เมื่อมีจำเลย 2 คน ต้องแบ่งการกักขังแทนค่าปรับจำเลยทั้งสองคนละไม่เกิน 6 เดือน การกักขังแทน ค่าปรับที่ศาลอุทธรณ์กำหนดไว้ว่าหากต้องกักขังแทนค่าปรับให้เฉลี่ยกักขังไปตามสัดส่วนของตัวจำเลยนั้นไม่ถูกต้องและเป็นผลร้ายแก่จำเลยทั้งสอง ศาลฎีกาเห็นควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6900/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษกรรมเดียวผิดหลายบท และการรอการลงโทษในคดีป่าสงวน
จำเลยรับว่าเคยต้องโทษและพ้นโทษตามฟ้องจริง แต่ปรากฏตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าคดีดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุด กรณีจึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน ศาลฎีกามีอำนาจรอการลงโทษจำคุกจำเลยได้
จำเลยรับไว้ ซ่อนเร้น ช่วยพาเอาไปเสียซึ่งของป่าตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 31 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 34 กับมีไว้ในความครอบครองซึ่งของป่าหวงห้ามเกินปริมาณที่กำหนดโดยมิได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 29 ทวิ วรรคหนึ่ง, 71 ทวิ เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท เพราะการรับไว้ ซ่อนเร้น ช่วยพาเอาไปเสียมีเจตนาเดียวเพื่อครอบครองของป่านั่นเอง ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยมา 2 กระทงจึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225
จำเลยรับไว้ ซ่อนเร้น ช่วยพาเอาไปเสียซึ่งของป่าตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 31 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 34 กับมีไว้ในความครอบครองซึ่งของป่าหวงห้ามเกินปริมาณที่กำหนดโดยมิได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 29 ทวิ วรรคหนึ่ง, 71 ทวิ เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท เพราะการรับไว้ ซ่อนเร้น ช่วยพาเอาไปเสียมีเจตนาเดียวเพื่อครอบครองของป่านั่นเอง ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยมา 2 กระทงจึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6828/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: ขายยาเสพติดและยาแผนปัจจุบัน ศาลปรับบทลงโทษตามกฎหมายที่หนักที่สุด
ความผิดฐานร่วมกันขายโดยการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 และยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 20 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 71 และพ.ร.บ. ยา พ.ศ. 2510 มาตรา 12 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 101 นั้น เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตาม พ.ร.บ. ยา พ.ศ. 2510 มาตรา 12 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 101 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตาม ป.อ. มาตรา 90 ส่วนความผิดฐานมีไว้เพื่อขาย ซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ไม่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นความผิด
สำหรับความผิดฐานมีไว้เพื่อขายซึ่งยาแผนปัจจุบัน ตาม พ.ร.บ. ยา พ.ศ. 2510 มาตรา 4 ได้วิเคราะห์ศัพท์คำว่า "ขาย" หมายความว่า ขายปลีก ขายส่ง จำหน่าย จ่าย แจก แลกเปลี่ยนเพื่อประโยชน์ในทางการค้า และให้หมายความรวมถึงการมีไว้เพื่อขายด้วย ฉะนั้น การขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งยาแผนปัจจุบันจึงถือเป็นความผิดอย่างเดียวกัน จำเลยที่สองร่วมกันมียาแผนปัจจุบันไว้ในครอบครองเพื่อขายและร่วมกันขายยาแผนปัจจุบันที่มีอยู่บางส่วนในวันเวลาเดียวกันและต่อเนื่องกัน การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นกรรมเดียวคือ การขายยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ดังนั้น แม้จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพตามฟ้องว่า ร่วมกันมีไว้ในครอบครองเพื่อขายและขายยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเป็น 2 กรรมก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยไว้เอง โดยให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานร่วมกันขายยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเพียงกรรมเดียวโดยไม่แก้โทษในความผิดฐานดังกล่าวตามที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาเพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสอง
สำหรับความผิดฐานมีไว้เพื่อขายซึ่งยาแผนปัจจุบัน ตาม พ.ร.บ. ยา พ.ศ. 2510 มาตรา 4 ได้วิเคราะห์ศัพท์คำว่า "ขาย" หมายความว่า ขายปลีก ขายส่ง จำหน่าย จ่าย แจก แลกเปลี่ยนเพื่อประโยชน์ในทางการค้า และให้หมายความรวมถึงการมีไว้เพื่อขายด้วย ฉะนั้น การขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งยาแผนปัจจุบันจึงถือเป็นความผิดอย่างเดียวกัน จำเลยที่สองร่วมกันมียาแผนปัจจุบันไว้ในครอบครองเพื่อขายและร่วมกันขายยาแผนปัจจุบันที่มีอยู่บางส่วนในวันเวลาเดียวกันและต่อเนื่องกัน การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นกรรมเดียวคือ การขายยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ดังนั้น แม้จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพตามฟ้องว่า ร่วมกันมีไว้ในครอบครองเพื่อขายและขายยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเป็น 2 กรรมก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยไว้เอง โดยให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานร่วมกันขายยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเพียงกรรมเดียวโดยไม่แก้โทษในความผิดฐานดังกล่าวตามที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาเพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6632/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษทางอาญา: ลดโทษรายกระทงก่อนแล้วค่อยรวมโทษ เพื่อหลีกเลี่ยงการเพิ่มโทษโดยไม่สมเหตุผล
ฎีกาของจำเลยที่ว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางที่จำเลยมีไว้ในครอบครองมีเพียง 2 เม็ด จำเลยมิได้นำมาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายนั้น เป็นฎีกาที่ขัดกับคำให้การรับสารภาพของจำเลยจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสองศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลล่างทั้งสองรวมโทษจำคุกจำเลยทั้งสองกระทงก่อนแล้วจึงลดโทษนั้นไม่ถูกต้อง เพราะหากลดโทษให้แต่ละกระทงก่อนจะเหลือโทษจำคุกกระทงละ 2 ปี 6 เดือน เมื่อรวมโทษทั้งสองกระทงเข้าด้วยกันแล้วนำโทษจำคุกเฉพาะ 6 เดือน มารวมกันเป็น 1 ปีย่อมจะทำให้จำเลยต้องรับโทษหนักขึ้น เนื่องจากโทษจำคุก 12 เดือนคำนวณได้ 360 วัน แต่โทษจำคุก 1 ปี จะมีถึง 365 วันหรือ 366 วันแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 21 วรรคสองปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้
ศาลล่างทั้งสองรวมโทษจำคุกจำเลยทั้งสองกระทงก่อนแล้วจึงลดโทษนั้นไม่ถูกต้อง เพราะหากลดโทษให้แต่ละกระทงก่อนจะเหลือโทษจำคุกกระทงละ 2 ปี 6 เดือน เมื่อรวมโทษทั้งสองกระทงเข้าด้วยกันแล้วนำโทษจำคุกเฉพาะ 6 เดือน มารวมกันเป็น 1 ปีย่อมจะทำให้จำเลยต้องรับโทษหนักขึ้น เนื่องจากโทษจำคุก 12 เดือนคำนวณได้ 360 วัน แต่โทษจำคุก 1 ปี จะมีถึง 365 วันหรือ 366 วันแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 21 วรรคสองปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้