คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ป่าไม้ ม. 11

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2310/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานทำไม้ผิดกฎหมาย, มีเลื่อยโซ่ยนต์ผิดกฎหมาย และการริบของกลาง
การคัดสำเนา พ.ร.ฎ.กำหนดไม้หวงห้ามฯ ประกาศไว้ตามสถานที่ต่าง ๆ ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ มาตรา 5 นั้นไม่ใช่องค์ประกอบความผิดข้อหาใดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ หากแต่เป็นเพียงวิธีการให้พนักงานเจ้าหน้าที่กระทำเพื่อมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดโต้แย้งว่ายังไม่ทราบ พ.ร.ฎ. ดังกล่าวเท่านั้น โจทก์จึงไม่จำต้องบรรยายเรื่องการคัดสำเนา พ.ร.ฎ. ดังกล่าวมาในฟ้องด้วย แม้โจทก์จะมิได้บรรยายเรื่องการคัดสำเนา พ.ร.ฎ. ดังกล่าวมาในฟ้อง ฟ้องโจทก์ก็เป็นฟ้องที่สมบูรณ์และชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
ไม้สักไม่ว่าจะขึ้นอยู่ที่ใดในราชอาณาจักรเป็นไม้หวงห้ามตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ มาตรา 7 วรรคหนึ่ง การตัดฟันจะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 11 หากฝ่าฝืนมีความผิดต้องระวางโทษตามมาตรา 73 วรรคสอง (1) ส่วนการมีไม้สักอันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่มีรอยตราค่าภาคหลวงหรือรอยตรารัฐบาลขาย ก็มีความผิดต้องระวางโทษตามมาตรา 69 วรรคสอง (1) เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 5 มีความผิดฐานทำไม้สักโดยไม่ได้รับอนุญาตและมีไม้สักอันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม้ของกลางจึงเป็นไม้อันได้มาจากการกระทำความผิดต้องริบตามมาตรา 74
ความผิดฐานมีเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตกับความผิดฐานรับไว้ซึ่งเลื่อยโซ่ยนต์โดยรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร เนื่องจากการรับไว้โดยประการใด ๆ และการมีไว้ในครอบครองซึ่งเลื่อยโซ่ยนต์ของกลางมีลักษณะที่เกี่ยวเนื่องเป็นการกระทำเดียวกัน การกระทำของจำเลยที่ 5 ในสองฐานความผิดดังกล่าว จึงเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่ผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 90 เมื่อความผิดทั้งสองฐานดังกล่าว มีระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีเท่ากันแต่คดีนี้ราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วเป็นเงิน 6,259 บาท หากมีการลงโทษปรับสูงสุดตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 27 ทวิ จะลงโทษปรับได้เป็นเงิน 25,036 บาท แต่ตาม พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ฯ มาตรา 17 วรรคหนึ่ง ลงโทษปรับได้สูงสุดหนึ่งแสนบาท จึงถือว่าโทษปรับตาม พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ฯ มาตรา 17 วรรคหนึ่ง เป็นบทที่มีโทษหนักกว่า ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5976/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษทางอาญาและการลงโทษกรรมเดียวผิดหลายบทในคดีป่าไม้ ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขโทษให้ถูกต้อง
จำเลยฎีกาขอให้สั่งคืนของกลางให้แก่จำเลย ในทำนองว่าศาลอุทธรณ์ภาค 6 ไม่ควรริบของกลาง เป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาล อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้โดยเพียงแต่ปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องเท่านั้นซึ่งเป็นการแก้ไขเล็กน้อย จึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ความผิดฐานทำไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตและฐานก่นสร้างแผ้วถางป่าตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 11,73 วรรคหนึ่ง และมาตรา 54,72 ตรี วรรคหนึ่ง เป็นการกระทำความผิดในคราวเดียวกัน จึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษตามกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุด เมื่อโทษดังกล่าวต่างมีระวางโทษเท่ากันจึงให้ลงโทษฐานทำไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาในปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องและเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ไม่ได้ฎีกาด้วยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5350/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำไม้หวงห้าม: การคัดสำเนา พรบ.ป่าไม้ ไม่ใช่องค์ประกอบความผิด
การคัดสำเนา พระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้ามฯ ไว้ตามสถานที่ต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 5 นั้น ไม่ใช่องค์ประกอบความผิดข้อหาทำไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต หากแต่เป็นเพียงวิธีการให้พนักงานเจ้าหน้าที่กระทำเพื่อมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดโต้แย้งว่ายังไม่ทราบพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเท่านั้น โจทก์จึงไม่จำต้องบรรยายเรื่องการคัดสำเนา พระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้ามฯ มาในฟ้องด้วย ทั้งการที่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องและนำสืบเกี่ยวกับข้อเท็จจริงนี้ ก็หามีผลทำให้จำเลยทั้งห้าไม่ทราบว่าไม้ของกลางเป็นไม้หวงห้ามไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2097/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำไม้ในเขตป่าสงวน-เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า: การปรับบทความผิดและหลักการลงโทษกรรมเดียว-หลายกรรม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทำไม้อันเป็นการทำให้เสื่อม สภาพป่า อันเป็นป่าสงวนแห่งชาติและเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าบริเวณเขาบรรทัด กับมีคำขอท้ายฟ้องขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 11,73พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14,31และพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535มาตรา 38,54 เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพผิดตามฟ้องการกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดต่อกฎหมายทั้งสามฉบับดังกล่าว อีกทั้งความผิดตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯ มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ก็มีโทษหนักกว่าความผิดตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติฯ มาตรา 31 วรรคหนึ่งด้วย ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทว่าความผิดฐานตัดโค่นไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติกับความผิดฐานตัดโค่นไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเป็นความผิดกรรมเดียวกันให้ลงโทษฐานตัดโค่นไม้ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติฯซึ่งเป็นบทหนักจึงไม่ถูกต้อง อีกทั้งความผิดฐานแปรรูปไม้หวงห้าม และมีไม้หวงห้ามแปรรูปไว้ในครอบครองก็เป็นความผิดที่ผู้กระทำมีเจตนาต่างกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยแม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมาศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง โดยไม่แก้โทษที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษามาเพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 633/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทำไม้หวงห้ามในเขตป่าสงวน: ศาลปรับบทลงโทษและลดโทษจำเลย
จำเลยทั้งสามร่วมกันทำไม้หวงห้ามในเขตป่าสงวนแห่งชาติและทำให้เสื่อมสภาพป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทคือเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯมาตรา11,73วรรคสองโทษจำคุกตั้งแต่1ปีถึง20ปีและปรับตั้งแต่5,000บาทถึง200,000บาทและเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติฯมาตรา14,31วรรคสองโทษจำคุกตั้งแต่2ปีถึง15ปีและปรับตั้งแต่20,000บาทถึง150,000บาทจึงต้องลงโทษตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯมาตรา11,73วรรคสองอันเป็นบทหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา90 เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฎจำเลยจำเลยทั้งสามทำไม้หวงห้ามในลักษณะเป็นนายทุนมีอิทธิพลเพื่อทำลายป่าแต่จำเลยได้ร่วมกันตัดฟันทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติมีปริมาตรถึง32.38ลูกบาศก์เมตรนับว่าทำไม้จำนวนมากจึงไม่มีเหตุรอการลงโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4702/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนและฟ้องคดีอาญา: การกำหนดเขตอำนาจและขอบเขตการสอบสวนความผิดหลายกระทง
คดีนี้ไม่ว่าความผิดอาญาได้เกิดในเขตอำเภอ ดอนสักจังหวัดสุราษฎร์ธานีหรือเกิดในเขตอำเภอ ขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราชก็ตามแต่เมื่อปรากฎว่าจำเลยทั้งเจ็ดมีที่อยู่ในเขตอำนาจของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอ ขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราชแล้วพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอ ขนอม ย่อมมีอำนาจสอบสวนความผิดคดีนี้ได้การสอบสวนจึงชอบแล้วโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องต่อศาลชั้นต้นซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนในท้องที่ดังกล่าวได้ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา134นั้นหาได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกกระทงความผิดไม่แม้เดิมตั้งข้อหาหนึ่งแต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฎว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดข้อหาอื่นด้วยก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดข้อหาหลังตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา120แล้วทั้งการทำไม้หวงห้ามการแปรรูปไม้ในเขตควบคุมการมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองและการมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นการกระทำอันเป็นความผิดต่างกรรมกันดังนั้นแม้จะมิได้มีการแจ้งข้อหาจำเลยที่4และที่7ฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปแต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฎว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดข้อหานี้ด้วยก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดข้อหานี้แล้วโจทก์มีอำนาจฟ้องศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยที่4และที่7ในความผิดข้อหานี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4702/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนคดีอาญา: พิจารณาจากภูมิลำเนาจำเลย และการสอบสวนความผิดต่างกรรม
คดีนี้ไม่ว่าความผิดอาญาได้เกิดในเขตอำเภอ ดอนสักจังหวัดสุราษฎร์ธานีหรือเกิดในเขตอำเภอ ขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราชก็ตามแต่เมื่อปรากฎว่าจำเลยทั้งเจ็ดมีที่อยู่ในเขตอำนาจของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอ ขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราชแล้วพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอ ขนอม ย่อมมีอำนาจสอบสวนความผิดคดีนี้ได้การสอบสวนจึงชอบแล้วโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องต่อศาลชั้นต้นซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนในท้องที่ดังกล่าวได้ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา134นั้นหาได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกกระทงความผิดไม่แม้เดิมตั้งข้อหาหนึ่งแต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฎว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดข้อหาอื่นด้วยก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดข้อหาหลังตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา120แล้วทั้งการทำไม้หวงห้ามการแปรรูปไม้ในเขตควบคุมการมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองและการมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นการกระทำอันเป็นความผิดต่างกรรมกันดังนั้นแม้จะมิได้มีการแจ้งข้อหาจำเลยที่4และที่7ฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปแต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฎว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดข้อหานี้ด้วยก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดข้อหานี้แล้วโจทก์มีอำนาจฟ้องศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยที่4และที่7ในความผิดข้อหานี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4702/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนและฟ้องคดีอาญา: เขตอำนาจ, การแจ้งข้อหา, ความผิดต่างกรรม
คดีนี้ไม่ว่าความผิดอาญาได้เกิดในเขตอำเภอดอนสัก จังหวัด-สุราษฎร์ธานี หรือเกิดในเขตอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช ก็ตามแต่เมื่อปรากฎว่าจำเลยทั้งเจ็ดมีที่อยู่ในเขตอำนาจของพนักงานสอบสวนสถานี-ตำรวจภูธรอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราชแล้ว พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอขนอม ย่อมมีอำนาจสอบสวนความผิดคดีนี้ได้ การสอบสวนจึงชอบแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องต่อศาลชั้นต้นซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนในท้องที่ดังกล่าวได้ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้
การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตามประมวลกฎหมายวิธี-พิจารณาความอาญา มาตรา 134 นั้น หาได้หมายความว่า พนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกกระทงความผิดไม่ แม้เดิมตั้งข้อหาหนึ่ง แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฎว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดข้อหาอื่นด้วย ก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดข้อหาหลังตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 120 แล้ว ทั้งการทำไม้หวงห้าม การแปรรูปไม้ในเขตควบคุม การมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครอง และการมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูป โดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นการกระทำอันเป็นความผิดต่างกรรมกัน ดังนั้นแม้จะมิได้มีการแจ้งข้อหาจำเลยที่ 4 และที่ 7 ฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูป แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฎว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดข้อหานี้ด้วย ก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดข้อหานี้แล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้อง ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 4 และที่ 7ในความผิดข้อหานี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1075/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสนับสนุนความผิดฐานมีไม้แปรรูปโดยการขนส่ง แม้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการครอบครองไม้โดยตรง
การที่จำเลยทั้งสามร่วมกันรับจ้างขนไม้สักแปรรูปของกลางบรรทุกรถยนต์ให้แก่ผู้ว่าจ้างนั้น ยังไม่ถือว่าเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำผิดฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม้ ทำการแปรรูปไม้และมีไม้ที่ยังไม่ได้แปรรูปไว้ในครอบครอง แต่เป็นการกระทำความผิดฐานทำไม้โดยการนำไม้ออกจากป่าโดยไม่ได้รับอนุญาต และแม้ไม้สักแปรรูปของกลางจะอยู่ในความครอบครองของผู้ว่าจ้างโดยจำเลยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการครอบครองเลยก็ตาม ก็เป็นการให้ความช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่ผู้ว่าจ้างแล้ว จำเลยทั้งสามจึงเป็นผู้สนับสนุนในความผิดฐานมีไม้สักแปรรูปไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 219/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดหลายกรรมต่างกันจากการตัดไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า: ลงโทษฐานหนักสุดตามกฎหมาย
ความผิดฐานตัดฟันทำไม้แปรรูปไม้ และมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484มาตรา 11,48,73 แม้จำเลยจะกระทำต่อไม้จำนวนเดียวกันแต่การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกันจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
การที่จำเลยเข้าไปตัดฟันทำไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้นการกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดสำเร็จฐานเข้าไปในเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่าตาม มาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503ทันทีที่จำเลยเข้าไปในเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาต และเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระกับความผิดฐานตัดฟันทำไม้ตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 73 วรรคสองแต่การที่จำเลยเข้าไปตัดฟันทำไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น ย่อมเป็นความผิดทั้งฐานตัดฟันทำไม้ตามมาตรา 73 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. ป่าไม้พ.ศ. 2484 และฐานตัดโค่นต้นไม้ในเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่า ตามมาตรา24 แห่ง พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ฯ กรณีทั้งสองเป็นเรื่องที่จำเลยกระทำในคราวเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานตัดฟันทำไม้ตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 73 วรรคสองซึ่งเป็นบทหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90.
of 2