พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,039 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6511/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนทรัพย์สินของกลาง: ศาลต้องมีคำสั่งริบก่อนจึงจะพิจารณาคืนได้ แม้คดีถึงที่สุดแล้ว คำร้องขอคืนสิ้นไป
กรณีขอคืนทรัพย์สินตาม ป.อ. มาตรา 36 ศาลต้องมีคำสั่งให้ริบทรัพย์สินก่อนจึงจะมีคำสั่งในเรื่องของกลางได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 และ พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ยกฟ้อง โจทก์ไม่อุทธรณ์ การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ผู้ร้องยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์ของกลางเพื่อประโยชน์ของจำเลย เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต แล้วมีคำสั่งให้ยกคำร้องก่อนที่จะมีคำพิพากษาให้ริบรถยนต์ของกลางจึงมิชอบ
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ผู้ร้องใช้สิทธิขอคืนรถยนต์ของกลางเป็นการใช้สิทธิโดยชอบ และข้อเท็จจริง ฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยจึงมีคำพิพากษาให้คืนรถยนต์ของกลางแก่ผู้ร้อง ทั้งที่ศาลชั้นต้นยกฟ้องโดยมิได้พิพากษาให้ริบรถยนต์ของกลาง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงมิชอบ ดังนี้แม้ข้อเท็จจริง จะฟังได้ตามที่โจทก์ฎีกาว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำของจำเลยที่โจทก์อ้างว่าเป็นความผิดก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุดแล้ว เหตุที่จะพิจารณาคำร้องขอคืนรถยนต์ของกลางของผู้ร้องย่อมสิ้นไป ศาลฎีกาพิพากษาให้ยกคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ ยกคำสั่งของศาลชั้นต้น และยกคำร้องของผู้ร้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 และ พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ยกฟ้อง โจทก์ไม่อุทธรณ์ การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ผู้ร้องยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์ของกลางเพื่อประโยชน์ของจำเลย เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต แล้วมีคำสั่งให้ยกคำร้องก่อนที่จะมีคำพิพากษาให้ริบรถยนต์ของกลางจึงมิชอบ
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ผู้ร้องใช้สิทธิขอคืนรถยนต์ของกลางเป็นการใช้สิทธิโดยชอบ และข้อเท็จจริง ฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยจึงมีคำพิพากษาให้คืนรถยนต์ของกลางแก่ผู้ร้อง ทั้งที่ศาลชั้นต้นยกฟ้องโดยมิได้พิพากษาให้ริบรถยนต์ของกลาง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงมิชอบ ดังนี้แม้ข้อเท็จจริง จะฟังได้ตามที่โจทก์ฎีกาว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำของจำเลยที่โจทก์อ้างว่าเป็นความผิดก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุดแล้ว เหตุที่จะพิจารณาคำร้องขอคืนรถยนต์ของกลางของผู้ร้องย่อมสิ้นไป ศาลฎีกาพิพากษาให้ยกคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ ยกคำสั่งของศาลชั้นต้น และยกคำร้องของผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6396/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับของผิดกฎหมายทางศุลกากร: พยานหลักฐานจากคำรับสารภาพและพฤติการณ์หลบหนีเพียงพอให้ลงโทษจำเลยได้
จำเลยที่ 2 นั่งคู่มากับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคนขับรถยนต์บรรทุก 6 ล้อ ของกลางที่มีเลื่อยยนต์ของกลางวางอยู่ที่กระบะท้ายรถ จึงเป็นพฤติการณ์ที่ชี้ให้เห็นได้ในเบื้องต้นว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ครอบครองเลื่อยยนต์ของกลาง ชั้นสอบสวนพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาแก่จำเลยที่ 2 ในส่วนที่เกี่ยวกับเลื่อยยนต์ของกลางว่านำหรือพาของที่ยังมิได้เสียภาษีหรือของต้องกำกัดหรือของต้องห้ามหรือของที่ยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาในราชอาณาจักร และช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซึ้อ รับจำนำ หรือรับไว้ด้วยประการใดซึ่งของที่รู้ว่านำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ข้อห้ามหรือข้อกำกัด จำเลยที่ 2 ได้ให้การรับสารภาพต่อพนักงานสอบสวนโดยสมัครใจตามบันทึกคำให้การที่พนักงานสอบสวนได้บันทึกไว้ จึงใช้เป็นพยานหลักฐานยันจำเลยที่ 2 ในชั้นพิจารณาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 นอกจากนี้ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ได้เปิดประตูรถวิ่งหลบหนีไปพร้อมกับจำเลยที่ 1 ด้วย เป็นพฤติการณ์ที่ชี้ให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 น่าจะทราบดีว่าสิ่งของที่จำเลยที่ 1 บรรทุกมาในรถยนต์ของกลางเป็นของผิดกฎหมาย ฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 รับไว้ซึ่งเลื่อยยนต์ของกลางโดยรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ข้อห้ามและข้อกำกัด
โทษปรับรวมกันเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วตามที่ พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ บัญญัติไว้ ค่าอากรดังกล่าวย่อมหมายถึงค่าอากรในทางศุลกากรเท่านั้น ไม่รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่มอันเป็นภาษีฝ่ายสรรพากรด้วย
จำเลยทั้งสองกระทำความผิดร่วมกันและศาลจะต้องพิพากษาลงโทษปรับจำเลยทั้งสองรวมกันเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ ถือว่าเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้ไขโทษปรับตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้ฎีกาได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 และ 225
ศาลอุทธรณ์ได้รวมโทษจำคุกของจำเลยแต่ละกระทงเข้าด้วยกันแล้วจึงลดโทษ เป็นผลร้ายแก่จำเลยเพราะมีผลเป็นการนำโทษส่วนที่เกิน 12 เดือน มาคิดคำนวณเป็น 1 ปี อยู่ในตัว ทำให้จำเลยต้องรับโทษจำคุกในปีสุดท้ายนานขึ้น 5 วัน หรือ 6 วัน หากตรงกับปีอธิกสุรทิน เป็นการไม่ชอบด้วย ป.อ. มาตรา 21 วรรคสอง ที่ถูกศาลอุทธรณ์ต้องลดโทษให้จำเลยที่ 2 เป็นรายกระทงก่อนแล้วจึงรวมโทษ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้เป็นคุณแก่จำเลยได้
ตาม พ.ร.บ. ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 7 และมาตรา 8 ที่บัญญัติไว้มีใจความว่า สินบนและรางวัลให้จ่ายจากเงินที่ได้จากการขายของกลางซึ่งศาลสั่งริบเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว หากของกลางที่ศาลสั่งริบไม่อาจขายได้ จึงให้จ่ายจากเงินค่าปรับที่ได้ชำระต่อศาล ดังนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าไม่อาจขายเลื่อยยนต์ของกลางได้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จ่ายสินบนร้อยละ 30 ของค่าปรับ และจ่ายรางวัลร้อยละ 25 ของค่าปรับ จึงยังไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องเสียด้วย
โทษปรับรวมกันเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วตามที่ พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ บัญญัติไว้ ค่าอากรดังกล่าวย่อมหมายถึงค่าอากรในทางศุลกากรเท่านั้น ไม่รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่มอันเป็นภาษีฝ่ายสรรพากรด้วย
จำเลยทั้งสองกระทำความผิดร่วมกันและศาลจะต้องพิพากษาลงโทษปรับจำเลยทั้งสองรวมกันเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ ถือว่าเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้ไขโทษปรับตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้ฎีกาได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 และ 225
ศาลอุทธรณ์ได้รวมโทษจำคุกของจำเลยแต่ละกระทงเข้าด้วยกันแล้วจึงลดโทษ เป็นผลร้ายแก่จำเลยเพราะมีผลเป็นการนำโทษส่วนที่เกิน 12 เดือน มาคิดคำนวณเป็น 1 ปี อยู่ในตัว ทำให้จำเลยต้องรับโทษจำคุกในปีสุดท้ายนานขึ้น 5 วัน หรือ 6 วัน หากตรงกับปีอธิกสุรทิน เป็นการไม่ชอบด้วย ป.อ. มาตรา 21 วรรคสอง ที่ถูกศาลอุทธรณ์ต้องลดโทษให้จำเลยที่ 2 เป็นรายกระทงก่อนแล้วจึงรวมโทษ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้เป็นคุณแก่จำเลยได้
ตาม พ.ร.บ. ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 7 และมาตรา 8 ที่บัญญัติไว้มีใจความว่า สินบนและรางวัลให้จ่ายจากเงินที่ได้จากการขายของกลางซึ่งศาลสั่งริบเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว หากของกลางที่ศาลสั่งริบไม่อาจขายได้ จึงให้จ่ายจากเงินค่าปรับที่ได้ชำระต่อศาล ดังนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าไม่อาจขายเลื่อยยนต์ของกลางได้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จ่ายสินบนร้อยละ 30 ของค่าปรับ และจ่ายรางวัลร้อยละ 25 ของค่าปรับ จึงยังไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องเสียด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6205/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐานคดียาเสพติด: การรับสารภาพที่อาจเกิดจากความข่มขู่ และความขัดแย้งของพยานหลักฐาน
พยานโจทก์เบิกความแตกต่างกับคำให้การชั้นสอบสวนและขัดแย้งกับพยานเอกสารดังกล่าว ทำให้น่าสงสัยว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรแน่ จึงยังฟังไม่ได้แน่ชัดว่าเป็นดังที่พยานโจทก์เบิกความ ที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยทั้งสองให้การ รับสารภาพทั้งในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนนั้น ก็มีความสงสัยว่า จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพโดยสมัครใจหรือ รับสารภาพเพราะถูกขู่บังคับและถูกทำร้าย เมื่อฟังไม่ได้แน่ชัดว่าจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพโดยสมัครใจก็ไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ และได้ความว่าจำเลยทั้งสองไม่มีประวัติเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ เมื่อมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของกลางหรือไม่ จึงให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยทั้งสองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง
ข้อหาต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้าย ศาลชั้นต้นพิพากษา ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 2 เดือน และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน แม้ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกาและเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเพราะเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยที่ 2 ในข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน เป็นข้อหาที่เกี่ยวเนื่องกัน ศาลฎีกาจึงมีอำนาจหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยได้
ข้อหาต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้าย ศาลชั้นต้นพิพากษา ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 2 เดือน และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน แม้ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกาและเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเพราะเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยที่ 2 ในข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน เป็นข้อหาที่เกี่ยวเนื่องกัน ศาลฎีกาจึงมีอำนาจหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5904/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายยาเสพติดยังไม่สำเร็จเป็นความผิดพยายามจำหน่าย แม้มีการชำระเงินแล้ว
จำเลยทั้งสองตกลงจะขายเมทแอมเฟตามีนจำนวน 1 เม็ด ให้แก่ ส. ในราคา 150 บาท และรับเงินค่า เมทแอมเฟตามีนจาก ส. ไว้แล้ว แต่ขณะที่จำเลยที่ 1 กำลังใช้ไขควงคลายน็อตยึดฝาครอบไฟท้ายรถจักรยานยนต์ของกลางซึ่งมีเมทแอมเฟตามีนบรรจุอยู่ในหลอดกาแฟจำนวน 20 เม็ด ซุกซ่อนอยู่ เพื่อจะนำเมทแอมเฟตามีนจำนวน 1 เม็ด ออกมามอบให้แก่ ส. ก็ถูกสิบตำรวจโท จ. กับพวกจับกุมเสียก่อน โดยขณะนั้นจำเลยทั้งสองยังมิได้แยกเมทแอมเฟตา-มีนจำนวน 1 เม็ด ออกจากหลอดกาแฟมาส่งมอบให้แก่ ส. การซื้อขายเมทแอมเฟตามีนระหว่างจำเลยกับ ส. จึงยัง ไม่สำเร็จบริบูรณ์ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจำนวน 1 เม็ด เท่านั้น และเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้ฎีกาได้ด้วย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วย มาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5805/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น การพิพากษาโทษปรับรายวันและการใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่
ตามที่ พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 21 บัญญัติว่า ผู้ใดจะก่อสร้างอาคารต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและดำเนินการตามมาตรา 39 ทวิ การที่จำเลยให้ นายช่างเทศบาลเขียนแบบแปลนให้ไม่ใช่การดำเนินการตามมาตรา 39 ทวิ จำเลยมีอาชีพรับเหมาก่อสร้าง ย่อมต้องรู้ว่าการก่อสร้างอาคารต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตจากทางราชการหรือดำเนินการตามมาตรา 39 ทวิ ก่อน แต่จำเลยกลับทำการก่อสร้างไปโดยไม่ได้รับใบอนุญาตหรือใบรับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น การก่อสร้างของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นการกระทำผิดโดยเจตนา แม้ต่อมาภายหลังจำเลยจะไปยื่นคำขอรับใบอนุญาตก่อสร้างก็ไม่ทำให้การกระทำของจำเลยก่อนหน้านั้นไม่เป็นความผิด
จำเลยได้รับหนังสือจากนายกเทศมนตรีให้ระงับการก่อสร้างอาคารพิพาทเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2539 โดย ลูกจ้างของจำเลยเป็นผู้รับแทน และเมื่อพนักงานสอบสวนไปตรวจที่เกิดเหตุในวันที่ 2 ตุลาคม 2539 ก็พบคนงานกำลังก่อสร้างอาคารพิพาทอยู่ ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน 2539 ถึงวันที่ 2 ตุลาคม 2539 รวมเป็นเวลา 121 วัน แต่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยฝ่าฝืนคำสั่ง 120 วัน นับว่าเป็นคุณแก่จำเลยอยู่แล้ว และเมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดฐาน ฝ่าฝืนคำสั่งพนักงานท้องถิ่นเพียง 120 วัน ทั้งฟ้องว่าระหว่างวันที่ 27 พฤษภาคม 2539 ถึงวันที่ 2 ตุลาคม 2539 (รวมเวลา 129 วัน) จำเลยก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น การที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษปรับจำเลยรายวันตลอดมาจนถึงวันฟ้องและหลังจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยจะปฏิบัติให้ถูกต้องจึงไม่ชอบ เพราะเมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดดังกล่าวเพียงถึงวันที่ 2 ตุลาคม 2539 แสดงว่าหลังจากวันนั้นจำเลยอาจมิได้ฝ่าฝืนคำสั่งหรือได้ปฏิบัติให้ถูกต้องแล้ว การลงโทษปรับจำเลยหลังจากวันนั้นจึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอและเกินไปกว่าที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นควรพิพากษาแก้โทษจำเลยให้ถูกต้องตรงกับคำฟ้อง
การที่จำเลยทำการก่อสร้างอาคารพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21 อันเป็นการกระทำผิดสำเร็จแล้ว และมาตรา 40 บัญญัติว่า ในกรณีที่มีการก่อสร้างโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจ สั่งให้ระงับการก่อสร้างและพิจารณาสั่งตามมาตรา 41 หรือมาตรา 42 แล้วแต่กรณี การสั่งตามมาตรา 41 หรือมาตรา 42 หมายถึงการสั่งให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องและหากเจ้าของอาคารมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งหรือไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนได้ แต่โจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยรื้อถอนจึงไม่ต้องพิจารณาว่ากรณีของจำเลยเป็นเรื่องที่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้หรือไม่ เมื่อจำเลยก่อสร้างโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเจ้าพนักงาน ท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้าง แต่จำเลยทราบคำสั่งแล้วจำเลยยังคงก่อสร้างต่อไปจำเลยย่อมมีความผิดตามมาตรา 40 (1) และกรณีนี้มิใช่กฎหมายที่บัญญัติในภายหลังว่า การกระทำดังกล่าวของจำเลยไม่เป็นความผิด จึง ไม่มีอาจนำบทบัญญัติมาตรา 2 วรรคสอง แห่ง ป.อ. มาบังคับได้
จำเลยได้รับหนังสือจากนายกเทศมนตรีให้ระงับการก่อสร้างอาคารพิพาทเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2539 โดย ลูกจ้างของจำเลยเป็นผู้รับแทน และเมื่อพนักงานสอบสวนไปตรวจที่เกิดเหตุในวันที่ 2 ตุลาคม 2539 ก็พบคนงานกำลังก่อสร้างอาคารพิพาทอยู่ ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน 2539 ถึงวันที่ 2 ตุลาคม 2539 รวมเป็นเวลา 121 วัน แต่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยฝ่าฝืนคำสั่ง 120 วัน นับว่าเป็นคุณแก่จำเลยอยู่แล้ว และเมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดฐาน ฝ่าฝืนคำสั่งพนักงานท้องถิ่นเพียง 120 วัน ทั้งฟ้องว่าระหว่างวันที่ 27 พฤษภาคม 2539 ถึงวันที่ 2 ตุลาคม 2539 (รวมเวลา 129 วัน) จำเลยก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น การที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษปรับจำเลยรายวันตลอดมาจนถึงวันฟ้องและหลังจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยจะปฏิบัติให้ถูกต้องจึงไม่ชอบ เพราะเมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดดังกล่าวเพียงถึงวันที่ 2 ตุลาคม 2539 แสดงว่าหลังจากวันนั้นจำเลยอาจมิได้ฝ่าฝืนคำสั่งหรือได้ปฏิบัติให้ถูกต้องแล้ว การลงโทษปรับจำเลยหลังจากวันนั้นจึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอและเกินไปกว่าที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นควรพิพากษาแก้โทษจำเลยให้ถูกต้องตรงกับคำฟ้อง
การที่จำเลยทำการก่อสร้างอาคารพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21 อันเป็นการกระทำผิดสำเร็จแล้ว และมาตรา 40 บัญญัติว่า ในกรณีที่มีการก่อสร้างโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจ สั่งให้ระงับการก่อสร้างและพิจารณาสั่งตามมาตรา 41 หรือมาตรา 42 แล้วแต่กรณี การสั่งตามมาตรา 41 หรือมาตรา 42 หมายถึงการสั่งให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องและหากเจ้าของอาคารมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งหรือไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนได้ แต่โจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยรื้อถอนจึงไม่ต้องพิจารณาว่ากรณีของจำเลยเป็นเรื่องที่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้หรือไม่ เมื่อจำเลยก่อสร้างโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเจ้าพนักงาน ท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้าง แต่จำเลยทราบคำสั่งแล้วจำเลยยังคงก่อสร้างต่อไปจำเลยย่อมมีความผิดตามมาตรา 40 (1) และกรณีนี้มิใช่กฎหมายที่บัญญัติในภายหลังว่า การกระทำดังกล่าวของจำเลยไม่เป็นความผิด จึง ไม่มีอาจนำบทบัญญัติมาตรา 2 วรรคสอง แห่ง ป.อ. มาบังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5793/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การข่มขืนกระทำชำเราโดยใช้อาวุธเทียม การพิจารณาโทษตามมาตรา 276 วรรคหนึ่งและวรรคสอง
จำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย ซึ่งมิใช่ภริยาของจำเลยและผู้เสียหายเป็นผู้เยาว์อายุเกินสิบห้าปี แต่ยังไม่เกินสิบแปดปีโดยจำเลยขับรถพาผู้เสียหายไป เมื่อจำเลยจอดรถแล้วบังคับให้ผู้เสียหายถอดเสื้อผ้า ผู้เสียหายไม่ยอมถอดจำเลยบอกว่าหากไม่ถอดจะยัดเยียดข้อหายาบ้าให้และต่อมาจำเลยหยิบอาวุธปืนมาขู่ ผู้เสียหายเกิดความกลัวจึงยอมให้จำเลยกระทำชำเรา แต่พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบได้ความเพียงว่า จำเลยได้ใช้อาวุธปืนขู่ผู้เสียหายไม่ให้ขัดขืนจนผู้เสียหายเกิดความกลัวเท่านั้น ส่วนอาวุธปืนที่ใช้ขู่ โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าเป็นอาวุธปืนตาม พ.ร.บ. อาวุธปืน ฯ หรือไม่ และตามผลการตรวจพิสูจน์ปรากฏว่าอาวุธปืนของกลางเป็นสิ่งเทียมอาวุธปืนพกอัดลมชนิดใช้ยิงกับลูกกระสุนพลาสติกทรงกลมขนาด 6 มม. ซึ่งใช้ยิงทำอันตรายแก่ชีวิตและวัตถุไม่ได้ มิใช่อาวุธปืนตาม พ.ร.บ. อาวุธปืน ฯ การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคหนึ่ง มิใช่วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5706/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีอาญาต้องสอดคล้องกับฟ้อง หากข้อเท็จจริงต่างกัน ต้องยกฟ้อง แม้มีหลักฐานอื่นสนับสนุน
โจทก์ฟ้องยืนยันว่าจำเลยที่ 1 ก่อให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดด้วยการใช้ จ้าง วานให้จำเลยที่ 2 และ ที่ 3 ร่วมกันฆ่าผู้ตายแต่ในการพิจารณาศาลชั้นต้นพยานหลักฐานของโจทก์ยังไม่พอรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดตามฟ้อง แม้ข้อเท็จจริงในการพิจารณาจะรับฟังได้ตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นว่าจำเลยที่ 1 ได้ใช้ จ้าง วานให้ผู้อื่นซึ่งมิใช่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไปฆ่าผู้ตาย ก็เป็นกรณีที่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับ ข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ ศาลชั้นต้นต้องพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 ด้วย การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดและลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 288, 84 จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะพิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 215 ประกอบด้วยมาตรา 192 วรรคสอง แม้ศาลอุทธรณ์เห็นว่าพยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมายังมีข้อสงสัยตามสมควรว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามฟ้องจริงหรือไม่จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นและพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นรับฟังในการพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 เป็นกรณีที่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวในคำฟ้องในข้อสาระสำคัญ อันเป็นเหตุให้ต้องพิพากษายกฟ้องแล้ว จึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ที่ โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5688/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีซีดีละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อขาย แม้ไม่มีการล่อซื้อ ก็ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์
จำเลยเอากล่องซีดีภาพยนตร์พร้อมปกซึ่งมีภาพและชื่อของภาพยนตร์เรื่องต่าง ๆ ประมาณ 100 เรื่อง วางแสดงไว้ที่หน้าร้านเพื่อเตรียมไว้เสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไป แม้ภายในกล่องจะไม่มีแผ่นซีดีภาพยนตร์อยู่ก็ตาม แต่จำเลยก็สามารถไปนำแผ่นซีดีภาพยนตร์ที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของกลางที่อยู่หลังร้านออกมาขายให้แก่ผู้ซื้อได้ หากจำเลยมีแผ่นซีดีภาพยนตร์ของกลางไว้โดยไม่มีเจตนาเพื่อจะขายแผ่นซีดีและแม้คดีนี้จะไม่มีการล่อซื้อแผ่นซีดีภาพยนตร์จากจำเลย แต่การที่จำเลยมีแผ่นซีดีภาพยนตร์หลายเรื่องหลายแผ่นไว้ พร้อมทั้งมีการวางกล่องกับปกซีดีภาพยนตร์ไว้ในร้านแสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยได้ว่าจำเลยมีแผ่นซีดีภาพยนตร์ของกลางไว้เพื่อขายแล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 31 (1), 70 วรรคสอง
จำเลยกระทำผิดโดยเพียงแต่มีแผ่นซีดีภาพยนตร์ซึ่งมีบุคคลอื่นทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมทั้งเจ็ดไว้เพื่อขายจำนวนเพียง 102 แผ่น ตามคำฟ้องของโจทก์ที่ขอให้จ่ายเงินค่าปรับกึ่งหนึ่งให้แก่ผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ก็มิได้ขอให้จ่ายเงินแก่ผู้เสียหายคนละเท่า ๆ กัน และไม่ปรากฏเหตุอันควรที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศจะพิพากษาให้จ่ายเงินค่าปรับกึ่งหนึ่งแก่ผู้เสียหายทั้งเจ็ดซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ที่เข้าเป็นโจทก์ร่วมคนละเท่า ๆ กัน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรแก้ไขเป็นให้จ่ายเงินค่าปรับที่จำเลยได้ชำระตามคำพิพากษากึ่งหนึ่งให้แก่โจทก์ร่วมทั้งเจ็ดตามคำขอในคำฟ้องของโจทก์เท่านั้น
จำเลยกระทำผิดโดยเพียงแต่มีแผ่นซีดีภาพยนตร์ซึ่งมีบุคคลอื่นทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมทั้งเจ็ดไว้เพื่อขายจำนวนเพียง 102 แผ่น ตามคำฟ้องของโจทก์ที่ขอให้จ่ายเงินค่าปรับกึ่งหนึ่งให้แก่ผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ก็มิได้ขอให้จ่ายเงินแก่ผู้เสียหายคนละเท่า ๆ กัน และไม่ปรากฏเหตุอันควรที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศจะพิพากษาให้จ่ายเงินค่าปรับกึ่งหนึ่งแก่ผู้เสียหายทั้งเจ็ดซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ที่เข้าเป็นโจทก์ร่วมคนละเท่า ๆ กัน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรแก้ไขเป็นให้จ่ายเงินค่าปรับที่จำเลยได้ชำระตามคำพิพากษากึ่งหนึ่งให้แก่โจทก์ร่วมทั้งเจ็ดตามคำขอในคำฟ้องของโจทก์เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5659/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมลายมือชื่อในเอกสารสำคัญและการดำเนินคดีอาญา ความรับผิดของผู้ที่มอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการแทน
จำเลยเป็นผู้ปลอมลายมือชื่อของผู้เสียหายและโจทก์ร่วมแม้จำเลยจะมิได้นำเอกสารปลอมไปแสดงด้วยตนเอง แต่จำเลยมอบอำนาจให้ ส. ไปดำเนินการแทน โดย ส. ไม่ทราบว่าเป็นเอกสารปลอม การที่ ส. ไปดำเนินการยื่นเอกสารปลอมแทนจำเลย ก็มีผลเท่ากับจำเลยไปดำเนินการด้วยตนเอง
ตามฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องจำเลยทำปลอมสัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติม แม้ทางพิจารณาจะได้ความว่ามีการทำปลอมมาตั้งแต่คำขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด ก็ไม่มีผลถึงหรือทำให้การกระทำความผิดของจำเลยตามที่โจทก์ ฟ้องเปลี่ยนแปลงไป ข้อแตกต่างดังกล่าวมิใช่ข้อสาระสำคัญ ทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้เพราะให้การปฏิเสธมาตลอดว่า ไม่ได้กระทำความผิด จึงไม่เป็นเหตุให้ศาลต้องพิพากษายกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นลายมือชื่อปลอม จึงฟังไม่ได้ว่ามีการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. ข้อเท็จจริงดังกล่าวปรากฏตามทางนำสืบของโจทก์และโจทก์ร่วมอยู่แล้ว เพียงแต่ศาลชั้นต้น มิได้ยกขึ้นวินิจฉัย การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหานี้จึงมิใช่การหยิบยกข้อเท็จจริงที่มิได้ว่ากันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้นขึ้นวินิจฉัย
จำเลยปลอมลายมือชื่อของผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 และโจทก์ร่วมในสัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติมของห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. และยื่นจดทะเบียนแก้ไขถอนผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 และที่โจทก์ร่วมออกจากการเป็นหุ้นส่วน อันเป็นการ จำกัดสิทธิในห้างหุ้นส่วนดังกล่าว ผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 และโจทก์ร่วมเป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำของจำเลย โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหาย
พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานปลอมเอกสารสิทธิ ใช้เอกสารสิทธิปลอม แจ้งให้เจ้าพนักงาน จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการและฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย เฉพาะความผิดฐานใช้เอกสารปลอมเพียงกระทงเดียว เท่ากับศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์ในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกง ซึ่งความผิดฐานนี้มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ความผิดฐานฉ้อโกง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ และโจทก์มิได้ยื่นอุทธรณ์ ความผิดฐานฉ้อโกงจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกความผิดฐานฉ้อโกงขึ้นวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้อง ในความผิดฐานนี้จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 ประกอบด้วยมาตรา 225
เมื่อความผิดฐานฉ้อโกงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว ฎีกาของโจทก์ร่วมในส่วนความผิดฐานฉ้อโกง จึงไม่จำต้องวินิจฉัย
ตามฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องจำเลยทำปลอมสัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติม แม้ทางพิจารณาจะได้ความว่ามีการทำปลอมมาตั้งแต่คำขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด ก็ไม่มีผลถึงหรือทำให้การกระทำความผิดของจำเลยตามที่โจทก์ ฟ้องเปลี่ยนแปลงไป ข้อแตกต่างดังกล่าวมิใช่ข้อสาระสำคัญ ทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้เพราะให้การปฏิเสธมาตลอดว่า ไม่ได้กระทำความผิด จึงไม่เป็นเหตุให้ศาลต้องพิพากษายกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นลายมือชื่อปลอม จึงฟังไม่ได้ว่ามีการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. ข้อเท็จจริงดังกล่าวปรากฏตามทางนำสืบของโจทก์และโจทก์ร่วมอยู่แล้ว เพียงแต่ศาลชั้นต้น มิได้ยกขึ้นวินิจฉัย การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหานี้จึงมิใช่การหยิบยกข้อเท็จจริงที่มิได้ว่ากันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้นขึ้นวินิจฉัย
จำเลยปลอมลายมือชื่อของผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 และโจทก์ร่วมในสัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติมของห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. และยื่นจดทะเบียนแก้ไขถอนผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 และที่โจทก์ร่วมออกจากการเป็นหุ้นส่วน อันเป็นการ จำกัดสิทธิในห้างหุ้นส่วนดังกล่าว ผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 และโจทก์ร่วมเป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำของจำเลย โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหาย
พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานปลอมเอกสารสิทธิ ใช้เอกสารสิทธิปลอม แจ้งให้เจ้าพนักงาน จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการและฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย เฉพาะความผิดฐานใช้เอกสารปลอมเพียงกระทงเดียว เท่ากับศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์ในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกง ซึ่งความผิดฐานนี้มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ความผิดฐานฉ้อโกง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ และโจทก์มิได้ยื่นอุทธรณ์ ความผิดฐานฉ้อโกงจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกความผิดฐานฉ้อโกงขึ้นวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้อง ในความผิดฐานนี้จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 ประกอบด้วยมาตรา 225
เมื่อความผิดฐานฉ้อโกงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว ฎีกาของโจทก์ร่วมในส่วนความผิดฐานฉ้อโกง จึงไม่จำต้องวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5395/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากไม่มีลายมือชื่อโจทก์ แม้ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีไปแล้ว ศาลฎีกายกฟ้อง
คดีอาญาที่โจทก์มิได้ลงลายมือชื่อไว้ในฟ้องเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (7) แต่การที่ศาลฎีกา จะสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้องหรือไม่ประทับฟ้องตามมาตรา 161 วรรคหนึ่ง ก็ล่วงเลยเวลาที่จะปฏิบัติได้ เพราะศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาจนเสร็จสิ้นแล้ว ศาลฎีกาไม่อาจพิจารณาฟ้องของโจทก์ได้จึงต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลย