พบผลลัพธ์ทั้งหมด 119 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1274/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างคู่สมรสมีผลผูกพันและสิทธิในทรัพย์สินย่อมตกเป็นไปตามสัญญา
โจทก์เคยฟ้องหย่าจำเลย ในที่สุดได้ทำสัญญาไว้ต่อกันเป็นข้อสารสำคัญว่า โจทก์จำเลยยอมคืนดีเป็นสามีภริยากันดังเดิม และข้อความในหนังสือสัญญานั้นได้กล่าวไว้ชัดว่าเป็นสัญญาที่ทำขึ้นเพื่อระงับการฟ้องหย่าระหว่างโจทก์จำเลย ไม่ต้องเป็นความกันต่อไป โจทก์จำเลยจึงได้ตกลงแบ่งปันทรัพย์สินกันเป็นสัดส่วน กล่าวคือให้โจทก์ได้วัวที่มีตัวพิมพ์รูปพรรณ 16 ตัว ฯลฯ นอกจากทรัพย์ดังกล่าวนี้แล้ว โจทก์ไม่ขอเอาอีกต่อไป หนังสือสัญญานี้จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850
ข้อความในสัญญาที่ว่าจำเลยและโจทก์ได้ตกลงพร้อมใจกันทำหนังสือยกทรัพย์สินสมรสและสินเดิมให้แก่โจทก์ ฯลฯ นอกจากทรัพย์ที่โจทก์ได้รับไปนี้แล้ว ไม่ขอเอาอีกต่อไป เห็นว่าเมื่อข้อสัญาระบุชัดว่าโจทก์จะไม่เอาทรัพย์อื่นนอกจากที่โจทก์ได้รับตามสัญญานี้ ก็เท่ากับยอมให้ทรัพย์พิพาทอันเป็นทรัพย์ที่มีอยู่แล้วในขณะที่ทำสัญญานั้น ตกเป็นสิทธิของจำเลยฝ่ายเดียว โจทก์จะมาฟ้องขอแบ่งทรัพย์พิพาทอีกไม่ได้
สัญญาที่ทำไว้ต่อกันระหว่างที่โจทก์จำเลยยังเป็นสามีภริยากันอยู่ เมื่อไม่บอกล้างภายในกำหนดหนึ่งปี นับแต่วันขาดจากการสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461 ก็ต้องถือว่ายังคงบังคับได้อยู่เสมอ (ข้อกฎหมายตามวรรค 2 และ 3 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2521)
ข้อความในสัญญาที่ว่าจำเลยและโจทก์ได้ตกลงพร้อมใจกันทำหนังสือยกทรัพย์สินสมรสและสินเดิมให้แก่โจทก์ ฯลฯ นอกจากทรัพย์ที่โจทก์ได้รับไปนี้แล้ว ไม่ขอเอาอีกต่อไป เห็นว่าเมื่อข้อสัญาระบุชัดว่าโจทก์จะไม่เอาทรัพย์อื่นนอกจากที่โจทก์ได้รับตามสัญญานี้ ก็เท่ากับยอมให้ทรัพย์พิพาทอันเป็นทรัพย์ที่มีอยู่แล้วในขณะที่ทำสัญญานั้น ตกเป็นสิทธิของจำเลยฝ่ายเดียว โจทก์จะมาฟ้องขอแบ่งทรัพย์พิพาทอีกไม่ได้
สัญญาที่ทำไว้ต่อกันระหว่างที่โจทก์จำเลยยังเป็นสามีภริยากันอยู่ เมื่อไม่บอกล้างภายในกำหนดหนึ่งปี นับแต่วันขาดจากการสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461 ก็ต้องถือว่ายังคงบังคับได้อยู่เสมอ (ข้อกฎหมายตามวรรค 2 และ 3 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2521)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1274/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความและผลผูกพันหลังหย่า: ทรัพย์สินที่ตกลงยกให้ย่อมตกเป็นสิทธิของอีกฝ่าย
โจทก์เคยฟ้องหย่าจำเลย ในที่สุดได้ทำสัญญาไว้ต่อกันเป็นข้อสารสำคัญว่า โจทก์จำเลยยอมคืนดีเป็นสามีภริยากันดังเดิม และข้อความในหนังสือสัญญานั้นได้กล่าวไว้ชัดว่าเป็นสัญญาที่ทำขึ้นเพื่อระงับการฟ้องหย่าระหว่างโจทก์จำเลยไม่ต้องเป็นความกันต่อไป โจทก์จำเลยจึงได้ตกลงแบ่งปันทรัพย์สินกันเป็นสัดส่วน กล่าวคือให้โจทก์ได้วัวที่มีตั๋วพิมพ์รูปพรรณ 16 ตัว ฯลฯ นอกจากทรัพย์ดังกล่าวนี้แล้วโจทก์ไม่ขอเอาอีกต่อไป หนังสือสัญญานี้จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850
ข้อความในสัญญาที่ว่าจำเลยและโจทก์ได้ตกลงพร้อมใจกันทำหนังสือยกทรัพย์สินสมรสและสินเดิมให้แก่โจทก์ ฯลฯ นอกจากทรัพย์ที่โจทก์ได้รับไปนี้แล้ว ไม่ขอเอาอีกต่อไปเห็นว่าเมื่อข้อสัญญาระบุชัดว่าโจทก์จะไม่เอาทรัพย์อื่นนอกจากที่โจทก์ได้รับตามสัญญานี้ ก็เท่ากับยอมให้ทรัพย์พิพาทอันเป็นทรัพย์ที่มีอยู่แล้วในขณะที่ทำสัญญานั้น ตกเป็นสิทธิของจำเลยฝ่ายเดียว โจทก์จะมาฟ้องขอแบ่งทรัพย์พิพาทอีกไม่ได้
สัญญาที่ทำไว้ต่อกัน ระหว่างที่โจทก์จำเลยยังเป็นสามีภริยากันอยู่ เมื่อไม่บอกล้างภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันขาดจากการสมรส ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461 ก็ต้องถือว่ายังคงบังคับได้อยู่เสมอ (ข้อกฎหมายตามวรรค 2 และ 3 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2521)
ข้อความในสัญญาที่ว่าจำเลยและโจทก์ได้ตกลงพร้อมใจกันทำหนังสือยกทรัพย์สินสมรสและสินเดิมให้แก่โจทก์ ฯลฯ นอกจากทรัพย์ที่โจทก์ได้รับไปนี้แล้ว ไม่ขอเอาอีกต่อไปเห็นว่าเมื่อข้อสัญญาระบุชัดว่าโจทก์จะไม่เอาทรัพย์อื่นนอกจากที่โจทก์ได้รับตามสัญญานี้ ก็เท่ากับยอมให้ทรัพย์พิพาทอันเป็นทรัพย์ที่มีอยู่แล้วในขณะที่ทำสัญญานั้น ตกเป็นสิทธิของจำเลยฝ่ายเดียว โจทก์จะมาฟ้องขอแบ่งทรัพย์พิพาทอีกไม่ได้
สัญญาที่ทำไว้ต่อกัน ระหว่างที่โจทก์จำเลยยังเป็นสามีภริยากันอยู่ เมื่อไม่บอกล้างภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันขาดจากการสมรส ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461 ก็ต้องถือว่ายังคงบังคับได้อยู่เสมอ (ข้อกฎหมายตามวรรค 2 และ 3 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2521)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 293/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส, การครอบครองปรปักษ์, และหน้าที่การนำสืบเมื่ออ้างว่าทรัพย์สินเป็นของผู้อื่น
เมื่อที่ดินเป็นสินสมรส ตึกแถวซึ่งเป็นส่วนควบของที่ดินจึงตกเป็นสินสมรสด้วย
ข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1466 วรรคท้ายใช้เฉพาะกรณีที่โต้เถียงกันว่าทรัพย์นั้นเป็นสินเดิม สินส่วนตัว หรือสินสมรสเท่านั้น จะนำมาใช้ในกรณีที่มีข้อโต้เถียงว่าเป็นทรัพย์ของบุคคลอื่นไม่ได้
โจทก์มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนด เมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่าถือกรรมสิทธิ์แทนผู้อื่น จึงเป็นหน้าที่โจทก์ที่จะต้องนำสืบก่อน
ข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1466 วรรคท้ายใช้เฉพาะกรณีที่โต้เถียงกันว่าทรัพย์นั้นเป็นสินเดิม สินส่วนตัว หรือสินสมรสเท่านั้น จะนำมาใช้ในกรณีที่มีข้อโต้เถียงว่าเป็นทรัพย์ของบุคคลอื่นไม่ได้
โจทก์มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนด เมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่าถือกรรมสิทธิ์แทนผู้อื่น จึงเป็นหน้าที่โจทก์ที่จะต้องนำสืบก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 293/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส, การครอบครองทรัพย์สิน, การนำสืบพยาน, และผลของพินัยกรรม
เมื่อที่ดินเป็นสินสมรส ตึกแถวซึ่งเป็นส่วนควบของที่ดินจึงตกเป็นสินสมรสด้วย
ข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1466วรรคท้ายใช้เฉพาะกรณีที่โต้เถียงกันว่าทรัพย์นั้นเป็นสินเดิม สินส่วนตัว หรือสินสมรสเท่านั้น จะนำมาใช้ในกรณีที่มีข้อโต้เถียงว่าเป็นทรัพย์ของบุคคลอื่นไม่ได้
โจทก์มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดเมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่าถือกรรมสิทธิ์แทนผู้อื่นจึงเป็นหน้าที่โจทก์ที่จะต้องนำสืบก่อน
ข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1466วรรคท้ายใช้เฉพาะกรณีที่โต้เถียงกันว่าทรัพย์นั้นเป็นสินเดิม สินส่วนตัว หรือสินสมรสเท่านั้น จะนำมาใช้ในกรณีที่มีข้อโต้เถียงว่าเป็นทรัพย์ของบุคคลอื่นไม่ได้
โจทก์มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดเมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่าถือกรรมสิทธิ์แทนผู้อื่นจึงเป็นหน้าที่โจทก์ที่จะต้องนำสืบก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 515/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มรดกตกแก่โจทก์ แม้แต่งงานไม่จดทะเบียน สามีภริยาไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดก
ทรัพย์พิพาทเป็นมรดกตกได้แก่โจทก์ แม้โจทก์จะได้รับมรดกในระหว่างอยู่กินฉันสามีภรรยากับจำเลยก็ตาม แต่เมื่อการอยู่กินฉันสามีภริยานั้นไม่ได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย จำเลยก็ไม่มีส่วนเป็นเจ้าของทรัพย์พิพาทร่วมกับโจทก์ เพราะการที่โจทก์ได้รับมรดกย่อมไม่ใช่ทรัพย์ที่โจทก์และจำเลยร่วมหากันมา
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1128/2506)
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1128/2506)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1476/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสเมื่อหย่า: การแบ่งที่ดินชำระแล้ว, สินเดิมสูญเสีย, หนี้ระหว่างสมรส
ภริยาทำสัญญาจะซื้อที่ดินชำระราคาแล้วบางส่วน เมื่อหย่ากันสิทธิตามสัญญานี้เป็นสินสมรสที่จะต้องแบ่งกันด้วย
สินเดิมของภริยาซึ่งสูญไประหว่างสมรส การเอาสินสมรสใช้ต้องคิดตามราคาเดิม ไม่ใช่ราคาเมื่อหย่ากัน
การแบ่งสินสมรสเมื่อหย่ากันไม่ต้องหักใช้หนี้ที่เกิดระหว่างสมรสและยังไม่ได้ชำระเสียก่อน เป็นเรื่องที่จะต้องรับผิดร่วมกันอยู่ และเป็นไปตามมาตรา 1518
สินเดิมของภริยาซึ่งสูญไประหว่างสมรส การเอาสินสมรสใช้ต้องคิดตามราคาเดิม ไม่ใช่ราคาเมื่อหย่ากัน
การแบ่งสินสมรสเมื่อหย่ากันไม่ต้องหักใช้หนี้ที่เกิดระหว่างสมรสและยังไม่ได้ชำระเสียก่อน เป็นเรื่องที่จะต้องรับผิดร่วมกันอยู่ และเป็นไปตามมาตรา 1518
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส, การแยกกันอยู่, และการโอนทรัพย์สินโดยเสน่หา
ที่ดินซึ่งภริยาก่อนบรรพ 5 มีอยู่ก่อนสมรสและอาจนำมาใช้ประโยชน์ด้วยกันได้ ไม่ต้องเอามาระคนปนกับสินเดิมของสามีก็ถือเป็นสินเดิมของภริยา
สามีภริยาก่อนบรรพ 5 การขาดจากสมรสต้องบังคับตามบรรพ 5การยินยอมขาดกันเองต้องทำเป็นหนังสือมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อย 2 คน
การที่สามีภริยาไม่ได้หลับนอนร่วมเพศกัน แต่อยู่คนละบ้านในบริเวณเดียวกัน ไม่เป็นการทิ้งร้างกัน
สามีมีภริยาใหม่แต่ไม่จดทะเบียน ทรัพย์ที่ได้มาใหม่จะมีส่วนได้ร่วมกับสามีหรือไม่. ก็ยังเป็นสินสมรสระหว่างสามีกับภริยาเดิม และใส่ชื่อภริยาในโฉนดร่วมด้วยได้ แต่จะระบุส่วนของภริยาว่าหนึ่งในสามโดยยังไม่ถึงเวลาแบ่งทรัพย์สินกันไม่ได้
สามีโอนที่ดินสินสมรสให้โดยเสน่หาแก่ภริยาใหม่ที่ไม่ได้จดทะเบียนโดยภริยามิได้ยินยอมเป็นหนังสือ การเพิกถอนต้องทำทั้งหมดมิใช่เฉพาะส่วนของภริยา
สามีภริยาก่อนบรรพ 5 การขาดจากสมรสต้องบังคับตามบรรพ 5การยินยอมขาดกันเองต้องทำเป็นหนังสือมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อย 2 คน
การที่สามีภริยาไม่ได้หลับนอนร่วมเพศกัน แต่อยู่คนละบ้านในบริเวณเดียวกัน ไม่เป็นการทิ้งร้างกัน
สามีมีภริยาใหม่แต่ไม่จดทะเบียน ทรัพย์ที่ได้มาใหม่จะมีส่วนได้ร่วมกับสามีหรือไม่. ก็ยังเป็นสินสมรสระหว่างสามีกับภริยาเดิม และใส่ชื่อภริยาในโฉนดร่วมด้วยได้ แต่จะระบุส่วนของภริยาว่าหนึ่งในสามโดยยังไม่ถึงเวลาแบ่งทรัพย์สินกันไม่ได้
สามีโอนที่ดินสินสมรสให้โดยเสน่หาแก่ภริยาใหม่ที่ไม่ได้จดทะเบียนโดยภริยามิได้ยินยอมเป็นหนังสือ การเพิกถอนต้องทำทั้งหมดมิใช่เฉพาะส่วนของภริยา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1727/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้จัดการสินสมรสมีหน้าที่ชำระภาษีโรงเรือนที่ได้จากการยื่นประเมินในฐานะผู้รับประเมิน แม้ภริยาเป็นผู้รับยกให้
จำเลยเป็นผู้ยื่นประเมินภาษีโรงเรือนต่อเทศบาลสำหรับโรงเรือนอันเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยและภริยาจำเลย โดยมิได้ระบุว่าจำเลยกระทำการแทนผู้ใด เมื่อจำเลยได้รับแจ้งการประเมิน ยังยอมรับว่าค้างชำระค่าภาษีอยู่จริง โดยมิได้อุทธรณ์โต้แย้ง ถือว่าการประเมินภาษีนั้นถูกต้องแล้ว โรงเรือนนั้นเป็นสินสมรสจำเลยย่อมเป็นเจ้าของร่วมในโรงเรือนนั้นด้วย จำเลยอยู่ในฐานะผู้จัดการสินบริคณห์ และได้กระทำไปในฐานะเป็นผู้รับประเมิน จึงเป็นผู้มีหน้าที่พึงชำระค่าภาษีค้างชำระนั้นให้เทศบาล จะผลักภาระการชำระค่าภาษีให้ตกแก่ภริยาจำเลยหาได้ไม่ เพราะภริยาจำเลยไม่ใช่ผู้รับประเมินซึ่งมีหน้าที่ชำระค่าภาษีต่อเทศบาล
ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างอยู่กินเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1466 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส หากจำเลยจะกล่าวอ้างเป็นอย่างอื่น เช่นว่า เป็นสินส่วนตัวของภริยาจำเลยจำเลยจำต้องยกขึ้นเป็นประเด็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การโดยชัดแจ้ง มิฉะนั้นแล้วจำเลยก็ไม่มีประเด็นสืบ
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 40วางหลักว่า เจ้าของทรัพย์สินเป็นผู้เสียค่าภาษี เท่ากับต้องรับภาระภาษีโดยตรง เจ้าของจะผลักภาระภาษีให้ผู้เช่าหรือผู้ครองทรัพย์สินเสียไม่ได้ หาใช่ข้อตัดสิทธิมิให้เทศบาลเรียกร้องเอาค่าภาษีจากจำเลยผู้รับประเมินแต่อย่างใดไม่
ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างอยู่กินเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1466 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส หากจำเลยจะกล่าวอ้างเป็นอย่างอื่น เช่นว่า เป็นสินส่วนตัวของภริยาจำเลยจำเลยจำต้องยกขึ้นเป็นประเด็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การโดยชัดแจ้ง มิฉะนั้นแล้วจำเลยก็ไม่มีประเด็นสืบ
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 40วางหลักว่า เจ้าของทรัพย์สินเป็นผู้เสียค่าภาษี เท่ากับต้องรับภาระภาษีโดยตรง เจ้าของจะผลักภาระภาษีให้ผู้เช่าหรือผู้ครองทรัพย์สินเสียไม่ได้ หาใช่ข้อตัดสิทธิมิให้เทศบาลเรียกร้องเอาค่าภาษีจากจำเลยผู้รับประเมินแต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1727/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ชำระภาษีโรงเรือนของผู้จัดการสินสมรสและเจ้าของกรรมสิทธิ์ในฐานะผู้รับประเมิน
จำเลยเป็นผู้ยื่นประเมินภาษีโรงเรือนต่อเทศบาลสำหรับโรงเรือนอันเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยและภริยาจำเลย โดยมิได้ระบุว่าจำเลยกระทำการแทนผู้ใด เมื่อจำเลยได้รับแจ้งการประเมินยังยอมรับว่าค้างชำระค่าภาษีอยู่จริง โดยมิได้อุทธรณ์โต้แย้งถือว่าการประเมินภาษีนั้นถูกต้องแล้ว โรงเรือนนั้นเป็นสินสมรสจำเลยย่อมเป็นเจ้าของร่วมในโรงเรือนนั้นด้วย จำเลยอยู่ในฐานะผู้จัดการสินบริคณห์ และได้กระทำไปในฐานะเป็นผู้รับประเมินจึงเป็นผู้มีหน้าที่พึงชำระค่าภาษีค้างชำระนั้นให้เทศบาลจะผลักภาระการชำระค่าภาษีให้ตกแก่ภริยาจำเลยหาได้ไม่เพราะภริยาจำเลยไม่ใช่ผู้รับประเมินซึ่งมีหน้าที่ชำระค่าภาษีต่อเทศบาล
ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างอยู่กินเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1466 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส หากจำเลยจะกล่าวอ้างเป็นอย่างอื่น เช่นว่า เป็นสินส่วนตัวของภริยาจำเลยจำเลยจำต้องยกขึ้นเป็นประเด็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การโดยชัดแจ้งมิฉะนั้นแล้วจำเลยก็ไม่มีประเด็นสืบ
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 40 วางหลักว่า เจ้าของทรัพย์สินเป็นผู้เสียค่าภาษีเท่ากับต้องรับภาระภาษีโดยตรง เจ้าของจะผลักภาระภาษีให้ผู้เช่าหรือผู้ครองทรัพย์สินเสียไม่ได้ หาใช่ข้อตัดสิทธิมิให้เทศบาลเรียกร้องเอาค่าภาษีจากจำเลยผู้รับประเมินแต่อย่างใดไม่
ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างอยู่กินเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1466 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส หากจำเลยจะกล่าวอ้างเป็นอย่างอื่น เช่นว่า เป็นสินส่วนตัวของภริยาจำเลยจำเลยจำต้องยกขึ้นเป็นประเด็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การโดยชัดแจ้งมิฉะนั้นแล้วจำเลยก็ไม่มีประเด็นสืบ
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 40 วางหลักว่า เจ้าของทรัพย์สินเป็นผู้เสียค่าภาษีเท่ากับต้องรับภาระภาษีโดยตรง เจ้าของจะผลักภาระภาษีให้ผู้เช่าหรือผู้ครองทรัพย์สินเสียไม่ได้ หาใช่ข้อตัดสิทธิมิให้เทศบาลเรียกร้องเอาค่าภาษีจากจำเลยผู้รับประเมินแต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1576-1577/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์สินจัดซื้อก่อนสมรส: เป็นสินสมรสหากตกลงร่วมกันจัดหาเพื่อใช้สอยหลังแต่งงาน
ฝ่ายชายให้เถ้าแก่ไปหมั้นหญิงและกำหนดวันแต่งงานกันแล้วได้ตกลงกันให้ฝ่ายหญิงเป็นผู้จัดซื้อเครื่องใช้สอยในครอบครัวเตรียมไว้สำหรับให้ชายหญิงจะได้ใช้สอยเมื่ออยู่กินด้วยกัน ถึงกำหนดชายหญิงนั้นก็ได้สมรสกัน ดังนี้ ถือว่าทรัพย์สินเหล่านั้นเป็นทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาเมื่อมีการสมรส แม้จะได้จัดหาซื้อไว้ก่อนวันสมรสก็ไม่ถือว่าเป็นสินเดิมของหญิง