คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1524

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8040/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดของสมรสด้วยการตาย และผลกระทบต่อค่าทดแทนและสินสมรส
ในระหว่างพิจารณาคดีของศาลฎีกา โจทก์ถึงแก่ความตายทำให้การสมรสสิ้นสุดลงเนื่องจากความตายของโจทก์ ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องพิจารณาพิพากษาฎีกาของจำเลยอีกต่อไปว่า การกระทำของจำเลยเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องหย่าได้หรือไม่เพราะไม่ทำให้ผลของการสมรสเปลี่ยนแปลงไป ส่วนค่าทดแทนที่ศาลล่างกำหนดให้จำเลยจ่ายแก่โจทก์นั้น เมื่อศาลไม่ได้พิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่ากัน โจทก์จึงไม่อาจเรียกค่าทดแทนจากจำเลยได้เพราะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1525 ระบุว่า การเรียกค่าทดแทนจากอีกฝ่ายหนึ่งจะมีได้เฉพาะในกรณีศาลพิพากษาให้หย่ากันเท่านั้น และการแบ่งสินสมรสหลังการสมรสสิ้นสุดเพราะการตายต้องแบ่งทรัพย์สินระหว่างผู้ตายกับจำเลยซึ่งเป็นคู่สมรสที่มีชีวิตอยู่นับแต่เวลาที่การสมรสสิ้นสุดไปด้วยเหตุความตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1625 จึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยปัญหาตามฟ้องโจทก์อีกต่อไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 132 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2498/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทดแทนการหย่า: ศาลพิจารณาตามควรแก่พฤติการณ์, ฐานะคู่สมรส, และทรัพย์สินที่แบ่ง
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1525 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า การกำหนดค่าทดแทนกรณีศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะเหตุสามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามีเป็นชู้ หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณตามมาตรา 1516 (1) ภริยาหรือสามีมีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากสามีหรือภริยาและจากหญิงอื่นหรือชู้ ตามมาตรา 1523 วรรคหนึ่ง นั้น ให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์โดยศาลจะสั่งให้ชำระครั้งดียวหรือแบ่งชำระเป็นงวดๆ มีกำหนดเวลาตามที่ศาลจะเห็นสมควรก็ได้ และวรรคสองบัญญัติว่า ในกรณีที่ผู้จะต้องชำระค่าทดแทนเป็นคู่สมรสของอีกฝ่ายหนึ่ง ให้ศาลคำนึงถึงจำนวนทรัพย์สินที่คู่สมรสนั้นได้รับไปจากการแบ่งสินสมรสเพราะการหย่านั้นด้วย เมื่อโจทก์เรียกค่าทดแทนจากจำเลยซึ่งเป็นคู่สมรสเป็นเงิน 5,000,000 บาท โดยมิได้แสดงพฤติการณ์พิเศษให้เห็นว่าเพราะเหตุใดโจทก์จึงควรได้ค่าทดแทนจำนวนดังกล่าว ศาลจึงต้องกำหนดโดยคำนึงถึงฐานานุรูปของโจทก์ จำเลยและพฤติการณ์แห่งคดี อีกทั้งทรัพย์สินที่โจทก์ได้รับจากการแบ่งสินสมรสตามคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองตามบทบัญญัติมาตรา 1525 ดังกล่าว ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าทดแทนเพราะเหตุจำเลยอุปการะเลี้ยงดูหญิงอื่นฉันภริยาเป็นเงิน 500,000 บาท นับว่าเหมาะสมตามควรแก่พฤติการณ์แล้วไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะกำหนดค่าทดแทนให้มากไปกว่านี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4793/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทหย่า: การทำร้ายร่างกาย, การคบชู้, ค่าทดแทน, ค่าเลี้ยงชีพ และสินสมรส
จำเลยที่ 1 ใช้เท้าเตะโจทก์ได้รับบาดเจ็บถึงกระดูดแขนหัก เป็นการทำร้ายร่างกายที่เข้าลักษณะร้ายแรงเป็นเหตุฟ้องหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1516(3) จำเลยที่ 1 อุปการะเลี้ยงดูยกย่องจำเลยที่ 2 ฉันภริยาต่อเนื่องกันตลอดมา โจทก์เพิ่งรู้การกระทำของจำเลยที่ 1ที่อยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยที่ 2 ก่อนฟ้องยังไม่ล่วงพ้นกำหนด 1 ปี สิทธิฟ้องหย่าจึงยังไม่ระงับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1529 วรรคแรก โจทก์มิได้ฟ้องหย่าเพราะเหตุไม่อาจทนอยู่กับจำเลยที่ 1เนื่องจากเหตุทำร้ายร่างกายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1516(3) จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าทดแทนส่วนนี้ตามมาตรา 1524 ระหว่างอยู่กินกับจำเลยที่ 1 โจทก์ประกอบอาชีพค้าขายเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อหารายได้มาจุนเจือครอบครัว และสำหรับเรื่องเงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่เคยเกี่ยวข้องกัน ทั้งโจทก์ยังช่วยออกค่าใช้จ่ายภายในบ้านอีกด้วย ฟังไม่ได้ว่าการหย่าทำให้โจทก์ยากจนลงในอันที่จะมีสิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1526 เงินบริจาคที่จำเลยที่ 1 ได้รับเป็นค่าตอบแทนการรับทรงเจ้าเป็นเงินรายได้ที่จำเลยที่ 1 ได้มาระหว่างสมรสเมื่อจำเลยที่ 1 นำไปซื้อที่ดินและปลูกอาคาร ที่ดินและอาคารดังกล่าวจึงเป็นสินสมรส การจดทะเบียนหย่าโดยคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1531 วรรคสอง คู่สมรสไม่จำต้องไปแสดงเจตนาขอจดทะเบียนหย่าต่อนายทะเบียนอีกทั้งตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 มาตรา 16ก็บัญญัติให้ผู้มีส่วนได้เสียเพียงแต่ยืนสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดที่รับรองถูกต้องแล้วต่อนายทะเบียน และขอให้นายทะเบียนบันทึกการหย่าไว้ในทะเบียนเท่านั้น จึงไม่จำต้องสั่งให้จำเลยจดทะเบียนหย่ากับโจทก์ตามที่โจทก์ขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1873/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นทายาท: บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรอง vs. บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย, สิทธิในมรดก
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทั้งสี่เป็นบุตรที่ ค.บิดารับรองแล้วโดย ค. ให้ใช้นามสกุล ให้ที่พักอาศัยและอยู่ร่วมเรือนเดียวกันให้อุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษา ค.ถึงแก่กรรม นาพิพาทจึงตกทอดเป็นของโจทก์ในฐานะเป็นทายาทจำเลยให้การว่านาเป็นของจำเลย โจทก์ทั้งสี่ไม่เป็นทายาทอันชอบด้วยกฎหมายของ ค. ในวันชี้สองสถาน คู่ความตกลงท้ากันในประเด็นข้อเดียวว่าถ้าหากศาลวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของ ค. โจทก์ยอมแพ้คดี ดังนี้ เมื่อโจทก์นำสืบได้ความแต่เพียงว่าโจทก์ทั้งสี่เป็นบุตรนอกกฎหมายที่ ค. บิดาได้รับรองแล้วเท่านั้น โจทก์ทั้งสี่ก็ย่อมมิใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของ ค. โจทก์จึงต้องแพ้คดีตามคำท้า เพราะกรณีของโจทก์ หากจะให้เกิดผลให้โจทก์ทั้งสี่เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของ ค. จะต้องฟ้องคดีให้รับโจทก์ทั้งสี่เป็นบุตรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1529 และจะต้องมีคำพิพากษาว่าโจทก์ทั้งสี่เป็นบุตรของ ค. ตามมาตรา 1530(3) เสียก่อน ส่วนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1524 นั้น เป็นเรื่องราววิธีพิสูจน์การเป็นบุตรที่เกิดในระหว่างที่มีการสมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 ที่บัญญัติว่าบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้ว ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายนั้น ยังไม่ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย หากแต่ให้มีสิทธิเกี่ยวกับมรดกของชายผู้ให้กำเนิดเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1873/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นทายาท: บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรอง vs. บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทั้งสี่เป็นบุตรที่ ค.บิดารับรองแล้ว โดย ค.ให้ใช้นามสกุล ให้ที่พักอาศัยและอยู่ร่วมเรือนเดียวกัน ให้อุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษา ค.ถึงแก่กรรม นาพิพาทจึงตกทอดเป็นของโจทก์ในฐานะเป็นทายาท จำเลยให้การว่านาเป็นของจำเลย โจทก์ทั้งสี่ไม่เป็นทายาทอันชอบด้วยกฎหมายของ ค. ในวันชี้สองสถาน คู่ความตกลงท้ากันในประเด็นข้อเดียวว่า ถ้าหากศาลวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของ ค. โจทก์ยอมแพ้คดี ดังนี้ เมื่อโจทก์นำสืบได้ความแต่เพียงว่าโจทก์ทั้งสี่เป็นบุตรนอกกฎหมายที่ ค. บิดาได้รับรองแล้วเท่านั้น โจทก์ทั้งสี่ก็ย่อมมิใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของ ค. โจทก์จึงต้องแพ้คดีตามคำท้า เพราะกรณีของโจทก์ หากจะให้เกิดผลให้โจทก์ทั้งสี่เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของ ค. จะต้องฟ้องคดีให้รับโจทก์ทั้งสี่เป็นบุตรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1529 และจะต้องมีคำพิพากษาว่าโจทก์ทั้งสี่เป็นบุตรของ ค.ตามมาตรา 1530(3) เสียก่อน ส่วนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1524 นั้น. เป็นเรื่องราววิธีพิสูจน์การเป็นบุตรที่เกิดในระหว่างที่มีการสมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 ที่บัญญัติว่าบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้ว ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายนั้น ยังไม่ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย หากแต่ให้มีสิทธิเกี่ยวกับมรดกของชายผู้ให้กำเนิดเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2255/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดู: การเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายต้องเกิดขึ้นก่อนการเสียชีวิต
โจทก์เพิ่งจะได้เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของนายแก้วผู้ตาย ซึ่งเป็นบิดาตามคำสั่งศาล และคดีถึงที่สุดเมื่อนายแก้วได้ตายไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดอุปการะเลี้ยงดูจากจำเลยฐานละเมิดที่ทำให้นายแก้วบิดาตนถึงแก่ความตายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2255/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าอุปการะเลี้ยงดูเกิดขึ้นเมื่อเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายก่อนการเสียชีวิตของผู้มีหน้าที่
โจทก์เพิ่งจะได้เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของนายแก้วผู้ตาย ซึ่งเป็นบิดาตามคำสั่งศาล และคดีถึงที่สุดเมื่อนายแก้วได้ตายไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดอุปการะเลี้ยงดูจากจำเลยฐานละเมิดที่ทำให้นายแก้วบิดาตนถึงแก่ความตายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 792/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุตรนอกสมรสและอำนาจฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู ต้องดำเนินการตามมาตรา 1526
บุตรที่เกิดจากบิดามารดาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน จะเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดา ก็ต่อเมื่อได้ดำเนินการตามมาตรา 1526 แล้ว
การพิสูจน์เพื่ออ้างว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1524 นั้น ใช้ในกรณีที่บิดามารดาได้ทำการสมรสกันตามกฎหมาย หรือเคยได้ทำการสมรสกันมาแล้ว อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากมาตรา 1519 เท่านั้น จะนำมาพิสูจน์เพื่อแสดงว่าเด็กที่เกิดเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดา ในเมื่อบิดามารดาไม่เคยได้ทำการจดทะเบียนสมรสกันหาได้ไม่
เมื่อโจทก์มิได้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากผู้ต้องรับผิดฐานละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 345/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของบุตรนอกกฎหมาย: การเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายหรือเข้าเงื่อนไขตามกฎหมาย
บุตรไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากผู้ฆ่าบิดา (อ้างฎีกา 1601/2492, 1259/2506)
พฤติการณ์ที่รู้กันอยู่ทั่วไปว่าเป็นบุตร (ชอบด้วยกฎหมาย) ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1524 เป็นเพียงมูลกรณีให้ฟ้องเพื่อให้ศาลพิพากษาว่าเป็นเด็กเป็นบุตรเท่านั้น ไม่ทำให้เด็กที่เกิดมาเป็นบุตรของชายที่เกี่ยวข้องกับมารดาเด็ก
บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 มีสิทธิเพียงจะได้รับมรดกในฐานะผู้สืบสันดานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 (1) เท่านั้น ส่วนสิทธิอย่างอื่นที่บุตรจะพึงได้รับจากบิดา เช่นสิทธิที่จะได้รับความอุปการะเลี้ยงดูจะต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายมาแต่แรกหรือต้องเป็นกรณีที่เข้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1526

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 345/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรนอกกฎหมาย: ต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย หรือมีเหตุตามกฎหมาย
บุตรไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากผู้ฆ่าบิดา(อ้างฎีกา 1601/2492,1259/2506)
พฤติการณ์ที่รู้กันอยู่ทั่วไปว่าเป็นบุตร(ชอบด้วยกฎหมาย) ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1524 เป็นเพียงมูลกรณีให้ฟ้องเพื่อให้ศาลพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรเท่านั้นไม่ทำให้เด็กที่เกิดมาเป็นบุตรของชายที่เกี่ยวข้องกับมารดาเด็ก
บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 มีสิทธิเพียงจะได้รับมรดกในฐานะผู้สืบสันดานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629(1) เท่านั้น ส่วนสิทธิอย่างอื่นที่บุตรจะพึงได้รับจากบิดา เช่นสิทธิที่จะได้รับความอุปการะเลี้ยงดูจะต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายมาแต่แรกหรือต้องเป็นกรณีที่เข้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1526
of 4