คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1466

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 119 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1576-1577/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์สินที่จัดซื้อก่อนแต่งงานตามข้อตกลง ถือเป็นสินสมรส
ฝ่ายชายให้เถ้าแก่ไปหมั้นหญิงและกำหนดวันแต่งงานกันแล้วได้ตกลงกันให้ฝ่ายหญิงเป็นผู้จัดซื้อเครื่องใช้สอยในครอบครัวเตรียมไว้สำหรับให้ชายหญิงจะได้ใช้สอยเมื่ออยู่กินด้วยกัน ถึงกำหนดชายหญิงก็ได้สมรสกันดังนี้ถือว่าทรัพย์สินเหล่านั้นเป็นทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาเมื่อมีการสมรส แม้จะได้จัดหาซื้อไว้ก่อนวันสมรส ก็ไม่ถือว่าเป็นสินเดิมของหญิง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 134/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินเป็นสินส่วนตัว และการสละสิทธิในมรดก ทำให้ทรัพย์สินนั้นไม่เป็นส่วนหนึ่งของมรดก
1. สามีมีภริยาสองคนก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และจัดหาบ้านให้ภริยาแยกกันอยู่คนละแห่งไม่เกี่ยวข้องกัน บุตรเกิดจากภริยาไหนก็อยู่กับภริยานั้น ภริยาทั้งสองต่างตั้งร้านค้าขายเป็นส่วนสัดการทำมาหาได้ของภริยาแต่ละคนก็ตกเป็นส่วนของภริยาในครอบครัวนั้น ๆทรัพย์สินมิได้ปะปนระคนกัน ในระหว่างสมรสภริยาคนแรกได้ที่ดินมาในนามของตน โดยสามียกที่ดินสินเดิมให้แม้ที่ดินที่ได้มานั้นจะเป็นสินสมรสก็เป็นสินสมรสระหว่างภริยาคนแรกกับสามี ภริยาคนหลังหามีส่วนได้ด้วยไม่
2. สามียกที่ดินสินเดิมให้ภริยาในระหว่างสมรส สินเดิมนั้นย่อมเปลี่ยนสภาพเป็นสินสมรสเว้นแต่จะระบุการให้เป็นอย่างอื่น
3. สามีขอพระราชทานที่ดินจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยกับภริยาคนแรกและบุตรที่เกิดจากภริยาคนแรก ต่อมาได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตโอนที่ดินนั้นให้ภริยาคนแรก ภริยาคนหลังซึ่งมีบ้านอยู่อาศัยและทำมาหากินเป็นส่วนสัดต่างหากไม่เคยเข้ามาเกี่ยวข้องกับที่ดินพระราชทานเลย ดังนี้ ภริยาคนหลังหามีส่วนได้ในที่ดินพระราชทานนี้ด้วยไม่
4. ที่ดินซึ่งสามีได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6เป็นทรัพย์ส่วนตัว ต่อมาสามีได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจำนองและขึ้นเงินจำนอง แล้วต่อมาได้มีหนังสือกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตโอนให้แก่ภริยาคนแรก โดยกล่าวข้อความว่าจึงดำริที่จะจัดการมรดกโดยแบ่งสันปันส่วนให้แก่ภริยาบุตรธิดาเป็นส่วนสัดเสียขณะนี้โดยเฉพาะที่ดินพระราชทานขอมอบเป็นสิทธิแก่ภริยาคนแรก เพื่อจะได้หาทางไถ่ถอนมาไว้สำหรับเป็นหลักแหล่งประกอบอาชีพต่อไป และก่อนหน้านั้นเล็กน้อยสามีได้ทำหนังสือฉบับหนึ่งระบุว่าขอมอบทรัพย์สินอันมีอยู่ทั้งสิ้นให้ภริยาคนแรกโดยเด็ดขาด ภริยาคนแรกจะจัดแบ่งส่วนทรัพย์สินให้แก่ผู้ใดมากน้อยเท่าใดก็แล้วแต่จะเห็นสมควร ครั้นเมื่อได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้วสามีก็จัดการจดทะเบียนโอนที่ดินพระราชทานนั้นให้แก่ภริยาคนแรกเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียว ดังนี้ ข้อความตามหนังสือทั้งสองฉบับดังกล่าวแสดงว่าสามีมีเจตนาให้ที่ดินพระราชทานแก่ภริยาคนแรกเป็นสินส่วนตัว
5. หนังสือยกให้ซึ่งสามีให้ทรัพย์สินแก่ภริยา แม้มิได้ระบุไว้ชัดว่าให้เป็นสินส่วนตัว ก็อาจแปลเจตนาจากข้อความในเอกสารตามพฤติการณ์แห่งกรณีได้ และเมื่อหนังสือยกให้แปลข้อความตามเจตนาของผู้ให้ได้ว่าให้เป็นสินส่วนตัว แม้เมื่อไปทำพิธีโอนทางทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จะมิได้ระบุไว้ว่าให้เป็นสินส่วนตัว ทรัพย์สินนั้นก็เป็นสินส่วนตัวของภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1464(3) 6. หนังสือซึ่งสามีทำระบุชื่อว่าคำสั่งแทนพินัยกรรมมีข้อความว่า ขอมอบทรัพย์สินทั้งสิ้นให้ภริยาคนแรกโดยเด็ดขาด ภริยาคนแรกจะจัดแบ่งให้แก่ผู้ใดมากน้อยเท่าใดก็แล้วแต่จะเห็นสมควรหนังสือนี้มิใช่พินัยกรรมเพราะมีข้อความเป็นหนังสือยกให้ทันที
7. หลังจากภริยาคนแรกตายเมื่อปี 2503 จำเลยซึ่งเป็นบุตรเกิดจากภริยาคนแรกได้ไปขอจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินสินส่วนตัวของมารดาพร้อมทั้งที่ดินสินสมรสซึ่งมีชื่อมารดาในโฉนดเมื่อปี 2504-2505 โดยบิดามิได้โต้แย้งคัดค้านและยังทำหนังสือว่า ยินดีสละสิทธิในการรับมรดกที่ดินสินสมรส ยินยอมให้โอนใส่ชื่อจำเลยซึ่งเป็นบุตร ต่อมาปี 2506 บิดาก็ถึงแก่ความตาย ดังนี้ การที่บิดารู้อยู่ว่าจำเลยซึ่งเป็นบุตรไปขอจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินดังกล่าวของมารดาจำเลย แต่มิได้โต้แย้งคัดค้านประการใดโดยบิดามีเจตนาสละกรรมสิทธิ์ให้จำเลย และยินยอมให้โอนใส่ชื่อจำเลยเป็นเจ้าของไปแล้วนั้น แม้บิดายังมีชีวิตอยู่ก็จะกลับมาเรียกส่วนแบ่งในที่ดินนั้นอีกหาได้ไม่ ที่ดินนั้นจึงมิใช่ทรัพย์มรดกของบิดาอันโจทก์ซึ่งเป็นบุตรเกิดจากภริยาอื่นจะเรียกร้องขอส่วนแบ่งได้
(ข้อกฎหมายตามวรรค 4,5 และ 7 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 30-33/2512)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 134/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินเป็นสินส่วนตัว และผลกระทบต่อการเป็นมรดก: กรณีพระราชทานที่ดินและเจตนายกให้เป็นสินส่วนตัว
1. สามีภริยาสองคนก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และจัดหาบ้านให้ภริยาแยกกันอยู่คนละแห่งไม่เกี่ยวข้องกัน บุตรเกิดจากภริยาไหนก็อยู่กับภริยานั้น ภริยาทั้งสองต่างตั้งร้านค้าขายเป็นส่วนสัด การทำมาหาได้ของภริยาแต่ละคนก็ตกเป็นส่วนของภริยาในครอบครัวนั้น ๆ ทรัพย์สินมิได้ปะปนระคนกัน ในระหว่างสมรส ภริยาคนแรกได้ที่ดินมาในนามของตน โดยสามียกที่ดินสินเดิมให้ แม้ที่ดินที่ได้มานั้นจะเป็นสินสมรส ก็เป็นสินสมรสระหว่างภริยาคนแรกกับสามี ภริยาคนหลังหามีส่วนได้ด้วยไม่
2. สามียกที่ดินสินเดิมให้ภริยาในระหว่างสมรส สินเดิมนั้นย่อมเปลี่ยนสภาพเป็นสินสมรสเว้นแต่จะระบุให้เป็นอย่างอื่น
3. สามีขอพระราชทานที่ดินจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยกับภริยาคนแรกและบุตรที่เกิดจากภริยาคนแรก ต่อมาได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตโอนที่ดินนั้นให้ภริยาคนแรก ภริยาคนหลังซึ่งมีบ้านอยู่อาศัยและทำมาหากินเป็นส่วนสัดต่างหากไม่เคยเข้ามาเกี่ยวข้องกับที่ดินพระราชทานเลย ดังนี้ ภริยาคนหลังหามีส่วนได้ในที่ดินพระราชทานนี้ด้วยไม่
4. ที่ดินซึ่งสามีได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 เป็นทรัพย์ส่วนตัว ต่อมาสามีได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจำนองและขึ้นเงินจำนอง แล้วต่อมาได้มีหนังสือกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตโอนให้แก่ภริยาคนแรก โดยกล่าวข้อความว่า จึงดำริที่จะจัดการมรดกโดยแบ่งสันปันส่วนให้แก่ภริยาบุตรธิดาเป็นส่วนสัดเสียขณะนี้ โดยเฉพาะที่ดินพระราชทานขอมอบเป็นสิทธิแก่ภริยาคนแรก เพื่อจะได้หาทางไถ่ถอนมาไว้สำหรับเป็นหลักแหล่งประกอบอาชีพต่อไป และก่อนหน้านั้นเล็กน้อย สามีได้ทำหนังสือฉบับหนึ่งระบุว่า ขอมอบทรัพย์สินอันมีอยู่ทั้งสิ้นให้ภริยาคนแรกโดยเด็ดขาด ภริยาคนแรกจะจัดแบ่งส่วนทรัพย์สินให้แก่ผู้ใดมากน้อยเท่าใดก็แล้วแต่จะเห็นสมควร ครั้นเมื่อได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้ว สามีก็จัดการจดทะเบียนโอนที่ดินพระราชทานนั้นให้แก่ภริยาคนแรกเป็นเจ้าของกรรมสิทธิแต่ผู้เดียว ดังนี้ ข้อความตามหนังสือทั้งสองฉบับดังกล่าว แสดงว่าสามีมีเจตนาให้ที่ดินพระราชทานแก่ภริยาคนแรกเป็นสินส่วนตัว
5. หนังสือยกให้ซึ่งสามีให้ทรัพย์สินแก่ภริยา แม้มิได้ระบุไว้ชัดว่าให้เป็นสินส่วนตัว ก็อาจแปลเจตนาจากข้อความในเอกสารตามพฤติการณ์แห่งกรณีได้ และเมื่อหนังสือยกให้แปลข้อความตามเจตนาของผู้ให้ได้ว่าให้เป็นสินส่วนตัว แม้เมื่อไปทำพิธีโอนทางทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จะมิได้ระบุไว้ให้เป็นสินส่วนตัว ทรัพย์สินนั้นก็เป็นสินส่วนตัวของภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1464 (3)
6. หนังสือซึ่งสามีทำระบุชื่อว่าคำสั่งแทนพินัยกรรม มีข้อความว่า ขอมอบทรัพย์สินทั้งสิ้นให้ภริยาคนแรกโดยเด็ดขาดภริยาคนแรกจะจัดแบ่งให้แก่ผู้ใดมากน้อยเท่าใดก็แล้วแต่จะเห็นสมควรหนังสือนี้มิใช่พินัยกรรม เพราะมีข้อความเป็นหนังสือยกให้ทันที
7. หลังจากภริยาคนแรกตาย เมื่อปี 2503 จำเลยซึ่งเป็นบุตรเกิดจากภริยาคนแรกได้ไปขอจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินสินส่วนตัวของมารดาพร้อมทั้งที่ดินสินสมรสซึ่งมีชื่อมารดาในโฉนดเมื่อปี 2504-2505 โดยบิดามิได้โต้แย้งคัดค้าน และยังทำหนังสือว่า ยินดีสละสิทธิในการรับมรดกที่ดินสินสมรส ยินยอมให้โอนใส่ชื่อจำเลยซึ่งเป็นบุตร ต่อมาปี 2506 บิดาถึงแก่ความตาย ดังนี้ การที่บิดารู้อยู่ว่าจำเลยซึ่งเป็นบุตรไปขอจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินดังกล่าวของมารดาจำเลย แต่มิได้โต้แย้งคัดค้านประการใด โดยบิดามีเจตนาสละกรรมสิทธิ์ให้จำเลย และยินยอมให้โอนใส่ชื่อจำเลยเป็นเจ้าของไปแล้วนั้น แม้บิดายังมีชีวิตอยู่ ก็จะกลับมาเรียกส่วนแบ่งในที่ดินนั้นอีกหาได้ไม่ ที่ดินนั้นจึงมิใช่ทรัพย์มรดกของบิดาอันโจทก์ซึ่งเป็นบุตรเกิดจากภริยาอื่นจะเรียกร้องขอส่วนแบ่งได้ (ข้อกฎหมายตามวรรค 4, 5, และ 7 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 30 - 33 / 2512)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1807/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างร้างกันไม่เป็นสินสมรส จำเลยมีสิทธิยกให้ได้หากหามาได้เอง
โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ต่อมาร้างกัน แต่ยังมิได้หย่าขาดจากกัน ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างร้างกันและแม้ยังมิได้หย่าขาดจากกันตามกฎหมายก็ไม่เป็นสินสมรส เพราะเหตุว่าทรัพย์สินมิใช่ได้มาโดยการอยู่กินสมรสร่วมกัน หากเป็นโดยฝ่ายหนึ่งหามาได้ตามลำพังและแยกไว้เป็นส่วนตัวแล้ว (อ้างฎีกาที่ 1235/2494, 991/2501) เมื่อไม่เป็นสินสมรส จำเลยก็มีสิทธิยกให้โดยเสน่หาได้ โดยไม่จำต้องรับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นภริยาก่อน
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าพันบาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น คงฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย และในการวินิจฉัยปัญหานี้ ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน แต่ข้อเท็จจริงในปัญหาที่ว่าห้องพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างร้างกันหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยถึง ศาลฎีกาจึงยังมิอาจที่จะวินิจฉัยข้อกฎหมายตามฎีกาจำเลยได้ เพราะข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาไม่พอแก่การวินิจฉัยข้อกฎหมาย ศาลฎีกาย่อมยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงในปัญหาที่ว่าห้องพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างโจทก์จำเลยร้างกันหรือไม่ แล้วพิพากษาใหม่ ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1807/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรสระหว่างร้าง: ทรัพย์สินที่ได้มาขณะแยกกันอยู่ไม่เป็นสินสมรส จำเลยมีสิทธิยกให้ได้
โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5. ต่อมาร้างกัน แต่ยังมิได้หย่าขาดจากกัน. ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างร้างกันแม้ยังมิได้หย่าขาดจากกันตามกฎหมายก็ไม่เป็นสินสมรส. เพราะเหตุว่าทรัพย์สินมิใช่ได้มาโดยการอยู่กินสมรสร่วมกัน. หากเป็นโดยฝ่ายหนึ่งหามาได้ตามลำพังและแยกไว้เป็นส่วนตัวแล้ว (อ้างฎีกาที่ 1235/2494,991/2501). เมื่อไม่เป็นสินสมรส. จำเลยก็มีสิทธิยกให้โดยเสน่หาได้. โดยไม่จำต้องรับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นภริยาก่อน.
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าพันบาท. และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น คงฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย.และในการวินิจฉัยปัญหานี้ ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน.แต่ข้อเท็จจริงในปัญหาที่ว่าห้องพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างร้างกันหรือไม่. ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยถึง. ศาลฎีกาจึงยังมิอาจที่จะวินิจฉัยข้อกฎหมายตามฎีกาจำเลยได้เพราะข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาไม่พอแก่การวินิจฉัยข้อกฎหมาย. ศาลฎีกาย่อมยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงในปัญหาที่ว่าห้องพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างโจทก์จำเลยร้างกันจริงหรือไม่. แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1807/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรสระหว่างร้าง: ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างร้างแต่ยังไม่หย่าขาด ไม่เป็นสินสมรส หากได้มาโดยฝ่ายหนึ่งหามาเอง
โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ต่อมาร้างกัน แต่ยังมิได้หย่าขาดจากกัน ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างร้างกันแม้ยังมิได้หย่าขาดจากกันตามกฎหมายก็ไม่เป็นสินสมรส เพราะเหตุว่าทรัพย์สินมิใช่ได้มาโดยการอยู่กินสมรสร่วมกัน หากเป็นโดยฝ่ายหนึ่งหามาได้ตามลำพังและแยกไว้เป็นส่วนตัวแล้ว(อ้างฎีกาที่ 1235/2494,991/2501) เมื่อไม่เป็นสินสมรส จำเลยก็มีสิทธิยกให้โดยเสน่หาได้ โดยไม่จำต้องรับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นภริยาก่อน
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าพันบาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น คงฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายและในการวินิจฉัยปัญหานี้ ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนแต่ข้อเท็จจริงในปัญหาที่ว่าห้องพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างร้างกันหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยถึง ศาลฎีกาจึงยังมิอาจที่จะวินิจฉัยข้อกฎหมายตามฎีกาจำเลยได้เพราะข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาไม่พอแก่การวินิจฉัยข้อกฎหมาย ศาลฎีกาย่อมยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงในปัญหาที่ว่าห้องพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างโจทก์จำเลยร้างกันจริงหรือไม่ แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1775/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องแบ่งมรดกก่อน 1 ปี และการแยกสินเดิมออกจากสินสมรสเมื่อราคาที่ดินเพิ่มขึ้น
มาตรา 1744 มุ่งหมายถึงการส่งมอบทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทซึ่งมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งมรดก โดยผู้จัดการมรดกไม่มีข้อโต้แย้งสิทธินั้นอย่างใด หาใช่บทบัญญัติห้ามทายาทฟ้องผู้จัดการมรดกเพื่อตั้งสิทธิที่จะได้รับส่วนแบ่งมรดกจากผู้จัดการมรดกซึ่งโต้แย้งสิทธิของทายาทนั้น ๆ ไม่
เมื่อปรากฏว่าที่ดินเป็นสินเดิม แม้ภายหลังการสมรส ที่ดินนี้จะมีราคาเพิ่มสูงขึ้นกว่าเดิมมากเพียงใดก็ตาม ที่ดินดังกล่าวก็ยังมีสภาพเป็นสินเดิมอยู่นั่นเอง ราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นหาใช่ดอกผลของที่ดินไม่ จึงแยกถือเอาราคาในส่วนที่เพิ่มขึ้นเป็นสินสมรสไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1775/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องแบ่งมรดกก่อนครบ 1 ปี และการแยกสินเดิมออกจากสินสมรสเมื่อราคาเพิ่มขึ้น
มาตรา 1744 มุ่งหมายถึงการส่งมอบทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทซึ่งมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งมรดกโดยผู้จัดการมรดกไม่มีข้อโต้แย้งสิทธินั้นอย่างใด หาใช่บทบัญญัติห้ามทายาทฟ้องผู้จัดการมรดกเพื่อตั้งสิทธิที่จะได้รับส่วนแบ่งมรดกจากผู้จัดการมรดกซึ่งโต้แย้งสิทธิของทายาทนั้นๆ ไม่.
เมื่อปรากฏว่าที่ดินเป็นสินเดิม. แม้ภายหลังการสมรสที่ดินนี้จะมีราคาเพิ่มสูงขึ้นกว่าเดิมมากเพียงใดก็ตาม. ที่ดินดังกล่าวก็ยังมีสภาพเป็นสินเดิมอยู่นั่นเอง.ราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นหาใช่ดอกผลของที่ดินไม่. จึงแยกถือเอาราคาในส่วนที่เพิ่มขึ้นเป็นสินสมรสไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1775/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องแบ่งมรดกก่อน 1 ปี และการแยกสินเดิมออกจากสินสมรสเมื่อราคาที่ดินเพิ่มขึ้น
มาตรา 1744 มุ่งหมายถึงการส่งมอบทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทซึ่งมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งมรดกโดยผู้จัดการมรดกไม่มีข้อโต้แย้งสิทธินั้นอย่างใด หาใช่บทบัญญัติห้ามทายาทฟ้องผู้จัดการมรดกเพื่อตั้งสิทธิที่จะได้รับส่วนแบ่งมรดกจากผู้จัดการมรดกซึ่งโต้แย้งสิทธิของทายาทนั้นๆ ไม่
เมื่อปรากฏว่าที่ดินเป็นสินเดิม แม้ภายหลังการสมรสที่ดินนี้จะมีราคาเพิ่มสูงขึ้นกว่าเดิมมากเพียงใดก็ตาม ที่ดินดังกล่าวก็ยังมีสภาพเป็นสินเดิมอยู่นั่นเอง ราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นหาใช่ดอกผลของที่ดินไม่ จึงแยกถือเอาราคาในส่วนที่เพิ่มขึ้นเป็นสินสมรสไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1179/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: การร้องขอปล่อยทรัพย์พิพาทในฐานะสินสมรส/สินบริคณห์ เมื่อเคยถูกยกคำร้องแล้ว
สามีร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดซึ่งเป็นสินสมรสหรือสินบริคณห์. ศาลได้ยกคำร้องของสามี คดีถึงที่สุดแล้ว.ภรรยาจะร้องขอให้ปล่อยทรัพย์นั้นอีกหาได้ไม่. กรณีเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148.
of 12