พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 345/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรนอกกฎหมาย: ต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย หรือมีเหตุตามกฎหมาย
บุตรไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากผู้ฆ่าบิดา(อ้างฎีกา 1601/2492,1259/2506)
พฤติการณ์ที่รู้กันอยู่ทั่วไปว่าเป็นบุตร(ชอบด้วยกฎหมาย) ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1524 เป็นเพียงมูลกรณีให้ฟ้องเพื่อให้ศาลพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรเท่านั้นไม่ทำให้เด็กที่เกิดมาเป็นบุตรของชายที่เกี่ยวข้องกับมารดาเด็ก
บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 มีสิทธิเพียงจะได้รับมรดกในฐานะผู้สืบสันดานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629(1) เท่านั้น ส่วนสิทธิอย่างอื่นที่บุตรจะพึงได้รับจากบิดา เช่นสิทธิที่จะได้รับความอุปการะเลี้ยงดูจะต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายมาแต่แรกหรือต้องเป็นกรณีที่เข้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1526
พฤติการณ์ที่รู้กันอยู่ทั่วไปว่าเป็นบุตร(ชอบด้วยกฎหมาย) ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1524 เป็นเพียงมูลกรณีให้ฟ้องเพื่อให้ศาลพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรเท่านั้นไม่ทำให้เด็กที่เกิดมาเป็นบุตรของชายที่เกี่ยวข้องกับมารดาเด็ก
บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 มีสิทธิเพียงจะได้รับมรดกในฐานะผู้สืบสันดานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629(1) เท่านั้น ส่วนสิทธิอย่างอื่นที่บุตรจะพึงได้รับจากบิดา เช่นสิทธิที่จะได้รับความอุปการะเลี้ยงดูจะต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายมาแต่แรกหรือต้องเป็นกรณีที่เข้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1526
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 564/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย และขอบเขตการสืบพยานในคดีครอบครัว
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1524 เป็นบทบัญญัติวิธีการพิสูจน์ความเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายอันสืบเนื่องมาจากมาตรา 1519 อันเป็นบทบัญญัติสำหรับเด็กที่เกิดในสมรสซึ่งกฎหมายสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรของชายผู้เป็นสามี เหตุนี้ ถ้ามีข้ออ้างว่าผู้ใดเป็นบุตรของหญิงชายซึ่งสมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ก็พิสูจน์ได้โดยวิธีการตามมาตรา 1524 ส่วนบุตรนอกกฎหมายที่บิดามารดามิได้สมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมายนั้น จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายก็โดยบทบัญญัติมาตรา 1526 ต่อไป หาใช่ว่าพฤติการณ์ตามมาตรา 1524 เป็นวิธีการรับรองบุตรนอกสมรสให้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายขึ้นมานอกเหนือไปจากมาตรา 1526 อีกไม่
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้สืบพยานเฉพาะข้อโต้เถียงในเรื่องทรัพย์สินข้อเดียวจำเลยหาได้โต้แย้งว่ามีประเด็นอื่นที่ต้องสืบพยานอีกไม่ ในที่สุดก็แถลงไม่สืบพยาน จำเลยจะมาเถียงว่าศาลมีคำสั่งตัดประเด็นข้อที่จะนำสืบว่าไม่ถูกต้องในชั้นฎีกาย่อมไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 เพราะคำสั่งศาลชั้นต้นเช่นนี้ไม่ใช่คำสั่งตามมาตรา 227, 228
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้สืบพยานเฉพาะข้อโต้เถียงในเรื่องทรัพย์สินข้อเดียวจำเลยหาได้โต้แย้งว่ามีประเด็นอื่นที่ต้องสืบพยานอีกไม่ ในที่สุดก็แถลงไม่สืบพยาน จำเลยจะมาเถียงว่าศาลมีคำสั่งตัดประเด็นข้อที่จะนำสืบว่าไม่ถูกต้องในชั้นฎีกาย่อมไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 เพราะคำสั่งศาลชั้นต้นเช่นนี้ไม่ใช่คำสั่งตามมาตรา 227, 228
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 564/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายและการสืบพยานประเด็นข้อตกลงการดูแลบุตร
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1524 เป็นบทบัญญัติวิธีการพิสูจน์ความเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายอันสืบเนื่องมาจากมาตรา 1519 อันเป็นบทบัญญัติสำหรับเด็กที่เกิดในสมรสซึ่งกฎหมายสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรของชายผู้เป็นสามีเหตุนี้ ถ้ามีข้ออ้างว่าผู้ใดเป็นบุตรของหญิงชายซึ่งสมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ก็พิสูจน์ได้โดยวิธีการตามมาตรา 1524 ส่วนบุตรนอกกฎหมายที่บิดามารดามิได้สมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมายนั้นจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายก็โดยบทบัญญัติมาตรา 1526 ต่อไปหาใช่ว่าพฤติการณ์ตามมาตรา 1524 เป็นวิธีการรับรองบุตรนอกสมรสให้เป็น บุตรชอบด้วยกฎหมายขึ้นมานอกเหนือไปจากมาตรา 1526 อีกไม่
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้สืบพยานเฉพาะข้อโต้เถียงในเรื่องทรัพย์สินข้อเดียว จำเลยหาได้โต้แย้งว่ามีประเด็นอื่นที่ต้องสืบพยาน อีกไม่ ในที่สุดก็แถลงไม่สืบพยาน จำเลยจะมาเถียงว่าศาลมีคำสั่ง ตัดประเด็นข้อที่จะนำสืบว่าไม่ถูกต้องในชั้นฎีกาย่อมไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 เพราะคำสั่งศาลชั้นต้นเช่นนี้ไม่ใช่คำสั่งตามมาตรา 227, 228
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้สืบพยานเฉพาะข้อโต้เถียงในเรื่องทรัพย์สินข้อเดียว จำเลยหาได้โต้แย้งว่ามีประเด็นอื่นที่ต้องสืบพยาน อีกไม่ ในที่สุดก็แถลงไม่สืบพยาน จำเลยจะมาเถียงว่าศาลมีคำสั่ง ตัดประเด็นข้อที่จะนำสืบว่าไม่ถูกต้องในชั้นฎีกาย่อมไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 เพราะคำสั่งศาลชั้นต้นเช่นนี้ไม่ใช่คำสั่งตามมาตรา 227, 228
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับมรดกของบุตรที่ไม่ได้เกิดจากภรรยาที่จดทะเบียนสมรส การนำสืบสถานะทางกฎหมาย
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า เด็กทั้งสามเป็นบุตรนายหร่ำสามีโจทก์ผู้วายชนม์ไปแล้ว แต่หากได้บรรยายไว้ชัดแจ้งด้วยว่าเด็กทั้งสามซึ่งเกิดแต่นายหร่ำผู้วายชนม์ เป็นทายาทโดยธรรม มีสิทธิสืบมรดกของนายฉิม นางแสงตามลำดับสายตามบัญชีเครือญาติท้ายฟ้อง และในบัญชีเครือญาติก็ทำเครื่องหมายไว้ที่ท้ายชื่อโจทก์ ซึ่งตรงกับเครื่องหมายที่หมายเหตุข้างล่างนั้นว่า "ฯลฯ สมรสภายหลังเมื่อใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และไม่ได้จดทะเบียนสมรส" ดังนี้ ย่อมแสดงอยู่ในตัวแล้วว่าโจทก์ประสงค์จะนำสืบว่าผู้เยาว์เหล่านั้นเป็นทายาทโดยธรรมและมีสิทธิสืบมรดกของนายฉิม นางแสงตามลำดับสายในบัญชีเครือญาติได้โดยเหตุผลประการใด เช่น นำสืบว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ตามนัยมาตรา 1524,1526 หรือ 1529 (5) หรือเป็นบุตรที่บิดาได้รับรองแล้ว ซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของนายหร่ำตามมาตรา 1627 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งมีสิทธิสืบมรดกนายฉิม นางแสงตามลำดับเครือญาติได้ตามมาตรา 1629 (1) และที่โจทก์แถลงต่อศาลชั้นต้นว่าผู้เยาว์ดังกล่าวไม่ใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายหร่ำนั้น ก็แถลงไปตามเหตุที่ว่า นายหร่ำกับนางเปรมโจทก์ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันดังที่หมายเหตุไว้ในบัญชีเครือญาติแล้วนั่นเอง หาใช่แถลงเพื่อสละสิทธิที่จะนำสืบข้อเท็จจริงให้ได้ตามความนัยแห่งกฎหมายดังกล่าวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับมรดกของบุตรที่เกิดจากการสมรสภายหลังและไม่ได้จดทะเบียนสมรส
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า เด็กทั้งสามเป็นบุตรนายหร่ำสามีโจทก์ผู้วายชนม์ไปแล้ว แต่หากได้บรรยายไว้ชัดแจ้งด้วยว่าเด็กทั้งสามซึ่งเกิดแต่นายหร่ำผู้วายชนม์เป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิสืบมรดกของนายฉิม นางแสงตามลำดับสายตามบัญชีเครือญาติท้ายฟ้อง และในบัญชีเครือญาติก็ทำเครื่องหมายไว้ที่ท้ายชื่อโจทก์ซึ่งตรงกับเครื่องหมายที่หมายเหตุข้างล่างนั้นว่า 'ฯลฯสมรสภายหลังเมื่อใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และไม่ได้จดทะเบียนสมรส' ดังนี้ ย่อมแสดงอยู่ในตัวแล้วว่าโจทก์ประสงค์จะนำสืบว่าผู้เยาว์เหล่านั้นเป็นทายาทโดยธรรมและมีสิทธิสืบมรดกของนายฉิม นางแสงตามลำดับสายในบัญชีเครือญาติได้โดยเหตุผลประการใด เช่นนำสืบว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ตามนัยมาตรา 1524,1526 หรือ1529(5) หรือเป็นบุตรที่บิดาได้รับรองแล้ว ซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของนายหร่ำตามมาตรา 1627 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งมีสิทธิสืบมรดกของนายฉิมนางแสงตามลำดับเครือญาติได้ตามมาตรา 1629(1) และที่โจทก์แถลงต่อศาลชั้นต้นว่าผู้เยาว์ดังกล่าวไม่ใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายหร่ำนั้นก็แถลงไปตามเหตุที่ว่านายหร่ำกับนางเปรมโจทก์ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันดังที่หมายเหตุไว้ในบัญชีเครือญาติแล้วนั่นเองหาใช่แถลงเพื่อสละสิทธิที่จะนำสืบข้อเท็จจริงให้ได้ความตามนัยแห่งกฎหมายดังกล่าวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองบุตรโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส: สิทธิในการรับมรดก
บิดามารดาของผู้เยาว์ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ผู้เยาว์จึงไม่ใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดาเมื่อปรากฏหลักฐานทางสูติบัตรและทะเบียนสำมะโนครัวว่าผู้เยาว์เป็นบุตรและมีพฤติการณ์ซึ่งเป็นที่รู้กันทั่วไป ว่า บิดามารดาผู้เยาว์เป็นสามีภริยากัน อยู่ร่วมเรือนเดียวกันโดยเปิดเผย บิดาผู้เยาว์ได้แนะนำมารดาผู้เยาว์ต่อบุคคลอื่นว่าเป็นภริยา บิดาผู้เยาว์ เคยไปที่สำนักงานทะเบียนท้องถิ่นเพื่อแจ้งการเกิดของผู้เยาว์แต่ไม่สบาย จึงต้องกลับเสียก่อนแล้วให้คนอื่นไปแจ้งการเกิดแทน ดังนี้ ฟังได้ว่า บิดาได้รับรองผู้เยาว์เป็นบุตรแล้ว จึงถือได้ว่าผู้เยาว์เป็นผู้สืบสันดาน เหมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองบุตรโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส และสิทธิในการรับมรดก
บิดามารดาของผู้เยาว์ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ผู้เยาว์จึงไม่ใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดา เมื่อปรากฏหลักฐานทางสูติบัตรและทะเบียนสำมะโนครัวว่าผู้เยาว์เป็นบุตรและมีพฤติการณ์ซึ่งเป็นที่รู้กันทั่วไปว่า บิดามารดาผู้เยาว์เป็นสามีภริยากัน อยู่ร่วมเรือนเดียวกันโดยเปิดเผย บิดาผู้เยาว์ได้แนะนำมารดาผู้เยาว์ต่อบุคคลอื่นว่าเป็นภริยา บิดาผู้เยาว์เคยไปที่สำนักงานทะเบียนท้องถิ่นเพื่อแจ้งการเกิดของผู้เยาว์ แต่ไม่สบายจึงต้องกลับเสียก่อนแล้วให้คนอื่นไปแจ้งการเกิดแทน ดังนี้ ฟังได้ว่าบิดาได้รับรองผู้เยาว์เป็นบุตรแล้ว จึงถือได้ว่าผู้เยาว์เป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองบุตรนอกกฎหมายมีผลทางมรดก
การที่บิดาให้การศึกษา ให้ความอุปการะเลี้ยงดู และยอมให้ใช้นามสกุลเช่นนี้ แสดงว่าเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้ว และถือได้ว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองบุตรนอกกฎหมายเป็นทายาท: พฤติการณ์บ่งชี้ความสัมพันธ์ทางสายเลือดและการเลี้ยงดู
การที่บิดาให้การศึกษา ให้ความอุปการะเลี้ยงดู และยอมให้ ใช้นามสกุลเช่นนี้ แสดงว่าเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและถือได้ว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1589/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย, อายุความมรดก, และหลักฐานทางบัญชี
การที่ศาลฟังพฤติการณ์ต่างๆ เช่น บิดาให้การศึกษาแก่เด็ก ให้ใช้นามสกุลปฏิบัติต่อกันฉันบิดากับบุตร และฟังว่าเด็กเป็นบุตรของบิดาอันเกิดแต่มารดาซึ่งเป็นสามีภริยากันตามกฎหมายก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 นั้น ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1524ซึ่งใช้สำหรับพิสูจน์การเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย
ผู้จัดการมรดกเป็นผู้ครอบครองมรดกแทนทายาท ถือว่าทายาทได้ครอบครองมรดกแล้วแม้ทายาทจะฟ้องผู้จัดการมรดกเกิน 1 ปีนับแต่เจ้ามรดกตาย ก็ไม่ขาดอายุความ
ทรัพย์สินที่มีมาก่อนสมรส เมื่อไม่ใช่สินส่วนตัวแล้วก็เป็นสินเดิมทั้งสิ้น
สำเนาบัญชีฝากเงินธนาคารที่คัดจากบัญชีในธนาคารซึ่งนำมาศาลไม่ได้ เมื่อคู่ความอีกฝ่ายมิได้คัดค้านว่าไม่ถูกต้องกับต้นฉบับ ย่อมเป็นพยานหลักฐานที่ศาลรับพิจารณาได้ว่าข้อเท็จจริงมีอยู่อย่างไร โดยไม่ต้องมีเจ้าหน้าที่ธนาคารมาเบิกความชี้แจงประกอบ
ผู้จัดการมรดกเป็นผู้ครอบครองมรดกแทนทายาท ถือว่าทายาทได้ครอบครองมรดกแล้วแม้ทายาทจะฟ้องผู้จัดการมรดกเกิน 1 ปีนับแต่เจ้ามรดกตาย ก็ไม่ขาดอายุความ
ทรัพย์สินที่มีมาก่อนสมรส เมื่อไม่ใช่สินส่วนตัวแล้วก็เป็นสินเดิมทั้งสิ้น
สำเนาบัญชีฝากเงินธนาคารที่คัดจากบัญชีในธนาคารซึ่งนำมาศาลไม่ได้ เมื่อคู่ความอีกฝ่ายมิได้คัดค้านว่าไม่ถูกต้องกับต้นฉบับ ย่อมเป็นพยานหลักฐานที่ศาลรับพิจารณาได้ว่าข้อเท็จจริงมีอยู่อย่างไร โดยไม่ต้องมีเจ้าหน้าที่ธนาคารมาเบิกความชี้แจงประกอบ