คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1466

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 119 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 991/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสหลังการร้าง และการเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินระหว่างการร้าง โดยใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5
สมรสกันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ขณะจะขาดจากการสมรสใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แล้ว เหตุที่จะขาดจากการสมรสต้องใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 บังคับ และการที่สามีภริยามาร้างกันระหว่างใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 สามีขายทรัพย์สินสมรสไปแล้วซื้อทรัพย์อื่นมาแทนทรัพย์นั้นก็ต้องเป็นสินสมรส แต่ทรัพย์ที่สามีหาได้มาระหว่างร้างกันไม่เป็นสินสมรส
ในชั้นฎีกา ผู้ฎีกาต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องในชั้นฎีกา ถ้าทรัพย์ที่เรียกร้องมีหลายอย่างตีราคารวมกันมา แต่ผู้ฎีกาฎีกาเฉพาะทรัพย์บางอย่างการคำนวณค่าขึ้นศาลศาลควรจัดการตีราคาทรัพย์แยกจากกันก่อนแล้วจึงเรียกค่าขึ้นศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 43/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายฝากสินบริคณห์ต้องได้รับความยินยอมจากสามี/ภริยา หากไม่ได้รับความยินยอมเป็นโมฆียะกรรม
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาขายฝากที่จำเลย(ภริยาผู้ร้องสอด)ทำไว้กับโจทก์จำเลยและผู้ร้องสอด(สามีจำเลย)ต่อสู้ยืนยันว่าเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายจำเลยทำนิติกรรมผูกพันสินบริคณห์โดยมิได้รับความยินยอมจากผู้ร้องสอดและไม่ได้ให้สัตยาบันจึงบอกล้างโมฆียะกรรมเมื่อโจทก์กล่าวแก้แต่เพียงว่าผู้ร้องสอดมิได้เป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายดังนี้ประเด็นคงมีว่าผู้ร้องสอดกับจำเลยเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เท่านั้นไม่มีประเด็นไปถึงเรื่องภริยาร้างในระหว่างภริยาทำนิติกรรมขายฝากให้แก่โจทก์แล้วหรือไม่
เมื่อภริยาทำนิติกรรมผูกพันสินบริคณห์โดยมิได้รับความยินยอมจากสามีและสามีไม่ได้ให้สัตยาบัน สามีจึงบอกล้างนิติกรรมนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 43/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมขายฝากสินสมรสต้องได้รับความยินยอมจากสามี หากไม่ได้รับความยินยอมและสามีบอกล้างได้ โมฆียะ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาขายฝากที่จำเลย(ภริยาผู้ร้องสอด) ทำไว้กับโจทก์ จำเลยและผู้ร้องสอด(สามีจำเลย) ต่อสู้ยืนยันว่าเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยทำนิติกรรมผูกพันสินบริคณห์โดยมิได้รับความยินยอมจากผู้ร้องสอดและไม่ได้ให้สัตยาบันจึงบอกล้างโมฆียะกรรมเมื่อโจทก์กล่าวแก้แต่เพียงว่าผู้ร้องสอดมิได้เป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ประเด็นคงมีว่าผู้ร้องสอดกับจำเลยเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เท่านั้น ไม่มีประเด็นไปถึงเรื่องภริยาร้างในระหว่างภริยาทำนิติกรรมขายฝากให้แก่โจทก์แล้วหรือไม่
เมื่อภริยาทำนิติกรรมผูกพันสินบริคณห์โดยมิได้รับความยินยอมจากสามีและสามีไม่ได้ให้สัตยาบันสามีจึงบอกล้างนิติกรรมนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆียะกรรมสัญญาขายฝากสินบริคณห์: สามีต้องยินยอมหรือสัตยาบัน หากภริยาทำนิติกรรมผูกพันสินสมรสโดยลำพัง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาขายฝากที่จำเลย(ภริยาผู้ร้องสอด)ทำไว้กับโจทก์ จำเลยและผู้ร้องสอด(สามีจำเลย) ต่อสู้ยืนยันว่าเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฏหาย จำเลยทำนิติกรรรมผูกพันสินบริคณหโดยมิได้รับความยินยอมจากผู้ร้องสดและไม่ได้ให้สัตยาบันจึงบอกล้างโมฆียะกรรม เมื่อโจทก์กล่าวแก้แต่เพียงว่าผู้ร้องสอดมิได้เป็นสามีโดยชอบด้วยกฏหมายดังนี้ประเด็นคงมีว่าผู้ร้องสอดกับจำเลย
เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฏหมายหรือไม่เท่านั้น ไม่มีประเด็นไปถึงเรื่องภริยาร้างในระหว่างภริยาทำนิติกรรมขายฝากให้แก่โจทก์แล้วหรือไม่,
เมื่อภริยาทำนิติกรรมผูกพันสินบริคณห์โดยมิได้รับความยินยอมจากสามีและสามีไม่ได้ให้สัดยาบันสามีจึงบอกล้าง
นิติกรรมนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 665/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรสจากมรดกและการแบ่งสินสมรสเมื่อสามีเสียชีวิต
ภริยาได้รับทรัพย์มรดกจากบิดามารดาของตนมาในระหว่างที่อยู่กินเป็นสามีภริยากับสามี ย่อมถือว่าทรัพย์มรดกที่ได้มานั้น เป็นสินสมรสระหว่างตนกับสามี เมื่อเอาทรัพย์นั้นไปขายได้เงินมา แล้วซื้อที่ดินและบ้านเรือน ก็ย่อมถือว่าที่ดินและบ้านเรือนนั้นเป็นสินสมรสอยุ่นั่นเอง
การแบ่งสินสมรสระหว่างสามีภริยาเมื่อก่อนใช้ป.ม.แพ่งฯบรรพ 5 นั้น ถ้าทั้งสองฝ่ายไม่มีสินเดิมด้วยกัน ก็ให้แบ่งสินสมรสเป็น 3 ส่วน ให้ชายได้ 2 ส่วน หญิงได้ 1 ส่วน
และในกรณีที่ชายถึงแก่กรรมส่วนของชายย่อมตกเป็นมรดกตกได้แก่บุตรและภรรยาคนละส่วนเท่า ๆกัน ถ้ามีภรรยา 2 คน ก็คงได้รับส่วนแบ่งร่วมกันเพียงส่วนเดียว และในส่วนเดียวนี้ ยังแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ภริยาหลวงได้ 2 ส่วน ภริยาน้อยได้1 ส่วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 665/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรสจากทรัพย์มรดกและหลักการแบ่งสินสมรสเมื่อไม่มีสินเดิม
ภริยาได้รับทรัพย์มรดกจากบิดามารดาของตนมาในระหว่างที่อยู่กินเป็นสามีภริยากับสามี ย่อมถือว่าทรัพย์มรดกที่ได้มานั้น เป็นสินสมรสระหว่างตนกับสามี เมื่อเอาทรัพย์นั้นไปขายได้เงินมา แล้วซื้อที่ดินและบ้านเรือนก็ย่อมถือว่าที่ดินและบ้านเรือนนั้นเป็นสินสมรสอยู่นั่นเอง
การแบ่งสินสมรสระหว่างสามีภริยาเมื่อก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 นั้น ถ้าทั้งสองฝ่ายไม่มีสินเดิมด้วยกัน ก็ให้แบ่งสินสมรสเป็น 3 ส่วนให้ชายได้ 2 ส่วน หญิงได้ 1 ส่วน
และในกรณีที่ชายถึงแก่กรรมส่วนของชายย่อมตกเป็นมรดกตกได้แก่บุตรและภรรยาคนละส่วนเท่าๆกัน ถ้ามีภรรยา 2คน ก็คงได้รับส่วนแบ่งร่วมกันเพียงส่วนเดียวและในส่วนเดียวนี้ ยังแบ่งออกเป็น 3 ส่วนภริยาหลวงได้ 2ส่วน ภริยาน้อยได้ 1 ส่วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 249/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิร่วมกันในสัญญาเช่าหลังหย่า: สัญญาทำก่อนหย่า สิทธิยังคงเป็นของทั้งสองฝ่ายหากไม่มีข้อตกลงแยก
ภรรยาเกิดระหองระแหงกับสามี จึงแยกไปทำสัญญาเช่าตึกในนามของภรรยา และอยู่ในตึกรายนี้ แต่ต่อมาได้คืนดีกัน และสามีได้มาอยู่รวมในตึกรายนี้ด้วย ภายหลังจึงได้ตกลงทำหนังสือหย่าขาดจากกัน แต่สามีก็ยังคงอยู่ในตึกรายนี้ด้วยตลอดมา ดังนี้ แม้สัญญาจะทำในนามของภรรยา แต่ขณะนั้นยังมิได้หย่าขาดจากกัน และการทำสัญญาเช่าก็ไม่เกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนตัวของภรรยา ฉะนั้นสิทธิตามสัญญาเช่านี้จึงเป็นสิทธิรวมกันระหว่างสามีภรรยาเมื่อตกลงทำสัญญาหย่ากัน มิได้ตกลงในเรื่องสิทธิการเช่ารายนี้ประการใดแล้ว และทั้งสองฝ่ายยังครอบครองอยู่ด้วยตลอดมา จึงยังเป็นสิทธิร่วมกันอยู่ ภรรยาจะมาฟ้องขับไล่สามีให้ออกไปจากตึกเช่ายังไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1235/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภริยาร้างไม่มีสิทธิในทรัพย์สินสมรสที่สามีได้มาช่วงแยกกันอยู่
สามีภริยาร้างกันอยู่ก่อนใช้ ป.ม.แพ่ง ฯ บรรพ 5 ก็ยังคงเป็นภริยาร้างตามกฎหมายเก่า กฎหมายใหม่หาได้บัญญัติเปลี่ยนแปลงไม่ เพราะกฎหมายใหม่ไม่กระทบกระเทือนถึงการสัมพันธูในครอบครัว สิทธิและหน้าที่ในเรื่องนี้ยังคงเป็นอยู่ตามกฎหมายเดิม เช่น ในการแบ่งสินสมรส
ภริยาร้างไม่มีสิทธิจะขอแบ่งทรัพยสินสมรส ที่สามีได้มาในระหว่างร้างกัน เพราะเหตุว่าทรัพย์นั้นมิใช่ได้มาโดยการอยู่กินสมรสร่วมกัน หากเป็นโดยอีกฝ่ายหนึ่ง หามาได้ตามลำพังและแยกไว้เป็นส่วนตัวแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1235/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภริยาร้าง สิทธิในทรัพย์สินสมรส: ทรัพย์ที่ได้มาขณะแยกกันอยู่ไม่เป็นสินสมรส
สามีภริยาร้างกันอยู่ก่อนใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ก็ยังคงเป็นภริยาร้างตามกฎหมายเก่า กฎหมายใหม่หาได้บัญญัติเปลี่ยนแปลงไม่ เพราะกฎหมายใหม่ไม่กระทบกระเทือนถึงการสัมพันธ์ในครอบครัว สิทธิและหน้าที่ในเรื่องนี้ยังคงเป็นอยู่ตามกฎหมายเดิม เช่น ในการแบ่งสินสมรส
ภริยาร้างไม่มีสิทธิจะขอแบ่งทรัพย์สินสมรส ที่สามีได้มาในระหว่างร้างกัน เพราะเหตุว่าทรัพย์นั้นมิใช่ได้มาโดยการอยู่กินสมรสร่วมกัน หากเป็นโดยอีกฝ่ายหนึ่งหามาได้ตามลำพังและแยกไว้เป็นส่วนตัวแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 418/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองแทนผู้รับมรดกและสิทธิในมรดกของบุตรจากสินสมรส คดีไม่มีทุนทรัพย์
คดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลแสดงว่า โจทก์มีสิทธิได้รับมรดกและลงชื่อโจทก์ในโฉนดร่วมกับจำเลยนั้น เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ จะเรียกค่าฤชาธรรมเนียมอย่างคดีมีทุนทรัพย์ไม่ได้
การที่บิดาพูดรับรองในวันทำบุญ 7 วันศพภริยาจะแบ่งนาพิพาทให้บุตรทุกคน แล้วบิดาได้ครอบครองนาพิพาทต่อมาร่วมกับบุตรบางคน ดังนี้ ถือว่าบิดาได้ครอบครองนาพิพาทแทน
สินสมรสระหว่างบิดามารดานั้น หากมารดาตาย แต่ถ้าบิดายังมีชีวิตอยู่ บุตรคงมีส่วนเฉพาะที่เป็นมรดกของมารดาเท่านั้น
of 12