คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 195

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,039 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11654/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท: ฆ่าและพยายามลักทรัพย์ ศาลฎีกาลงโทษตามบทที่มีโทษหนักที่สุด
จำเลยกระทำความผิดฐานฆ่าผู้ตายและฐานพยายามลักทรัพย์ จำเลยมีเจตนาประสงค์ต่อทรัพย์ของผู้ตายเพียงอย่างเดียว จึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 289 (7) ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดเพียงบทเดียว ตาม ป.อ. มาตรา 90 ที่ศาลล่างทั้งสองเรียงกระทงลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 91 เป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้แม้คู่ความมิได้ฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 ให้ลงโทษจำเลย ป.อ. มาตรา 289 (7) ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตาม ป.อ. มาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11351/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสนับสนุนการครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย และความผิดฐานครอบครองยาเสพติด โดยการฟ้องจำกัดเฉพาะกรรมเดียว
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีน 149 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าว 2 เม็ด คดีของจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ยกฟ้อง ส่วนความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีน 2 เม็ด ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต โจทก์และจำเลยที่ 2 ไม่ฎีกา ความผิดฐานนี้จึงยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีน 145 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ความผิดฐานดังกล่าวจึงเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่งแยกต่างหากจากความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีน 2 เม็ด ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีน 149 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเพียงกรรมเดียว มิได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานมีเมทแอมเฟตามีน 2 เม็ด ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นอีกกรรมหนึ่ง จึงไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีน 2 เม็ด ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตได้ ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษ จำเลยที่ 2 ฐานมีเมทแอมเฟตามีน 2 เม็ด ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตอีกกรรมหนึ่งจึงไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10978/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้อลักทรัพย์/รับของโจร เพราะศาลอุทธรณ์ตัดสินลงโทษแล้ว และจำเลยได้รับประโยชน์จาก พ.ร.บ. ล้างมลทิน
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรฐานใดฐานหนึ่ง เมื่อปรากฏว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยฐานรับของโจร ต้องถือว่าศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยเต็มตามความประสงค์ของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมไม่อาจฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ เพื่อให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์ได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9900/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กฎหมายเลือกตั้งใหม่ยกเลิกความผิดเดิม ทำให้จำเลยพ้นจากความผิดฐานก่อให้เกิดความวุ่นวายในการเลือกตั้ง
ในขณะที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้มี พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม 2545 เป็นต้นไป และเมื่อปี 2546 มีการออกพระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติดังกล่าวแก่การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นทุกประเภท ซึ่งตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้ยกเลิก พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลทุกฉบับ และ พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 ไม่ได้บัญญัติถึงลักษณะความผิดฐานก่อให้เกิดการวุ่นวายในที่เลือกตั้งตามที่โจทก์ฟ้องไว้อีก จึงเป็นกรณีที่กฎหมายที่บัญญัติในภายหลังมิได้กำหนดให้การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดต่อไป จำเลยที่ 1 จึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นความผิดเช่นนี้ จึงเป็นเหตุยกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185
ปัญหาว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นความผิด อันเป็นเหตุยกฟ้องหรือไม่นั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายนี้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจหยิบยกปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยนี้ขึ้นวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องโจทก์ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง, 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215, 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9555/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีการกู้ยืมที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน: เฉพาะรัฐเท่านั้นที่มีอำนาจฟ้องและดำเนินคดี
พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 เป็นบทบัญญัติที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา โดยได้บัญญัติถึงวิธีการและลักษณะการกู้ยืมในกรณีเช่นนี้ไว้ รวมถึงการปราบปรามการกระทำที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนและวางมาตรการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากการถูกหลอกลวง และรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐเท่านั้นมีอำนาจใช้มาตรการดังกล่าว ดังนี้ รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหายที่มีอำนาจฟ้อง โจทก์ร่วมทั้งแปดไม่มีอำนาจฟ้อง จึงไม่อาจขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในความผิดตามพระราชกำหนดดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์ในข้อหาดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบ แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์และฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9243/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขัดขวางการจับกุม-การแสดงตัวเจ้าพนักงาน: สิทธิในการปกป้อง-เจตนาขัดขวาง
ขณะเกิดเหตุเวลาประมาณ 20 นาฬิกา สิบตำรวจเอก ว. กับพวกมิได้แต่งเครื่องแบบเจ้าพนักงานตำรวจ เข้าทำการตรวจค้นจับกุม ส. เป็นการตรวจค้นจับกุมในยามค่ำคืน บุคคลทั่วไปย่อมเกรงว่าผู้ที่เข้าตรวจค้นจับกุมเป็นเจ้าพนักงานตำรวจจริงหรือไม่ ทั้งข้อหาที่ ส. กระทำความผิดก็เพียงมีเมทแอมเฟตามีน 1 เม็ด ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเป็นความผิดไม่ร้ายแรงนัก สิบตำรวจเอก ว. กับพวกมิได้แสดงตัวว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจโดยแสดงบัตรประจำตัวให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ดู การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เพียงแต่ร่วมกันใช้กำลังผลักดันและกระชากแขนเจ้าพนักงานตำรวจเพียงเพื่อต้องการปกป้อง ส. ซึ่งเป็นน้องชายจำเลยที่ 1 ตามสมควร ไม่มีเจตนาต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติการตามหน้าที่ จึงไม่ได้กระทำความผิด
เมื่อคดีฟังว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้กระทำความผิด การกระทำของจำเลยที่ 3 จึงไม่อาจเป็นการร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สามคนขึ้นไปตาม ป.อ. มาตรา 140 วรรคแรก คงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 138 วรรคสอง เท่านั้น ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสองประกอบ มาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4946/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีฟ้องเท็จ: กรณีตัวการร่วมและอำนาจของกรรมการในการดำเนินคดีแทนสมาคม
แม้จำเลยบรรยายฟ้องว่าโจทก์ทั้งสิบสองร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลว่า เอาความอันเป็นเท็จฟ้องจำเลยต่อศาล แต่ความจริงเป็นกรณีที่สมาคม ย. เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฎว่าโจทก์ทั้งสิบสองกระทำการในฐานะกรรมการอำนวยการซึ่งเป็นผู้แทนของสมาคมที่เป็นนิติบุคคลและเป็นผู้มีอำนาจดำเนินกิจการของสมาคม ย. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 70 และ 86 ประกอบกับธรรมนูญและข้อบังคับของสมาคมกำหนดให้คณะกรรมการอำนวยการของสมาคม ทำหน้าที่บริหารงานของสมาคม ทั้งในขณะที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 11 ทำหนังสือมอบให้โจทก์ที่ 12 ฟ้องจำเลยดังกล่าว โจทก์ที่ 1 เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งนายกสมาคม ย. โดยคณะกรรมการอำนวยการมีมติให้โจทก์ที่ 1 มีอำนาจในการสั่งการและลงนามในเอกสารใดๆ เสมือนเป็นนายกสมาคมทุกประการ ถือได้ว่าโจทก์ทั้งสิบสองเป็นตัวการร่วมกับสมาคม ย. ฟ้องจำเลยด้วย จำเลยจึงมีอำนาจฟ้องโจทก์ทั้งสิบสองเป็นคดีอาญาดังกล่าวได้ ที่จำเลยฟ้องโจทก์ทั้งสิบสองเป็นคดีดังกล่าวจึงไม่เป็นฟ้องเท็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3753/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค้าเด็กข้ามชาติ: ศาลฎีกาพิพากษาโทษจำเลยร่วมกันกระทำผิด มีการใช้กฎหมายใหม่และพิจารณาโทษเดิม
การที่จำเลยที่ 2 ร่วมกันกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 ลักลอบนำเด็กทารกข้ามแดนไปในประเทศมาเลเซียเพื่อส่งให้แก่นาง อ. พี่สาวจำเลยที่ 2 จึงเป็นความผิดฐานสมคบกันกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้าเด็ก และฐานรับไว้ จำหน่าย เป็นธุระจัดหา และพาเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปโดยทุจริต แต่การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวเพื่อจะส่งเด็กทารกไปให้นาง อ. จึงเป็นการกระทำกรรมเดียว เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย และเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษามาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 และที่ 3 ที่มิได้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง และ 213 ประกอบมาตรา 225
ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มี พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 มาตรา 3 ยกเลิก พ.ร.บ.มาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก พ.ศ.2540 แต่ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 มาตรา 6 (2) ยังคงบัญญัติให้การกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้าเด็กตามฟ้องเป็นความผิดโดยมีบทลงโทษตามมาตรา 52 วรรคสาม ระวางโทษจำคุกตั้งแต่แปดปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนหกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท จึงเป็นกรณีกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด แต่เนื่องจากความผิดเกี่ยวกับการค้าเด็กตาม พ.ร.บ.มาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก พ.ศ.2540 มาตรา 7 ระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ จึงเป็นกรณีที่กฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลย ต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3
การที่โจทก์มีคำขอท้ายฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 ให้ลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 3 ตามฟ้อง จึงพอแปลได้ว่า โจทก์ขอให้ศาลฎีกาลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 3 ในความผิดฐานอื่นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายกฟ้องนั่นเอง แต่ฎีกาของโจทก์ดังกล่าวมิได้โต้แย้งคัดค้านว่าศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาไม่ชอบอย่างไร และไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 เพราะเหตุใด จึงเป็นฎีกาที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 อันเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 216 แม้ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์ส่วนนี้ไว้ ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2385-2387/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนใจ, หน่วงเหนี่ยว, บังคับให้ทำสัญญา, แสดงตนเป็นเจ้าพนักงาน, ความผิดฐานอาญา
จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ร่วมกันขับรถยนต์ปาดหน้ารถยนต์โจทก์ร่วม แสดงตนเป็นเจ้าพนักงานตำรวจแล้วคุมตัวโจทก์ร่วมไปเจรจาหนี้สินกันโดยบังคับโจทก์ร่วมให้ใช้หนี้แก่จำเลยที่ 7 แทนจำเลยที่ 3 พฤติการณ์เป็นการร่วมกันวางแผนโดยแบ่งหน้าที่กันทำอันเป็นการกระทำความผิดฐานข่มขืนใจผู้อื่นให้จำยอมต่อจำเลยทั้งเจ็ดกับพวก โดยกระทำให้เกิดความกลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย และเสรีภาพของผู้อื่น อันเป็นการกระทำผิดด้วยกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปตาม ป.อ. มาตรา 309 วรรคสอง และหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่นให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกายตาม ป.อ. มาตรา 310 วรรคแรก
การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ยืนล้อมคุมเชิงโต๊ะเจรจาระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 4 และที่ 7 ไว้ เป็นพฤติการณ์ในเชิงข่มขู่โจทก์ร่วมอยู่ในตัว เพราะก่อนมีการเจรจา โจทก์ร่วมถูกบังคับใส่กุญแจมือมาพบจำเลยที่ 4 และที่ 7 ทั้งจำเลยที่ 4 ยังได้เตรียมแบบพิมพ์สัญญายืมและสัญญาค้ำประกันที่มีการกรอกข้อความว่าโจทก์ร่วมเป็นผู้ยืมสิ่งของจากจำเลยที่ 4 และจำเลยที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกัน โจทก์ร่วมซึ่งตกอยู่ในภาวะดังกล่าวจำยอมต้องลงชื่อในสัญญาดังกล่าว ดังนี้ แม้โจทก์ร่วมจะเป็นหนี้จำเลยที่ 3 อยู่ก็ตาม แต่จำเลยทั้งเจ็ดก็ไม่มีสิทธิใช้วิธีการที่ผิดกฎหมายในการบังคับให้โจทก์ร่วมจำยอมต้องชำระหนี้แทนจำเลยที่ 3 จึงเป็นการร่วมกันข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้ตนเองได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน ทำสัญญายืมสร้อยคอทองคำ ซึ่งเป็นเอกสารสิทธิจากจำเลยทั้งเจ็ด อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 337 วรรคแรก อีกฐานหนึ่งด้วย แต่การกระทำของจำเลยทั้งเจ็ดเป็นการกระทำผิดต่อเนื่องและมีเจตนาเดียวกัน จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
หลังจากจำเลยที่ 1 ขับรถปาดหน้ารถยนต์ของโจทก์ร่วมให้หยุดรถ จำเลยที่ 6 ซึ่งไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานตำรวจได้เดินมาที่รถโจทก์ร่วมและบอกโจทก์ร่วมกับผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 ว่า เป็นเจ้าพนักงานตำรวจ แล้วจับโจทก์ร่วมใส่กุญแจมือควบคุมตัวไปพบจำเลยที่ 4 และที่ 7 ถือได้ว่าจำเลยที่ 6 แสดงตนเป็นเจ้าพนักงานตำรวจและกระทำการเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ การกระทำของจำเลยที่ 6 จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 145 วรรคแรกด้วย แต่เป็นการกระทำต่อเนื่องกันไปโดยมีเจตนาเดียวเพื่อบังคับให้โจทก์ร่วมชำระหนี้ให้จำเลยที่ 7 แทนจำเลยที่ 3 จึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษจำเลยที่ 6 ตาม ป.อ. มาตรา 337 วรรคแรก ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดเพียงบทเดียว ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 917/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาเพิ่มเติมโทษโดยศาลอุทธรณ์โดยโจทก์มิได้อุทธรณ์ และการพิสูจน์ความผิดของจำเลยที่ 2 จากพยานหลักฐานที่ไม่เพียงพอ
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุก 4 ปี ฐานจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 จำคุก 4 ปี และฐานมีอาวุธปืนไม่มีเครื่องหมายทะเบียนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำคุก 1 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสี่ตาม ป.อ. มาตรา 78 คงจำคุก 6 ปี 8 เดือน ซึ่งเป็นการไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้องเป็นจำคุก 6 ปี 9 เดือน โจทก์ไม่อุทธรณ์ถือว่าโจทก์พอใจในคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยฝ่ายเดียวอุทธรณ์ การพิจารณาพิพากษาชั้นอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 บัญญัติว่า "คดีที่จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาที่ให้ลงโทษ ห้ามมิให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย เว้นแต่โจทก์จะได้อุทธรณ์ในทำนองนั้น" ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาโดยเติมข้อความในวงเล็บในส่วนคำพิพากษาของศาลชั้นต้นว่า "(ที่ถูก 6 ปี 9 เดือน)" ทำให้ศาลชั้นต้นออกหมายจำคุกจำเลยที่ 1 เมื่อคดีถึงที่สุดเป็น จำคุก 6 ปี 9 เดือน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 ดังกล่าวจึงเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 1 โดยโจทก์มิได้อุทธรณ์ จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความจะมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
of 104