คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1466

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 119 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 459/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดก: ทรัพย์สินเดิมที่โอนระหว่างสมรส อาจต้องนำมาใช้ทดแทนสินเดิมที่ขาดไปได้
โจทก์เป็นบุตรผู้ตาย จำเลยเป็นภรรยาผู้ตาย โจทก์จำเลยแถลงรับกันว่าทรัพย์หมาย ก.1 เดิมเป็นของผู้ตายมาแต่ก่อนที่ได้ทำการสมรสกับจำเลย เมื่อผู้ตายกับจำเลยสมรสกันแล้ว ผู้ตายได้โอนทรัพย์แปลงนั้นให้แก่บิดาจำเลย ต่อมาบิดาจำเลยจึงได้โอนให้จำเลยในระหว่างสมรสนั้นฟ้องโจทก์ก็กล่าวความท้าวถึงข้อเท็จจริงเช่นว่านี้ แล้วอ้างว่าทรัพย์หมาย ก.1 จึงกลับคืนเป็นสินเดิมอีกวาระหนึ่ง หรือมิฉะนั้นก็เป็นทรัพย์ที่ทดแทนสินเดิมที่ขาดไป ฉะนั้นที่โจทก์แถลงรับในรายงานพิจารณาว่าเป็นสินสมรสจึงมิได้หมายความว่าสินสมรสนั้นจะไม่ต้องเอามาใช้สินเดิมที่ขาดไปของผู้ตาย
จำเลยได้แถลงต่อศาลว่าจะขอสืบว่าที่ดินตามหมาย ก.1 เป็นสินสอด โดยผู้ตายสัญญาว่าจะโอนให้บิดาจำเลยก่อนแต่งงานแล้วต่อมาจึงได้โอนให้ไป ซึ่งข้อเท็จจริงที่จำเลยจะขอสืบนี้ ถ้าเป็นความจริงอาจถือได้ว่า ผู้ตายจำหน่ายสินเดิมของตนเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว โดยไม่ได้ยินยอมด้วย กรณีอาจต้องตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1514ที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 459/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินก่อนและหลังสมรส สินเดิม สินส่วนตัว สินสมรส และผลกระทบต่อการแบ่งมรดก
โจทก์เป็นบุตรผู้ตาย จำเลยเป็นภรรยาผู้ตาย โจทก์,จำเลยแถลงรับกันว่าทรัพย์หมาย ก. 1 เดิมเป็นของผู้ตายมาแต่ก่อนที่ได้ทำการสมรสกับจำเลย เมื่อผู้ตายกับจำเลยสมรสกันแล้ว ผู้ตายได้โอนทรัพย์แปลงนั้นให้แก่บิดาจำเลย ต่อมาบิดาจำเลยจึงได้โอนให้จำเลยในระหว่างสมรสนั้น ฟ้องโจทก์ก็กล่าวความท้าวถึงข้อเท็จจริงเช่นว่านี้ แล้วอ้างว่าทรัพย์หมาย ก. 1 จึงกลับคืนเป็นสินเดิมอีกวาระหนึ่ง หรือมิฉะนั้นก็เป็นทรัพย์ที่ทดแทนสินเดิมที่ขาดไป ฉะนั้นที่โจทก์แถลงรับในรายงานพิจารณาว่าเป็นสินสมรส จึงมิได้หมายความว่าสินสมรสนั้นจะไม่ต้องเอามาใช้สินเดิมที่ขาดไปของผู้ตาย.
จำเลยได้แถลงต่อศาลว่าจะขอสืบว่าที่ดินตามหมาย ก.1 เป็นสินสอด โดยผู้ตายสัญญาว่าจะโอนให้บิดาจำเลยก่อนแต่งงาน แล้วต่อมาจึงได้โอนให้ไป ซึ่งข้อเท็จจริงที่จำเลยจะขอสืบนี้ ถ้าเป็นความจริง อาจถือได้ว่า ผู้ตายจำหน่ายสินเดิมของตนเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว โดยไม่ได้ยินยอมด้วย กรณีอาจต้องตาม ป.ม.แพ่งฯ มาตรา 1514 ที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพะยานจึงไม่ชอบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 419/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์มรดกก่อนสมรสเป็นสินเดิม แม้มีการแบ่งปันระหว่างสมรส
ทรัพย์ซึ่งเป็นมฤดกตกทอดแก่สามีก่อนสมรสกับภรรยาและทายาทตกลงแบ่งปันกันในระหว่างสมรส ทรัพย์นั้นเป็นสินเดิมของสามี หาใช่เป็นสินสมรสไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 419/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินเดิมก่อนสมรส: ทรัพย์มรดกที่แบ่งร่วมกันระหว่างสมรส ไม่ถือเป็นสินสมรส
ทรัพย์ซึ่งเป็นมรดกตกทอดแก่สามีก่อนสมรสกับภรรยาและทายาทตกลงแบ่งปันกันในระหว่างสมรส ทรัพย์นั้นเป็นสินเดิมของสามี หาใช่เป็นสินสมรสไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 203/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงปิดคดีหน้าศาลมีผลผูกพัน, การหย่า, และการสันนิษฐานเรื่องสินสมรส
วันนัดพิจารณาคู่ความโต้เถียง+ หน้าที่นำสืบแล้ว ต่างแถลง+ ว่าต่างฝ่ายไม่ติดใจสืบพยาน + ขอให้ศาลสินิจฉัยคดีตลอด + จะขอแถลงการ์ประกอบภายใน 7 วัน ถ้าถึงกำหนดไม่ + ขอให้ถือว่าไม่ติดใจแถลง+ ถือว่าคู่ความขอปิดคดีของตน+แล้ว ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะแถลง+พยายในภายหลัง ศาลก็ไม่มี +ใดจะอนุญาตได้ + เลยรับว่าเป็นสามีภรรยากับ + แต่หย่ากันแล้ว จึงเป็นหน้าที่ของจำเลย +สืบ ว่าหย่ากันแล้ว เมื่อจำเลย+ ก็ต้องถือตามคำฟ้องของโจทก์ว่า +จำเลยเป็นสามีภรรยากัน + เหตุที่โจทก์จะหย่าขาดจากจำเลยได้ + ไม่นั้น โจทก์มีหน้าที่นำสืบ แต่จำเลย +ได้หย่าขาดกับโจทก์ 5 ปี และจำเลยแต่งงานกับหญิงอื่น เป็นการกระทำอัน+ปฎิปักษ์ต่อโจทก์ และทอดทิ้งขาดการ+ต่อโจทก์ ถึง 5 ปี ทั้งจำเลย+ว่าได้หย่าขาดจากโจทก์แล้วดังนี้ +มีเหตุอันควรหย่าได้ตาม ป.พ.พ.+00(3)
ต่างฝ่ายต่างอ้างว่า ตนมีสินเดิมอีกฝ่าย+ไม่มี แต่ต่างฝ่ายก็ไม่สืบพยายตามข้ออ้าง ต้องถือว่าไม่มีสินเดิมทั้ง 2 ฝ่าย โจทก์ว่านาเป็นสินสมรส จำเลยว่าเป็น+ ของจำเลย โจทก์ว่าสวนยางเป็นสินสมรส
จำเลยไม่ให้การถึงเลย ดังนี้ต้องสันนิษฐานว่า นาและสวนยางเป็นสินสมรสตาม ป.ม.แพ่งฯ มาตรา1466 วรรค 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 203/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปิดคดีหน้าศาล การนำสืบหน้าที่ และการแบ่งสินสมรสเมื่อหย่า
ในวันนัดพิจารณาคู่ความโต้เถียงกันเรื่องหน้าที่นำสืบแล้วต่างแถลงต่อศาลว่าต่างฝ่ายไม่ติดใจสืบพยานด้วยกัน ขอให้ศาลวินิจฉัยคดีตลอดถึงเรื่องจะขอแถลงการณ์ประกอบภายใน 7 วัน ถ้าถึงกำหนดไม่แถลงขอให้ถือว่าไม่ติดใจแถลงดังนี้ถือว่าคู่ความขอปิดคดีของตนเสร็จแล้วฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะแถลงขอสืบพยานในภายหลัง ศาลก็ไม่มีเหตุอันใดจะอนุญาตได้
จำเลยรับว่าเป็นสามีภรรยากับโจทก์ แต่หย่ากันแล้ว จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยจะนำสืบว่าหย่ากันแล้ว เมื่อจำเลยไม่นำสืบก็ต้องถือตามคำฟ้องของโจทก์ว่าโจทก์จำเลยเป็นสามีภรรยากัน
เหตุที่โจทก์จะหย่าขาดจากจำเลยได้หรือไม่นั้น โจทก์มีหน้าที่นำสืบ แต่จำเลยรับว่าได้หย่าขาดกับโจทก์ 5 ปี และจำเลยได้แต่งงานกับหญิงอื่นเป็นการกระทำอันเป็นปฏิปักษ์ต่อโจทก์ และทอดทิ้งขาดการอุปการะต่อโจทก์ ถึง 5 ปีทั้งจำเลยก็ถือว่าได้หย่าขาดจากโจทก์แล้วดังนี้ โจทก์มีเหตุอันควรหย่าได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์1500(3)
ต่างฝ่ายต่างอ้างว่า ตนมีสินเดิมอีกฝ่ายหนึ่ง ไม่มีแต่ต่างฝ่ายก็ไม่สืบพยานตามข้อกล่าวอ้าง ต้องถือว่าไม่มีสินเดิมทั้ง 2 ฝ่ายโจทก์ว่านาเป็นสินสมรส จำเลยว่าเป็นสินเดิมของจำเลย โจทก์ว่าสวนยางเป็นสินสมรสจำเลยไม่ให้การถึงเลยดังนี้ ต้องสันนิษฐานว่า นาและสวนยางเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1466 วรรค 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 943/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินในโฉนดร่วมกันระหว่างสามีภรรยาถือเป็นสินสมรส แม้ภรรยาไม่มีสินเดิม
หญิงเป็นภรรยาชายก่อนใช้ ป.ม.แพ่ง ฯ บรรพ 5 โดยไม่มีสินเดิม แม้ชายผู้สามีจะตายเมื่อใช้ ป.ม. แพ่งฯ บรรพ 5 แล้ว ภรรยาก็ไม่มีสิทธิ์ได้สินสมรสตามมาตรา 1517.
สามีและภรรยามีชื่ในโฉนดเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินร่วมกันในระหว่างอยู่กินเป็นสามีภรรยากันนั้น ถือว่าเป็นสินสมรส.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 943/2490

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินร่วมถือเป็นสินสมรส แม้ภรรยาไม่มีสินเดิม
หญิงเป็นภรรยาชายก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 โดยไม่มีสินเดิม แม้ชายผู้สามีจะตายเมื่อใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แล้ว ภรรยาก็ไม่มีสิทธิได้สินสมรสตามมาตรา 1517
สามีและภรรยามีชื่อในโฉนดเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินร่วมกันในระหว่างอยู่กินเป็นสามีภรรยากันนั้น ถือว่าเป็นสินสมรส

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 660/2490

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกกรณีสามีภริยาไม่มีสินเดิม และการปกครองมรดกแทนโจทก์
ในกรณีที่เป็นผัวเมียตามกฎหมายเก่า เมื่อไม่ปรากฏว่าทั้งสองฝ่ายมีสินเดิม ก็ต้องแบ่งสินสมรสให้แก่สามี 2 ส่วน ภรรยา 1 ส่วน
ศาลชั้นต้นฟังว่า จำเลยปกครองมรดกแทนโจทก์ เมื่อศาลอุทธรณ์ยกฟ้องในข้อที่ไม่มีทรัพย์มรดก โจทก์ฎีกา ฝ่ายจำเลยเถียงในชั้นฎีกาในข้ออื่น มิได้เถียงในข้อปกครองแทน ดังนี้ศาลฎีกาคงถือว่าจำเลยปกครองมรดกแทนโจทก์
โจทก์ฟ้องแบ่งมรดกและตีราคามาในคำขอท้ายฟ้องด้วยนั้นศาลพิพากษาให้แบ่งทรัพย์ตามส่วนที่โจทก์ขอโดยไม่ต้องจำกัดให้ได้รับเกินราคาท้ายฟ้องได้ เพราะการตีราคามานั้นเพื่อเรียกค่าธรรมเนียมศาล
ผู้ร้องขอส่วนแบ่งมรดกมาในศาลชั้นต้น เมื่อคดีสู่ศาลสูง ผู้ร้องก็ยื่นคำร้องขอส่วนแบ่งในชั้นศาลสูงอีกได้โดยไม่ต้องทำเป็นอุทธรณ์ฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 660/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกกรณีไม่มีสินเดิม และการครอบครองแทนโจทก์
ในกรณีที่เป็นผัวเมียตามกฎหมายเก่า เมื่อไม่ปรากฏว่าทั้งสองฝ่ายมีสินเดิม ก็ต้องแบ่งสินสมรสให้แก่สามี 2 ส่วน ภรรยา 1 ส่วน
ศาลชั้นต้นฟังว่า จำเลยปกครองมฤดกแทนโจทก์ เมื่อศาลอุทธรณ์ยกฟ้องในข้อที่ไม่มีทรัพย์มฤดก โจทก์ฎีกาฝ่ายจำเลยเถียงในชั้นฎีกาในข้ออื่น มิได้เถียงในข้อปกครองแทน ดังนี้ศาลฎีกาคงถือว่าจำเลยปกครองมฤดกแทนโจทก์
โจทก์ฟ้องแบ่งมฤดกและตีราคามาในคำขอท้ายฟ้องด้วยนั้นศาลพิพากษาให้แบ่งทรัพย์ตามส่วนที่โจทก์ขอโดยไม่ต้องจำกัดให้ได้รับเกินราคาท้ายฟ้องได้เพราะการตีราคามานั้น เพื่อเรียกค่าธรรมเนียมศาล
ผู้ร้องขอส่วนแบ่งมฤดกมาในศาลชั้นต้น เมื่อคดีสู่ศาลสูง ผู้ร้องก็ยื่นคำร้องขอส่วนแบ่งในชั้นศาลสูงอีกได้โดยไม่ต้องทำเป็นอุทธรณ์ฎีกา
of 12