คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8946/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินที่มีเอกสิทธิทับซ้อน กรณีที่ดินพิพาทมีผู้ครอบครองก่อนเขตปฏิรูปที่ดิน
ที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) มี ห. เป็นผู้มีสิทธิครอบครองโดยได้รับการยกให้จากบิดาและครอบครองต่อมาอีก 27 ปี เป็นการออกเอกสารสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมาย ห. จึงครอบครองที่ดินพิพาทมาก่อนมี พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในท้องที่อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ.2520 ซึ่งผู้ครอบครองที่ดินมาก่อนมีพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว และไม่เกิน 50 ไร่ หรือไม่เกิน 100 ไร่ กรณีการเลี้ยงสัตว์จำพวกสัตว์ใหญ่ให้ผู้ครอบครองที่ดินมาก่อนนั้นมีสิทธิในที่ดินต่อไป แต่ต้องไม่เกินหนึ่งพันไร่ ตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 29 วรรคสอง ส่วนสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินเขตปฏิรูปที่ดินเฉพาะที่ราชพัสดุที่โอนมาจากกระทรวงการคลังตาม ป.ที่ดิน ตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2532 มาตรา 14 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่า ที่ราชพัสดุที่กระทรวงการคลังได้มาเนื่องจากการจัดซื้อของ ส.ป.ก. หรือมีผู้ยกให้แก่ ส.ป.ก. เพื่อดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมซึ่งมีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้กระทรวงการคลังดำเนินการโอนที่ราชพัสดุดังกล่าวให้เป็นกรรมสิทธิ์ของ ส.ป.ก. เพื่อใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามพระราชบัญญัตินี้ การโอนที่ราชพัสดุดังกล่าวมิให้นำความในมาตรา 8 และมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.ที่ราชพัสดุ พ.ศ.2518 มาใช้บังคับ และให้ดำเนินการโอนตามประมวลกฎหมายที่ดิน ดังนั้น ที่ราชพัสดุนอกจากนี้ไม่อาจนำมาปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้ เนื่องจากการโอนที่ราชพัสดุให้กระทำโดยพระราชบัญญัติ และให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุ ตามมาตรา 5 เมื่อที่ดินพิพาทมีผู้มีสิทธิในที่ดินเป็นผู้ครอบครองมาก่อนมีพระราชกฤษฎีกากำหนดเป็นเขตปฏิรูปที่ดิน และไม่ใช่ที่ราชพัสดุที่โอนมาจากกระทรวงการคลังตามประมวลกฎหมายที่ดิน ที่ ส.ป.ก. จะใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้ ดังนั้น ที่ ส.ป.ก. ออกหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินให้แก่ อ. อันมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการออกหนังสืออนุญาตดังกล่าวทำให้ที่ดินพิพาทที่ถูกยึดขายทอดตลาดได้เป็นที่ดินที่ไม่อาจถูกบังคับคดีได้ก็ตาม แต่คดีนี้เป็นการพิจารณาเพียงว่าสมควรเพิกถอนการขายทอดตลาดหรือไม่เท่านั้น เมื่อที่ดินที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดเพื่อออกขายทอดตลาด มีการออกเอกสารสิทธิที่ดินทับซ้อนกัน และยังมิได้มีการเพิกถอนเอกสารสิทธิในที่ดินฉบับใดฉบับหนึ่ง ย่อมมีเหตุขัดข้องในการบังคับคดีให้ลุล่วงไป กรณีจึงมีเหตุสมควรให้เพิกถอนการขายทอดตลาดตามคำร้องของผู้ซื้อทรัพย์ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดียังมิได้ถอนการบังคับคดี การเพิกถอนการขายทอดตลาดมีผลเพียงเท่ากับยังมิได้ขายทอดตลาด ต่อไปภายหน้าหากเรื่องเอกสารสิทธิในที่ดินยุติลงก็อาจนำออกขายทอดตลาดใหม่ได้ ส่วนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ซึ่งเป็นทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีนำออกขายทอดตลาดกับหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4-01 ข.) ที่ออกให้แก่ อ. นั้น ฉบับใดจะออกโดยชอบด้วยกฎหมาย ก็เป็นเรื่องที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอาจต้องว่ากล่าวกันต่อไปต่างหากหลังจากเพิกถอนการขายทอดตลาดแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11165/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของผู้รับสิทธิทำประโยชน์ในที่ดินปฏิรูปที่ดินเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงผู้ครอบครอง
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน และเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่โจทก์เป็นผู้รับสิทธิทำประโยชน์ในที่ดินจากสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โจทก์ขายและส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่ ท. เมื่อปี 2546 แล้ว ท. สละการครอบครองให้จำเลยทั้งสองเข้าครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา แม้ก่อนฟ้องโจทก์กับ ท. ได้ทำบันทึกข้อตกลงว่าโจทก์จะคืนเงินให้แก่ ท. 110,000 บาท และ ท. จะคืนที่ดินพิพาทให้โจทก์ แต่โจทก์ก็มิได้จ่ายเงินจำนวนดังกล่าวคืนให้แก่ ท. แต่อย่างใด การที่โจทก์กลับมาอ้างเป็นผู้มีสิทธิตามหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4 - 01 ก.) และมาฟ้องขอให้บังคับขับไล่จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้สืบสิทธิจาก ท. จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากที่ดินพิพาท
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2558)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2419/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน ส.ป.ก.4-01: เจตนาซื้อขายเมื่อแปลงสภาพเป็นโฉนด มิใช่โมฆะ
คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายมีเจตนาที่จะซื้อขายที่ดินพิพาทก็ต่อเมื่อที่ดินพิพาทได้มีการยกเลิกเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. 4-01 และได้ออกเอกสารสิทธิเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์หรือโฉนดที่ดินแล้ว มิได้มีเจตนาตกลงซื้อขายที่ดินที่มีเอกสารสิทธิเป็น ส.ป.ก. 4-01 ซึ่งมีข้อกำหนดห้ามโอนและห้ามมิให้ทำการซื้อขาย สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทจึงมิใช่นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายที่จะตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4005/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดิน ส.ป.ก.4-01 ก. สำนักงานปฏิรูปที่ดินฯ มีสิทธิอนุญาตให้บุคคลทำประโยชน์ได้ แม้โจทก์อ้างสิทธิครอบครองก่อน
โจทก์ฟ้องว่า สำนักอำนวยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมออกหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4 - 01 ก.) ให้จำเลยทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทซึ่งโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองเป็นการไม่ชอบ ขอให้บังคับจำเลยให้ไปดำเนินการยกเลิกสิทธิที่มีอยู่ตามหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4 - 01 ก.) โจทก์ไม่ได้เรียกเอาที่ดินพิพาทมาเป็นของโจทก์ จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ โจทก์เสียค่าขึ้นศาล มาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ จึงให้คืนส่วนที่เกินมาแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2919/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติผู้รับโอนสิทธิการเช่าที่ดินปฏิรูปการเกษตร: เกษตรกรต้องไม่มีที่ดินทำกินเพียงพอ
การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีเจตนารมณ์เพื่อช่วยให้เกษตรกรมีที่ดินทำกินและเกษตรกรผู้นั้นจะต้องไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเองหรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพหรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรม เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเกษตรกรได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ซึ่งอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินแล้ว จำนวน 20 ไร่ 2 งาน 84 ตารางวา โดยทำนาทั้งแปลงจึงถือได้ว่าโจทก์มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง และมีรายได้เพียงพอแก่การครองชีพแล้ว โจทก์จึงขาดคุณสมบัติที่จะได้รับโอนที่ดินพิพาทแม้ทางมรดกตกทอดของบิดาโจทก์ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ออกคำสั่งให้โจทก์รับมรดกตกทอดสิทธิการเช่าในที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าขัดกับกฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตาม พ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 นั้นชอบแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ และไม่จำต้องวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิจะได้รับมรดกที่ดินพิพาทหรือไม่ เพราะถึงแม้ได้รับมาก็ไม่มีมีสิทธิรับโอนอยู่แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1834/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุคคลภายนอกคดีและการบังคับตามคำพิพากษา: เจ้าพนักงานที่ดินไม่ต้องถูกบังคับหากไม่ได้เป็นจำเลย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคหนึ่ง บัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองบุคคลภายนอกมิให้ถูกบังคับในเรื่องที่ตนมิได้เป็นคู่ความและไม่มีโอกาสเข้ามาดำเนินกระบวนพิจารณาด้วย เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องเจ้าพนักงานที่ดินเป็นจำเลย โจทก์จึงไม่อาจขอให้บังคับคดีแก่เจ้าพนักงานดังกล่าวซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีได้
แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินที่โจทก์มีอำนาจดำเนินการได้ตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 ซึ่งทางราชการไม่อาจออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่ผู้ใดได้ เจ้าพนักงานที่ดินซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายที่ดิน ก็ย่อมมีหน้าที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายดังกล่าว อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการตามปกติ ซึ่งเป็นคนละกรณีกับการถูกบังคับให้ปฏิบัติตามคำพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1834/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุคคลภายนอกคดีไม่อาจถูกบังคับตามคำพิพากษา แม้ที่ดินอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน เจ้าพนักงานที่ดินมีหน้าที่ตามกฎหมาย
ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคหนึ่ง บัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองบุคคลภายนอกมิให้ถูกบังคับในเรื่องที่ตนมิได้เป็นคู่ความและไม่มีโอกาสเข้ามาดำเนินกระบวนพิจารณาด้วย เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องเจ้าพนักงานที่ดินเป็นจำเลย โจทก์จึงไม่อาจขอให้บังคับคดีแก่เจ้าพนักงานดังกล่าวซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีได้
แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินที่โจทก์มีอำนาจดำเนินการได้ตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 ซึ่งทางราชการไม่อาจออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่ผู้ใดได้ เจ้าพนักงานที่ดินซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายที่ดิน ก็ย่อมมีหน้าที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายดังกล่าว อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการตามปกติ ซึ่งเป็นคนละกรณีกับการถูกบังคับให้ปฏิบัติตามคำพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2127/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินของผู้แจ้งการครอบครองค้าง, การออกโฉนด, และความสัมพันธ์กับ พ.ร.บ.ปฏิรูปที่ดิน
โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจาก พ. ซึ่ง พ. ยังไม่ได้แจ้งการครอบครองที่ดินพิพาทตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. ให้ใช้ ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทต่อเนื่องตลอดมา เมื่อมีการประกาศกำหนดท้องที่และวันเริ่มต้นของการเดินสำรวจเพื่อออกโฉนดที่ดิน โจทก์ไม่ได้แจ้งการครอบครองที่ดินพิพาทต่อเจ้าหน้าที่ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 27 ตรี เนื่องจากโจทก์เดินทางไปประกอบอาชีพที่อื่น แต่โจทก์ได้ไปพบพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อนำสำรวจรังวัดออกโฉนดที่ดินเมื่อมีการเดินสำรวจแล้ว แต่เจ้าหน้าที่ให้รออยู่ก่อน ครั้นเมื่อไปพบตามกำหนดก็ได้รับแจ้งว่าหมดโครงการเดินสำรวจแล้ว แสดงว่าเหตุขัดข้องซึ่งทำให้ไม่มีการสำรวจรังวัดที่ดินพิพาทตามวันเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ปิดประกาศมิใช่เป็นความผิดของโจทก์ ทั้งโจทก์ได้นำเจ้าพนักงานที่ดินไปทำการรังวัดที่ดินเพื่อออกโฉนดแล้ว ถือได้ว่า โจทก์ยังประสงค์จะได้สิทธิในที่ดินพิพาทและเป็นผู้ปฏิบัติตามมาตรา 27 ตรี แห่ง ป.ที่ดิน ซึ่งยังไม่พ้นระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนด ดังนั้น การขอออกโฉนดที่ดินของโจทก์จึงเป็นกรณีผู้ตกค้างการแจ้งการครอบครองสามารถขอออกโฉนดเป็นการเฉพาะรายได้ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 59 ทวิ วรรคหนึ่ง
พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 ไม่ได้ยกเลิกสิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน แต่อย่างใด เมื่อปรากฏว่าโจทก์ดำเนินการขอออกโฉนดที่ดินตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกำหนดโดยจำเลยที่ 2 ได้มีหนังสือแจ้งต่อผู้ว่าราชการจังหวัดว่าที่ดินพิพาทอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะออกโฉนดที่ดินได้ เห็นควรออกโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ได้ โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำการรังวัดตรวจสอบรายละเอียดและดำเนินการตามระเบียบของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จำเลยทั้งสองจะปฏิเสธไม่ยอมออกโฉนดในที่ดินพิพาทเพียงเพื่อให้โจทก์ไปดำเนินการขอเอกสารสิทธิในที่ดินพิพาทตาม พ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 อีก เพราะโจทก์มีสิทธิดำเนินการตามประมวลกฎหมายที่ดินได้อยู่แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2127/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดิน: การขอออกโฉนดกรณีตกค้างการแจ้งการครอบครอง แม้มีเขตปฏิรูปที่ดิน
โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทมาจาก พ.ซึ่งก่อนหน้านี้พ. ไม่ได้แจ้งการครอบครองที่ดินพิพาทตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 โจทก์ เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทต่อเนื่องตลอดมา เมื่อมีการประกาศกำหนดท้องที่และวันเริ่มต้นของการเดินสำรวจ เพื่อออกโฉนดที่ดินโจทก์ไม่ได้แจ้งการครอบครองที่ดินพิพาท ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 27 ตรี เนื่องจากโจทก์เดินทางไปประกอบอาชีพที่อื่น แต่โจทก์ได้ไปพบพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อนำสำรวจรังวัดออกโฉนดที่ดินเมื่อมีการเดินสำรวจแล้ว แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ให้รออยู่ก่อนครั้นเมื่อไปพบตามกำหนดก็ได้รับแจ้งว่าหมดโครงการเดินสำรวจแล้ว แสดงว่าเหตุขัดข้องซึ่งทำให้ไม่มีการสำรวจรังวัดที่ดินพิพาท ตามวันเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ปิดประกาศ มิใช่เป็นความผิด ของโจทก์ ดังนั้น การที่โจทก์ได้นำเจ้าพนักงานที่ดิน ไปทำการรังวัดที่ดินพิพาทเพื่อขอออกโฉนด ย่อมถือได้ว่า โจทก์ยังประสงค์จะได้สิทธิในที่ดินพิพาทและเป็นผู้ปฏิบัติตาม มาตรา 27 ตรี ซึ่งยังไม่พ้นระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนด การขอออกโฉนดที่ดินของโจทก์จึงเป็นกรณีผู้ตกค้างการแจ้ง การครอบครองสามารถขอออกโฉนดเป็นการเฉพาะรายได้ตาม ประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 59 ทวิ วรรคหนึ่ง พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518ไม่ได้ยกเลิกสิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ แต่อย่างใดเมื่อโจทก์ดำเนินการขอออกโฉนดที่ดินตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ กฎหมายกำหนดโดยจำเลยที่ 2 ได้มีหนังสือแจ้งต่อผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อขอรังวัดออกโฉนดที่ดินเฉพาะรายโดยมิได้แจ้งการครอบครองว่า ที่ดินพิพาทอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะออกโฉนดที่ดินได้และเห็นควร ออกโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ได้ โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำการ รังวัดตรวจสอบรายละเอียดและดำเนินการตามระเบียบ ของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จำเลยทั้งสองจะปฏิเสธไม่ยอมออกโฉนดที่ดินพิพาทเพียงเพื่อให้โจทก์ไป ดำเนินการขอเอกสารสิทธิในที่ดินพิพาทตาม พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ อีก เพราะโจทก์มีสิทธิดำเนินการตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ ได้อยู่แล้ว